ความดับอกุศลธรรม
[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันเป็นที่ดับหมดแห่ง อกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้.
ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่
ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดีก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัสและอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้
อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๔๗ ถึง ๓๔๘ /๔๓๐ ข้อที่ ๔๕๘
เรียนเชิญร่วมกันพิจารณาข้อธรรมที่กล่าวถึง ความดับอกุศลธรรม ร่วมกัน
ท่านมีประสบการณ์ อย่างไรในข้อธรรมนี้ทั้งที่ประสบกับตนเอง หรือ ฟังมา
อย่างไร มาแชร์ประสบการณ์กันครับ
ความดับอกุศลธรรม
[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันเป็นที่ดับหมดแห่ง อกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้.
ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง
เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่
ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.
เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดีก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป
เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัสและอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้
อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๔๗ ถึง ๓๔๘ /๔๓๐ ข้อที่ ๔๕๘
เรียนเชิญร่วมกันพิจารณาข้อธรรมที่กล่าวถึง ความดับอกุศลธรรม ร่วมกัน
ท่านมีประสบการณ์ อย่างไรในข้อธรรมนี้ทั้งที่ประสบกับตนเอง หรือ ฟังมา
อย่างไร มาแชร์ประสบการณ์กันครับ