......................เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ น.ส.ดวงเดือน ศรีโพธา ผอ.กุล่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสทางด้านพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในการประชุมอนุสัญญาไซเตส ด้านพันธุ์ไม้กฤษณามีมติเอกฉันท์ เปลี่ยนคำจำกัดความของการปลูกไม้กฤษณา ที่สามารถส่งออกตามที่กรมวิชาการเกษตรเสนอ
น.ส.ดวงเดือนกล่าวว่า แต่ไม่ต้องปลูกแบบสวนเชิงเดี่ยว แต่ว่าให้รวมถึงการปลูกผสมผสานกับไม้ชนิดอื่น และต้องมีมาตรการดูแลป้องกันลักลอบตัดไม้กฤษณาในธรรมชาติด้วย ซึ่งคำนิยามที่กำหนดใหม่นี้ ทำให้ผู้ปลูกกฤษณาในประเทศไทยสามารถส่งออกไม้กฤษณาไปยังประเทศต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งลดปัญหาในการลักลอบตัดไม้กฤษณา ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามอีกทางหนึ่งด้วย
"ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกและขยายพันธุ์กฤษณาเพื่อค้าระหว่างประเทศจำนวนมากมีพื้นที่ปลูกครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ จ.จันทบุรี ระยอง ตราด และนครนายก จากข้อมูลสถิติการส่งออกกฤษณาในปี55 พบว่าในแต่ละปีมีการส่งออกชิ้นไม้กฤษณาไม่น้อยกว่า 3,000 ก.ก. และน้ำมันประมาณ 1, 500 ก.ก. กล้าไม้กฤษณาประมาณ 100,000 ต้น และผงขี้เลื่อยมากกว่า 100,000 ก.ก. รวมมูลค่าการส่งออก 42 ล้านบาทต่อปี" ผอ.กุล่มวิจัยฯ กล่าว
น.ส.ดวงเดือนกล่าวอีกว่า ประเทศคู่ค้าหลักได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามและฮินดู เช่น อินเดีย ปากีสถาน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณาจำนวนมาก โดยเฉพาะชิ้นไม้ และน้ำมัน รองลงมาได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และฮ่องกง
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362669959&grpid=03&catid=&subcatid=
ไซเตสไฟเขียวปลูกไม้หอม"กฤษณา"ขาย
น.ส.ดวงเดือนกล่าวว่า แต่ไม่ต้องปลูกแบบสวนเชิงเดี่ยว แต่ว่าให้รวมถึงการปลูกผสมผสานกับไม้ชนิดอื่น และต้องมีมาตรการดูแลป้องกันลักลอบตัดไม้กฤษณาในธรรมชาติด้วย ซึ่งคำนิยามที่กำหนดใหม่นี้ ทำให้ผู้ปลูกกฤษณาในประเทศไทยสามารถส่งออกไม้กฤษณาไปยังประเทศต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งลดปัญหาในการลักลอบตัดไม้กฤษณา ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามอีกทางหนึ่งด้วย
"ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกและขยายพันธุ์กฤษณาเพื่อค้าระหว่างประเทศจำนวนมากมีพื้นที่ปลูกครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ จ.จันทบุรี ระยอง ตราด และนครนายก จากข้อมูลสถิติการส่งออกกฤษณาในปี55 พบว่าในแต่ละปีมีการส่งออกชิ้นไม้กฤษณาไม่น้อยกว่า 3,000 ก.ก. และน้ำมันประมาณ 1, 500 ก.ก. กล้าไม้กฤษณาประมาณ 100,000 ต้น และผงขี้เลื่อยมากกว่า 100,000 ก.ก. รวมมูลค่าการส่งออก 42 ล้านบาทต่อปี" ผอ.กุล่มวิจัยฯ กล่าว
น.ส.ดวงเดือนกล่าวอีกว่า ประเทศคู่ค้าหลักได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามและฮินดู เช่น อินเดีย ปากีสถาน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณาจำนวนมาก โดยเฉพาะชิ้นไม้ และน้ำมัน รองลงมาได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และฮ่องกง
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362669959&grpid=03&catid=&subcatid=