สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ทั้งสองชนิดเอาเข้าเตาอบได้ค่ะ
ส่วนตัวใช้ัแผ่นรองอบ (Baking sheet) สะดวก ขนมอบไม่ติดถาด สามารถล้างทำความสะอาดได้ แผ่นละ 100 บาท นำมาใช้ใหม่ได้เป็นร้อยๆ ครั้ง ทำให้ไม่เปลือง
ส่วนกระดาษไข ไว้สำหรับรองก้นเค้กค่ะ
รายละเอียดความแตกต่างและการใช้งานแบบต่างๆ
ที่มา : http://naapastrychef.blogspot.com/2010/01/baking-paper-waxed-paper.html
Baking paper กระดาษไข ซึ่งใช้กันทุกเมื่อเชื่อวันที่ครัวเป็นกระดาษที่เคลือบด้วยไขพาราฟินทั้งสองด้านทนต่อความชื้นและไขมัน นิยมใช้เป็นกระดาษรองกันขนมติดถาดในขณะอบคือรองที่ถาดโดยไม่ต้องทาเนยซ้ำ แต่เนี่องจากไขพาราฟินเมื่อถูกความร้อนสูงๆ โดยตรงจะทำละลายและทำให้เกิดควัน กระดาษไขจึงเหมาะสำหรับรองก้นพิมพ์อบขนมเค้กซึ่งเนื้อเค้กปิดส่วนของกระดาษจนหมด เช่น แยมโรล ไม่เหมาะทีจะใช้ปูรองอบขนม เช่น คุ๊กกี้ ขนมปัง ที่รีสอร์ทก็จะใช้ปูรองพิมพ์เค้กเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือเอาไว้รองรีดแป้งพายหวานเพราะไม่ติดเวลารีด ส่วนเวลาอบขนมจะใช้แผ่น Silpat map เสียเป็นส่วนใหญ่
Parchment Paper กระดาษพาร์ชเมนต์ เป็นกระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตเพื่อทำให้มีความเหนียวเป็นพิเศษ โดยจุ่มกระดาษในกรดซัลฟูริกเข้มข้นเป็นเวลาสั้นๆ นำไปล้างและทำให้เป็นกลางก่อนนำไปอบรีดให้แห้งจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสารซิลิโคน กระดาษพาร์ชเมนต์ทนต่อความชื้น ไขมัน และอุณหภูมสูงถึง 400 องศาฟาเรนไฮต์ เหมาะสำหรับปูรองอบคุ๊กกี้ สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 8-10 ครั้งในการอบขนมที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส หรือ 6-7 ครั้งที่อุณหภมิ 230 องศาเซลเซียส
Silpat mat ซิลิโคนแมท เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเบเกอรี่กันมากทีเดียวเพราะเวลาอบขนมไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมถาดมากมายแค่ปูก็ใช้ได้เลย แถมทำความสะอาดได้ง่าย ราคาต่อแผ่นก็มีตั้งแต่ 300 บาทจนไปเป็นพันบาทขึ้นอยู่กับที่มาจากทีไหนเรียกได้ว่าต่างจากที่มาแต่ก็คุ้ม เพราะอ้ายเจ้า ซิลิโคนแมทนี้สามารถนำกลับมาใช้ได้ถึง 2000-3000 ครั้งเลยทีเดียวขึ้นอยู่การใช้งานและเก็บรักษา ซึ่งการทำความสะอาดก็ไม่ได้สลับซับซ้อนพิศดารอะไรมากมาย จะล้างด้วยนำสบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดธรรมดาและน้ำอุ่นแค่นั้น เช็ดให้แห้งจะม้วนหรือจะวางให้แบนไปถาดและซ้อนๆกันเพียงแต่ต้องเช็ดให้แห้งก่อนกันเชื้อราจะขอมาอาศัยกันเท่านั้น Silpat mat ที่ใช้อยู่มาไกลจากฝรั่งเศลทำมาจากไฟเบอร์กลาสและยางซิลิคอนทนความร้อนได้ 482 องศาฟาเรนไฮน
ส่วนตัวใช้ัแผ่นรองอบ (Baking sheet) สะดวก ขนมอบไม่ติดถาด สามารถล้างทำความสะอาดได้ แผ่นละ 100 บาท นำมาใช้ใหม่ได้เป็นร้อยๆ ครั้ง ทำให้ไม่เปลือง
ส่วนกระดาษไข ไว้สำหรับรองก้นเค้กค่ะ
รายละเอียดความแตกต่างและการใช้งานแบบต่างๆ
ที่มา : http://naapastrychef.blogspot.com/2010/01/baking-paper-waxed-paper.html
Baking paper กระดาษไข ซึ่งใช้กันทุกเมื่อเชื่อวันที่ครัวเป็นกระดาษที่เคลือบด้วยไขพาราฟินทั้งสองด้านทนต่อความชื้นและไขมัน นิยมใช้เป็นกระดาษรองกันขนมติดถาดในขณะอบคือรองที่ถาดโดยไม่ต้องทาเนยซ้ำ แต่เนี่องจากไขพาราฟินเมื่อถูกความร้อนสูงๆ โดยตรงจะทำละลายและทำให้เกิดควัน กระดาษไขจึงเหมาะสำหรับรองก้นพิมพ์อบขนมเค้กซึ่งเนื้อเค้กปิดส่วนของกระดาษจนหมด เช่น แยมโรล ไม่เหมาะทีจะใช้ปูรองอบขนม เช่น คุ๊กกี้ ขนมปัง ที่รีสอร์ทก็จะใช้ปูรองพิมพ์เค้กเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือเอาไว้รองรีดแป้งพายหวานเพราะไม่ติดเวลารีด ส่วนเวลาอบขนมจะใช้แผ่น Silpat map เสียเป็นส่วนใหญ่
Parchment Paper กระดาษพาร์ชเมนต์ เป็นกระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตเพื่อทำให้มีความเหนียวเป็นพิเศษ โดยจุ่มกระดาษในกรดซัลฟูริกเข้มข้นเป็นเวลาสั้นๆ นำไปล้างและทำให้เป็นกลางก่อนนำไปอบรีดให้แห้งจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสารซิลิโคน กระดาษพาร์ชเมนต์ทนต่อความชื้น ไขมัน และอุณหภูมสูงถึง 400 องศาฟาเรนไฮต์ เหมาะสำหรับปูรองอบคุ๊กกี้ สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 8-10 ครั้งในการอบขนมที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส หรือ 6-7 ครั้งที่อุณหภมิ 230 องศาเซลเซียส
Silpat mat ซิลิโคนแมท เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเบเกอรี่กันมากทีเดียวเพราะเวลาอบขนมไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมถาดมากมายแค่ปูก็ใช้ได้เลย แถมทำความสะอาดได้ง่าย ราคาต่อแผ่นก็มีตั้งแต่ 300 บาทจนไปเป็นพันบาทขึ้นอยู่กับที่มาจากทีไหนเรียกได้ว่าต่างจากที่มาแต่ก็คุ้ม เพราะอ้ายเจ้า ซิลิโคนแมทนี้สามารถนำกลับมาใช้ได้ถึง 2000-3000 ครั้งเลยทีเดียวขึ้นอยู่การใช้งานและเก็บรักษา ซึ่งการทำความสะอาดก็ไม่ได้สลับซับซ้อนพิศดารอะไรมากมาย จะล้างด้วยนำสบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดธรรมดาและน้ำอุ่นแค่นั้น เช็ดให้แห้งจะม้วนหรือจะวางให้แบนไปถาดและซ้อนๆกันเพียงแต่ต้องเช็ดให้แห้งก่อนกันเชื้อราจะขอมาอาศัยกันเท่านั้น Silpat mat ที่ใช้อยู่มาไกลจากฝรั่งเศลทำมาจากไฟเบอร์กลาสและยางซิลิคอนทนความร้อนได้ 482 องศาฟาเรนไฮน
แสดงความคิดเห็น
กระดาษรองอบ (Parchment Paper) กับกระดาษไข (Wax Paper) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร