พุทธวจนเป็นอกาลิโก
ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหลายจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ให้ผลอย่างไม่จํากัดกาลเวลา เป็นสิ่งที่ควรเรียกกันมาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว และวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
ธรรมวินัยที่ตถาคตตรัสไว้คือศาสดาต่อไป
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย....เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.
มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓
พุทธบริษัทพึงสดับและทำตามคำของตถาคตเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคําร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคํากล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นําสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สําคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคําของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นําสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสําคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้. ด้วยการทําดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ ธรรมที่ยังไม่ปรากฏเธอก็ทําให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
พุทธวจนดีอย่างไร?
พุทธวจนเป็นอกาลิโก
ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหลายจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ให้ผลอย่างไม่จํากัดกาลเวลา เป็นสิ่งที่ควรเรียกกันมาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว และวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
ธรรมวินัยที่ตถาคตตรัสไว้คือศาสดาต่อไป
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย....เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.
มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓
พุทธบริษัทพึงสดับและทำตามคำของตถาคตเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคําร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคํากล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นําสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สําคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคําของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นําสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสําคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้. ด้วยการทําดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ ธรรมที่ยังไม่ปรากฏเธอก็ทําให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.