ดอกเตอร์เยอรมันกับปริญญานิพนธ์เก๊ : คอลัมน์เปิดโลกวันอาทิตย์ : ที่มาข้อมูล นิวยอร์กไทม์ส และบีบีซี
เป็นเวลา 32 ปีมาแล้วที่ปริญญานิพนธ์ความหนา 351 หน้าเล่มหนึ่ง วางนิ่งให้ฝุ่นเกาะอยู่บนชั้นวางหนังสือในมุมหนึ่งของมหาวิทยาลัยไฮน์ริค ไฮเนอ ณ เมืองดุสเซนดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ในขณะที่ผู้เขียนประสบความสำเร็จทางการเมือง ได้เป็นถึงรัฐมนตรีศึกษาและการวิจัยของประเทศ
แต่แล้วปริญญานิพนธ์เล่มนั้นที่แท้คือระเบิดเวลา ถูกจุดชนวนโดยบล็อกเกอร์นิรนามคนหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่เนื้อหาน่าสงสัยว่า ขโมยมาจากสิ่งพิมพ์ของผู้อื่นโดยมิได้อ้างอิงไว้อย่างเหมาะสม ทำให้มหาวิทยาลัยตัดสินใจถอดปริญญาเอกของรัฐมนตรีท่านนั้น ศ.ดร.อันเนต ชาฟาน เมื่อต้นเดือนนี้ (แต่เธอยื่นอุทธรณ์ จึงยังเป็นดอกเตอร์อยู่ในระหว่างนี้) และถูกกดดันจนต้องลาออกจากตำแหน่งไม่กี่วันหลังจากนั้น กลายเป็นรัฐมนตรีคนที่สอง ที่ลาออกจากคณะรัฐมนตรีภายใต้นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ด้วยข้อครหาอันน่าอับอาย ในเวลาห่างกันไม่ถึง 2 ปี
ดร.ชาฟาน กล่าวว่า เธอจะต่อสู้และยื่นฟ้อง เพื่อให้ได้ปริญญาคืนมา แต่ระหว่างนี้ คิดว่าควรลาออกไปก่อน เพื่อประเทศ พรรค และประชาชน
ด้าน นางแมร์เคิล ซึ่งเป็นดอกเตอร์เช่นเดียวกัน จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไลป์ซิก กล่าวว่า เธอยอมรับการลาออกของ ดร.ชาฟาน ด้วยหัวใจอันหนักอึ้ง แต่ในทางการเมืองแล้ว ไม่มีทางเลือก
นี่เป็นภาพซ้ำเดิมกับเมื่อครั้งนายคาร์ล ธีโอดอร์ ซู กุตเทนแบร์ก ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนักการเมืองดาวรุ่งพุ่งแรงจากรัฐบาวาเรีย จำใจโบกมือลาเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมด้วยข้อหาอื้อฉาวลอกปริญญานิพนธ์ในปี 2554 เมื่อเกิดขึ้นอีกครั้งกับคนที่เป็นรัฐมนตรีดูแลด้านการศึกษาของประเทศในเวลาห่างกันไม่ถึงสองปี คงเป็นภาพไม่ดีนักต่อนางแมร์เคิล ที่จะต้องสู้ศึกเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกันยายนนี้
เมื่อมีข่าวว่า นางชาฟานถูกมหาวิทยาลัยถอดปริญญา นางแมร์เคิล กล่าวผ่านโฆษกว่า เธอมั่นใจในตัวนางชาฟานอย่างเต็มเปี่ยม เป็นประโยคเดียวกับที่เธอเคยใช้กับกรณีของนายกุตเทนแบร์กหลังโดนกล่าวหาก่อนลาออก และแม้ต่างกันตรงที่ว่า ดร.ชาฟาน เป็นเพื่อนและคนใกล้ชิดกับนางแมร์เคิล แต่ผลลัพธ์ก็ออกมาในทางเดียวกันคือ การเมืองต้องมาก่อนความสัมพันธ์ส่วนตัว
อันที่จริง เรื่องอื้อฉาวลอกผลงานวิชาการ เป็นข่าวครึกโครมในประเทศยุโรปหลายแห่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อาทิ ประธานาธิบดีฮังการี นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย รัฐมนตรีศึกษาโรมาเนีย หรือรัฐมนตรีวัฒนธรรมรัสเซีย ซึ่งบางคนลาออกบางคนก็สู้ข้อหา แต่เยอรมนีดูจะโดดเด่นสุด เพราะมีบุคคลผู้มีตำแหน่งระดับสูงหลายคนโดนจับได้
แถมก่อนหน้านี้ ยังมีการเปิดเผยขนาดว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มหนึ่งสำหรับให้นักศึกษากฎหมายศึกษาวิธีเขียนรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็ลอกจากที่อื่นมากกว่าหนึ่งในสาม รวมทั้งบางส่วนจากเว็บไซต์สารานุกรมวิกิพีเดีย กระทั่งบทที่ว่าด้วยการลอกผลงาน ก็เป็นเนื้อหาที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่น
เยอรมนีให้ความสำคัญกับ ดร. มากกว่าชาวอเมริกัน เนื่องจากตามธรรมเนียม มักเรียกคำนำหน้า ดร. ก่อนตามด้วยนายหรือนาง นักการเมืองบางคนก็ดูเหมือนจะได้รับการเคารพนับถือแบบอัตโนมัติ พ่วงข้อสันนิษฐานจากคนทั่วไปว่ามีความรู้ความสามารถ เพราะมี ดร. นำหน้าชื่อโดยมิต้องลงแรงและเวลา
ข้อมูลจากเว็บไซต์รีเสิร์ช ในเยอรมนี ระบุว่าชาวเยอรมันได้ปริญญาเอกประมาณ 2.5 หมื่นคนในแต่ละปี มากที่สุดในยุโรป และสูงกว่าในสหรัฐอเมริการาวสองเท่า
เยอรมนีมี ดร. ปรากฏหน้าชื่อบนกล่องรับไปรษณีย์และสมุดรายนามโทรศัพท์จำนวนมาก เว็บไซต์รัฐสภาเยอรมนี หรือ บุนเดสชต๊าก มีสมาชิกรัฐสภา 125 คนจากทั้งหมด 262 คน ที่มีคำว่า ดร. นำหน้าตอนสาบานตนรับตำแหน่ง
ผู้ที่เข้ารับตำแหน่งแทน ดร.ชาฟาน ก็เป็น ดร. เช่นกัน และได้รับปริญญาเอกในปี 2523 ปีเดียวกับรัฐมนตรีหญิงที่เพิ่งลาออก
ศ.ดร.โฟล์คเคอร์ ริบเล่ ศาสตราจารย์กฎหมาย มหาวิทยาลัยลุดวิค มักซิมิเลียน ในนครมิวนิก กล่าวว่า ชาวเยอรมันจำนวนไม่น้อยคิดว่า ปัญหาความไม่สัตย์ซื่อทางการศึกษา มีรากเหง้าจากค่านิยมให้ความเคารพที่ผูกติดกับเกียรติบัตร ซึ่งขอเรียกว่า เป็นความหลงใหลคำนำหน้า รวมถึงการเรียก ดร.ดร. สำหรับผู้ที่ได้ปริญญาเอกสองใบ
สำหรับนักจับผิดพวกชอบลอกงานวิชาการคนอื่น การขุดคุ้ยความฉ้อฉลทางวิชาการในแวดวงกองทัพหรือนักการเมืองที่ร่ำรวยคำนำหน้าในเยอรมนี กลายเป็นเกมไล่เชือดทีละคน โดยเฉพาะเว็บไซต์ VroniPlag รูปแบบคล้ายเว็บสารานุกรมวิกิพิเดีย ที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบเนื้อหาวิชาการแบบไม่ประสงค์ออกนามได้
มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ถอดปริญญาเอกของ ซิลวานา โคช-เมห์ริน อดีตรองประธานรัฐสภายุโรป และแกนนำพรรคประชาธิปไตยเสรีในเยอรมนีเมื่อปี 2554 ปัจจุบัน เธอยังต่อสู้ข้อหานี้อยู่ในศาล นายยอร์โก ชัคซีมาร์คาคิส สมาชิกชาวเยอรมันในรัฐสภายุโรปอีกคน ถูกมหาวิทยาลัยบอนน์ ถอดปริญญาเอกด้านปรัชญาเช่นกัน หลังจาก VroniPlag เปิดโปงเนื้อหาน่าสงสัยจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี ฟลอเรียน กราฟ หัวหน้าคณะผู้แทนพรรคคริสเตียนเดโมแครต ในสภานิติบัญญัติเบอร์ลิน ที่สูญเสียปริญญาเอกเมื่อปีที่แล้ว หลังยอมรับว่า ลอกงานวิชาการของคนอื่นโดยมิได้ให้เครดิตอย่างถูกต้องเหมาะสม
ศ.ดร.เดบอรา เวบเบอร์-วุลฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาการคัดลอกผลงาน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในกรุงเบอร์ลิน และเป็นผู้มีส่วนร่วมกับเว็บไซต์จับผิดปริญญานิพนธ์ VroniPlag อย่างสม่ำเสมอ กับมีบล็อกภาษาอังกฤษในเว็บไซต์ Copy Shake and Paste แนะว่า ควรยกเลิกคำนำหน้า ดร.ฟุ่มเฟือยไปเสีย หากคนผู้นั้นมิได้อยู่ในแวดวงวิชาการ "ดร.มีความหมายสำหรับในมหาวิทยาลัยหรือในทางวิชาการเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้เป็นป้ายประกาศการเมือง"
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า ทัศนคติในเรื่องนี้หยั่งรากลึก ยากจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ดร.ปีเตอร์ ริชเตอร์ ผู้สื่อข่าวประจำนิวยอร์กของหนังสือพิมพ์ซึดดอยท์เชอ กล่าวว่า แม้แต่ในเยอรมนี พฤติกรรมของคนแต่ละภาคแตกต่างกัน คนที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์นิยมทางใต้ มีความกระตือรือร้นได้ ดร. มาประดับ มากกว่าผู้อยู่ในเมืองทางเหนือ อาทิ ฮัมบวร์ก
ดร.ชาฟาน วัย 57 ซึ่งเป็น ส.ส. เขตหนึ่งในรัฐบาเดน เวิร์ทเทมแบร์ก ทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับปริญญาเอกเมื่อปี 2523 ในหัวข้อ "บุคคลกับจิตสำนึก" ทำให้เธอถูกตำหนิหนักสองเท่าว่า ทั้งที่ทำปริญญานิพนธ์หัวข้อนี้ แต่เธอก็มิได้ลังเลที่จะกล่าวตำหนินายกุตเทนแบร์ก และตกเป็นข่าวครึกโครมลอกดุษฎีนิพนธ์เมื่อสองปีก่อน แถมกล่าวว่ารู้สึกอับอาย
http://www.komchadluek.net/
อ่านแล้วไม่อยากจะเชื่อว่า จำนวนผู้จบ ดร. ต่อปีจะมากขนาดนี้ สำหรับประเทศเยอรมันที่ได้ชื่อว่าเรียนจบยากและใช้เวลานานสำหรับปริญญาหนึ่งๆ และจะเน้นในเรื่องประสบการณ์การฝึกงาน เรียกว่าจะจบอะไรมาจากเยอรมันต้องเก่งจริง ทำได้จริง ไม่ใช่แค่เรียนๆ สอบๆ ให้จบๆ ไป
มีลอกแล้วยังมีจ้างทำวิทยานิพนธ์ด้วยไหม ดูแล้วการศึกษาเหมือนตกต่ำลงใครก็เป็น ดร. ได้
สมัยก่อนการศึกษาไทยภาคบังคับแค่ ป 4 และคนจบ ป 4 ก็เป็นครูได้ ต่อมาภาคบังคับเป็น ป 6 ครูต้องจบ ปตรีหรือ ปกศ สูง ปัจจุบันภาคบังคับไปยันมัธยม ครูต้องจบโท ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยปัจจุบันจากแค่ ป โท กลายเป็นเน้นรับแต่ ป เอก
ไม่รู้วันข้างหน้าทุกคนจะจบ ป ตรี กันหมดทั้งประเทศไหม
ว่าแต่ คนจบภาคบังคับสมัยก่อน ( ป 6 ) กับสมัยปัจจุบัน (มัธยม) คุณภาพแตกต่างกันแค่ไหนอย่างไร?
ดอกเตอร์เยอรมันกับปริญญานิพนธ์เก๊ คนเยอรมันจบด็อกเตอร์ปีละสองหมื่นห้าพันคนต่อปี
เป็นเวลา 32 ปีมาแล้วที่ปริญญานิพนธ์ความหนา 351 หน้าเล่มหนึ่ง วางนิ่งให้ฝุ่นเกาะอยู่บนชั้นวางหนังสือในมุมหนึ่งของมหาวิทยาลัยไฮน์ริค ไฮเนอ ณ เมืองดุสเซนดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ในขณะที่ผู้เขียนประสบความสำเร็จทางการเมือง ได้เป็นถึงรัฐมนตรีศึกษาและการวิจัยของประเทศ
แต่แล้วปริญญานิพนธ์เล่มนั้นที่แท้คือระเบิดเวลา ถูกจุดชนวนโดยบล็อกเกอร์นิรนามคนหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่เนื้อหาน่าสงสัยว่า ขโมยมาจากสิ่งพิมพ์ของผู้อื่นโดยมิได้อ้างอิงไว้อย่างเหมาะสม ทำให้มหาวิทยาลัยตัดสินใจถอดปริญญาเอกของรัฐมนตรีท่านนั้น ศ.ดร.อันเนต ชาฟาน เมื่อต้นเดือนนี้ (แต่เธอยื่นอุทธรณ์ จึงยังเป็นดอกเตอร์อยู่ในระหว่างนี้) และถูกกดดันจนต้องลาออกจากตำแหน่งไม่กี่วันหลังจากนั้น กลายเป็นรัฐมนตรีคนที่สอง ที่ลาออกจากคณะรัฐมนตรีภายใต้นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ด้วยข้อครหาอันน่าอับอาย ในเวลาห่างกันไม่ถึง 2 ปี
ดร.ชาฟาน กล่าวว่า เธอจะต่อสู้และยื่นฟ้อง เพื่อให้ได้ปริญญาคืนมา แต่ระหว่างนี้ คิดว่าควรลาออกไปก่อน เพื่อประเทศ พรรค และประชาชน
ด้าน นางแมร์เคิล ซึ่งเป็นดอกเตอร์เช่นเดียวกัน จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไลป์ซิก กล่าวว่า เธอยอมรับการลาออกของ ดร.ชาฟาน ด้วยหัวใจอันหนักอึ้ง แต่ในทางการเมืองแล้ว ไม่มีทางเลือก
นี่เป็นภาพซ้ำเดิมกับเมื่อครั้งนายคาร์ล ธีโอดอร์ ซู กุตเทนแบร์ก ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนักการเมืองดาวรุ่งพุ่งแรงจากรัฐบาวาเรีย จำใจโบกมือลาเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมด้วยข้อหาอื้อฉาวลอกปริญญานิพนธ์ในปี 2554 เมื่อเกิดขึ้นอีกครั้งกับคนที่เป็นรัฐมนตรีดูแลด้านการศึกษาของประเทศในเวลาห่างกันไม่ถึงสองปี คงเป็นภาพไม่ดีนักต่อนางแมร์เคิล ที่จะต้องสู้ศึกเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกันยายนนี้
เมื่อมีข่าวว่า นางชาฟานถูกมหาวิทยาลัยถอดปริญญา นางแมร์เคิล กล่าวผ่านโฆษกว่า เธอมั่นใจในตัวนางชาฟานอย่างเต็มเปี่ยม เป็นประโยคเดียวกับที่เธอเคยใช้กับกรณีของนายกุตเทนแบร์กหลังโดนกล่าวหาก่อนลาออก และแม้ต่างกันตรงที่ว่า ดร.ชาฟาน เป็นเพื่อนและคนใกล้ชิดกับนางแมร์เคิล แต่ผลลัพธ์ก็ออกมาในทางเดียวกันคือ การเมืองต้องมาก่อนความสัมพันธ์ส่วนตัว
อันที่จริง เรื่องอื้อฉาวลอกผลงานวิชาการ เป็นข่าวครึกโครมในประเทศยุโรปหลายแห่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อาทิ ประธานาธิบดีฮังการี นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย รัฐมนตรีศึกษาโรมาเนีย หรือรัฐมนตรีวัฒนธรรมรัสเซีย ซึ่งบางคนลาออกบางคนก็สู้ข้อหา แต่เยอรมนีดูจะโดดเด่นสุด เพราะมีบุคคลผู้มีตำแหน่งระดับสูงหลายคนโดนจับได้
แถมก่อนหน้านี้ ยังมีการเปิดเผยขนาดว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มหนึ่งสำหรับให้นักศึกษากฎหมายศึกษาวิธีเขียนรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็ลอกจากที่อื่นมากกว่าหนึ่งในสาม รวมทั้งบางส่วนจากเว็บไซต์สารานุกรมวิกิพีเดีย กระทั่งบทที่ว่าด้วยการลอกผลงาน ก็เป็นเนื้อหาที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่น
เยอรมนีให้ความสำคัญกับ ดร. มากกว่าชาวอเมริกัน เนื่องจากตามธรรมเนียม มักเรียกคำนำหน้า ดร. ก่อนตามด้วยนายหรือนาง นักการเมืองบางคนก็ดูเหมือนจะได้รับการเคารพนับถือแบบอัตโนมัติ พ่วงข้อสันนิษฐานจากคนทั่วไปว่ามีความรู้ความสามารถ เพราะมี ดร. นำหน้าชื่อโดยมิต้องลงแรงและเวลา
ข้อมูลจากเว็บไซต์รีเสิร์ช ในเยอรมนี ระบุว่าชาวเยอรมันได้ปริญญาเอกประมาณ 2.5 หมื่นคนในแต่ละปี มากที่สุดในยุโรป และสูงกว่าในสหรัฐอเมริการาวสองเท่า
เยอรมนีมี ดร. ปรากฏหน้าชื่อบนกล่องรับไปรษณีย์และสมุดรายนามโทรศัพท์จำนวนมาก เว็บไซต์รัฐสภาเยอรมนี หรือ บุนเดสชต๊าก มีสมาชิกรัฐสภา 125 คนจากทั้งหมด 262 คน ที่มีคำว่า ดร. นำหน้าตอนสาบานตนรับตำแหน่ง
ผู้ที่เข้ารับตำแหน่งแทน ดร.ชาฟาน ก็เป็น ดร. เช่นกัน และได้รับปริญญาเอกในปี 2523 ปีเดียวกับรัฐมนตรีหญิงที่เพิ่งลาออก
ศ.ดร.โฟล์คเคอร์ ริบเล่ ศาสตราจารย์กฎหมาย มหาวิทยาลัยลุดวิค มักซิมิเลียน ในนครมิวนิก กล่าวว่า ชาวเยอรมันจำนวนไม่น้อยคิดว่า ปัญหาความไม่สัตย์ซื่อทางการศึกษา มีรากเหง้าจากค่านิยมให้ความเคารพที่ผูกติดกับเกียรติบัตร ซึ่งขอเรียกว่า เป็นความหลงใหลคำนำหน้า รวมถึงการเรียก ดร.ดร. สำหรับผู้ที่ได้ปริญญาเอกสองใบ
สำหรับนักจับผิดพวกชอบลอกงานวิชาการคนอื่น การขุดคุ้ยความฉ้อฉลทางวิชาการในแวดวงกองทัพหรือนักการเมืองที่ร่ำรวยคำนำหน้าในเยอรมนี กลายเป็นเกมไล่เชือดทีละคน โดยเฉพาะเว็บไซต์ VroniPlag รูปแบบคล้ายเว็บสารานุกรมวิกิพิเดีย ที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบเนื้อหาวิชาการแบบไม่ประสงค์ออกนามได้
มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ถอดปริญญาเอกของ ซิลวานา โคช-เมห์ริน อดีตรองประธานรัฐสภายุโรป และแกนนำพรรคประชาธิปไตยเสรีในเยอรมนีเมื่อปี 2554 ปัจจุบัน เธอยังต่อสู้ข้อหานี้อยู่ในศาล นายยอร์โก ชัคซีมาร์คาคิส สมาชิกชาวเยอรมันในรัฐสภายุโรปอีกคน ถูกมหาวิทยาลัยบอนน์ ถอดปริญญาเอกด้านปรัชญาเช่นกัน หลังจาก VroniPlag เปิดโปงเนื้อหาน่าสงสัยจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี ฟลอเรียน กราฟ หัวหน้าคณะผู้แทนพรรคคริสเตียนเดโมแครต ในสภานิติบัญญัติเบอร์ลิน ที่สูญเสียปริญญาเอกเมื่อปีที่แล้ว หลังยอมรับว่า ลอกงานวิชาการของคนอื่นโดยมิได้ให้เครดิตอย่างถูกต้องเหมาะสม
ศ.ดร.เดบอรา เวบเบอร์-วุลฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาการคัดลอกผลงาน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในกรุงเบอร์ลิน และเป็นผู้มีส่วนร่วมกับเว็บไซต์จับผิดปริญญานิพนธ์ VroniPlag อย่างสม่ำเสมอ กับมีบล็อกภาษาอังกฤษในเว็บไซต์ Copy Shake and Paste แนะว่า ควรยกเลิกคำนำหน้า ดร.ฟุ่มเฟือยไปเสีย หากคนผู้นั้นมิได้อยู่ในแวดวงวิชาการ "ดร.มีความหมายสำหรับในมหาวิทยาลัยหรือในทางวิชาการเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้เป็นป้ายประกาศการเมือง"
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า ทัศนคติในเรื่องนี้หยั่งรากลึก ยากจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ดร.ปีเตอร์ ริชเตอร์ ผู้สื่อข่าวประจำนิวยอร์กของหนังสือพิมพ์ซึดดอยท์เชอ กล่าวว่า แม้แต่ในเยอรมนี พฤติกรรมของคนแต่ละภาคแตกต่างกัน คนที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์นิยมทางใต้ มีความกระตือรือร้นได้ ดร. มาประดับ มากกว่าผู้อยู่ในเมืองทางเหนือ อาทิ ฮัมบวร์ก
ดร.ชาฟาน วัย 57 ซึ่งเป็น ส.ส. เขตหนึ่งในรัฐบาเดน เวิร์ทเทมแบร์ก ทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับปริญญาเอกเมื่อปี 2523 ในหัวข้อ "บุคคลกับจิตสำนึก" ทำให้เธอถูกตำหนิหนักสองเท่าว่า ทั้งที่ทำปริญญานิพนธ์หัวข้อนี้ แต่เธอก็มิได้ลังเลที่จะกล่าวตำหนินายกุตเทนแบร์ก และตกเป็นข่าวครึกโครมลอกดุษฎีนิพนธ์เมื่อสองปีก่อน แถมกล่าวว่ารู้สึกอับอาย
http://www.komchadluek.net/
อ่านแล้วไม่อยากจะเชื่อว่า จำนวนผู้จบ ดร. ต่อปีจะมากขนาดนี้ สำหรับประเทศเยอรมันที่ได้ชื่อว่าเรียนจบยากและใช้เวลานานสำหรับปริญญาหนึ่งๆ และจะเน้นในเรื่องประสบการณ์การฝึกงาน เรียกว่าจะจบอะไรมาจากเยอรมันต้องเก่งจริง ทำได้จริง ไม่ใช่แค่เรียนๆ สอบๆ ให้จบๆ ไป
มีลอกแล้วยังมีจ้างทำวิทยานิพนธ์ด้วยไหม ดูแล้วการศึกษาเหมือนตกต่ำลงใครก็เป็น ดร. ได้
สมัยก่อนการศึกษาไทยภาคบังคับแค่ ป 4 และคนจบ ป 4 ก็เป็นครูได้ ต่อมาภาคบังคับเป็น ป 6 ครูต้องจบ ปตรีหรือ ปกศ สูง ปัจจุบันภาคบังคับไปยันมัธยม ครูต้องจบโท ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยปัจจุบันจากแค่ ป โท กลายเป็นเน้นรับแต่ ป เอก
ไม่รู้วันข้างหน้าทุกคนจะจบ ป ตรี กันหมดทั้งประเทศไหม
ว่าแต่ คนจบภาคบังคับสมัยก่อน ( ป 6 ) กับสมัยปัจจุบัน (มัธยม) คุณภาพแตกต่างกันแค่ไหนอย่างไร?