ในวาระที่เพิ่งผ่านพ้นวันสำคัญคือวันมาฆบูชามา จึงได้ใคร่ขอเตือนให้ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย โปรดได้ระมัดระวังในเรื่องการไปปรามาสท่านพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าโดยไม่รู้ตัวว่า ท่านนั้นสอนใครไม่เป็น ท่านนั้นสอนใครไม่ได้
ซึ่งคำพูดเหล่านี้ มีปรากฏขึ้นให้ได้ยินได้ฟังมาบ่อยมากจนเป็นเรื่องธรรมดาไป สิ่งที่ผู้พูดได้รู้มานั้น อาจมาจากตำรับตำราที่มีรจนาไว้ หรืออาจมาจากท่านผู้รู้และครูบาอาจารย์บางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นเองก็รู้และเข้าใจมาอย่างนั้นเหมือนกัน จนเป็นที่เข้าใจกันไปในแบบผิดๆอย่างกว้างขวางในหมู่เราชาวพุทธ
ทั้งที่ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลทำให้การปฏิบัติธรรมของผู้ที่ปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ติดขัดเนิ่นช้าได้โดยไม่รู้ตัว จนหาสาเหตุไม่ได้ หรือบางคนอาจหลงผิดไปไกลจากความเป็นจริง จนหาทางออกไม่ได้(หลงอยู่อย่างนั้น)เช่นกัน จึงควรจะได้ระมัดระวังในเรื่องนี้กันให้มาก
เรามาลองอ่านและวางใจให้เป็นกลางๆ แล้วค่อยๆพิจารณาตาม จากเหตุผลตามความจริงที่ไม่อาจเถียงหรือหักล้างได้ ที่เรียกว่าแฟคท์ fact ซึ่งเป็นความจริงที่ได้เกิดขึ้นจริงตามนั้น
คำว่าพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" หรือ "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ก็ตาม ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบได้ด้วยตนเอง และธรรมที่ท่านได้ตรัสรู้ธรรมมานั้น เป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อนเลย จึงสามารถประกาศตนว่าได้ตรัสรู้เองโดยชอบ
บุคคลที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น ล้วนต้องเคยอธิษฐานอย่างมุ่งมั่นตั้งจิตเอาไว้ก่อนแล้ว และต้องผ่านการเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อสะสมอบรมสติปัญญาบารมี ไว้อย่างยาวนานมาก่อน เพื่อส่งเสริมให้ตนเองเกิดสติปัญญานำไปปฏิบัติภาวนาจนจิตหลุดพ้นจากกิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายได้ ดังนั้นบุคคลที่ได้ผ่านเรื่องราวต่างๆและสะสมอบรมสติปัญญาบารมีมาอย่างมากมายยาวนานนั้น ล้วนได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มีภูมิปัญญาอย่างสูงส่ง น้อยคนนักที่จะทำได้ ย่อมสูงกว่าบุคคล เทวดา อินทร์ พรหมต่างๆทั่วไปทั้งหลาย ซึ่งในพระพุทธพจน์ของพระองค์เอง ก็ได้ทรงกล่าวไว้เช่นกัน
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯ "
และบุคคลที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยตนเองหรือพระอรหันต์ชั้นพิเศษ โดยไม่ต้องมีใครสั่งสอนมานั้น ได้ชื่อว่า "พระพุทธเจ้า" ทั้งหมด จะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆว่าบุคคลที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้นั้น ไม่ว่าจะสำเร็จได้จากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือสำเร็จได้ด้วยตนเองก็ตาม ล้วนเป็นบุคคลที่ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาอย่างสูงเพียบพร้อมไปด้วยภูมิสมถะและภูมิวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์
เราสามารถกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมาในโลก รวมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งในสัจจะธรรมความจริงเรื่องของโลก(รู้แจ้งโลก) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราอาจเปรียบเทียบในทางโลกให้พอเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ล้วนรู้จักอรรถะพร้อมพยัญชนะ และสำเนียงเสียงต่างๆได้ดีเยี่ยม ส่วนจะมากน้อยหรือชำนิชำนาญการลึกซึ้งกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับระดับชั้นและบารมีต่างๆที่ทรงได้เคยสะสมมา เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถจนชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วในการอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี
แต่เรากลับไปบอกหน้าตาเฉยว่า ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า สั่งสอนใครไม่ได้ สั่งสอนใครไม่เป็นเลย ดูแล้วเป็นเรื่องชวนหัว ขาดหลักเหตุผลที่จะให้ผู้ฟังเชื่อตามได้จริงๆ น่าจะเนื่องจากว่าในวาระหรือช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น ไม่มีใครให้ความสนใจในการเข้าถึงธรรมอันช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง ด้วยการภาวนามยปัญญาอย่างจริงจังให้เกิดผลปรากฏ และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ล้วนสนใจแต่เรื่องสุตะมยปัญญา จินตะมยปัญญาเท่านั้น แต่เมื่อพูดถึงการภาวนามยปัญญาแล้ว ล้วนเมินหน้าหนีอย่างรวดเร็ว เพราะยังเสียดายรสชาดและติดใจในรสกามคุณทั้งหลาย ที่ตนยังกระทำอยู่อย่างเหนียวแน่น เพราะความทะยานอยากชอบส่งจิตแส่ส่ายออกไปรับอารมณ์ต่างๆที่เป็นเรื่องภายนอกตนนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็เป็นที่รู้กันได้ว่า เพราะไม่มีใครสนใจปฏิบัติจริงๆ จะสอนให้ตายไปข้าง ก็ไม่มีใครจะน้อมรับนำเอาไปปฏิบัติตามนั่นเอง เมื่อเป็นแบบนี้แล้วจะให้มีผู้รู้ตามเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะการภาวนานั้นเป็นรากฐานสำคัญของพระพุทธศาสนา
(ตอนหนึ่งในกัณฑ์เทศน์ของหลวงปูสิม พุทธาจาโร กล่าวว่า
การภาวนานั้นเป็นรากฐานสำคัญของพระพุทธศาสนา)
ส่วนธรรมะของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ล้วนเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง อันเข้าถึงได้ยาก ต้องปฏิบัติด้วยความพากเพียรจริงจัง(ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล) ต้องน้อมเข้ามาใส่ตนด้วยการภาวนามยปัญญา พิจารณากายในกายเป็นภายใน เป็นอารมณ์ในมหาสติปัฏฐาน ๔ ที่นำไปสู่ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตจึงจะถึงความหลุดพ้นได้
ซึ่งผิดกับในยุคสมัยนี้ ที่มีพร้อมแล้วทุกอย่าง ทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งยังอยู่กับเรา แต่กลับไปเชื่ออลัชชีที่แอบแฝงเข้ามาในพระพุทธศาสนา ด้วยเล่ห์กลต่างๆหลายรูปแบบ จนกระทั่งเชื่อไปว่า พระธรรมอันสูงสุดนั้น เข้าถึงได้ด้วยสุตะมยปัญญาและจินตะมยปัญญาเท่านั้นก็พอ ส่วนภาวนามยปัญญานั้น ไม่จำเป็นเลยหรือเกินความจำเป็นไป เพราะเป็นเพียงลัทธิของพราหมณ์ ก็เท่ากับไม่ต่างไปจากบุคคลที่เกิดอยู่ในยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้าเลยสินะ
เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่น่าละอายจริงๆ แต่พอกระแสการสอนให้คิดไปตามอารมณ์(ดูจิต) โดยไม่ต้องภาวนา(อานาปานสติ) ถูกตีตกไป ด้วยความจริงจากคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้รู้หลายท่าน อลัชชีก็กลับลำสอนใหม่เพราะกลัวลาภสักการะที่เคยได้รับจะหายไป ก็สอนให้มีการภาวนามยปํญญากันบ้าง แต่ก็เป็นการนำเอาการภาวนาแบบปนๆกันไประหว่างพุทธกับพราหมณ์ ซึ่งเกิดจากสุตะและจินตมยะปัญญาของตนที่ตกผลึกแล้วมาสอน
และเป็นการสอนชนิดรู้เองเออเองแบบขาดเหตุผล(ผูกขาด) จนตนเอง(คนสอน)ก็ยังงงเองเลย เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี เดี๋ยวใช่ เดี๋ยวไม่ใช่ ที่ใช่ก็ไม่มี ที่มีก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรทั้งนั้นในโลก ทั้งหมดล้วนเป็นสมมุติบัญญัติขึ้นมา มีแต่เพียงพระนิพพานเท่านั้นที่เป็นจริง ทั้งๆที่พระนิพพานเป็นคุณลักษณะ(ของ?) อะไรที่เป็นคุณลักษณะ ล้วนต้องมีสิ่งรองรอบรับคุณลักษณะนั้นๆที่เกิดขึ้นมา คุณลักษณะเกิดขึ้นมาเองลอยๆไม่ได้อย่างแน่นอน ตามหลักความจริง(fact)
เมื่อถูกผู้สนใจใคร่รู้ซักถามผู้สอนเข้า จึงไปไม่รอด ได้แต่เพียงตอบว่า "สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย" แบบนี้แล้วจะไปถามใครดีล่ะ การจะเชื่ออะไรใครนั้น อย่าดูเพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกหรือได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น ว่าผู้นั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะมีกริยานุ่มนวลน่ารักอ่อนหวาน มียิ้มที่สวยน่าเข้าใกล้ พูดจาไพเราะน่าฟังตามตำรา มีการลอกแบบหรือแอบอ้างคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาให้ดูน่าเชื่อถือ ที่เรียกว่าโฆษณาเพื่อชวนให้เชื่อถือ
พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมา ล้วนวางหลักไว้อย่างชัดเจน อย่าได้เชื่อเพียงเพราะเชื่อตามๆกันมาอยู่เลย จะเสียโอกาสของตนเองไป เท่ากับผลักดันตนเองให้กลับเข้าไปในยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้าโดยไม่รู้ตัว ยิ่งเผลอไปปรามาสท่านเข้า จะได้รับโทษทัณฑ์โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
เรามาดูหลักที่เป็นรากฐานของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว ทรงให้ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
"อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรนติฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา,
สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติฯ
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
สตฺต โพชฺฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา,
วิชฺชาวิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติฯ
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์"
บทส่งท้าย
บทความที่เขียนขึ้นนี้เป็นการเปิดธรรมทัศน์ให้กว้างขว้างยิ่งขึ้น ไม่ต้องการชี้ถูกชี้ผิดใดๆ โดยมีการอ้างอิงพระพุทธพจน์ ที่มาจากพระพุทธประวัติและพระสูตรบางส่วน ที่ต้องอ้างอิงเพราะเห็นว่า มีการเข้าใจผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้าไปอย่างกว้างขว้างจริงๆ เป็นการหมิ่นพุทธปัญญาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระพุทธองค์ เพราะไปเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น โดยขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบด้วยดีเสียก่อน และขาดการลงมือสมาทานแบบที่ทรงสอนไว้ในกาลามสูตร
เมื่อเกิดมีการปรามาสขึ้นมาเช่นนี้ ย่อมต้องมีผลต่อผู้พูดและผู้ฟังไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ยิ่งปัจจุบันมีการสอนให้ทิ้งการภาวนา เพราะไม่เห็นความสำคัญหรือความเกียจคร้านห่างไกลจากความพากเพียร หรืออาจกลัวว่าการภาวนามากไปจะกลายเป็นบ้าได้ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ทำอะไรทั้งนั้น ดูไปเฉยๆอย่างเดียวก็พอ คงไม่ต่างไปจากยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ยากจะหาบุคคลที่เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ได้ เพราะขาดรากฐานอันสำคัญยิ่งคือการภาวนามยปัญญานั่นเอง
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการอ่านบทความนี้บ้างไม่มากก็น้อย เผื่อทำให้หูตาของผู้อ่านสว่างขึ้นมาบ้างก็ได้
ธรรมภูต
นักปฏิบัติควรระวัง-อย่าหลงไปปรามาสพระปัจเจกพุทธเจ้า
ซึ่งคำพูดเหล่านี้ มีปรากฏขึ้นให้ได้ยินได้ฟังมาบ่อยมากจนเป็นเรื่องธรรมดาไป สิ่งที่ผู้พูดได้รู้มานั้น อาจมาจากตำรับตำราที่มีรจนาไว้ หรืออาจมาจากท่านผู้รู้และครูบาอาจารย์บางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นเองก็รู้และเข้าใจมาอย่างนั้นเหมือนกัน จนเป็นที่เข้าใจกันไปในแบบผิดๆอย่างกว้างขวางในหมู่เราชาวพุทธ
ทั้งที่ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลทำให้การปฏิบัติธรรมของผู้ที่ปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ติดขัดเนิ่นช้าได้โดยไม่รู้ตัว จนหาสาเหตุไม่ได้ หรือบางคนอาจหลงผิดไปไกลจากความเป็นจริง จนหาทางออกไม่ได้(หลงอยู่อย่างนั้น)เช่นกัน จึงควรจะได้ระมัดระวังในเรื่องนี้กันให้มาก
เรามาลองอ่านและวางใจให้เป็นกลางๆ แล้วค่อยๆพิจารณาตาม จากเหตุผลตามความจริงที่ไม่อาจเถียงหรือหักล้างได้ ที่เรียกว่าแฟคท์ fact ซึ่งเป็นความจริงที่ได้เกิดขึ้นจริงตามนั้น
คำว่าพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" หรือ "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ก็ตาม ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบได้ด้วยตนเอง และธรรมที่ท่านได้ตรัสรู้ธรรมมานั้น เป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อนเลย จึงสามารถประกาศตนว่าได้ตรัสรู้เองโดยชอบ
บุคคลที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น ล้วนต้องเคยอธิษฐานอย่างมุ่งมั่นตั้งจิตเอาไว้ก่อนแล้ว และต้องผ่านการเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อสะสมอบรมสติปัญญาบารมี ไว้อย่างยาวนานมาก่อน เพื่อส่งเสริมให้ตนเองเกิดสติปัญญานำไปปฏิบัติภาวนาจนจิตหลุดพ้นจากกิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายได้ ดังนั้นบุคคลที่ได้ผ่านเรื่องราวต่างๆและสะสมอบรมสติปัญญาบารมีมาอย่างมากมายยาวนานนั้น ล้วนได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มีภูมิปัญญาอย่างสูงส่ง น้อยคนนักที่จะทำได้ ย่อมสูงกว่าบุคคล เทวดา อินทร์ พรหมต่างๆทั่วไปทั้งหลาย ซึ่งในพระพุทธพจน์ของพระองค์เอง ก็ได้ทรงกล่าวไว้เช่นกัน
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯ "
และบุคคลที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยตนเองหรือพระอรหันต์ชั้นพิเศษ โดยไม่ต้องมีใครสั่งสอนมานั้น ได้ชื่อว่า "พระพุทธเจ้า" ทั้งหมด จะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆว่าบุคคลที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้นั้น ไม่ว่าจะสำเร็จได้จากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือสำเร็จได้ด้วยตนเองก็ตาม ล้วนเป็นบุคคลที่ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาอย่างสูงเพียบพร้อมไปด้วยภูมิสมถะและภูมิวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์
เราสามารถกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมาในโลก รวมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งในสัจจะธรรมความจริงเรื่องของโลก(รู้แจ้งโลก) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราอาจเปรียบเทียบในทางโลกให้พอเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ล้วนรู้จักอรรถะพร้อมพยัญชนะ และสำเนียงเสียงต่างๆได้ดีเยี่ยม ส่วนจะมากน้อยหรือชำนิชำนาญการลึกซึ้งกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับระดับชั้นและบารมีต่างๆที่ทรงได้เคยสะสมมา เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความสามารถจนชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วในการอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี
แต่เรากลับไปบอกหน้าตาเฉยว่า ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า สั่งสอนใครไม่ได้ สั่งสอนใครไม่เป็นเลย ดูแล้วเป็นเรื่องชวนหัว ขาดหลักเหตุผลที่จะให้ผู้ฟังเชื่อตามได้จริงๆ น่าจะเนื่องจากว่าในวาระหรือช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น ไม่มีใครให้ความสนใจในการเข้าถึงธรรมอันช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง ด้วยการภาวนามยปัญญาอย่างจริงจังให้เกิดผลปรากฏ และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ล้วนสนใจแต่เรื่องสุตะมยปัญญา จินตะมยปัญญาเท่านั้น แต่เมื่อพูดถึงการภาวนามยปัญญาแล้ว ล้วนเมินหน้าหนีอย่างรวดเร็ว เพราะยังเสียดายรสชาดและติดใจในรสกามคุณทั้งหลาย ที่ตนยังกระทำอยู่อย่างเหนียวแน่น เพราะความทะยานอยากชอบส่งจิตแส่ส่ายออกไปรับอารมณ์ต่างๆที่เป็นเรื่องภายนอกตนนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็เป็นที่รู้กันได้ว่า เพราะไม่มีใครสนใจปฏิบัติจริงๆ จะสอนให้ตายไปข้าง ก็ไม่มีใครจะน้อมรับนำเอาไปปฏิบัติตามนั่นเอง เมื่อเป็นแบบนี้แล้วจะให้มีผู้รู้ตามเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะการภาวนานั้นเป็นรากฐานสำคัญของพระพุทธศาสนา
(ตอนหนึ่งในกัณฑ์เทศน์ของหลวงปูสิม พุทธาจาโร กล่าวว่า
การภาวนานั้นเป็นรากฐานสำคัญของพระพุทธศาสนา)
ส่วนธรรมะของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ล้วนเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง อันเข้าถึงได้ยาก ต้องปฏิบัติด้วยความพากเพียรจริงจัง(ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล) ต้องน้อมเข้ามาใส่ตนด้วยการภาวนามยปัญญา พิจารณากายในกายเป็นภายใน เป็นอารมณ์ในมหาสติปัฏฐาน ๔ ที่นำไปสู่ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตจึงจะถึงความหลุดพ้นได้
ซึ่งผิดกับในยุคสมัยนี้ ที่มีพร้อมแล้วทุกอย่าง ทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งยังอยู่กับเรา แต่กลับไปเชื่ออลัชชีที่แอบแฝงเข้ามาในพระพุทธศาสนา ด้วยเล่ห์กลต่างๆหลายรูปแบบ จนกระทั่งเชื่อไปว่า พระธรรมอันสูงสุดนั้น เข้าถึงได้ด้วยสุตะมยปัญญาและจินตะมยปัญญาเท่านั้นก็พอ ส่วนภาวนามยปัญญานั้น ไม่จำเป็นเลยหรือเกินความจำเป็นไป เพราะเป็นเพียงลัทธิของพราหมณ์ ก็เท่ากับไม่ต่างไปจากบุคคลที่เกิดอยู่ในยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้าเลยสินะ
เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่น่าละอายจริงๆ แต่พอกระแสการสอนให้คิดไปตามอารมณ์(ดูจิต) โดยไม่ต้องภาวนา(อานาปานสติ) ถูกตีตกไป ด้วยความจริงจากคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้รู้หลายท่าน อลัชชีก็กลับลำสอนใหม่เพราะกลัวลาภสักการะที่เคยได้รับจะหายไป ก็สอนให้มีการภาวนามยปํญญากันบ้าง แต่ก็เป็นการนำเอาการภาวนาแบบปนๆกันไประหว่างพุทธกับพราหมณ์ ซึ่งเกิดจากสุตะและจินตมยะปัญญาของตนที่ตกผลึกแล้วมาสอน
และเป็นการสอนชนิดรู้เองเออเองแบบขาดเหตุผล(ผูกขาด) จนตนเอง(คนสอน)ก็ยังงงเองเลย เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี เดี๋ยวใช่ เดี๋ยวไม่ใช่ ที่ใช่ก็ไม่มี ที่มีก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรทั้งนั้นในโลก ทั้งหมดล้วนเป็นสมมุติบัญญัติขึ้นมา มีแต่เพียงพระนิพพานเท่านั้นที่เป็นจริง ทั้งๆที่พระนิพพานเป็นคุณลักษณะ(ของ?) อะไรที่เป็นคุณลักษณะ ล้วนต้องมีสิ่งรองรอบรับคุณลักษณะนั้นๆที่เกิดขึ้นมา คุณลักษณะเกิดขึ้นมาเองลอยๆไม่ได้อย่างแน่นอน ตามหลักความจริง(fact)
เมื่อถูกผู้สนใจใคร่รู้ซักถามผู้สอนเข้า จึงไปไม่รอด ได้แต่เพียงตอบว่า "สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย" แบบนี้แล้วจะไปถามใครดีล่ะ การจะเชื่ออะไรใครนั้น อย่าดูเพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกหรือได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น ว่าผู้นั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะมีกริยานุ่มนวลน่ารักอ่อนหวาน มียิ้มที่สวยน่าเข้าใกล้ พูดจาไพเราะน่าฟังตามตำรา มีการลอกแบบหรือแอบอ้างคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาให้ดูน่าเชื่อถือ ที่เรียกว่าโฆษณาเพื่อชวนให้เชื่อถือ
พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมา ล้วนวางหลักไว้อย่างชัดเจน อย่าได้เชื่อเพียงเพราะเชื่อตามๆกันมาอยู่เลย จะเสียโอกาสของตนเองไป เท่ากับผลักดันตนเองให้กลับเข้าไปในยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้าโดยไม่รู้ตัว ยิ่งเผลอไปปรามาสท่านเข้า จะได้รับโทษทัณฑ์โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
เรามาดูหลักที่เป็นรากฐานของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว ทรงให้ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
"อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรนติฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา,
สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติฯ
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
สตฺต โพชฺฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา,
วิชฺชาวิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติฯ
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์"
บทส่งท้าย
บทความที่เขียนขึ้นนี้เป็นการเปิดธรรมทัศน์ให้กว้างขว้างยิ่งขึ้น ไม่ต้องการชี้ถูกชี้ผิดใดๆ โดยมีการอ้างอิงพระพุทธพจน์ ที่มาจากพระพุทธประวัติและพระสูตรบางส่วน ที่ต้องอ้างอิงเพราะเห็นว่า มีการเข้าใจผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้าไปอย่างกว้างขว้างจริงๆ เป็นการหมิ่นพุทธปัญญาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระพุทธองค์ เพราะไปเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น โดยขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบด้วยดีเสียก่อน และขาดการลงมือสมาทานแบบที่ทรงสอนไว้ในกาลามสูตร
เมื่อเกิดมีการปรามาสขึ้นมาเช่นนี้ ย่อมต้องมีผลต่อผู้พูดและผู้ฟังไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ยิ่งปัจจุบันมีการสอนให้ทิ้งการภาวนา เพราะไม่เห็นความสำคัญหรือความเกียจคร้านห่างไกลจากความพากเพียร หรืออาจกลัวว่าการภาวนามากไปจะกลายเป็นบ้าได้ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ทำอะไรทั้งนั้น ดูไปเฉยๆอย่างเดียวก็พอ คงไม่ต่างไปจากยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ยากจะหาบุคคลที่เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ได้ เพราะขาดรากฐานอันสำคัญยิ่งคือการภาวนามยปัญญานั่นเอง
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการอ่านบทความนี้บ้างไม่มากก็น้อย เผื่อทำให้หูตาของผู้อ่านสว่างขึ้นมาบ้างก็ได้
ธรรมภูต