......................ผวา เงาะ มังคุด ลองกอง 2 แสนตันประดังออกสู่ตลาดพร้อมกัน 20 พ.ค.นี้ คาดราคาตกต่ำหนักสุดในรอบ 20 ปี ชาวสวนจี้กระทรวงเกษตรฯเร่งขอเงินจ่ายขาดจาก คชก.มารับมือ รวมทั้งหารือผู้ส่งออกผักผลไม้และแอร์คาร์โก้จัดหาระวางเครื่องบินเพื่อส่ง ออกทางอากาศ และปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ส่งออกทางเรือมีไม่เพียงพอ
นาย สุเทพ นพพันธ์ เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้และทุเรียนนอกฤดูรายใหญ่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ผลไม้ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ว่าในส่วนของทุเรียนไม่น่าเป็นห่วง เพราะจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนมีนาคมนี้ แต่ราคาส่งออกทุเรียนนอกฤดูโดยเฉลี่ยขณะนี้ลดลงจาก กก.ละ 80 เหลือ กก.ละ 70 บาท ราคาลดลงพอสมควรจากภาวะค่าเงินบาทแข็ง แต่ในส่วนของเงาะ มังคุด และลองกองใน 3 จังหวัดดังกล่าวจะทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 เดือน คาดว่าราคาจะตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 20 ปี เฉลี่ยแล้วราคาที่เกษตรกรจะขายได้ไม่เกิน กก.ละ 10 บาทเท่านั้น ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งกำหนดมาตรการรับมือในการกระจายผลไม้ออกจากพื้นที่ไป ยังผู้บริโภคโดยเร็ว
กระทรวงเกษตรฯควรเสนอของบฯจ่ายขาดจากคณะ กรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มาช่วยเหลือค่าขนส่งผลไม้ออกจากพื้นที่โดยเร็ว นอกจากนี้ ในส่วนของปัญหาการส่งออกที่พบทุกปี คือระวางบรรทุกของสายการบินในการขนส่งผลไม้และตู้คอนเทนเนอร์ที่จะบรรจุผล ไม้ส่งออกทางเรือมีไม่เพียงพอ
ภาครัฐควรร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ แอร์คาร์โก้รับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศมาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด
"ค่าแรงงาน ในการเก็บเกี่ยวปัจจุบันค่อนข้างสูง จากการที่รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศทุกจังหวัดวันละ 300 บาท ที่ผ่านมาชาวสวนจะจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเงาะ กก.ละ 2 บาท แต่มังคุดจะสูงถึง กก.ละ 5 บาท หากราคาตกลงเหลือ กก.ละ 10 บาท ชาวสวนจะขาดทุน และจะไม่จ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเหมือนที่ผ่านมาได้"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ก่อนหน้านี้นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 ชลบุรี (สศข.6) ได้ออกสำรวจสถานการณ์ไม้ผลของภาคตะวันออก ปี 2556 ทั้ง 4 ชนิด คือทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ว่าผลผลิตไม้ผลของภาคตะวันออกอาจจะออกสู่ตลาดช้ากว่าฤดูกาลปกติประมาณ 1 เดือน สาเหตุจากพื้นที่มีฝนตกกระจายตั้งแต่ปลายพฤศจิกายน 55 จนถึงช่วงมกราคม 56 ส่งผลทำให้ต้นเงาะแตกใบอ่อนแทนช่อดอกค่อนข้างมาก
ส่วน ผลพยากรณ์ในปี 2556 พบว่าพื้นที่ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 680,769 ไร่ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2555 ที่จำนวน 680,774 ไร่ หรือประมาณ 5 ไร่ โดยเงาะลดลงประมาณร้อยละ 2.9 และทุเรียนลดลงร้อยละ 0.4 ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้นคือมังคุด ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 และลองกองเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตต่อไร่ทั้ง 4 ชนิดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยปี 2556
คาดว่าจะมีประมาณ 730,090 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 23,624 ตัน หรือร้อยละ 3.3 โดยเฉพาะมังคุดเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19.2 รองลงมาได้แก่ ลองกอง เงาะ และทุเรียน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8, 1.2 และ 0.2 ตามลำดับ
ขณะเดียว กัน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมวางแผนการบริหารจัดการปริมาณผลผลิตทุเรียนที่จะออกสู่ตลาดจำนวนมาก ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีในประเทศ และส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งหากไทยไม่สามารถส่งออกไปยังอินโดนีเซียที่ห้ามนำเข้าได้เหมือนเช่นที่ ผ่านมาก็ต้องหาตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม หรือจีน เป็นต้น
สำหรับปริมาณผลผลิตทุเรียนปี 2556 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 529,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 1.12
ที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362661730&grpid=10&catid=19&subcatid=1900
ผวาราคาผลไม้ทรุดหนักรอบ20ปี เงาะ-มังคุด-ลองกองออกตลาดพร้อมกัน20พ.ค.นี้
นาย สุเทพ นพพันธ์ เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้และทุเรียนนอกฤดูรายใหญ่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ผลไม้ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ว่าในส่วนของทุเรียนไม่น่าเป็นห่วง เพราะจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนมีนาคมนี้ แต่ราคาส่งออกทุเรียนนอกฤดูโดยเฉลี่ยขณะนี้ลดลงจาก กก.ละ 80 เหลือ กก.ละ 70 บาท ราคาลดลงพอสมควรจากภาวะค่าเงินบาทแข็ง แต่ในส่วนของเงาะ มังคุด และลองกองใน 3 จังหวัดดังกล่าวจะทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 เดือน คาดว่าราคาจะตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 20 ปี เฉลี่ยแล้วราคาที่เกษตรกรจะขายได้ไม่เกิน กก.ละ 10 บาทเท่านั้น ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งกำหนดมาตรการรับมือในการกระจายผลไม้ออกจากพื้นที่ไป ยังผู้บริโภคโดยเร็ว
กระทรวงเกษตรฯควรเสนอของบฯจ่ายขาดจากคณะ กรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มาช่วยเหลือค่าขนส่งผลไม้ออกจากพื้นที่โดยเร็ว นอกจากนี้ ในส่วนของปัญหาการส่งออกที่พบทุกปี คือระวางบรรทุกของสายการบินในการขนส่งผลไม้และตู้คอนเทนเนอร์ที่จะบรรจุผล ไม้ส่งออกทางเรือมีไม่เพียงพอ
ภาครัฐควรร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ แอร์คาร์โก้รับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศมาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด
"ค่าแรงงาน ในการเก็บเกี่ยวปัจจุบันค่อนข้างสูง จากการที่รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศทุกจังหวัดวันละ 300 บาท ที่ผ่านมาชาวสวนจะจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเงาะ กก.ละ 2 บาท แต่มังคุดจะสูงถึง กก.ละ 5 บาท หากราคาตกลงเหลือ กก.ละ 10 บาท ชาวสวนจะขาดทุน และจะไม่จ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเหมือนที่ผ่านมาได้"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ก่อนหน้านี้นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 ชลบุรี (สศข.6) ได้ออกสำรวจสถานการณ์ไม้ผลของภาคตะวันออก ปี 2556 ทั้ง 4 ชนิด คือทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ว่าผลผลิตไม้ผลของภาคตะวันออกอาจจะออกสู่ตลาดช้ากว่าฤดูกาลปกติประมาณ 1 เดือน สาเหตุจากพื้นที่มีฝนตกกระจายตั้งแต่ปลายพฤศจิกายน 55 จนถึงช่วงมกราคม 56 ส่งผลทำให้ต้นเงาะแตกใบอ่อนแทนช่อดอกค่อนข้างมาก
ส่วน ผลพยากรณ์ในปี 2556 พบว่าพื้นที่ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 680,769 ไร่ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2555 ที่จำนวน 680,774 ไร่ หรือประมาณ 5 ไร่ โดยเงาะลดลงประมาณร้อยละ 2.9 และทุเรียนลดลงร้อยละ 0.4 ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้นคือมังคุด ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 และลองกองเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตต่อไร่ทั้ง 4 ชนิดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยปี 2556
คาดว่าจะมีประมาณ 730,090 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 23,624 ตัน หรือร้อยละ 3.3 โดยเฉพาะมังคุดเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19.2 รองลงมาได้แก่ ลองกอง เงาะ และทุเรียน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8, 1.2 และ 0.2 ตามลำดับ
ขณะเดียว กัน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมวางแผนการบริหารจัดการปริมาณผลผลิตทุเรียนที่จะออกสู่ตลาดจำนวนมาก ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีในประเทศ และส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งหากไทยไม่สามารถส่งออกไปยังอินโดนีเซียที่ห้ามนำเข้าได้เหมือนเช่นที่ ผ่านมาก็ต้องหาตลาดใหม่ เช่น เวียดนาม หรือจีน เป็นต้น
สำหรับปริมาณผลผลิตทุเรียนปี 2556 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 529,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 1.12
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362661730&grpid=10&catid=19&subcatid=1900