ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ updated: 26 ก.พ. 2556 เวลา 09:01:42 น.
ช็อก วงการ ! เจ้าพ่อคอนโดฯตลาดกลาง-ล่าง แอลพีเอ็นฯติดหล่มอีไอเอ แจงลูกค้าลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 เลื่อนส่งมอบ 6 เดือน "เพอร์เฟค" โดนด้วย "ไอคอนโด" 3 โครงการรวด แฉขออีไอเอ 11 เดือน เลขา สผ. ปลอบใจกำลังรื้อโครงสร้างใหม่ ตั้งบอร์ดอีไอเอจังหวัด กระจายอำนาจให้ผู้ว่าฯชี้ขาด
แหล่งข่าวจาก บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาคอนโดมิเนียมแบรนด์ "ลุมพินี" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทต้องเลื่อนการส่งมอบห้องชุดในโครงการคอนโดฯ ลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 ออกไปอีกประมาณ 4 เดือน จากเดิมเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นมีนาคม 2557 เนื่องจากในขั้นตอนการส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาถูกตีกลับมาแก้ไข 2 ครั้ง รายงานจึงตกไป และต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ทำให้การก่อสร้างช้ากว่าแผนแล้ว 6 เดือน อย่างไรก็ตาม หากมีลูกค้าต้องการยกเลิกสัญญาจากความล่าช้า บริษัทพร้อมจะคืนเงินให้ตามที่ระบุในสัญญา
สาเหตุที่รายงานอีไอเอไม่ ผ่านการพิจารณา 2 รอบนั้น รอบแรกเกิดจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ได้คอมเมนต์เรื่องการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับ "ความสูงอาคาร" โดยมีข้อสงสัยว่า ด้านหน้าโครงการที่อยู่ใกล้ถนนประชาชื่น ไม่ได้มีระยะถอยร่นเพียงพอจะออกแบบเป็นอาคาร 30 ชั้น ความสูง 100 เมตรได้ บริษัทชี้แจงว่า ได้ออกแบบถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยึดหลักออกแบบความสูงอาคารได้ไม่เกิน 2 เท่า นับจากตำแหน่งที่ตั้งอาคารไปถึงจุดสิ้นสุดความกว้างของเขตทางสาธารณะที่ติด กับโครงการ คือถนนประชาชื่นบวกกับคลองประปาที่มีความกว้างรวมกันเท่ากับ 50 เมตร จึงออกแบบอาคารได้สูง 100 เมตร แต่ คชก.ได้ขอให้บริษัทติดต่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ชี้แจง รายงานจึงถูกตีกลับในรอบที่ 1
หลังจากนั้นบริษัทได้รับการยืนยันจาก สำนักการโยธา กทม.ว่า ออกแบบอาคารถูกต้องแล้ว และได้ส่งรายงานให้พิจารณารอบที่ 2 แต่ปรากฏว่ารายงานก็ไม่ผ่านการอนุมัติ เนื่องจาก คชก.คอมเมนต์ว่า ต้องแนบเอกสารยืนยันจาก กทม.ในภาคผนวกท้ายรายงานด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน
ขณะ ที่แหล่งข่าวจากบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จำเป็นต้องเลื่อนการส่งมอบห้องชุดคอนโดฯ 3 โครงการคือ ไอคอนโด งามวงศ์วาน 2 ไอคอนโด เพชรเกษม 39 และไอคอนโด สุขุมวิท 103 จากปลายปี 2556 เป็นกลางปี 2557 เนื่องจากรายงานอีไอเอเพิ่งได้รับอนุมัติเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ช้ากว่าที่คาดไว้ประมาณ 5 เดือน และยังมีโครงการเมโทรสกาย เกษตร ที่อยู่ระหว่างพิจารณา ทำให้งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนแล้ว 6 เดือน
สาเหตุ ที่รายงานอีไอเอใช้เวลานานกว่าจะได้รับอนุมัติ ส่วนหนึ่งเกิดจาก คชก.มีคอมเมนต์ประเด็นใหม่ ๆ เพิ่มเติมขึ้นจากการพิจารณารายงานรอบแรกจึงต้องกลับมาแก้ไขใหม่ เบ็ดเสร็จใช้เวลา 10-11 เดือน กว่าจะได้รับอนุมัติ จากเดิมคาดไว้ไม่เกิน 6 เดือน นอกจากนี้ยังมีมาตรการลด
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางอย่างค่อนข้าง แปลก เช่น คอมเมนต์ให้อาคารจอดรถในคอนโดฯ กำจัดไอเสียด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ดูดควันจากท่อไอเสียรถ และลำเลียงไปตามท่อเพื่อปล่อยลงดิน เป็นต้น
นายสันติ บุญประคับ เลขาธิการ สผ. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ได้เคยหารือกับ คชก.เพื่อขอความร่วมมือไม่คอมเมนต์สิ่งที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจากรอบแรกไป แล้ว รวมถึงการให้จัดทำมาตรการผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างเป็นไปได้ยากในทาง ปฏิบัติ อาทิ การทำระบบดูดควันจากท่อไอเสียรถยนต์และปล่อยลงสู่ดินซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ ยากในทางปฏิบัติ เป็นต้น
สำหรับข้อท้วงติงจากผู้ประกอบการว่า สผ.พิจารณารายงานอีไอเอล่าช้า ส่วนหนึ่งเกิดจากปีที่ผ่านมามีปริมาณงานเพิ่มขึ้นจากกว่า 100 โครงการ เป็นประมาณ 300 โครงการ ทำให้ปริมาณงานกระจุกตัวเป็นคอขวด เดิมการพิจารณารอบแรกส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วันหลังจากได้รับเรื่อง แต่ปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 60 วัน ขณะที่กฎหมายกำหนดไว้ต้องไม่เกิน 75 วัน ส่วนการพิจารณารอบที่สอง จากเดิม 10-15 วัน เพิ่มเป็น 20-25 วัน กฎหมายกำหนดไม่เกิน 30 วัน
"ล่าสุด สผ.จึงเตรียมกระจายอำนาจการพิจารณารายงานอีไอเอให้กับจังหวัด นำร่องปริมณฑลและต่างจังหวัด ประมาณกว่า 10 จังหวัด อาทิ นนทบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา นครปฐม เชียงใหม่ ฯลฯ โดยตั้งใจจะผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จก่อนเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือน กันยายนนี้"
ส่วนแนวทางการพิจารณา สผ.จะจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติเป็นเช็กลิสต์บรรจุไว้ให้แต่ละจังหวัดยึดเป็น แนวทาง ล่าสุดจัดทำเสร็จเรียบร้อย ส่วนการกระจายอำนาจจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จากนั้นจะแต่งตั้ง คชก.ประจำจังหวัด 9 คน มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วน คชก.จะให้อำนาจผู้ว่าฯแต่งตั้ง แต่จะกำหนดให้มี 3 คนต้องเป็นตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โยธาธิการจังหวัดและผังเมือง และสาธารณสุขจังหวัด
คาดว่าเมื่อกระจาย อำนาจแล้ว การพิจารณารอบแรกน่าจะใช้เวลาลดลงเหลือไม่เกิน 30 วัน ส่วนรอบที่สองไม่น่าจะเกิน 10-15 วัน จากนั้นจังหวัดจะส่งรายงานกลับมาที่ สผ.เพื่อเซ็นอนุมัติ โดยไม่มีการคอมเมนต์เพิ่มเติมอีก
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร แสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า สิ่งที่เป็นห่วงคือ เมื่อรายงานถูกส่งกลับมายัง สผ.แล้วจะต้องไม่ถูกคอมเมนต์เพิ่มเติมอีก ไม่เช่นนั้นก็จะเสียเวลานานเช่นเดิม ข้อเสนอคือ สผ.ควรจัดตั้งหรือให้สำนักงานระดับภูมิภาคเป็นผู้เซ็นอนุมัติ โดยไม่ต้องส่งกลับมาที่ส่วนกลางอีก
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า มีข้อเสนอว่า สผ.ควรจัดทำคู่มือหลักปฏิบัติที่ชัดเจน เพราะกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีมานานกว่า 20 ปีแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริง
นายวิ ทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า การที่ สผ.กระจายอำนาจไปยังจังหวัดถือเป็นสิ่งดี เบื้องต้นก็น่าจะช่วยให้เรื่องรอพิจารณาไม่กระจุกตัว รายงานอีไอเอก็น่าจะได้รับอนุมัติเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นควบคู่กันคือ การมีคู่มือหรือหลักปฏิบัติเรื่องการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน วิธีนี้น่าจะแก้ไขได้ตรงจุดที่สุด
อีไอเอทุบ "LPN-เพอร์เฟค" เลื่อนโอนคอนโด 6 เดือน
ช็อก วงการ ! เจ้าพ่อคอนโดฯตลาดกลาง-ล่าง แอลพีเอ็นฯติดหล่มอีไอเอ แจงลูกค้าลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 เลื่อนส่งมอบ 6 เดือน "เพอร์เฟค" โดนด้วย "ไอคอนโด" 3 โครงการรวด แฉขออีไอเอ 11 เดือน เลขา สผ. ปลอบใจกำลังรื้อโครงสร้างใหม่ ตั้งบอร์ดอีไอเอจังหวัด กระจายอำนาจให้ผู้ว่าฯชี้ขาด
แหล่งข่าวจาก บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาคอนโดมิเนียมแบรนด์ "ลุมพินี" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทต้องเลื่อนการส่งมอบห้องชุดในโครงการคอนโดฯ ลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร 2 ออกไปอีกประมาณ 4 เดือน จากเดิมเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นมีนาคม 2557 เนื่องจากในขั้นตอนการส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาถูกตีกลับมาแก้ไข 2 ครั้ง รายงานจึงตกไป และต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ทำให้การก่อสร้างช้ากว่าแผนแล้ว 6 เดือน อย่างไรก็ตาม หากมีลูกค้าต้องการยกเลิกสัญญาจากความล่าช้า บริษัทพร้อมจะคืนเงินให้ตามที่ระบุในสัญญา
สาเหตุที่รายงานอีไอเอไม่ ผ่านการพิจารณา 2 รอบนั้น รอบแรกเกิดจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ได้คอมเมนต์เรื่องการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับ "ความสูงอาคาร" โดยมีข้อสงสัยว่า ด้านหน้าโครงการที่อยู่ใกล้ถนนประชาชื่น ไม่ได้มีระยะถอยร่นเพียงพอจะออกแบบเป็นอาคาร 30 ชั้น ความสูง 100 เมตรได้ บริษัทชี้แจงว่า ได้ออกแบบถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยยึดหลักออกแบบความสูงอาคารได้ไม่เกิน 2 เท่า นับจากตำแหน่งที่ตั้งอาคารไปถึงจุดสิ้นสุดความกว้างของเขตทางสาธารณะที่ติด กับโครงการ คือถนนประชาชื่นบวกกับคลองประปาที่มีความกว้างรวมกันเท่ากับ 50 เมตร จึงออกแบบอาคารได้สูง 100 เมตร แต่ คชก.ได้ขอให้บริษัทติดต่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ชี้แจง รายงานจึงถูกตีกลับในรอบที่ 1
หลังจากนั้นบริษัทได้รับการยืนยันจาก สำนักการโยธา กทม.ว่า ออกแบบอาคารถูกต้องแล้ว และได้ส่งรายงานให้พิจารณารอบที่ 2 แต่ปรากฏว่ารายงานก็ไม่ผ่านการอนุมัติ เนื่องจาก คชก.คอมเมนต์ว่า ต้องแนบเอกสารยืนยันจาก กทม.ในภาคผนวกท้ายรายงานด้วย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน
ขณะ ที่แหล่งข่าวจากบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จำเป็นต้องเลื่อนการส่งมอบห้องชุดคอนโดฯ 3 โครงการคือ ไอคอนโด งามวงศ์วาน 2 ไอคอนโด เพชรเกษม 39 และไอคอนโด สุขุมวิท 103 จากปลายปี 2556 เป็นกลางปี 2557 เนื่องจากรายงานอีไอเอเพิ่งได้รับอนุมัติเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ช้ากว่าที่คาดไว้ประมาณ 5 เดือน และยังมีโครงการเมโทรสกาย เกษตร ที่อยู่ระหว่างพิจารณา ทำให้งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนแล้ว 6 เดือน
สาเหตุ ที่รายงานอีไอเอใช้เวลานานกว่าจะได้รับอนุมัติ ส่วนหนึ่งเกิดจาก คชก.มีคอมเมนต์ประเด็นใหม่ ๆ เพิ่มเติมขึ้นจากการพิจารณารายงานรอบแรกจึงต้องกลับมาแก้ไขใหม่ เบ็ดเสร็จใช้เวลา 10-11 เดือน กว่าจะได้รับอนุมัติ จากเดิมคาดไว้ไม่เกิน 6 เดือน นอกจากนี้ยังมีมาตรการลด
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางอย่างค่อนข้าง แปลก เช่น คอมเมนต์ให้อาคารจอดรถในคอนโดฯ กำจัดไอเสียด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ดูดควันจากท่อไอเสียรถ และลำเลียงไปตามท่อเพื่อปล่อยลงดิน เป็นต้น
นายสันติ บุญประคับ เลขาธิการ สผ. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ได้เคยหารือกับ คชก.เพื่อขอความร่วมมือไม่คอมเมนต์สิ่งที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจากรอบแรกไป แล้ว รวมถึงการให้จัดทำมาตรการผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างเป็นไปได้ยากในทาง ปฏิบัติ อาทิ การทำระบบดูดควันจากท่อไอเสียรถยนต์และปล่อยลงสู่ดินซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ ยากในทางปฏิบัติ เป็นต้น
สำหรับข้อท้วงติงจากผู้ประกอบการว่า สผ.พิจารณารายงานอีไอเอล่าช้า ส่วนหนึ่งเกิดจากปีที่ผ่านมามีปริมาณงานเพิ่มขึ้นจากกว่า 100 โครงการ เป็นประมาณ 300 โครงการ ทำให้ปริมาณงานกระจุกตัวเป็นคอขวด เดิมการพิจารณารอบแรกส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วันหลังจากได้รับเรื่อง แต่ปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 60 วัน ขณะที่กฎหมายกำหนดไว้ต้องไม่เกิน 75 วัน ส่วนการพิจารณารอบที่สอง จากเดิม 10-15 วัน เพิ่มเป็น 20-25 วัน กฎหมายกำหนดไม่เกิน 30 วัน
"ล่าสุด สผ.จึงเตรียมกระจายอำนาจการพิจารณารายงานอีไอเอให้กับจังหวัด นำร่องปริมณฑลและต่างจังหวัด ประมาณกว่า 10 จังหวัด อาทิ นนทบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา นครปฐม เชียงใหม่ ฯลฯ โดยตั้งใจจะผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จก่อนเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือน กันยายนนี้"
ส่วนแนวทางการพิจารณา สผ.จะจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติเป็นเช็กลิสต์บรรจุไว้ให้แต่ละจังหวัดยึดเป็น แนวทาง ล่าสุดจัดทำเสร็จเรียบร้อย ส่วนการกระจายอำนาจจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จากนั้นจะแต่งตั้ง คชก.ประจำจังหวัด 9 คน มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วน คชก.จะให้อำนาจผู้ว่าฯแต่งตั้ง แต่จะกำหนดให้มี 3 คนต้องเป็นตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โยธาธิการจังหวัดและผังเมือง และสาธารณสุขจังหวัด
คาดว่าเมื่อกระจาย อำนาจแล้ว การพิจารณารอบแรกน่าจะใช้เวลาลดลงเหลือไม่เกิน 30 วัน ส่วนรอบที่สองไม่น่าจะเกิน 10-15 วัน จากนั้นจังหวัดจะส่งรายงานกลับมาที่ สผ.เพื่อเซ็นอนุมัติ โดยไม่มีการคอมเมนต์เพิ่มเติมอีก
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร แสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า สิ่งที่เป็นห่วงคือ เมื่อรายงานถูกส่งกลับมายัง สผ.แล้วจะต้องไม่ถูกคอมเมนต์เพิ่มเติมอีก ไม่เช่นนั้นก็จะเสียเวลานานเช่นเดิม ข้อเสนอคือ สผ.ควรจัดตั้งหรือให้สำนักงานระดับภูมิภาคเป็นผู้เซ็นอนุมัติ โดยไม่ต้องส่งกลับมาที่ส่วนกลางอีก
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า มีข้อเสนอว่า สผ.ควรจัดทำคู่มือหลักปฏิบัติที่ชัดเจน เพราะกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีมานานกว่า 20 ปีแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริง
นายวิ ทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า การที่ สผ.กระจายอำนาจไปยังจังหวัดถือเป็นสิ่งดี เบื้องต้นก็น่าจะช่วยให้เรื่องรอพิจารณาไม่กระจุกตัว รายงานอีไอเอก็น่าจะได้รับอนุมัติเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นควบคู่กันคือ การมีคู่มือหรือหลักปฏิบัติเรื่องการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน วิธีนี้น่าจะแก้ไขได้ตรงจุดที่สุด