จากรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ 14 ก.พ. 2556

กระทู้ข่าว
จากกรณีเรื่องเด่นเย็นนี้ ในหัวข้อการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

กรณีดังกล่าวผมว่ามันมีเรื่องไม่ชอบมาพากลของฝ่ายการเมือง  และบรรดาคณาจารย์ทั้งหลาย  ผมคิดว่าทั้งสองคณะได้รับผลดีจากการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ  มีเพียงนิสิต นักศึกษาเท่านั้นที่เสียผลประโยชน์  ดังนั้นนักศึกษาจึงออกมาคัดค้านไม่เห็นดีด้วย  แต่ข้อมูลต่าง ๆ ก็ไม่สามารถชี้ให้เห็นประเด็นที่ชัดเจนมากนัก  ผมจึงลองมองในมุมของผมบ้าง  จะดีอย่างไร  หรือไม่ถูกต้องอย่างไร  พิจารณาดูน่ะครับ  ใครมีประเด็นที่น่าสนใจก็เชิญสนทนาครับ  ในมุมมองของผม

1. ในฝ่ายการเมืองมีผลดีคือ ตัดงบประมาณส่วนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในส่วนเงินอุดหนุนที่อยู่กับกระทรวงศึกษา ฯ ลงทีละน้อย  ๆ  จนมหาวิทยาลัยเลี้ยงตัวเองได้ก็ตัดงบทั้งหมดโดยไม่ต้องจ่ายให้อีกในอนาคตข้างหน้า   ซึ่งส่วนของมหาวิทยาลัยนี้รัฐบาลไม่ได้เหลียวแลมานานแล้ว   โดยฝ่ายการเมืองได้ยุบเอามหาวิทยาลัยไปไว้กับกระทรวงศึกษธิการ  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในอดีตเมื่อก่อนนี้เคยมีรัฐมนตรีกำกับดูแลมหาวิทยาลัย  แต่บัดนี้กับเอามหาวิทยาลัยไปฝากไว้กับกระทรวงศึกษา ฯ  ซึ่งจะเห็นได้ว่าฝ่ายการเมือง (ทุกพรรคการเมือง)  เห็นดีเห็นชอบด้วย  เพราะรัฐมนตรีประจำทบวงมหาวิทยาลัย  คงหาผลประโยชน์จากงบประมาณของกระทรวงได้น้อยหรืออย่างไรไม่ทราบ   ฝ่ายพรรคการเมืองจึงไม่ตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงขึ้นมากำกับดูแล  ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกอย่างยิ่ง  

การดูแลนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศซึ่งต่อไปจะเป็นบุคคลากรสำคัญของประเทศ  กับไม่มีรัฐมนตรีคอยกำกับดูแล  นี่แหละที่ผมเห็นว่าเห็นเรื่องน่าแปลกของฝ่ายการเมือง  ที่ต้องการเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ  เพราะผลประโยชน์ในเชิงงบประมาณ  ที่เห็นมาก็เอาหมาวิทยาลัยบางมหาวิทยาลัย ออกนอกระบบแล้ว  แต่ก็ไม่เห็นลดงบประมาณประจำปีเลย  งบประมาณกับมากขึ้นทุกปี

2. ในส่วนผลดีของมหาลัย  คือมหาวิทยาลัยไม่ต้องจัดทำงบประมาณประจำปีเสนอกระทรวง  ในส่วนนี้ผมมองว่าการใช้จ่ายใช้ได้เต็มที่  มีเงินมากใช้มาก  มีเงินน้อยใช้น้อย  ส่วนเงินเดือนของคณาจารย์ก็รับจากเงินงบประมาณประจำปีในหมวดเงินเดือนตามปกติ  แต่ค่าใช้จ่ายในมหาวิทยาลัย  ใช้จ่ายได้สะดวกขึ้น  ตรงนี้แหละที่ผมมองว่าเป็นผลดีของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นคณาจารย์ต่าง ๆ จึงเห็นดีด้วย  ไม่ออกมาช่วยเหลือนิสิตนักศึกษา ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่จะเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

ในฐานะที่ผมมองโลกในแง่ร้ายน่ะ  มีค่าใช้จ่ายที่ไหนมีคอรัปชั่นที่นั่น  (น้ำท่วม  สร้างอุโบสถ สร้างวิหาร  อุททกภัย สึนามิ ฯลฯ  มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น  ร้อยละเท่าไหร่ว่ากันไป)  แล้วในอนาคตอาจจะมีผลตอบแทนของคณาจารย์ในทางที่ดีมากขึ้น  จากมหาวิทยาลัย  ในส่วนต่าง ๆ  ฯลฯ เช่นอาจจะป้องกันสมองไหลต้องจ่ายค่าตอบแทนของอาจารย์พิเศษมาก ๆ  และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ใครจะทราบได้ ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ( ต้นทุนสูง ก็ต้องขายของแพง ถึงจะมีเงินเหลือมาก ๆ) เหมือนกับกับเอาโรงเรียนรัฐ   ทำเป็นโรงเรียนเอกชนอย่างไงไม่รู้   แล้วในอนาคตเกิดมหาวิทยาลัยมีนโยบายรับนักศึกษาตรงมากขึ้น  โดยรับจากการสอบน้อยลงจะทำอย่างไร  เพียงเพื่อมุ่งหวังกำไรมากกว่า  ใครจะกำกับดูแล  นี่ก็อีกประเด็น

ความจริงแล้วการนำมหาวิทยาลัย  ออกนอกระบบฝ่ายการเมืองต้องมีข้อมูลรอบด้านก่อน  แล้วก็จะต้องทำความเข้าใจว่าจะมีส่วนดีอย่างไรในอนาคต   ไม่ใช้อนาคตเป็นอย่างไรมองไม่เห็น  

ข้อมูลรายได้ของประชาชนโดยเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่  (ฐานะประชากรน่ะพี่น้อง  ดูบ้างหรือเปล่า คนไทยยังจนอยู่เด้อพี่เด้อ) ผู้ปกครองสามารถรับภาระค่าหน่วยกิจของลูกซึ่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ คณะต่าง ๆ ได้เท่าไหร่  ต้องมีข้อมูลกำหนด  ไม่ใช่ปล่อยให้มหาวิทยาลัยกำหนดเอาเองตามอำเภอใจ ต้องศึกษาข้อมูลหลาย ๆ ด้าน   ประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา  รอเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกาเขาก่อน  แล้วค่อยเก็บค่าเทอมลูกหลานมันแพง ๆ  ช่วย ๆ ดูแลเขากันหน่อยเถอะครับ  ลูกหลานทั้งนั้นแหละครับ  (หรือว่าลูกหลานน่ะดีต้องเอาให้มาก ๆ)  สวัสดีประเทศไทย  (คำพี่ตู้เขาบอก)

ปล. เอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วดีอย่างไร  ช่วยตอบให้คนทั้งประเทศเขาฟังหน่อยครับ  เอาแบบง่าย ๆ ที่เด็กประถมฟังรู้เรื่องน่ะพี่น้อง  ผมความรู้ต่ำครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่