สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ล้านนาคงปกครองแบบประเทศราชมาจนสิ้นยุคพระเจ้าอินทวิชยานนท์ใน พ.ศ. ๒๔๔๐
ในช่วงที่เจ้าอุปราชสุริยะเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่นั้น มีการตกลงปรับเปลี่ยนการปกครองจากประเทศราชที่สิทธิ์ขาดอยู่ที่เจ้าผู้ครองนครเพียงลำพังมาเป็นการปกครองแบบพิเศษ โดยเจ้าผู้ครองนครยังคงมีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ร่วมกับองค์คณะที่เรียกว่า "เค้าสนามหลวง" ซึ่งมีเจ้าผู้ครองนคร ข้าหลวงประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วยเป็นองค์คณะ กับมีเสนาหกที่เป็นเจ้านายพื้นเมือง ๖ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วย
เจ้าผู้ครองนครคงมีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมืองต่อมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๗ มีพระราชดำริว่า ราชอาณาจักรสยามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการจะคงมีประเทศราชไว้ออกจะเป็นการรุงรังไม่เหมาะสม จึงมีพระราชดำริว่า เมื่อเจ้านครตนใดเสียชีวิตลงก็จะไม่ตั้งคนใหม่แทน ฉะนั้นเมื่อเจ้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน) ผู้รั้งเจ้านครลำปางถึงอนิจกรรมในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นผู้รั้งเจ้านครลำปางอีก (ที่เป็นผู้รั้งเพราะยังไม่ได้พระราชทานเพลิงศพเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ฉะนั้นจึงยังถือว่าเจ้าบุญวาทย์ฯ ยังเป็นเจ้านครลำปางอยู่ จนกว่าจะได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว) และเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้านครน่านถึงพิราลัยลงใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ก็ไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้านครน่าน
แต่ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้านายเมืองน่านได้ถวายฎีกาขอให้ทรงตั้งเจ้าราชวงศ์ (สิทธิสาร ณ น่าน) ขึ่นเป็นเจ้านครน่าน โปรดพระราชทานฑีกานั้นไปให้รัฐฐาลประชาธิปไตยพิจารณา พร้อมกับมีพระราชกระแสว่า เวลานั้นสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายเรื่องการตั้งเจ้าผู้ครองนครเสียใหม่ แต่คณะรัฐมนมตรีในเวลานั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นจึงได้มีบัญชาว่า จะไม่ตั้งเจ้านครอีกต่อไป ฉะนั้นเมื่อเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้านครลำพูนถึงพิราลัยในเวลาต่อมาจึงเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบประเทศราชล้านนาโดยสมบูรณ์
ในช่วงที่เจ้าอุปราชสุริยะเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่นั้น มีการตกลงปรับเปลี่ยนการปกครองจากประเทศราชที่สิทธิ์ขาดอยู่ที่เจ้าผู้ครองนครเพียงลำพังมาเป็นการปกครองแบบพิเศษ โดยเจ้าผู้ครองนครยังคงมีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ร่วมกับองค์คณะที่เรียกว่า "เค้าสนามหลวง" ซึ่งมีเจ้าผู้ครองนคร ข้าหลวงประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วยเป็นองค์คณะ กับมีเสนาหกที่เป็นเจ้านายพื้นเมือง ๖ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วย
เจ้าผู้ครองนครคงมีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมืองต่อมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๗ มีพระราชดำริว่า ราชอาณาจักรสยามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการจะคงมีประเทศราชไว้ออกจะเป็นการรุงรังไม่เหมาะสม จึงมีพระราชดำริว่า เมื่อเจ้านครตนใดเสียชีวิตลงก็จะไม่ตั้งคนใหม่แทน ฉะนั้นเมื่อเจ้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน) ผู้รั้งเจ้านครลำปางถึงอนิจกรรมในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นผู้รั้งเจ้านครลำปางอีก (ที่เป็นผู้รั้งเพราะยังไม่ได้พระราชทานเพลิงศพเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ฉะนั้นจึงยังถือว่าเจ้าบุญวาทย์ฯ ยังเป็นเจ้านครลำปางอยู่ จนกว่าจะได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว) และเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้านครน่านถึงพิราลัยลงใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ก็ไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้านครน่าน
แต่ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้านายเมืองน่านได้ถวายฎีกาขอให้ทรงตั้งเจ้าราชวงศ์ (สิทธิสาร ณ น่าน) ขึ่นเป็นเจ้านครน่าน โปรดพระราชทานฑีกานั้นไปให้รัฐฐาลประชาธิปไตยพิจารณา พร้อมกับมีพระราชกระแสว่า เวลานั้นสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายเรื่องการตั้งเจ้าผู้ครองนครเสียใหม่ แต่คณะรัฐมนมตรีในเวลานั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นจึงได้มีบัญชาว่า จะไม่ตั้งเจ้านครอีกต่อไป ฉะนั้นเมื่อเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้านครลำพูนถึงพิราลัยในเวลาต่อมาจึงเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบประเทศราชล้านนาโดยสมบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
ล้านนา ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในช่วงเวลาไหนครับ
ล้านนา หรือภาคเหนือของไทยในปัจจุบัน
ไม่ได้เป็นอาณาจักรเดียวกันกับสยาม พูดง่ายๆคือเหมือนคนละประเทศ
แต่อยากรู้ว่า ล้านนา นั้น เข้ามารวมกับสยาม ในรัชสมัยใด ครับ
ใช่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รึเปล่าครับ
อยากถามไว้เป็นความรู้น่ะครับ