เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88
ทุเรียน ราชาผลไม้ไทยที่หลายคนโปรดปรานในรสชาติหวานมัน แต่เมื่อรับประทานมาก ๆ ก็ต้องรู้สึกผิดและตะขิดตะขวงใจเพราะมีน้ำตาลและแคลอรี่สูง เกิดคำถามในใจว่าควรจะรับประทานอย่างไรจึงจะพอดี ไม่อ้วน และปลอดภัยต่อสุขภาพ แล้วประโยชน์ของทุเรียนต่อสุขภาพหรือการรักษาโรคที่กล่าวอ้างกันนั้นเชื่อได้จริงหรือ
เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ ภายในเนื้อทุเรียนอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากหลายชนิด โดยทุเรียน 1 ลูกเล็ก ๆ มีเนื้อทุเรียนน้ำหนักประมาณ 600 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการเป็นพลังงาน 885 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตถึง 163.1 กรัม มากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน ไขมัน 32.1 กรัม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated) เป็นไขมันดีที่จะช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี มีเส้นใยอาหารโพแทสเซียม และวิตามินซีสูง รวมถึงสารอาหารสำคัญชนิดอื่น ๆ เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินเอ และแคลเซียม
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุเรียนจะเป็นแหล่งคุณค่าทางสารอาหารที่ดี ทว่าแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรต
ที่มีในปริมาณสูงนั้นก็อาจส่งผลให้น้ำหนักและรอบเอวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน โดยทุเรียนลูกใหญ่ที่มีเนื้อทุเรียนประมาณ 1 กิโลกรัม อาจจะให้พลังงานมากถึง 1,350 แคลอรี่ หากรับประทานทั้งหมดสามารถคิดเป็นพลังงานร้อยละ 68 สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปที่ควรได้รับพลังงาน 2,000 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งถือว่าสูงมาก ทางที่ดีผู้ที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไปควรรับประทานประมาณที่ 2-3 เม็ดต่อครั้งก็เพียงพอ และควรรับประทานให้น้อยลงกว่านี้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานทุเรียนที่อาจไม่เป็นความจริง
ทุเรียนมีคอเลสเตอรอลสูง
หลายคนเข้าใจสับสนว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่รู้หรือไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วทุเรียนมีคอเลสเตอรอลเป็นศูนย์ หรือไม่มีคอเลสเตอรอลเลยนั่นเอง โดยคอเลสเตอรอลนั้นจะพบได้เฉพาะในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน อาหารทะเล และอาหารที่ทำจากนมทั้งหลาย แต่ไขมันที่พบในทุเรียนคือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งอาจช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและปรับสมดุลระดับความดันโลหิต
ควรรับประทานทุเรียนคู่กับมังคุดช่วยลดความร้อน
ตามหลักการแพทย์แผนโบราณของจีนกล่าวว่ามังคุดเป็นผลไม้เย็นที่จะช่วยดับความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อรับประทานทุเรียนได้ ทว่าเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นเพียงความเชื่อที่ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าเท็จจริงประการใด ซึ่งความนิยมในการรับประทานมังคุดคู่ทุเรียนนี้อาจเป็นเพราะว่ามีช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่ตรงกันด้วย ทำให้มักได้รับประทานไปพร้อม ๆ กัน เกิดเป็นความเชื่อดังกล่าว
ห้ามรับประทานยาลดไข้พร้อมกับทุเรียน
เชื่อกันว่าทุเรียนจะเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้นและห้ามรับประทานพร้อมยาพาราเซตามอล เพราะเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาที่เป็นพิษต่อร่างกาย อย่างไรก็ดี งานวิจัยที่ทดสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้กับหนูทดลอง พบว่าทุเรียนไม่ได้ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายของหนูเพิ่มขึ้นอย่างน่าจะมีความสัมพันธ์ และตรงกันข้ามกับความเชื่อนี้ หนูที่ได้รับทุเรียนผสมกับพาราเซตามอลกลับมีอุณหภูมิร่างกายที่ลดต่ำลง ส่วนกลไกเกี่ยวกับการเกิดผลพิษของยานั้นไม่สามารถระบุได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ปฏิกิริยาของทุเรียนกับยาพาราเซตามอลในคนโดยตรง ความเชื่อนี้จึงนับว่ายังมีความคลุมเครืออยู่
ทุเรียนกับเบียร์อาจทำให้เสียชีวิตได้
มีข้อห้ามการรับประทานทุเรียนพร้อมกับดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะเชื่อว่าอาจมีปฏิกิริยาที่ส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งจากการศึกษาเพื่อหาคำตอบของความเชื่อนี้ก็พบว่าการรับประทานทั้ง 2 อย่างพร้อมกันอาจส่งผลบางอย่างต่อร่างกายจริง แต่อาจจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยทุเรียนนั้นจะไปส่งผลให้เอนไซม์ Aldehyde Dehydrogenase ลดลง และเนื่องจากเอนไซม์ดังกล่าวมีหน้าที่เปลี่ยนสารแอลดีไฮด์ (Aldehyde) สารพิษที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ไปเป็นพลังงานให้กลายเป็นสารอื่นแล้วกำจัดออกจากร่างกายไป เมื่อกำจัดได้น้อยลงจึงทำให้สารแอลดีไฮด์สะสมภายในร่างกาย เกิดอาการหน้าแดง ชา วิงเวียน และอาเจียนตามมาในที่สุด
นอกจากนี้ การรับประทานทุเรียนพร้อมกับแอลกอฮอล์ยังอาจส่งผลให้มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด และรู้สึกอึดอัด ไม่ค่อยสบายเช่นกัน เนื่องจากตับต้องทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อที่จะเผาผลาญไขมันและน้ำตาลที่ได้จากทุเรียนและแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานทั้ง 2 อย่างในปริมาณที่มากเกินพอดี
ทุเรียนช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้ความรู้สึกร้อนเมื่อรับประทาน และอาจส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายว่าจะทำให้มีคุณสมบัติกระตุ้นความต้องการทางเพศอย่างที่เชื่อกัน โดยไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงความความเป็นไปได้ที่ทุเรียนจะมีคุณสมบัตินี้ในปัจจุบัน
ประโยชน์ของทุเรียนที่อาจมีต่อสุขภาพ
รับประทานทุเรียนอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ข้างต้น
‘ทุเรียน’ กับความเชื่อที่อาจเป็นเพียงความเข้าใจผิด
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88
ทุเรียน ราชาผลไม้ไทยที่หลายคนโปรดปรานในรสชาติหวานมัน แต่เมื่อรับประทานมาก ๆ ก็ต้องรู้สึกผิดและตะขิดตะขวงใจเพราะมีน้ำตาลและแคลอรี่สูง เกิดคำถามในใจว่าควรจะรับประทานอย่างไรจึงจะพอดี ไม่อ้วน และปลอดภัยต่อสุขภาพ แล้วประโยชน์ของทุเรียนต่อสุขภาพหรือการรักษาโรคที่กล่าวอ้างกันนั้นเชื่อได้จริงหรือ