คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
แนะนำโครงการ "สามเณรใจเพชร" ของยุวพุทธฯ ครับ เนื่องจาก Summer ที่แล้ว ลูกชายบวชพร้อมกันทั้ง 2 คน และเข้าปฏิบัติที่วัดอัมพวัน ประมาณ 1 เดือนเต็ม แต่การบวชโครงการดังกล่าวฯ มีเงื่อนไขเดียวครับที่จะได้บวชหรือไม่ได้บวชคือ "ต้องมีใจเพชร" ตามชื่อโครงการครับ เนื่องด้วย
1. โครงการดังกล่าวฯ เป็นโครงการที่ต้องการความสมัครใจของผู้บวช เป็นหลัก (ผู้ปกครองไม่เกี่ยว) เพราะฉะนั้น พระอาจารย์จะถามเด็กเองว่าต้องการบวชหรือไม่ ครับ (ไม่ถามผู้ปกครอง)
2. โครงการนี้จะให้เด็กเข้าค่าย (เข้าฝึก) ที่ยุวพุทธฯ ก่อนโดยรับศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้บวชเรียนรู้ชีวิตการเป็นสามเณร ว่าเมื่อบวชแล้วต้องฝึกปฏิบัติวิปัสนาฯ ที่วัดอย่างไร เช่นตื่นตี 3 ครึ่ง ทำวัด ปฏิบัติ ฯลฯ จนประมาณ 4 ทุมถึงจะได้นอน เด็กจะสามารถทำได้หรือไม่
3. การคัดเลือก ตาม 2 นั้น วัตถุประสงค์ ก็คือเมื่อบวชเป็นสามเณร และไปปฏิบัติที่วัดอัมพวันแล้ว การปฏิบัติจะมากและเข้มข้น ดังนั้นถ้าสามเณรปฏิบัติไม่ได้ จะเป็นภาระกับผู้ดูแล และคนอื่นๆ ดังนั้น ต้องคัดเลือกด้วยความเข้มข้น (ถ้าไม่ไหวอย่าฝืน)
4. เมื่อเข้าบวช แล้ว การปฏิบัติที่วัดฯ จะเป็นการสอนอย่างจริงจัง ค่อนข้างหนัก (มากกว่าที่ยุวพุทธ เนื่องจากผมไปปฏิบัติที่วัดด้วย และได้สอบถามกับสามเณร เลยรู้ว่าปฏิบัติมากกว่า ผู้เข้าปฏิบัติทั่วไปครับ ) ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้บวชเอง ทั้งทางโลกและทางธรรม (สำหรับตัวเด็กเองและพ่อ,แม่)
5. สามเณร โครงการนี้หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน เป็นพระอุปัชฌาย์ เอง หลวงพ่อมีเมตตากับลูกหลานทุกคนครับ
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม.....
ถ้าสามารถให้ลูกบวช โครงการสามเณรใจเพชรได้ ผมว่าเป็นโครงการที่ดีที่สุดแล้ว คุณประโยชน์ที่ผมเห็นคือ..
1. อนิสงฆ์, ปีติ, บุญกุศลฯ ความรู้ ฯลฯ
2. โอกาสที่ผู้ปกครองจะได้เข้าไปปฏิบัติธรรมที่วัด ร่วมกับบุตร (ทั้งครอบครัว) เพราะตอนที่ลูกบวช ผมจึงได้มีโอกาสไปปฏบัติธรรมที่วัดประมาณ 1 สัปดาห์ และได้เข้าร่วมพิธีการสำคัญต่างๆ มากมาย (เนื่องจากตรงกับวันสงกราณต์) และได้ร่วมทำบุญกับหลวงพ่อด้วย
3. ปัจจุบัน ผมสามารถ อบรม สั่งสอน เสวนาฯ ธรรมกับลูกชายทั้ง 2 คนได้ง่ายมาก แม้่กระทั่งธรรมะ ที่ลงลึกกว่าปกติ
4. ตอนนี้ พอชวนลูกปฏิบัติธรรมที่บ้าน (สัปดาห์ละครั้ง ครึ่ง-1 ชม.) ผมไม่ต้องสอนวิธีแล้วครับ เขาสามารถทำได้เอง ทุกขั้นตอน จนแผ่ส่วนกุศล
(ต้องยกประโยชน์ให้พระอาจารย์ ที่สอนมาดีครับ)
ลองพิจารณาดูครับ ถ้าได้บวช ก็ขอร่วมอนุโมทนาฯ แต่ถ้าสุดท้ายไม่สามารถบวชที่นี่ได้ ก็ไม่ต้องรีบครับเพราะเด็กอายุยังไม่มาก ซัก ม.2-3
ค่อยบวชก็ได้ แต่ถ้าต้องการให้่บวช อยากให้ได้ประโยชน์บ้าง อย่างน้อยก็ให้รู้วิธีปฏิบัติติดตัวไว้ก็ดีครับ พอโตข้ึนจะได้ต่อยอดต่อไปได้
ขอบคุณครับ
1. โครงการดังกล่าวฯ เป็นโครงการที่ต้องการความสมัครใจของผู้บวช เป็นหลัก (ผู้ปกครองไม่เกี่ยว) เพราะฉะนั้น พระอาจารย์จะถามเด็กเองว่าต้องการบวชหรือไม่ ครับ (ไม่ถามผู้ปกครอง)
2. โครงการนี้จะให้เด็กเข้าค่าย (เข้าฝึก) ที่ยุวพุทธฯ ก่อนโดยรับศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้บวชเรียนรู้ชีวิตการเป็นสามเณร ว่าเมื่อบวชแล้วต้องฝึกปฏิบัติวิปัสนาฯ ที่วัดอย่างไร เช่นตื่นตี 3 ครึ่ง ทำวัด ปฏิบัติ ฯลฯ จนประมาณ 4 ทุมถึงจะได้นอน เด็กจะสามารถทำได้หรือไม่
3. การคัดเลือก ตาม 2 นั้น วัตถุประสงค์ ก็คือเมื่อบวชเป็นสามเณร และไปปฏิบัติที่วัดอัมพวันแล้ว การปฏิบัติจะมากและเข้มข้น ดังนั้นถ้าสามเณรปฏิบัติไม่ได้ จะเป็นภาระกับผู้ดูแล และคนอื่นๆ ดังนั้น ต้องคัดเลือกด้วยความเข้มข้น (ถ้าไม่ไหวอย่าฝืน)
4. เมื่อเข้าบวช แล้ว การปฏิบัติที่วัดฯ จะเป็นการสอนอย่างจริงจัง ค่อนข้างหนัก (มากกว่าที่ยุวพุทธ เนื่องจากผมไปปฏิบัติที่วัดด้วย และได้สอบถามกับสามเณร เลยรู้ว่าปฏิบัติมากกว่า ผู้เข้าปฏิบัติทั่วไปครับ ) ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้บวชเอง ทั้งทางโลกและทางธรรม (สำหรับตัวเด็กเองและพ่อ,แม่)
5. สามเณร โครงการนี้หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน เป็นพระอุปัชฌาย์ เอง หลวงพ่อมีเมตตากับลูกหลานทุกคนครับ
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม.....
ถ้าสามารถให้ลูกบวช โครงการสามเณรใจเพชรได้ ผมว่าเป็นโครงการที่ดีที่สุดแล้ว คุณประโยชน์ที่ผมเห็นคือ..
1. อนิสงฆ์, ปีติ, บุญกุศลฯ ความรู้ ฯลฯ
2. โอกาสที่ผู้ปกครองจะได้เข้าไปปฏิบัติธรรมที่วัด ร่วมกับบุตร (ทั้งครอบครัว) เพราะตอนที่ลูกบวช ผมจึงได้มีโอกาสไปปฏบัติธรรมที่วัดประมาณ 1 สัปดาห์ และได้เข้าร่วมพิธีการสำคัญต่างๆ มากมาย (เนื่องจากตรงกับวันสงกราณต์) และได้ร่วมทำบุญกับหลวงพ่อด้วย
3. ปัจจุบัน ผมสามารถ อบรม สั่งสอน เสวนาฯ ธรรมกับลูกชายทั้ง 2 คนได้ง่ายมาก แม้่กระทั่งธรรมะ ที่ลงลึกกว่าปกติ
4. ตอนนี้ พอชวนลูกปฏิบัติธรรมที่บ้าน (สัปดาห์ละครั้ง ครึ่ง-1 ชม.) ผมไม่ต้องสอนวิธีแล้วครับ เขาสามารถทำได้เอง ทุกขั้นตอน จนแผ่ส่วนกุศล
(ต้องยกประโยชน์ให้พระอาจารย์ ที่สอนมาดีครับ)
ลองพิจารณาดูครับ ถ้าได้บวช ก็ขอร่วมอนุโมทนาฯ แต่ถ้าสุดท้ายไม่สามารถบวชที่นี่ได้ ก็ไม่ต้องรีบครับเพราะเด็กอายุยังไม่มาก ซัก ม.2-3
ค่อยบวชก็ได้ แต่ถ้าต้องการให้่บวช อยากให้ได้ประโยชน์บ้าง อย่างน้อยก็ให้รู้วิธีปฏิบัติติดตัวไว้ก็ดีครับ พอโตข้ึนจะได้ต่อยอดต่อไปได้
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
บวชสามเณรโครงการณ์ไหนดีกว่ากัน