ผ่านวัน Deadline 1 มี.ค. กันไปเรียบร้อย และผลก็ออกมาเป็นอย่างที่นักวิเคราะห์การเมืองกังวลกัน นั้นก็คือ ทำเนียบขาว และสภาคองเกรส ไม่สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียดเงื่อนไขของมาตรการภาษีที่หมดอายุในปีนี้
และนั้นเป็นสาเหตุให้เราได้ยินคำว่า “Sequestration” อยู่บนหน้าสื่อด้านการลงทุนแทบทุกสื่อ ณ ชม. นี้ เราไปทำความรู้จักกับคำๆนี้กันครับ
Q : Sequestration คืออะไรหว่า?
A: Sequestration เป็นกระบวนการตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ หากรัฐสภาไม่สามารถอนุมัติแผนรัดเข็มขัดเป็นจำนวนอย่างน้อยคือ $1.2trillion ภายในปี 2556 นี้
มูลค่าการใช้จ่ายที่ภาครัฐจะถูกตัดออก จะเท่ากับ ส่วนต่างของแผนที่อนุมัติ กับ $1.2trillion โดย ครึ่งหนึ่งของส่วนต่าง จะไปตัดงบที่กระทรวงกลาโหม ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งไปแบ่งตัดออกจากกระทรวงอื่น
สำหรับการใช้จ่ายที่ไม่สามารถตกลงกันได้ครั้งนี้ ส่วนต่างกันกล่าว เป็นวงเงินอยู่ที่ $85,000million โดยการตัดงบประมาณครั้งนี้ ราวๆ $42,500Million ไปตัดงบกลาโหม ที่เหลืออีกครึ่งก็ไปโดนที่กระทรวงอื่นๆแตกต่างกันไป
Q : ทำไมต้องมีกระบวนการนี้?
A : กระบวนการนี้ อยู่ในบทกฏหมายชื่อ Budget Control Act คือ การบังคับตัดลดงบประมาณใช้จ่ายของรัฐบาลล่วงหน้า ตั้งแต่ปี 2556-2564 (คศ. 2013-2021) มีไว้เผื่อในกรณีที่รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว และไม่สามารถตกลงหาทางแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ ประเทศสหรัฐฯเอง สามารถลดรายจ่าย และลดภาระหนี้ได้อย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะกลายเป็นหนี้มหาศาลโดยที่ตกลงกันไม่ได้ซักทีเหมือนอย่างประเทศในแทบยุโรป
ส่วนตัว ผมมองว่า ถือเป็นข้อดีที่มี Sequestration เพราะ แผนประชานิยมใดๆที่ทำให้รายได้ของรัฐบาลขาดไป ระบบนี้จะไปตัดจ่ายใช้จ่ายออกอัตโนมัติทันที ทำให้รายได้ และรายจ่าย ไม่เหวี่ยงจนเกินภาวะขาดดุลหนักเกินไปในระยะยาว
Q : สาเหตุของการทำ Sequestration คืออะไรหนอ?
A : ถ้ายังทำ Fiscal Cliff ปลายปีที่แล้วได้ อย่าลืมว่าวันนั้น Obama กับพรรครีพลับริกัน ยังไม่ได้ตกลงกันนะครับ ว่าจะต่อมาตรการภาษีอันนั้น แต่ตกลงว่า อีก 2 เดือนค่อยมาคุยกันใหม่อีก ซึ่ง Deadline มันก็คือ วันที่ 1 มี.ค. อย่างที่บอก และเราก็ได้เห็นกันแล้วว่า ตกลงกันไม่ได้ T_T
Q : เหตุการจะเป็นเยี่ยงไรต่อไป?
A : Sequestration เป็นแค่ปมแรก ในอีกหลายๆปมที่จะตามมาในปีนี้ที่รัฐบาลอเมริกาเองต้องแก้ และ Ben Bernanke ประธานเฟด ก็เคยบอกโรงเตือนมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งว่า อยากให้นักการเมืองจริงจังในการช่วยกันให้ประเทศเดินหน้าเสียที
ที่บอกว่ามีอีกหลายปม ก็คือ
วันที่ 26 มี.ค. ที่จะถึง กฏหมายจัดสรรเงินทุนระยะสั้นให้แก่หน่วยงานรัฐบาลจะหมดอายุลงก่อน
จากนั้น ตามมาด้วย แผนงบประมาณปี 2557 ที่จะต้องสรุปตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. นี้
หลังจากนั้น วันที่ 19 พ.ค. เป็นวันที่ สหรัฐฯ จะต้องไปเผชิญกับการต่อรองทางการเมืองเรื่อง Debt Ceiling เพราะหนี้ วิ่งมาชนเพดานอีกแล้ว - -“
นั้นหมายความว่า แก้ปัญหาอันนี้ไม่ได้ ก็เหมือนกับจะบอกกลายๆว่า Democrat และ Republican ก็ยังเถียงกันจนวินาทีสุดท้าย แล้วนี้มีวาระแห่งชาติรออยู่ข้างหน้าอีก 3 วาระ มันจะรอดกันไหมเนี่ย
Q : แสดงว่า กระทบแค่ความเชื่อมั่นนี่นา แต่ถ้าผ่านได้ก็ไม่มีไรใช่หรือเปล่า?
A : Sequestration ไม่ได้ตัดงบประมาณทันทีทั้งก้อน $85,000million ก็จริง แต่ก็ทยอยตัดงบทันทีตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมาแล้วครับ และจะหยุดตัดเมื่อถึงวันที่ 30 ก.ย. ปีนี้ เยอะนะครับ ภายใน 7 เดือน เงินเยอะขนาดนี้
ซึ่งผลกระทบที่ Congressional Budget Office (CBO) เขามองไว้ก็คือ ภายในปีนี้ รัฐบาลอาจต้องเลิกจ้างงานจำนวนกว่า 750,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ แถม IMF ก็ออกมาบอกว่า การทำ Sequestration ครั้งนี้ น่าจะทำให้ GDP ของอเมริกาเอง ลดลงราว 0.5% ทีเดียว
Q : เอร๊ยยย น่ากลัวอ่ะ อเมริกาจะเข้า Recession อ๊ะป่าว ขายหุ้นทิ้งดีกว่า >.<
A : ตั้งสตินิดเนิงนะครับ อย่าเอานิสัยแมงเม่ามาใช้
Sequestration ถึงแม้จะถูกใช้มาแล้ว แต่เป็นการทยอยตัดจ่าย ดังนั้น ถ้าทำเนียบขาวและสภาคองเกรส ยังพยายามคุยกัน ตกลงกันให้ได้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า ไม่ให้กระทบกับงบประมาณปี 2557 และงบประมาณอื่นๆ ก็ยังถือว่า ไม่ได้น่ากลัวอะไรมาก
Q : มาตรการอะไรที่ Democrat กับ Republican ตกลงกันไม่ได้?
A : Democrat นั้นมีฐานเสียงเป็นคนชนชั้นกลางและระดับล่าง ดังนั้นชัดเจนว่า Democrat ไม่ต้องการให้สิทธิคนรวยได้ลดหย่อนภาษีที่ได้มาตั้งแต่สมัยจอร์จ บุช ได้อีก ซึ่งส่วนทางกับ Republican ที่มีฐานเสียงเป็นคนรวย ชนชั้นสูงในสังคม แถม Democrat กุมสภาสูง แต่ Republican ได้เสียงข้างมากในสภาล่าง เสียงแตกแบบนี้ คงทำงานแบบ “ไร้รอยต่อ ยากหน่อย” (ขอแซว อิอิ)
Q : เราก็ว่า เห็นข่าวออกมา หุ้นอเมริกาไม่เห็นโดนทิ้งอะไรลงมาเลย โฮะๆๆๆ งั้น ซื้อเว้ยยยย พวกเรา \^o^/
A : แสดงความเป็นเม่าสุดๆ เหอะๆ
มี Super Deadline ครับ ถ้าเลยวันที่ 19 พ.ค. นี้ไป ยังตกลงอะไรกันไม่ได้ แถม Debt Ceiling ก็ไม่มีข้อสรุปละก็ เมื่อนั้น ตลาดหุ้นอาจจะพังจริงๆก็ได้นะ แต่เอาอดีตสองครั้งที่ตลาดกังวลกับปัญหาหนี้ในอเมริกามาให้ดูช่วงปี 2011 กับ ปีที่แล้ว จะเห็นว่า ตอนที่ S&P ตัดสินใจหั่น Credit Rating อเมริกา ตอนนั้น ตลาดลงแรงกันหมดทั่วโลก แต่ในปี 2012 นั้น ตลาดแค่กังวล ไปไหนได้ไม่ไกล แต่สุดท้าย ทั้งสองครั้ง ตลาดก็วิ่งกลับมาเป็นขาขึ้นอยู่ดี โดยเฉพาะหุ้นไทย
Q : แสดงว่า หุ้นไทยเรา ไม่เกี่ยวกับ Sequestration ครั้งนี้?
A : ต้องบอกว่า ผลกระทบอยู่ในวงจำกัดมากกว่าครับ เพราะโอกาสยังสามารถพลิกไปพลิกมาได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่า ทั้งสองพรรคในอเมริกา เมื่อไหร่จะเจรจาตกลงกันได้ (ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ใจของเค้านะ)
มองในแง่ดี อย่าลืมว่า Fiscal Cliff ที่กังวลว่าจะตกหน้าผาในตอนแรก วงเงินสูงถึง $600,000Million ตกมาจริงๆ ไม่ถึง 15% ของมาตรการทั้งหมดนะครับ แสดงว่า ตกลงกันไปได้ก็มากมายอยู่ ไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอก ^^
------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ
$$… สุดท้ายก็ Sequestration ว่าแต่... แล้วมันคืออะไร? …$$
และนั้นเป็นสาเหตุให้เราได้ยินคำว่า “Sequestration” อยู่บนหน้าสื่อด้านการลงทุนแทบทุกสื่อ ณ ชม. นี้ เราไปทำความรู้จักกับคำๆนี้กันครับ
Q : Sequestration คืออะไรหว่า?
A: Sequestration เป็นกระบวนการตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ หากรัฐสภาไม่สามารถอนุมัติแผนรัดเข็มขัดเป็นจำนวนอย่างน้อยคือ $1.2trillion ภายในปี 2556 นี้
มูลค่าการใช้จ่ายที่ภาครัฐจะถูกตัดออก จะเท่ากับ ส่วนต่างของแผนที่อนุมัติ กับ $1.2trillion โดย ครึ่งหนึ่งของส่วนต่าง จะไปตัดงบที่กระทรวงกลาโหม ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งไปแบ่งตัดออกจากกระทรวงอื่น
สำหรับการใช้จ่ายที่ไม่สามารถตกลงกันได้ครั้งนี้ ส่วนต่างกันกล่าว เป็นวงเงินอยู่ที่ $85,000million โดยการตัดงบประมาณครั้งนี้ ราวๆ $42,500Million ไปตัดงบกลาโหม ที่เหลืออีกครึ่งก็ไปโดนที่กระทรวงอื่นๆแตกต่างกันไป
Q : ทำไมต้องมีกระบวนการนี้?
A : กระบวนการนี้ อยู่ในบทกฏหมายชื่อ Budget Control Act คือ การบังคับตัดลดงบประมาณใช้จ่ายของรัฐบาลล่วงหน้า ตั้งแต่ปี 2556-2564 (คศ. 2013-2021) มีไว้เผื่อในกรณีที่รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว และไม่สามารถตกลงหาทางแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ ประเทศสหรัฐฯเอง สามารถลดรายจ่าย และลดภาระหนี้ได้อย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะกลายเป็นหนี้มหาศาลโดยที่ตกลงกันไม่ได้ซักทีเหมือนอย่างประเทศในแทบยุโรป
ส่วนตัว ผมมองว่า ถือเป็นข้อดีที่มี Sequestration เพราะ แผนประชานิยมใดๆที่ทำให้รายได้ของรัฐบาลขาดไป ระบบนี้จะไปตัดจ่ายใช้จ่ายออกอัตโนมัติทันที ทำให้รายได้ และรายจ่าย ไม่เหวี่ยงจนเกินภาวะขาดดุลหนักเกินไปในระยะยาว
Q : สาเหตุของการทำ Sequestration คืออะไรหนอ?
A : ถ้ายังทำ Fiscal Cliff ปลายปีที่แล้วได้ อย่าลืมว่าวันนั้น Obama กับพรรครีพลับริกัน ยังไม่ได้ตกลงกันนะครับ ว่าจะต่อมาตรการภาษีอันนั้น แต่ตกลงว่า อีก 2 เดือนค่อยมาคุยกันใหม่อีก ซึ่ง Deadline มันก็คือ วันที่ 1 มี.ค. อย่างที่บอก และเราก็ได้เห็นกันแล้วว่า ตกลงกันไม่ได้ T_T
Q : เหตุการจะเป็นเยี่ยงไรต่อไป?
A : Sequestration เป็นแค่ปมแรก ในอีกหลายๆปมที่จะตามมาในปีนี้ที่รัฐบาลอเมริกาเองต้องแก้ และ Ben Bernanke ประธานเฟด ก็เคยบอกโรงเตือนมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งว่า อยากให้นักการเมืองจริงจังในการช่วยกันให้ประเทศเดินหน้าเสียที
ที่บอกว่ามีอีกหลายปม ก็คือ
วันที่ 26 มี.ค. ที่จะถึง กฏหมายจัดสรรเงินทุนระยะสั้นให้แก่หน่วยงานรัฐบาลจะหมดอายุลงก่อน
จากนั้น ตามมาด้วย แผนงบประมาณปี 2557 ที่จะต้องสรุปตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. นี้
หลังจากนั้น วันที่ 19 พ.ค. เป็นวันที่ สหรัฐฯ จะต้องไปเผชิญกับการต่อรองทางการเมืองเรื่อง Debt Ceiling เพราะหนี้ วิ่งมาชนเพดานอีกแล้ว - -“
นั้นหมายความว่า แก้ปัญหาอันนี้ไม่ได้ ก็เหมือนกับจะบอกกลายๆว่า Democrat และ Republican ก็ยังเถียงกันจนวินาทีสุดท้าย แล้วนี้มีวาระแห่งชาติรออยู่ข้างหน้าอีก 3 วาระ มันจะรอดกันไหมเนี่ย
Q : แสดงว่า กระทบแค่ความเชื่อมั่นนี่นา แต่ถ้าผ่านได้ก็ไม่มีไรใช่หรือเปล่า?
A : Sequestration ไม่ได้ตัดงบประมาณทันทีทั้งก้อน $85,000million ก็จริง แต่ก็ทยอยตัดงบทันทีตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมาแล้วครับ และจะหยุดตัดเมื่อถึงวันที่ 30 ก.ย. ปีนี้ เยอะนะครับ ภายใน 7 เดือน เงินเยอะขนาดนี้
ซึ่งผลกระทบที่ Congressional Budget Office (CBO) เขามองไว้ก็คือ ภายในปีนี้ รัฐบาลอาจต้องเลิกจ้างงานจำนวนกว่า 750,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ แถม IMF ก็ออกมาบอกว่า การทำ Sequestration ครั้งนี้ น่าจะทำให้ GDP ของอเมริกาเอง ลดลงราว 0.5% ทีเดียว
Q : เอร๊ยยย น่ากลัวอ่ะ อเมริกาจะเข้า Recession อ๊ะป่าว ขายหุ้นทิ้งดีกว่า >.<
A : ตั้งสตินิดเนิงนะครับ อย่าเอานิสัยแมงเม่ามาใช้
Sequestration ถึงแม้จะถูกใช้มาแล้ว แต่เป็นการทยอยตัดจ่าย ดังนั้น ถ้าทำเนียบขาวและสภาคองเกรส ยังพยายามคุยกัน ตกลงกันให้ได้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า ไม่ให้กระทบกับงบประมาณปี 2557 และงบประมาณอื่นๆ ก็ยังถือว่า ไม่ได้น่ากลัวอะไรมาก
Q : มาตรการอะไรที่ Democrat กับ Republican ตกลงกันไม่ได้?
A : Democrat นั้นมีฐานเสียงเป็นคนชนชั้นกลางและระดับล่าง ดังนั้นชัดเจนว่า Democrat ไม่ต้องการให้สิทธิคนรวยได้ลดหย่อนภาษีที่ได้มาตั้งแต่สมัยจอร์จ บุช ได้อีก ซึ่งส่วนทางกับ Republican ที่มีฐานเสียงเป็นคนรวย ชนชั้นสูงในสังคม แถม Democrat กุมสภาสูง แต่ Republican ได้เสียงข้างมากในสภาล่าง เสียงแตกแบบนี้ คงทำงานแบบ “ไร้รอยต่อ ยากหน่อย” (ขอแซว อิอิ)
Q : เราก็ว่า เห็นข่าวออกมา หุ้นอเมริกาไม่เห็นโดนทิ้งอะไรลงมาเลย โฮะๆๆๆ งั้น ซื้อเว้ยยยย พวกเรา \^o^/
A : แสดงความเป็นเม่าสุดๆ เหอะๆ
มี Super Deadline ครับ ถ้าเลยวันที่ 19 พ.ค. นี้ไป ยังตกลงอะไรกันไม่ได้ แถม Debt Ceiling ก็ไม่มีข้อสรุปละก็ เมื่อนั้น ตลาดหุ้นอาจจะพังจริงๆก็ได้นะ แต่เอาอดีตสองครั้งที่ตลาดกังวลกับปัญหาหนี้ในอเมริกามาให้ดูช่วงปี 2011 กับ ปีที่แล้ว จะเห็นว่า ตอนที่ S&P ตัดสินใจหั่น Credit Rating อเมริกา ตอนนั้น ตลาดลงแรงกันหมดทั่วโลก แต่ในปี 2012 นั้น ตลาดแค่กังวล ไปไหนได้ไม่ไกล แต่สุดท้าย ทั้งสองครั้ง ตลาดก็วิ่งกลับมาเป็นขาขึ้นอยู่ดี โดยเฉพาะหุ้นไทย
Q : แสดงว่า หุ้นไทยเรา ไม่เกี่ยวกับ Sequestration ครั้งนี้?
A : ต้องบอกว่า ผลกระทบอยู่ในวงจำกัดมากกว่าครับ เพราะโอกาสยังสามารถพลิกไปพลิกมาได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่า ทั้งสองพรรคในอเมริกา เมื่อไหร่จะเจรจาตกลงกันได้ (ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ใจของเค้านะ)
มองในแง่ดี อย่าลืมว่า Fiscal Cliff ที่กังวลว่าจะตกหน้าผาในตอนแรก วงเงินสูงถึง $600,000Million ตกมาจริงๆ ไม่ถึง 15% ของมาตรการทั้งหมดนะครับ แสดงว่า ตกลงกันไปได้ก็มากมายอยู่ ไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอก ^^
------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ