28 ก.พ. 2556 เวลา 11:34:57 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากกลุ่ม "ราชา พาเลซ" เจ้าของที่ดินบริเวณห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าโรบินสัน รัชดาภิเษก ไม่ต่อสัญญากับโรบินสัน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ "ทีซีซี กรุ๊ป" ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เข้าเจรจาเพื่อขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว แต่เนื่องจากเจ้าของที่ดินซึ่งทำธุรกิจโรงแรมย่านซอยนานาและรัชดาภิเษกไม่ต้องการขาย ทีซีซีจึงขอทำสัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี
"ที่ดินแปลงนี้น่าจะมีขนาดประมาณกว่า 10 ไร่ หากเช่าระยะยาว 30 ปี คาดว่าน่าจะตกลงราคาที่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ขณะที่ราคาประเมินที่ดินแถบนี้อยู่ที่ตารางวาละประมาณ 1-2.5 แสนบาท และหากนายเจริญอยากได้ก็น่าจะปิดดีลได้ไม่ยาก"
จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยังบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนายเจริญ โดยแหล่งข่าวระบุว่า "ท่านเจ้าสัวสนใจที่ดินแปลงนี้ และมีการพูดคุยเป็นระยะ ๆ กับเจ้าของที่ดินมากว่า 1 ปีแล้ว เพราะชอบโลเกชั่น ขณะที่ศักยภาพทำเลน่าจะพัฒนาเป็นศูนย์การค้าหรือโรงแรม ที่สำคัญคือสามารถทำทางเดินเชื่อมกับตึกไซเบอร์เวิลด์ที่เป็นอาคารสำนักงานฝั่งตรงข้าม
"ส่วนเรื่องราคาเสนอขายไม่ทราบรายละเอียดชัดเจน เพราะอยู่ในขั้นต่อรองกันอยู่ แต่หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างก็น่าจะมีมูลค่าอยู่ในระดับพันล้านบาท"
สอดคล้องกับนายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ที่กล่าวว่า วันที่ 25 มีนาคม 2556 นี้ จะเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทเปิดให้บริการห้างโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ระยะเวลา 25 ปีกับเจ้าของพื้นที่เดิม แต่หลังเจรจาเจ้าของที่ดินไม่สำเร็จ และเจ้าของพื้นที่เดิมไม่ต่อสัญญาเช่าต่อ จึงโยกไปเปิดที่เซ็นทรัล พระราม 9 และปั้นเป็นแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่แทน และมั่นใจว่าจะมีรายได้ทดแทนกันได้ เนื่องจากย่านดังกล่าวถือเป็นสแตรทิจิกโลเกชั่น (Strategic Location) หรือทำเลยุทธศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับสาขารัชดาภิเษกเดิม และกินอาณาบริเวณโดยรอบสำคัญหลายพื้นที่ เช่น พระราม 9, อโศก, เพชรบุรีตัดใหม่ จนกระทั่งถึงบริเวณถนนรามคำแหงด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ตั้งห้างสรรพสินค้าโรบินสันรัชดาฯนั้น มีที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯประมาณ 1 ไร่เศษ บริเวณด้านหน้าห้างที่ติดกับถนนรัชดาภิเษก ปัจจุบันให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งเป็นคนทำสัญญาเช่าระยะยาว เพื่อทำเป็นลานจอดรถบริเวณด้านหน้าห้าง ขณะนี้ยังเหลืออายุสัญญาเช่าอยู่ประมาณ 20 ปี ซึ่งเป็นคนละสัญญาเช่าของตัวหน้าห้างสรรพสินค้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การขยายเครือข่ายการลงทุนอสังหาฯของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาบนถนนรัชดาฯ เริ่มต้นเมื่อต้นปี 2548 โดยได้ซื้ออาคารเก่าบริเวณหัวมุมแยกศูนย์วัฒนธรรมมาในราคากว่า 1.3 พันล้านบาท อาคารดังกล่าวเดิมชื่อ "ศรีวรา ไฮเทค ทาวเวอร์" ของบริษัท ศรีวรา เรียลเอสเตท กรุ๊ป จำกัด ด้านล่างอาคารมีห้างโตคิวเข้ามาเช่าพื้นที่เปิดเป็นศูนย์การค้า ทำให้คนทั่วไปรู้จักในชื่ออาคารโตคิว
ต่อมาโครงการถูกโอนไปที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และนายมนตรี ด่านไพบูลย์ อดีต ส.ส.พรรคความหวังใหม่ (ในขณะนั้น) ที่มีความใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ประมูลซื้อโครงการไป กระทั่งถูกขายต่อให้กับนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และได้ปรับปรุงอาคารใหม่จนแล้วเสร็จเป็นอาคารสำนักงานให้เช่าสูง 47 และ 51 ชั้น มีพื้นที่อาคารรวมประมาณ 2 แสนตารางเมตร และเปลี่ยนชื่อเป็น "ไซเบอร์เวิลด์ ทาวเวอร์" ระหว่างปรับปรุงอาคารเคยเกิดเหตุไฟไหม้ จึงต้องเลื่อนการเปิดใช้อาคารจากปี 2550 เป็นปี 2551
เจริญฮุบที่ดินโรบินสันรัชดา ปั้นศูนย์การค้ายักษ์-โรงแรม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากกลุ่ม "ราชา พาเลซ" เจ้าของที่ดินบริเวณห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าโรบินสัน รัชดาภิเษก ไม่ต่อสัญญากับโรบินสัน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ "ทีซีซี กรุ๊ป" ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เข้าเจรจาเพื่อขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว แต่เนื่องจากเจ้าของที่ดินซึ่งทำธุรกิจโรงแรมย่านซอยนานาและรัชดาภิเษกไม่ต้องการขาย ทีซีซีจึงขอทำสัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี
"ที่ดินแปลงนี้น่าจะมีขนาดประมาณกว่า 10 ไร่ หากเช่าระยะยาว 30 ปี คาดว่าน่าจะตกลงราคาที่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ขณะที่ราคาประเมินที่ดินแถบนี้อยู่ที่ตารางวาละประมาณ 1-2.5 แสนบาท และหากนายเจริญอยากได้ก็น่าจะปิดดีลได้ไม่ยาก"
จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยังบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนายเจริญ โดยแหล่งข่าวระบุว่า "ท่านเจ้าสัวสนใจที่ดินแปลงนี้ และมีการพูดคุยเป็นระยะ ๆ กับเจ้าของที่ดินมากว่า 1 ปีแล้ว เพราะชอบโลเกชั่น ขณะที่ศักยภาพทำเลน่าจะพัฒนาเป็นศูนย์การค้าหรือโรงแรม ที่สำคัญคือสามารถทำทางเดินเชื่อมกับตึกไซเบอร์เวิลด์ที่เป็นอาคารสำนักงานฝั่งตรงข้าม
"ส่วนเรื่องราคาเสนอขายไม่ทราบรายละเอียดชัดเจน เพราะอยู่ในขั้นต่อรองกันอยู่ แต่หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวพร้อมกับสิ่งปลูกสร้างก็น่าจะมีมูลค่าอยู่ในระดับพันล้านบาท"
สอดคล้องกับนายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ที่กล่าวว่า วันที่ 25 มีนาคม 2556 นี้ จะเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทเปิดให้บริการห้างโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ระยะเวลา 25 ปีกับเจ้าของพื้นที่เดิม แต่หลังเจรจาเจ้าของที่ดินไม่สำเร็จ และเจ้าของพื้นที่เดิมไม่ต่อสัญญาเช่าต่อ จึงโยกไปเปิดที่เซ็นทรัล พระราม 9 และปั้นเป็นแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่แทน และมั่นใจว่าจะมีรายได้ทดแทนกันได้ เนื่องจากย่านดังกล่าวถือเป็นสแตรทิจิกโลเกชั่น (Strategic Location) หรือทำเลยุทธศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับสาขารัชดาภิเษกเดิม และกินอาณาบริเวณโดยรอบสำคัญหลายพื้นที่ เช่น พระราม 9, อโศก, เพชรบุรีตัดใหม่ จนกระทั่งถึงบริเวณถนนรามคำแหงด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ตั้งห้างสรรพสินค้าโรบินสันรัชดาฯนั้น มีที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯประมาณ 1 ไร่เศษ บริเวณด้านหน้าห้างที่ติดกับถนนรัชดาภิเษก ปัจจุบันให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งเป็นคนทำสัญญาเช่าระยะยาว เพื่อทำเป็นลานจอดรถบริเวณด้านหน้าห้าง ขณะนี้ยังเหลืออายุสัญญาเช่าอยู่ประมาณ 20 ปี ซึ่งเป็นคนละสัญญาเช่าของตัวหน้าห้างสรรพสินค้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การขยายเครือข่ายการลงทุนอสังหาฯของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาบนถนนรัชดาฯ เริ่มต้นเมื่อต้นปี 2548 โดยได้ซื้ออาคารเก่าบริเวณหัวมุมแยกศูนย์วัฒนธรรมมาในราคากว่า 1.3 พันล้านบาท อาคารดังกล่าวเดิมชื่อ "ศรีวรา ไฮเทค ทาวเวอร์" ของบริษัท ศรีวรา เรียลเอสเตท กรุ๊ป จำกัด ด้านล่างอาคารมีห้างโตคิวเข้ามาเช่าพื้นที่เปิดเป็นศูนย์การค้า ทำให้คนทั่วไปรู้จักในชื่ออาคารโตคิว
ต่อมาโครงการถูกโอนไปที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และนายมนตรี ด่านไพบูลย์ อดีต ส.ส.พรรคความหวังใหม่ (ในขณะนั้น) ที่มีความใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ประมูลซื้อโครงการไป กระทั่งถูกขายต่อให้กับนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และได้ปรับปรุงอาคารใหม่จนแล้วเสร็จเป็นอาคารสำนักงานให้เช่าสูง 47 และ 51 ชั้น มีพื้นที่อาคารรวมประมาณ 2 แสนตารางเมตร และเปลี่ยนชื่อเป็น "ไซเบอร์เวิลด์ ทาวเวอร์" ระหว่างปรับปรุงอาคารเคยเกิดเหตุไฟไหม้ จึงต้องเลื่อนการเปิดใช้อาคารจากปี 2550 เป็นปี 2551