อยากรบกวนผู้รู้อีกครั้งให้ช่วยแปลความหมายของพระธรรมคำสอนอันได้แก่สัพพสูตรและฉัปปาณสูตรพร้อมอรรถกถาให้ด้วยค่ะขอบคุณมากค่ะ

สัพพวรรคที่ ๓
สัพพสูตร
[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หู
กับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้
เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธ
สิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ดุจเทพเจ้า
แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ

สัพพวรรคที่ ๓               
               อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑                              สัพพวรรคที่ ๓ สัพพสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. 
               บทว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว ชื่อว่า สัพพะ มี ๔ อย่าง คือ สัพพสัพพะ, อายตนสัพพะ, สักกายสัพพะ, ปเทสสัพพะ 
               ใน ๔ อย่างนั้น 
                         สัพพะว่าอะไรๆ ที่พระองค์ไม่เคยเห็นในโลกนี้ 
                         ย่อมไม่มี ไม่รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ก็ไม่มี อนึ่งพระตถาคต 
                         ทรงรู้ยิ่งถึงเนยยะ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น 
                         พระตถาคต จึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ. 
               ชื่อว่า สัพพสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ตํ สุณาถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังสิ่งนั้น นี้ชื่อว่า อายตนสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลปริยายแห่งธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ นี้ชื่อว่า สักกายสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพธมฺเมสุ วา ปฐมสมนฺนาหาโร อุปฺปชฺชติ จิตฺตํ มโน มานสํ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ หรือว่า การรวบรวมใจครั้งแรก จิต มโน มานัส มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่จิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. 
               ดังนั้นเพียงอารมณ์ ๕ ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สักกายสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า อายตนสัพพะ. เนยยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัพพสัพพะ. ปเทสสัพพะไม่ถึงสักกายสัพพะ, สักกายสัพพะไม่ถึงอายตนสัพพะ, อายตนสัพพะไม่ถึงสักกายสัพพะ. 
               เพราะเหตุไร. เพราะว่าธรรมชื่อนี้ที่ไม่เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่มี. 
               แต่ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาอายตนสัพพะ. 
               บทว่า ปจฺจกฺขาย แปลว่า ปฏิเสธ. 
               บทว่า วาจา วตฺถุเทวสฺส ได้แก่ พึงเป็นเพียงวัตถุที่จะพึงกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น. พ้นอายตนะ ๑๒ นี้ไม่อาจแสดงได้ว่า ธรรมอื่นนี้ ชื่อว่า สภาวธรรม. 
               บทว่า ปุฏฺโฐ จ น สมฺปาเยยฺย ความว่า เมื่อถูกถามว่าสิ่งอื่นคืออะไร ชื่อว่าสัพพะ ก็ไม่สามารถจะตอบได้ว่าชื่อนี้. 
               บทว่า วิฆาตํ อาปชฺเชยฺย ได้แก่ ถึงความลำบาก. 
               บทว่า ตํ ในคำว่า ยถา ตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียงนิบาต. 
               บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามในสิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริงสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย. การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้. อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้
               จบอรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑
ฉัปปาณสูตร
[๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง พึงเข้า
ไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคาพึงบาดตัวที่
พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้นเป็นเหตุ โดย
ยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน
บ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้
มีสมาจารอย่างนี้ เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อ
ว่า เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาดนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้ง
อย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ
[๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม
น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้ง
กายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่
เธอ ตามความเป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วย
ลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ
ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้
เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน
บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ
[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมี
วิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น คือ จับงู จระเข้
นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึง
ขมวดปมไว้ตรงกลางปล่อยไป ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจร
ต่างกันเหล่านั้น พึงดึงมาหาโคจรและวิสัยของตนๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก
เข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก
พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของ
ตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่
พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ
ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อม
มีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ
[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม
ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่
และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม
อันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง
ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และ
ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ
[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัย
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง
แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง
ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่
โคจรและวิสัยของตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก
จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงแม่น้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่
อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วย
คิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึง
ลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลักหรือเสานั้นเอง
แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกาย
คตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูป
อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อัน
เป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือ
เสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้
เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐

๑๐. ฉัปปาณสูตร
               อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ ๑๐                              ในฉัปปาณสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. 
               บทว่า อุรูคตฺโต แปลว่า ตัวมีแผล. 
               ชื่อว่า ปกฺกคตฺโต เพราะแผลเหล่านั้นนั่นแล เน่าฟอน. 
               บทว่า สรวนํ แปลว่า ป่ามีหนาม. 
               บทว่า เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้ทุศีล พึงทราบว่า เหมือนคนมีตัวเต็มไปด้วยแผล. ทุกข์ที่เกิดภิกษุผู้ถูกเพื่อนสพรหมจารีในที่นั้นกล่าวอยู่ว่า ผู้นี้นั้นเป็นผู้กระทำกรรมเหล่านี้ๆ พึงทราบเหมือนทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น ผู้ถูกหน่อหญ้าคาแทง๑- และมีตัวถูกใบไม้ที่มีหนาม ซึ่งเปรียบด้วยคมดาบบาดเอา. 
____________________________ 
๑- ปาฐะว่า ขนฺเธหิ ฉบับพม่าเป็น วิทฺธสฺส แปลตามฉบับพม่า. 

               บทว่า ลภติ วตฺตารํ ความว่า ได้ผู้ทักท้วง. 
               บทว่า เอวํการี ความว่า เป็นผู้กระทำเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้น เห็นปานนี้. 
               บทว่า เอวํ สมาจาโร ความว่า ผู้มีโคจรเห็นปานนี้ ด้วยสามารถแห่งโคจร ๓ อย่างเป็นต้น. 
               บทว่า อสุจิคามกณฺฏโก ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สะอาด เพราะอรรถว่าไม่หมดจด. ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าทิ่มแทงชาวบ้าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คามกณฺฏโก (ทิ่มแทงชาวบ้าน)๒- 
____________________________ 
๒- ปาฐะว่า อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิคามวาสีนํ ฉบับพม่าเป็น อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิ, คามวาสินํ แปลตามฉบับพม่า. 

               บทว่า ปกฺขึ ได้แก่ นกหัสดีลิงค์. บทว่า โอสชฺเชยฺยแปลว่า พึงปล่อยไป. 
               บทว่า อาวิญฺเฉยฺยุ ํ แปลว่า พึงฉุดมา. บทว่า ปเวกฺขามิแปลว่า จักเข้าไป.๓- 
____________________________ 
๓- ปาฐะว่า อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิคามวาสีนํ ฉบับพม่าเป็น อสุทฺธฏฺเฐน อสุจิ, คามวาสินํ แปลตามฉบับพม่า. 

               บทว่า อากาสํ เทสฺสามิ แปลว่า เราจักบินไปสู่อากาศ. 
               ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น งูมีความประสงค์จะเข้าไปสู่จอมปลวกด้วยคิดว่า เราจะเอาขนดขดให้กลม แล้วนอนหลับ. 
               จระเข้มีความประสงค์จะลงสู่น้ำ ด้วยคิดว่า เราจะเข้าไปสู่โพรงในที่ไกล แล้วนอน. 
               นกมีความประสงค์จะบินไปสู่อากาศ ด้วยคิดว่า จักเที่ยวไปให้สบายในท้องฟ้า. 
               ลูกสุนัขมีความประสงค์จะเข้าไปสู่บ้าน ด้วยคิดว่า เราจักคุ้ยขี้เถ้าในเตาไฟ นอนรับความอบอุ่น. 
               สุนัขจิ้งจอกมีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าช้าผีดิบ ด้วยคิดว่า เราจะเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ และจักนอนเหยียดหลัง. 
               ลิงมีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ด้วยคิดว่า เราจะขึ้นต้นไม้สูง วิ่งเล่นไปตามทิศต่างๆ. 
               บทว่า อนุวิธาเธยฺยุ ํ แปลว่า พึงตามไป. 
               บาลีว่า อนุวิธิเยยฺยุ ํ ดังนี้ ก็มี. ความว่า พึงคล้อยตาม. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สัตว์ทั้ง ๖ นั้นพึงไปในที่ (ที่เขาประสงค์จะไป) นั้นนั่นแล. 
               ในบทว่า เอวเมว มีอธิบายดังต่อไปนี้. 
               อายตนะพึงเห็นเหมือนสัตว์ ๖ ชนิด. ตัณหาพึงเห็นเหมือนเชือกที่เหนียว. อวิชชาพึงเห็นเหมือนปมในท่ามกลาง (ที่ขมว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่