ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ส.ธุรกิจก๊าซฯต้านยกเลิกรถใช้แอลพีจี เผยคนนิยมกว่า1.4 ล้านคัน ชี้ปัญหาบึ้มเกิดจากร้านติดตั้งเถื่อนไร้มาตรฐาน ให้ออกมาตรการควบคุม ยันปลอดภัยกว่าเอ็นจีวี หวั่นคนตกงานอื้อ
จากกรณีผลการหารือร่วมของกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดมาตรการดูแลรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) ตลอดจนถังแอลพีจี โดยมีแนวคิดยกเลิกจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีและสนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) แทน
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นายสุรชัย นิตติวัฒน์กรรมการสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย และประธานกรรมการ บริษัท เอนเนอร์จี รีฟอร์มจำกัด เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวเพราะความต้องการติดตั้งแอลพีจีได้รับความนิยมกว่าเอ็นจีวี เนื่องจากขนาดถังเล็กกว่าเหมาะกับรถยนต์นั่งในเมือง ขณะที่เอ็นจีวีปัจจุบันสถานีบริการ (ปั๊ม) ยังขาดแคลนมาก และไม่สะดวก เพราะใช้เวลาเติมก๊าซนาน ทำให้ตัวเลขรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีในปัจจุบันมากถึง 1.4 ล้านคันส่วนรถเอ็นจีวีมีเพียง 3-4 แสนคันเท่านั้น
นายสุรชัยกล่าวว่า ส่วนมาตรการที่รัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์ว่าแอลพีจีอันตรายกว่าเอ็นจีวีนั้น ต้องทำความเข้าใจว่ารถยนต์ที่อันตรายที่สุดคือ รถยนต์ใช้น้ำมัน เพราะน้ำมันติดไฟง่ายที่สุด ส่วนแอลพีจีนั้นหากอันตราย คงไม่แพร่หลายในยุโรป อาทิ อังกฤษ อิตาลีเยอรมนี เพราะมาตรฐานของประเทศเหล่านั้นสูง ต่างกับไทยที่มาตรฐานต่ำ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และแอลพีจียังเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเหมือนน้ำมัน
"การแก้ปัญหาที่ตรงจุด ไม่ใช่เลิกออกใบอนุญาตรถยนต์แอลพีจี แต่คือการออกมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบมากขึ้น ทั้งตัวถังแอลพีจี และร้านติดตั้ง" นายสุรชัยกล่าว
นายสุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการติดตั้งแอลพีจีที่ได้มาตรฐานและจดทะเบียนถูกกฎหมายทั่วประเทศราว 600 ราย กระจายทั่วประเทศ จำนวนนี้เป็นเครือข่ายของบริษัท เอนเนอร์จี รีฟอร์ม กว่า 200 แห่ง แต่ที่น่าตกใจคือ มีผู้ประกอบการที่ติดตั้งโดยไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีใบอนุญาตมากกว่า 700 แห่ง การติดตั้งลักษณะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น กระทรวงที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวดและระงับใบอนุญาต
"ร้านที่ไม่ได้มาตรฐานจะตั้งราคาติดตั้งถังแอลพีจีเฉลี่ย 18,000-19,000 บาท นำเข้าจากจีนและอินเดีย ขณะที่ร้านมาตรฐานนำเข้าจากยุโรปจะมีราคาเฉลี่ย 26,000-27,000 บาท ส่วนต่างดังกล่าวทำให้ผู้ใช้รถยอมเสี่ยง" นายสุรชัยกล่าว
นายสุรชัยกล่าวว่า นอกจากนี้รัฐบาลควรออกมาตรการตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งแอลพีจีด้วยเพราะปัจจุบันตรวจสอบเฉพาะถังแอลพีจี แต่แทบทุกครั้งที่เกิดปัญหาไฟไหม้ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากถัง แต่มาจากมัลติวาล์ว อุปกรณ์ควบคุมถังเหมือนเป็นประตูแรกที่ทำให้ก๊าซรั่วจนเกิดปัญหาไฟไหม้ตามมา
นายสุรชัยกล่าวว่า ภาพรวมตลาดแอลพีจีปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% จากมูลค่าตลาดที่ 3,000 ล้านบาท เพราะรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการปรับราคาแอลพีจีขนส่งภายในปีนี้และราคาอยู่ที่ประมาณ 24 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) หรือ 13-14 บาทต่อลิตร ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมัน ทำให้ประชาชนอยากใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้น แต่ถ้ารัฐบาลยกเลิกการสนับสนุนแอลพีจี อาจกระทบต่อภาพรวมของตลาด ซึ่งต้องติดตาม สถานการณ์อีกครั้ง
ผู้สื่อข่าว "มติชน" ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับแก๊สแอลพีจีสถานติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจีขนาดใหญ่ย่านประชานิเวศน์ บอกว่า ไม่เคยรู้ข่าวมาก่อนเลยว่าทางรัฐบาลจะเลิกการให้ใบอนุญาตรถที่ติดตั้งแก๊สแอลพีจี นโยบายของรัฐบาลนั้นกระทบกับผู้ประกอบการติดตั้งแก๊สอย่างแน่นอน เพราะมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่เข้ามาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี ที่เหลือเลือกที่จะติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีเนื่องจากหลายเหตุผล ทั้งน้ำหนักของถังก๊าซเอ็นจีวีที่มีน้ำหนักมากกว่าแอลพีจีทำให้ช่วงล่างของรถจะมีปัญหา รวมทั้งยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้เร็วกว่า รวมทั้งอีกเหตุผลที่สำคัญ คือ ปั๊มเอ็นจีวีมีจำนวนน้อยมาก ทำให้ต้องรอเป็นเวลานานปัจจุบันร้านที่รับติดตั้งก๊าซทั่วประเทศที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องมีประมาณ 2,000 แห่ง กว่าครึ่งรับติดตั้งแต่แอลพีจีเท่านั้น หากยกเลิกก็จะทำให้คนจำนวนมากต้องตกงาน
"อุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำเข้ามาได้มาตรฐานทั้งสิ้นหากอู่ได้มาตรฐานก็สามารถออกใบรับรองให้เจ้าของรถนำไปยื่นจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกได้ แต่ที่รถที่ติดตั้งแอลพีจีส่วนมากที่เกิดการระเบิดนั้น เป็นเพราะเจ้าของรถไม่นำรถเข้ามาตรวจสภาพระบบจ่ายก๊าซ หลังจากที่เลยเวลารับประกันของทางสถานติดตั้งไปแล้ว อะไหล่บางตัวอย่างสายนำก๊าซก็มีอายุการใช้งานเพียงประมาณ 2 ปีเท่านั้น"
สถานติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจี บอกว่า ส่วนมากเข้าใจว่าก๊าซเอ็นจีวีปลอดภัยกว่าแอลพีจีเป็นเพราะก๊าซเอ็นจีวีเมื่อรั่วจะลอยขึ้นด้านบนแต่หากแอลพีจีรั่วจะอยู่ต่ำเพราะน้ำหนักมากกว่าอากาศ แต่หากดูจากความอันตรายของการระเบิดนั้นต้องบอกว่าการระเบิดของเอ็นจีวีรุนแรงกว่าเพราะมีแรงดันประมาณ 200 บาร์แต่แอลพีจีมีแรงดันเพียง 3 บาร์เท่านั้น
ด้านผู้ประกอบการปั๊มแก๊สแอลพีจีย่านพระราม 5 บอกว่า คงจะทำอะไรไม่ได้เพราะหากเป็นนโยบายก็คงต้องทำตาม แต่หากมีการยกเลิกจริงลูกจ้างที่ปั๊มก็คงตกงานกันหมดเพราะปั๊มนี้ขายแต่แอลพีจีเท่านั้น
ส.ธุรกิจก๊าซฯต้านยกเลิกรถใช้'LPG' ชี้ระเบิดช่างติดไร้ฝีมือ ยันปลอดภัยกว่าNGV
ส.ธุรกิจก๊าซฯต้านยกเลิกรถใช้แอลพีจี เผยคนนิยมกว่า1.4 ล้านคัน ชี้ปัญหาบึ้มเกิดจากร้านติดตั้งเถื่อนไร้มาตรฐาน ให้ออกมาตรการควบคุม ยันปลอดภัยกว่าเอ็นจีวี หวั่นคนตกงานอื้อ
จากกรณีผลการหารือร่วมของกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดมาตรการดูแลรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) ตลอดจนถังแอลพีจี โดยมีแนวคิดยกเลิกจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีและสนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) แทน
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นายสุรชัย นิตติวัฒน์กรรมการสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย และประธานกรรมการ บริษัท เอนเนอร์จี รีฟอร์มจำกัด เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวเพราะความต้องการติดตั้งแอลพีจีได้รับความนิยมกว่าเอ็นจีวี เนื่องจากขนาดถังเล็กกว่าเหมาะกับรถยนต์นั่งในเมือง ขณะที่เอ็นจีวีปัจจุบันสถานีบริการ (ปั๊ม) ยังขาดแคลนมาก และไม่สะดวก เพราะใช้เวลาเติมก๊าซนาน ทำให้ตัวเลขรถยนต์ที่ใช้แอลพีจีในปัจจุบันมากถึง 1.4 ล้านคันส่วนรถเอ็นจีวีมีเพียง 3-4 แสนคันเท่านั้น
นายสุรชัยกล่าวว่า ส่วนมาตรการที่รัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์ว่าแอลพีจีอันตรายกว่าเอ็นจีวีนั้น ต้องทำความเข้าใจว่ารถยนต์ที่อันตรายที่สุดคือ รถยนต์ใช้น้ำมัน เพราะน้ำมันติดไฟง่ายที่สุด ส่วนแอลพีจีนั้นหากอันตราย คงไม่แพร่หลายในยุโรป อาทิ อังกฤษ อิตาลีเยอรมนี เพราะมาตรฐานของประเทศเหล่านั้นสูง ต่างกับไทยที่มาตรฐานต่ำ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และแอลพีจียังเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเหมือนน้ำมัน
"การแก้ปัญหาที่ตรงจุด ไม่ใช่เลิกออกใบอนุญาตรถยนต์แอลพีจี แต่คือการออกมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบมากขึ้น ทั้งตัวถังแอลพีจี และร้านติดตั้ง" นายสุรชัยกล่าว
นายสุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการติดตั้งแอลพีจีที่ได้มาตรฐานและจดทะเบียนถูกกฎหมายทั่วประเทศราว 600 ราย กระจายทั่วประเทศ จำนวนนี้เป็นเครือข่ายของบริษัท เอนเนอร์จี รีฟอร์ม กว่า 200 แห่ง แต่ที่น่าตกใจคือ มีผู้ประกอบการที่ติดตั้งโดยไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีใบอนุญาตมากกว่า 700 แห่ง การติดตั้งลักษณะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น กระทรวงที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวดและระงับใบอนุญาต
"ร้านที่ไม่ได้มาตรฐานจะตั้งราคาติดตั้งถังแอลพีจีเฉลี่ย 18,000-19,000 บาท นำเข้าจากจีนและอินเดีย ขณะที่ร้านมาตรฐานนำเข้าจากยุโรปจะมีราคาเฉลี่ย 26,000-27,000 บาท ส่วนต่างดังกล่าวทำให้ผู้ใช้รถยอมเสี่ยง" นายสุรชัยกล่าว
นายสุรชัยกล่าวว่า นอกจากนี้รัฐบาลควรออกมาตรการตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งแอลพีจีด้วยเพราะปัจจุบันตรวจสอบเฉพาะถังแอลพีจี แต่แทบทุกครั้งที่เกิดปัญหาไฟไหม้ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากถัง แต่มาจากมัลติวาล์ว อุปกรณ์ควบคุมถังเหมือนเป็นประตูแรกที่ทำให้ก๊าซรั่วจนเกิดปัญหาไฟไหม้ตามมา
นายสุรชัยกล่าวว่า ภาพรวมตลาดแอลพีจีปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% จากมูลค่าตลาดที่ 3,000 ล้านบาท เพราะรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการปรับราคาแอลพีจีขนส่งภายในปีนี้และราคาอยู่ที่ประมาณ 24 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) หรือ 13-14 บาทต่อลิตร ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมัน ทำให้ประชาชนอยากใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้น แต่ถ้ารัฐบาลยกเลิกการสนับสนุนแอลพีจี อาจกระทบต่อภาพรวมของตลาด ซึ่งต้องติดตาม สถานการณ์อีกครั้ง
ผู้สื่อข่าว "มติชน" ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับแก๊สแอลพีจีสถานติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจีขนาดใหญ่ย่านประชานิเวศน์ บอกว่า ไม่เคยรู้ข่าวมาก่อนเลยว่าทางรัฐบาลจะเลิกการให้ใบอนุญาตรถที่ติดตั้งแก๊สแอลพีจี นโยบายของรัฐบาลนั้นกระทบกับผู้ประกอบการติดตั้งแก๊สอย่างแน่นอน เพราะมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่เข้ามาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี ที่เหลือเลือกที่จะติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีเนื่องจากหลายเหตุผล ทั้งน้ำหนักของถังก๊าซเอ็นจีวีที่มีน้ำหนักมากกว่าแอลพีจีทำให้ช่วงล่างของรถจะมีปัญหา รวมทั้งยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้เร็วกว่า รวมทั้งอีกเหตุผลที่สำคัญ คือ ปั๊มเอ็นจีวีมีจำนวนน้อยมาก ทำให้ต้องรอเป็นเวลานานปัจจุบันร้านที่รับติดตั้งก๊าซทั่วประเทศที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องมีประมาณ 2,000 แห่ง กว่าครึ่งรับติดตั้งแต่แอลพีจีเท่านั้น หากยกเลิกก็จะทำให้คนจำนวนมากต้องตกงาน
"อุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำเข้ามาได้มาตรฐานทั้งสิ้นหากอู่ได้มาตรฐานก็สามารถออกใบรับรองให้เจ้าของรถนำไปยื่นจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกได้ แต่ที่รถที่ติดตั้งแอลพีจีส่วนมากที่เกิดการระเบิดนั้น เป็นเพราะเจ้าของรถไม่นำรถเข้ามาตรวจสภาพระบบจ่ายก๊าซ หลังจากที่เลยเวลารับประกันของทางสถานติดตั้งไปแล้ว อะไหล่บางตัวอย่างสายนำก๊าซก็มีอายุการใช้งานเพียงประมาณ 2 ปีเท่านั้น"
สถานติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจี บอกว่า ส่วนมากเข้าใจว่าก๊าซเอ็นจีวีปลอดภัยกว่าแอลพีจีเป็นเพราะก๊าซเอ็นจีวีเมื่อรั่วจะลอยขึ้นด้านบนแต่หากแอลพีจีรั่วจะอยู่ต่ำเพราะน้ำหนักมากกว่าอากาศ แต่หากดูจากความอันตรายของการระเบิดนั้นต้องบอกว่าการระเบิดของเอ็นจีวีรุนแรงกว่าเพราะมีแรงดันประมาณ 200 บาร์แต่แอลพีจีมีแรงดันเพียง 3 บาร์เท่านั้น
ด้านผู้ประกอบการปั๊มแก๊สแอลพีจีย่านพระราม 5 บอกว่า คงจะทำอะไรไม่ได้เพราะหากเป็นนโยบายก็คงต้องทำตาม แต่หากมีการยกเลิกจริงลูกจ้างที่ปั๊มก็คงตกงานกันหมดเพราะปั๊มนี้ขายแต่แอลพีจีเท่านั้น