จากกระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/30208623
เห็นคุณ peh_chai ถามหาคำพิพากษาฎีกา พอดีเพิ่งเห็นเมื่อเช้า และวันนี้ผมต้องทำงานวัน จึงเพิ่งจะมีเวลาหาให้ครับ
ขอตั้งเป็นกระทู้ใหม่ เนื่องจากกระทู้เดิมตกไปมากแล้ว
อย่างที่ผมออกตัวไว้ในกระทู้ก่อนแล้วว่า ข้อเท็จจริงตามกระทู้นั้นอาจจะไม่ตรงเป๊ะกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาฎีกานี้ แต่ก็น่าจะลองดูครับ
เรื่องมีอยู่ว่า ลูกจ้างในคดีนี้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม โดยระบุในใบลาออกว่าให้มีผลในวันที่ 31 ส.ค. แต่ปรากฏว่าในระเบียบของบริษัท จะต้องแจ้งออกล่วงหน้า 30 วัน ดังนั้น พอนายจ้างได้รับใบลา ก็เก็บเอาไว้ ไม่ได้เซ็นต์อนุมัติ แต่เก็บเอาไว้ในลิ้นชัก จนเลยวันที่ 31 ส.ค. ขึ้นเดือนใหม่ คือเดือน ก.ย. ลูกจ้างเห็นเจ้านายไม่เซ็นต์ใบลา ก็ไม่รู้จะทำไง ก็นั่งทำงานต่อไปอีก จนถึง 29 ก.ย. นายจ้างเอาใบลาออกมาจากลิ้นชัก ลงดาบเซ็นต์อนุมัติให้ออกได้ในวันที่ 30 ก.ย. คือวันรุ่งขึ้น
ปรากฏว่าลูกจ้างมาฟ้องศาลแรงงาน เรียกค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน ศาลฎีกาตัดสินให้ลูกจ้างชนะคดี โดยถือว่าการที่นายจ้างไม่อนุมัติใบลาตามวันที่ลูกจ้างแจ้งประสงค์จะออก (ถึงแม้จะไม่ครบ 30 วันตามระเบียบ) แต่ปล่อยให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอีกเกือบเดือน จึงค่อยมาอนุมัติให้ออกทันทีในวันรุ่งขึ้น ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมอีกด้วย
ลองอ่านกันดูเป็นความรู้ครับ มีความเห็นอะไรก็เชิญได้ครับ ถึงอย่างไรผมก็ยังไม่ได้ฟันธงเป๊ะว่า ถ้าเจ้าของกระทู้เดิมฟ้องศาลแล้ว จะชนะแน่นอน เพียงแต่เห็นว่าน่าจะลองดูครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้า และยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วันก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใด ย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้างต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลาออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายในวันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก
ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผล ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกในภายหลัง
จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์
ถึงคุณ peh_chai เรื่องคำพิพากษาฎีกาสืบเนื่องจากกระทู้เดิม
เห็นคุณ peh_chai ถามหาคำพิพากษาฎีกา พอดีเพิ่งเห็นเมื่อเช้า และวันนี้ผมต้องทำงานวัน จึงเพิ่งจะมีเวลาหาให้ครับ
ขอตั้งเป็นกระทู้ใหม่ เนื่องจากกระทู้เดิมตกไปมากแล้ว
อย่างที่ผมออกตัวไว้ในกระทู้ก่อนแล้วว่า ข้อเท็จจริงตามกระทู้นั้นอาจจะไม่ตรงเป๊ะกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาฎีกานี้ แต่ก็น่าจะลองดูครับ
เรื่องมีอยู่ว่า ลูกจ้างในคดีนี้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม โดยระบุในใบลาออกว่าให้มีผลในวันที่ 31 ส.ค. แต่ปรากฏว่าในระเบียบของบริษัท จะต้องแจ้งออกล่วงหน้า 30 วัน ดังนั้น พอนายจ้างได้รับใบลา ก็เก็บเอาไว้ ไม่ได้เซ็นต์อนุมัติ แต่เก็บเอาไว้ในลิ้นชัก จนเลยวันที่ 31 ส.ค. ขึ้นเดือนใหม่ คือเดือน ก.ย. ลูกจ้างเห็นเจ้านายไม่เซ็นต์ใบลา ก็ไม่รู้จะทำไง ก็นั่งทำงานต่อไปอีก จนถึง 29 ก.ย. นายจ้างเอาใบลาออกมาจากลิ้นชัก ลงดาบเซ็นต์อนุมัติให้ออกได้ในวันที่ 30 ก.ย. คือวันรุ่งขึ้น
ปรากฏว่าลูกจ้างมาฟ้องศาลแรงงาน เรียกค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน ศาลฎีกาตัดสินให้ลูกจ้างชนะคดี โดยถือว่าการที่นายจ้างไม่อนุมัติใบลาตามวันที่ลูกจ้างแจ้งประสงค์จะออก (ถึงแม้จะไม่ครบ 30 วันตามระเบียบ) แต่ปล่อยให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอีกเกือบเดือน จึงค่อยมาอนุมัติให้ออกทันทีในวันรุ่งขึ้น ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมอีกด้วย
ลองอ่านกันดูเป็นความรู้ครับ มีความเห็นอะไรก็เชิญได้ครับ ถึงอย่างไรผมก็ยังไม่ได้ฟันธงเป๊ะว่า ถ้าเจ้าของกระทู้เดิมฟ้องศาลแล้ว จะชนะแน่นอน เพียงแต่เห็นว่าน่าจะลองดูครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้า และยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วันก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใด ย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้างต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลาออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายในวันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผล ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกในภายหลัง จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์