คาถามนต์ดำถือว่าอยู่คู่กับความเชื่อของคนไทยมาช้านาน แม้ปัจจุบันโลกจะพัฒนาไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เรื่องไสยศาสตร์ประเภทนี้ก็ยังถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นเนืองๆ โดยเฉพาะการถ่ายทอดผ่านตัวละครในทีวี ซึ่งแม้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงหรือไม่
แต่คาถาเหล่านี้ก็ถูกท่องตามกันอย่างสนุกปาก และแพร่หลายในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก เกิดเป็นอารมณ์ขันร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ดูละคร
ที่ฮิตที่สุดตอนนี้เห็นจะเป็นคาถาทำเสน่ห์ของ "แม่รำพึง" ตัวละครจากเรื่อง "บ่วงบาป" รับบทโดย "พลอย เฌอมาลย์" ที่ต้องการให้สามีคือ "ขุนพิทักษ์" รักและหลงเธอ โดยท่องคาถาว่า "ใจเป็นของกู ตัวเป็นของกู เสพสมกายกู เสน่หาเพียงกู"
แต่หากย้อนกลับไป ก็มีละครย้อนยุคจำนวนไม่น้อย ที่เล่นกับความเชื่อเรื่องคาถาเหล่านี้ อย่างเรื่อง "บ่วง" ซึ่งตัวละครที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดก็คือ "ผีอีแพง" แสดงโดย "นุ่น ศิรพันธ์" ตัวละครที่เต็มไปด้วยปมแต่วัยเด็ก และเติบโตมาพร้อมกับความเจ้าคิดเจ้าแค้น ยิ่งมาหลงรักคุณพระภักดีบทมาลย์ ซึ่งเป็นคนรักของคุณชื่นกลิ่น ลูกสาวของเจ้านาย "อีแพง" จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้คุณพระหันมาสนใจเธอ และนี่จึงเป็นที่มาของคาถามหาเสน่ห์ในเรื่อง "บ่วง"
โอม... ให้ช้างลืมโขลง....
โอม... ให้โขลงลืมไพร..
โอม... ให้มันร้อนเร่า....
โอม... ให้มันรักใคร่....
โอม... ให้มันอยู่ไม่ได้...
"รอยไหม" ก็เป็นละครอีกเรื่องที่เต็มไปด้วยคาถามนต์ดำ เล่นมนต์กันตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงบ่าวไพร่ นั่นคือคู่เจ้านายกับลูกน้องตัวแสบ "หม่อมบัวเงิน" กับ "อีเม้ย"
"หม่อมบัวเงิน" ก็เช่นเดียวกับตัวละครนางอิจฉาทั่วไป เธอไม่ปรารถนาสิ่งใด นอกจากการทำให้คนรักกลับมารักเธอเหมือนเดิม น่าเห็นใจเธอตรงที่ เดิมเจ้าสิริวัฒนาก็เป็นคนรักเธออยู่แล้ว แต่พอได้เจอคู่หมั้นคือ "เจ้ามณีริน" ก็ทำให้ความรักจืดจางลง "หม่อมบัวเงิน" จึงต้องใช้วิธีสกปรกด้วยการทำเสน่ห์ยาแฝด "หงส์ร่อน มังกรรำ"
ส่วน "อีเม้ย" ก็ไม่น้อยหน้าเจ้านาย รายนี้ไม่ได้ปรารถนาให้ชายใดมาหลงรัก แต่แค่อยากให้เจ้านายปราณีบ้างก็เท่านั้น ที่เธอพูดจนติดปากตัวเองและติดหูคนดูในตอนนั้นก็คือ
"บ่าวหิว หม่อมเจ้า บ่าวบ่ได้กินอีหยังเลย หม่อมลืมบ่าวแล้วกา หม่อมจะไม่เลี้ยงบ่าวแล้วกา กับเม้ยเกิดมาอาภัพแต๊ๆ หม่อมของเม้ยนอกจากจะงามที่สุดแล้ว ยังฉลาดลึกตั้งแต่เจียงใหม่ เจียงฮาย ละปาง ละปูน แป้ น่าน อุตรดิตถ์โต๊ยเจ้า"
ไม่รู้ฟังอย่างนี้ "หม่อมบัวเงิน" จะใจอ่อนบ้างหรือเปล่า?
ย้อนกลับไปนานหน่อยก็รายของ "เจ้าสีเกด" รับบทโดย "ธัญญาเรศ เองตระกูล" ในเรื่อง "สาปภูษา" จากหญิงสาวฝีมือดีเรื่องทอผ้าตาดทอง เมื่อผิดหวังจากชายผู้เป็นที่รัก เธอก็เกิดความแค้น ทอผ้าตาดทองพร้อมสาปแช่ง
"ข้าขอสาปแช่ง ด้วยดวงชีวิต ดวงจิตและดวงวิญญาณของข้า ทุกฝีเข็ม ทุกเส้นไหม ทุกลมหายใจ ความทุกข์ความเจ็บแค้นใดที่พวกมันเคยได้ทำไว้กับข้า ขอจงฝังไว้ในผ้าห่มไหมปักทองผืนนี้ มันจะต้องเจ็บและทรมานมากกว่าที่ข้าเคยเจ็บนับสิบนับร้อยเท่า"
น่าสังเกตว่าตัวละครหญิงในละครไทย จะใช้คาถามนต์ดำด้วยวัตถุประสงค์เดียวคือเรื่อง "ความรัก" ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า "ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา" สะท้อนถึงความอยากได้อยากมีแบบไม่มีขอบเขต ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็ยังมีผู้หญิงที่คิดแบบนี้อยู่ ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ละครซึ่งมีเรื่องราวการทำไสยศาสตร์ประเภทให้ผัวรักผัวหลงจะโดนใจหลายคน
แต่ไม่ว่าคาถาเหล่านั้นจะได้ผลหรือไม่ เรื่องนี้คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เท่ากับว่า ผู้ที่ใช้คาถา ล้วนมีตอนจบที่ไม่ค่อยจะสวยงามเท่าใดนัก
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊คและยูทูป
teenee.com
รวมคาถาผัวรักผัวหลงในละครไทย
แต่คาถาเหล่านี้ก็ถูกท่องตามกันอย่างสนุกปาก และแพร่หลายในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก เกิดเป็นอารมณ์ขันร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ดูละคร
ที่ฮิตที่สุดตอนนี้เห็นจะเป็นคาถาทำเสน่ห์ของ "แม่รำพึง" ตัวละครจากเรื่อง "บ่วงบาป" รับบทโดย "พลอย เฌอมาลย์" ที่ต้องการให้สามีคือ "ขุนพิทักษ์" รักและหลงเธอ โดยท่องคาถาว่า "ใจเป็นของกู ตัวเป็นของกู เสพสมกายกู เสน่หาเพียงกู"
แต่หากย้อนกลับไป ก็มีละครย้อนยุคจำนวนไม่น้อย ที่เล่นกับความเชื่อเรื่องคาถาเหล่านี้ อย่างเรื่อง "บ่วง" ซึ่งตัวละครที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดก็คือ "ผีอีแพง" แสดงโดย "นุ่น ศิรพันธ์" ตัวละครที่เต็มไปด้วยปมแต่วัยเด็ก และเติบโตมาพร้อมกับความเจ้าคิดเจ้าแค้น ยิ่งมาหลงรักคุณพระภักดีบทมาลย์ ซึ่งเป็นคนรักของคุณชื่นกลิ่น ลูกสาวของเจ้านาย "อีแพง" จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้คุณพระหันมาสนใจเธอ และนี่จึงเป็นที่มาของคาถามหาเสน่ห์ในเรื่อง "บ่วง"
โอม... ให้ช้างลืมโขลง....
โอม... ให้โขลงลืมไพร..
โอม... ให้มันร้อนเร่า....
โอม... ให้มันรักใคร่....
โอม... ให้มันอยู่ไม่ได้...
"รอยไหม" ก็เป็นละครอีกเรื่องที่เต็มไปด้วยคาถามนต์ดำ เล่นมนต์กันตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงบ่าวไพร่ นั่นคือคู่เจ้านายกับลูกน้องตัวแสบ "หม่อมบัวเงิน" กับ "อีเม้ย"
"หม่อมบัวเงิน" ก็เช่นเดียวกับตัวละครนางอิจฉาทั่วไป เธอไม่ปรารถนาสิ่งใด นอกจากการทำให้คนรักกลับมารักเธอเหมือนเดิม น่าเห็นใจเธอตรงที่ เดิมเจ้าสิริวัฒนาก็เป็นคนรักเธออยู่แล้ว แต่พอได้เจอคู่หมั้นคือ "เจ้ามณีริน" ก็ทำให้ความรักจืดจางลง "หม่อมบัวเงิน" จึงต้องใช้วิธีสกปรกด้วยการทำเสน่ห์ยาแฝด "หงส์ร่อน มังกรรำ"
ส่วน "อีเม้ย" ก็ไม่น้อยหน้าเจ้านาย รายนี้ไม่ได้ปรารถนาให้ชายใดมาหลงรัก แต่แค่อยากให้เจ้านายปราณีบ้างก็เท่านั้น ที่เธอพูดจนติดปากตัวเองและติดหูคนดูในตอนนั้นก็คือ
"บ่าวหิว หม่อมเจ้า บ่าวบ่ได้กินอีหยังเลย หม่อมลืมบ่าวแล้วกา หม่อมจะไม่เลี้ยงบ่าวแล้วกา กับเม้ยเกิดมาอาภัพแต๊ๆ หม่อมของเม้ยนอกจากจะงามที่สุดแล้ว ยังฉลาดลึกตั้งแต่เจียงใหม่ เจียงฮาย ละปาง ละปูน แป้ น่าน อุตรดิตถ์โต๊ยเจ้า"
ไม่รู้ฟังอย่างนี้ "หม่อมบัวเงิน" จะใจอ่อนบ้างหรือเปล่า?
ย้อนกลับไปนานหน่อยก็รายของ "เจ้าสีเกด" รับบทโดย "ธัญญาเรศ เองตระกูล" ในเรื่อง "สาปภูษา" จากหญิงสาวฝีมือดีเรื่องทอผ้าตาดทอง เมื่อผิดหวังจากชายผู้เป็นที่รัก เธอก็เกิดความแค้น ทอผ้าตาดทองพร้อมสาปแช่ง
"ข้าขอสาปแช่ง ด้วยดวงชีวิต ดวงจิตและดวงวิญญาณของข้า ทุกฝีเข็ม ทุกเส้นไหม ทุกลมหายใจ ความทุกข์ความเจ็บแค้นใดที่พวกมันเคยได้ทำไว้กับข้า ขอจงฝังไว้ในผ้าห่มไหมปักทองผืนนี้ มันจะต้องเจ็บและทรมานมากกว่าที่ข้าเคยเจ็บนับสิบนับร้อยเท่า"
น่าสังเกตว่าตัวละครหญิงในละครไทย จะใช้คาถามนต์ดำด้วยวัตถุประสงค์เดียวคือเรื่อง "ความรัก" ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า "ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา" สะท้อนถึงความอยากได้อยากมีแบบไม่มีขอบเขต ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็ยังมีผู้หญิงที่คิดแบบนี้อยู่ ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ละครซึ่งมีเรื่องราวการทำไสยศาสตร์ประเภทให้ผัวรักผัวหลงจะโดนใจหลายคน
แต่ไม่ว่าคาถาเหล่านั้นจะได้ผลหรือไม่ เรื่องนี้คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เท่ากับว่า ผู้ที่ใช้คาถา ล้วนมีตอนจบที่ไม่ค่อยจะสวยงามเท่าใดนัก
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊คและยูทูป
teenee.com