เมื่อผมพบข้อเท็จจริงที่ว่า บรรยากาศชั้น เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
จนสูงถึง 227-1727 องศา C เลยทีเดียว ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า "ถ้างั้นที่ใครๆ ชอบพูดกันว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว นั้นก็ผิดน่ะสิ"
โลกเราก็ไม่ได้ต่างไปจาก เต้าหูเย็นๆในเตาอบกระเบื้องร้อนๆเลย แต่แล้วความสงสัยก็ตามมาอีกว่า อ้าว! แล้วทำไมข้างล่าง
จึงไม่ร้อนขนาดนั้น แถมบางช่วงยังหนาวเย็นมากซะอีก เลยพยายามหาข้อมูลต่อว่ามันเป็นเพราะอะไร
แล้วก็พบว่าบรรยากาศชั้นนั้น ถึงจะมีอุณภูมิสูงสุดขีดจากรังสีต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ร้อน เพราะมีอะตอมของก๊าซอยู่เบาบางมาก
ถ้าคนขึ้นไปอยู่บริเวณนั้น ก็เปรียบได้กับเอาทะเลไปลูบถ่านไฟก้อนเล็กๆ จนมอดดับ น้ำทะเลก็ไม่ได้ร้อนขึ้นมากมายเท่ากับ
อุณหภูมิของถ่านที่เคยติดไฟ หรือเปรียบได้กับไฟเย็นที่เราจะไม่รู้สึกร้อนมากเมื่อไปสัมผัสกับมัน
ดังนั้นผมจึงสรุปได้เองเออเองแล้วนำมาเล่าสู่กันฟังว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว ยังเป็นคำที่ใช้ได้อยู่ เพราะความร้อนที่สูญเสียไประหว่างทาง
กว่าจะขึ้นไปถึงชั้นนั้น เราก็เย็นซะจนมวลในบริเวณด้านบนนั้น ไม่มากพอจะสามารถนำพาความร้อนที่มีอยู่มาทำให้เราอุ่นขึ้นได้
หากมีอะไรที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านผู้รู้กรุณาช่วยแย้งหรือเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้
มวลอากาศในชั้นเทอร์โมสเฟียร์มิได้อยู่ในสถานะของก๊าซ หากแต่อยู่ในสถานะของประจุไฟฟ้า เนื่องจากอะตอมของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบน ได้รับรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ เช่น รังสีเอ็กซ์ และแตกตัวเป็นประจุ อย่างไรก็ตามแม้ว่าบรรยากาศชั้นนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก แต่ก็มิได้มีความร้อนมาก เนื่องจากมีอะตอมของก๊าซอยู่เบาบางมาก (อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร)
เหนือชั้นเทอร์โมสเฟียร์ขึ้นไป ที่ระยะสูงประมาณ 500 กิโลเมตร โมเลกุลของอากาศอยู่ห่างไกลกันมาก จนอาจมิสามารถวิ่งชนกับโมเลกุลอื่นได้ ในบางครั้งโมเลกุลซึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเหล่านี้ อาจหลุดพ้นอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก เราเรียกบรรยากาศในชั้นที่อะตอมหรือโมเลกุลของอากาศมีแนวโน้มจะหลุดหนีไปสู่อวกาศนี้ว่า “เอ็กโซสเฟียร์” (Exosphere)
http://eduzone.thaihealth.net/article41-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0.html
ชั้นบรรยากาศ ตั้งแต่ 80-500กม. มีอุณหภูมิจะสูงถึง 227-1727 องศา แต่ทำไมคำว่า "ยิ่งสูงยิ่งหนาว" ยังคงเป็นจริง?
จนสูงถึง 227-1727 องศา C เลยทีเดียว ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า "ถ้างั้นที่ใครๆ ชอบพูดกันว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว นั้นก็ผิดน่ะสิ"
โลกเราก็ไม่ได้ต่างไปจาก เต้าหูเย็นๆในเตาอบกระเบื้องร้อนๆเลย แต่แล้วความสงสัยก็ตามมาอีกว่า อ้าว! แล้วทำไมข้างล่าง
จึงไม่ร้อนขนาดนั้น แถมบางช่วงยังหนาวเย็นมากซะอีก เลยพยายามหาข้อมูลต่อว่ามันเป็นเพราะอะไร
แล้วก็พบว่าบรรยากาศชั้นนั้น ถึงจะมีอุณภูมิสูงสุดขีดจากรังสีต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ร้อน เพราะมีอะตอมของก๊าซอยู่เบาบางมาก
ถ้าคนขึ้นไปอยู่บริเวณนั้น ก็เปรียบได้กับเอาทะเลไปลูบถ่านไฟก้อนเล็กๆ จนมอดดับ น้ำทะเลก็ไม่ได้ร้อนขึ้นมากมายเท่ากับ
อุณหภูมิของถ่านที่เคยติดไฟ หรือเปรียบได้กับไฟเย็นที่เราจะไม่รู้สึกร้อนมากเมื่อไปสัมผัสกับมัน
ดังนั้นผมจึงสรุปได้เองเออเองแล้วนำมาเล่าสู่กันฟังว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว ยังเป็นคำที่ใช้ได้อยู่ เพราะความร้อนที่สูญเสียไประหว่างทาง
กว่าจะขึ้นไปถึงชั้นนั้น เราก็เย็นซะจนมวลในบริเวณด้านบนนั้น ไม่มากพอจะสามารถนำพาความร้อนที่มีอยู่มาทำให้เราอุ่นขึ้นได้
หากมีอะไรที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านผู้รู้กรุณาช่วยแย้งหรือเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้