ซีเกมส์ที่พม่าปลายปีนี้ เจ้าภาพจัดกีฬาพื้นเมืองและกีฬาที่หวังเหรียญทองบรรจุลงอย่างเต็มที่ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือและศักดิ์ศรีของมหกรรมกีฬาภูมิภาคแห่งนี้ดูจะถดถอยลงไปมากมาย
กีฬาที่คิดกันว่าเป็นสากล อย่างเทนนิสและยิมนาสติก ถูกตัดทิ้งไปหน้าตาเฉยด้วยเหตุผลว่าไม่พร้อมด้านต่างๆ
แต่กีฬาที่ไม่มีแข่งขันในโอลิมปิคอย่างหมากรุกสากลถูกบรรจุเข้าแข่งขันด้วย !! ก็อาจมองได้ว่าเพราะซีเกมส์ครั้งก่อนหน้านี้ก็เคยจัดให้มีมาแล้วหลายครั้ง แต่ที่ต้องอัศจรรย์ใจกันไปตามๆ กันที่พ่วงเอาหมากรุกอาเซียน และหมากรุกเข้าพม่ามาด้วย และมีเหรียญทองให้ชิงกันเอิกเกริกถึง 18 เหรียญ !!!!!!!!!
หากแยกแยะจำนวนเหรียญที่ต้องชิงกันในแต่ละประเภทแล้ว ก็พาให้แปลกขึ้นไปอีก ตรงที่หมากรุกสากลมีให้ชิง 6 เหรียญทอง หมากรุกอาเซียนมีให้ชิง 5 เหรียญทอง แต่หมากรุกพม่าที่เป็นกีฬาท้องถิ่นของพม่า และพึ่งถูกนำมาบรรจุใหม่เอี่ยมกลับมีเหรียญให้แย่งถึง 7 เหรียญทอง อันนี้มันขึ้นกับหนังหน้าแท้ๆ !!? ได้แต่ภาวนาว่าหากไทยเป็นเจ้าภาพซีเกมส์อีก คงจะไม่เห็นเรื่องประหลาดแบบนี้
นับแต่หมากรุกสากลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่เวียตนามเมื่อ 10 ปีก่อน และมีการจัดแข่งต่อมาหลายครั้ง ซึ่งไทยเราก็ส่งนักกีฬาเข้าร่วมเพียงครั้งแรกครั้งเดียว เนื่องจากดูกันแล้วโอกาสที่จะได้เหรียญใดๆ แทบจะเท่ากับศูนย์ แม้เมื่อครั้งเราเป็นเจ้าภาพ(ครั้งที่ 24) เมื่อปี 2550 เราก็ตัดกีฬาประเภทนี้ออกไป อีกสองปีต่อมาที่ลาว ก็ไม่มีกีฬาประเภทนี้
จนกระทั่งซีเกมส์ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 26) ปี 2554 ที่ประเทศอินโดนีเซีย บรรจุหมากรุกสากลให้ชิงกัน 8 เหรียญทอง และเพิ่มหมากรุกอาเซียนเข้ามาใหม่ให้ชิง 1 เหรียญทอง
ประเภทหมากรุกสากล เวียตนามกวาดไป 6 เหรียญทอง อีก 2 เหรียญแบ่งกันไประหว่างฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย ไทยเราได้มา 1 เหรียญทองจากหมากรุกอาเซียน
การที่เจ้าภาพลดจำนวนเหรียญของหมากรุกสากลลง แต่กลับไปเพิ่มในส่วนหมากรุกพื้นเมืองของตน แน่นอนว่าด้วยความหวังที่จะโกยเหรียญอย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเมื่อคาดการณ์อย่างคร่าวๆ แล้ว จ้าวเหรียญทองหมากรุกซีเกมส์ครั้งนี้ ก็คงมีเพียง 3 ชาติเท่านั้น คือ เวียตนาม พม่า หรือไทย แต่ชาติไหนจะเข้าป้ายคว้าเหรียญทองได้มากกว่า ??? ก็เป็นเรื่องที่อาจมาลองพิจารณากัน
จ้าวเหรียญทองประเภทหมากรุกครั้งที่แล้ว คือเวียตนาม กวาดจากหมากรุกสากลไปได้ถึง 6 จากทั้งหมด 8 เหรียญทอง ครั้งนี้มีให้ชิง 6 เหรียญทอง ก็น่าจะโกยได้มากกว่าชาติอื่น แต่อาจจะไม่ทั้งหมด โอกาสของเวียตนามน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4 หรือ 5 เหรียญทอง
ว่าถึงหมากรุกอาเซียนที่มีให้ชิงกันเพียงเหรียญทองเดียว เราคว้าได้อย่างง่ายดายด้วยการชนะรวด 100 % เต็มโดยฝีมือของนกกระจิบ ก็แสดงให้เห็นถึงความเหนือชั้นของเราที่ชาติอื่นยากจะตามทัน ดังนั้น 5 เหรียญทองที่มีให้ชิงชัยในประเภทนี้ หากเราได้ครบทั้งหมดจึงเป็นเรื่องธรรมดามาก หากขาดหายไปแม้แต่เหรียญเดียวก็ต้องนับว่าแปลกประหลาดมาก แต่เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ว่าเราได้แน่ๆ 4 หรือ 5 เหรียญทองจากหมากรุกอาเซียน ทำให้ไทยกับเวียตนามสูสีกันมาก จึงต้องดูตัวชี้ขาดที่หมากรุกพม่า
การนำกีฬาพื้นเมืองอย่างหมากรุกพม่ามาแข่งเช่นนี้ ย่อมทำให้เจ้าภาพได้เปรียบอย่างสุดกู่ จากความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่มากกว่ามหาศาล ขณะที่ชาติอื่นยังเล่นไม่เป็นด้วยซ้ำ ดังนั้น หากเป็นโดยธรรมชาติแล้ว พม่าก็น่าจะกวาดได้ทั้งหมด 7 เหรียญทองจากประเภทนี้ ซึ่งย่อมทำให้เป็นจ้าวแห่งกีฬาที่ต้องนั่งเล่นนี้แน่นอน
แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลต่างๆ มาประกอบแล้ว จะพบว่าโอกาสของเราที่จะแย่งชิงเหรียญทองจากหมากรุกพม่าก็มีความเป็นไปได้อยู่ !!!
ก่อนอื่นมารู้จักกับหมากรุกพม่ากันสักพอสังเขปก่อน เพื่อดูกันว่าโอกาสที่ว่านั้นจะเป็นจริงได้ไหม ?
ว่ากันว่าหมากรุกพื้นเมืองของ 4 ชาติ คือ พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา มีความคล้ายกันมาก ซึ่งหากจะสรุปว่าชาติที่ต่างออกไปมากที่สุด ก็น่าจะเป็นพม่า ที่แม้ตัวเดินทุกตัวจะเหมือนกันกับไทย แต่รูปกระดาน การตั้งตัวหมาก และกติกาบางอย่างก็ต่างออกไป
1 กระดาน คล้ายกระดานหมากรุกไทย คือ 8x8 แต่มีเส้นตรง 2 เส้นเพิ่มขึ้นมาลากทแยงจากมุมทั้งสี่มาตัดกันที่กลางกระดาน
2 เริ่มต้นตั้งกระดาน
2.1 เบี้ยตั้งแถวที่3 จำนวน 4 ตัว และตั้งแถวที่4 อีก4 ตัวตามภาพ
2.2 หมากตัวใหญ่ทั้ง8 ตัวของแต่ละฝ่ายสามารถเลือกวางได้อย่างอิสระภายในเขตพื้นที่ๆ เบี้ยฝ่ายตนล้อมอยู่ โดยฝ่ายเดินก่อนเริ่มโดยวางตัวหมากทั้ง8 ตัวลงไปก่อน เมื่อเสร็จแล้ว ก็เป็นอีกฝ่ายลงหมากตัวใหญ่ทั้ง 8 ตัวเช่นกัน จากนั้นฝ่ายแรกเริ่มเป็นฝ่ายเดิน และสลับกันจนกว่าจะจบเกม
3 การหงาย(หรือโปรโมท)เบี้ย ต่างจากหมากรุกอื่นๆ ทั้งหมากรุกสากล หมากรุกอาเซียน และหมากรุกไทย !!!
3.1 เบี้ยจะขึ้นไปหงายได้ในแถวที่ต่างกัน คือจะหงายได้ที่ช่องมีเส้นทแยงพาดผ่านเท่านั้น !! ตัวอย่างเช่น ฝ่ายขาวจะหงายเบี้ยตัวที่5 จากซ้ายโดยโดยการเดินเพียงตาแรกตาเดียว ! เบี้ยตัวที่ 6 จากซ้ายต้องเดินขึ้นไปอีก 2 ตา ส่วนเบี้ยริมทั้งสองด้านต้องเดินไปจนสุดกระดาน !!
3.2 ในการหงายเบี้ยจะกลายเป็นเม็ด แต่จะมีเม็ดสองตัวในกระดานไม่ได้
3.3 ในการหงายนั้น ถือเป็นการทีหนึ่ง จะต้องไม่เป็นการจะกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่ง ! ฯ
แม้กติกาจะต่างไปบ้าง แต่จากการที่เราเชื่อกันว่าการเดินตัวหมากรุกที่มีโคนกับเม็ดประกอบนี้ ไม่มีชาติใดสู้ไทยได้แน่ ในส่วนของการเลือกตั้งหมากตอนเริ่มต้นนั้น แม้เราจะไม่มีประสบการเล่นโดยตรง แต่การเปิดหมากหรือรูปทรงหมากนั้น เซียนหมากรุกไทยมีความรู้ความเข้าใจดี คงใช้เวลาไม่มากนักในการทำความเข้าใจและดูแล้วก็ไม่ถึงกับทำให้เราเสียเปรียบอะไร (ส่วนนี้เป็นความเห็นของคุณบุญสืบ แซ่เฮง ซึ่งเมื่อคิดๆ กันดูก็น่าจะเป็นเช่นนั้น)
มองโอกาสที่เราจะได้เหรียญทองจากหมากรุกพม่าในซีเกมส์ครั้งนี้
1 ความยุ่งยากและเป็นปัญหาที่สุดคือการหงายที่ซับซ้อนกว่าหมากรุกใดๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง และการฝึกซ้อมอย่างเต็มที่ อาจต้องมีเครื่องมือช่วย เช่น เซียนหมากรุกพม่ามาช่วยแนะนำ หรืออาศัยโปรแกรมหมากรุกพม่าคอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกซ้อมและถอดแต้ม เป็นต้น
2 ความรู้ เกี่ยวกับหมากรุกพม่ามีน้อยมาก ตำราหรือบันทึกการเล่นไม่มี (หรือหากจะมีคงน้อยเต็มที) แม้เหมือนจะเป็นทางลบที่ทำให้เราไม่สามารถเรียนรู้หรือพัฒนาจากของเดิมที่พม่ามีอยู่ แต่ในทางบวก ก็แสดงว่าระบบความรู้ของหมากรุกพม่าไม่ดี จึงยากที่ผู้เล่นจะเข้าใจได้ลึกซึ้ง ก็เป็นโอกาสของเราที่จะใช้เวลาที่มีอยู่หลายเดือนนี้ ศึกษาและฝึกฝนกันเต็มที่ ก็จะสามารถไล่ทันได้อย่างไม่ยากจนเกินไป
3 เซียนหมากรุกไทย ล้วนมีความรู้ความเข้าใจในการเดินหมากรุกพื้นเมืองของไทยกันดีมาก ซึ่งประเมินได้ชัดเจนว่า หมากรุกอาเซียนที่คล้ายหมากรุกไทยมากนั้น ไม่ต้องยอดเซียนหมากรุกไทยระดับแถวหน้าสุด(เช่น เซียนแหว่ง เซียนป่อง นกกระจิบ เซียนทนายและหนูเพชน เป็นต้น) ไป แต่เอาแถวสองไปบู๊แทนก็กวาดเหรียญได้หมดไม่ต่างกัน ก็สามารถโยกประดายอดเซียนฯ ดังกล่าวมาเล่นหมากรุกพม่า โอกาสที่จะได้เหรียญทองก็จะมีมากขึ้น
แต่ประเด็นนี้ก็จะมีปัญหาและคำถามตามมามากมายว่า แถวสองเราชนะหมากรุกอาเซียนแน่นอนหรือ ? และจะแฟร์กับประดายอดเซียนที่ต้องมาเล่นประเภทที่ต้องลุ้นมาก ซึ่งมีโอกาสพลาดได้ ต่างจากหมากรุกอาเซียนที่ไม่ว่าใครลงไปเล่นก็ชนะแน่
ซึ่งหากเราแบ่งเหรียญจากหมากรุกพม่าได้สัก 2-3 เหรียญ ก็ค่อนข้างมั่นใจกันได้ว่า จ้าวแห่งหมากกระดานหนนี้เป็นของประเทศไทยแน่นอน
หมากรุกพม่า อีกหนึ่งความหวังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของไทยในซีเกมส์ !!
กีฬาที่คิดกันว่าเป็นสากล อย่างเทนนิสและยิมนาสติก ถูกตัดทิ้งไปหน้าตาเฉยด้วยเหตุผลว่าไม่พร้อมด้านต่างๆ
แต่กีฬาที่ไม่มีแข่งขันในโอลิมปิคอย่างหมากรุกสากลถูกบรรจุเข้าแข่งขันด้วย !! ก็อาจมองได้ว่าเพราะซีเกมส์ครั้งก่อนหน้านี้ก็เคยจัดให้มีมาแล้วหลายครั้ง แต่ที่ต้องอัศจรรย์ใจกันไปตามๆ กันที่พ่วงเอาหมากรุกอาเซียน และหมากรุกเข้าพม่ามาด้วย และมีเหรียญทองให้ชิงกันเอิกเกริกถึง 18 เหรียญ !!!!!!!!!
หากแยกแยะจำนวนเหรียญที่ต้องชิงกันในแต่ละประเภทแล้ว ก็พาให้แปลกขึ้นไปอีก ตรงที่หมากรุกสากลมีให้ชิง 6 เหรียญทอง หมากรุกอาเซียนมีให้ชิง 5 เหรียญทอง แต่หมากรุกพม่าที่เป็นกีฬาท้องถิ่นของพม่า และพึ่งถูกนำมาบรรจุใหม่เอี่ยมกลับมีเหรียญให้แย่งถึง 7 เหรียญทอง อันนี้มันขึ้นกับหนังหน้าแท้ๆ !!? ได้แต่ภาวนาว่าหากไทยเป็นเจ้าภาพซีเกมส์อีก คงจะไม่เห็นเรื่องประหลาดแบบนี้
นับแต่หมากรุกสากลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่เวียตนามเมื่อ 10 ปีก่อน และมีการจัดแข่งต่อมาหลายครั้ง ซึ่งไทยเราก็ส่งนักกีฬาเข้าร่วมเพียงครั้งแรกครั้งเดียว เนื่องจากดูกันแล้วโอกาสที่จะได้เหรียญใดๆ แทบจะเท่ากับศูนย์ แม้เมื่อครั้งเราเป็นเจ้าภาพ(ครั้งที่ 24) เมื่อปี 2550 เราก็ตัดกีฬาประเภทนี้ออกไป อีกสองปีต่อมาที่ลาว ก็ไม่มีกีฬาประเภทนี้
จนกระทั่งซีเกมส์ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 26) ปี 2554 ที่ประเทศอินโดนีเซีย บรรจุหมากรุกสากลให้ชิงกัน 8 เหรียญทอง และเพิ่มหมากรุกอาเซียนเข้ามาใหม่ให้ชิง 1 เหรียญทอง
ประเภทหมากรุกสากล เวียตนามกวาดไป 6 เหรียญทอง อีก 2 เหรียญแบ่งกันไประหว่างฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย ไทยเราได้มา 1 เหรียญทองจากหมากรุกอาเซียน
การที่เจ้าภาพลดจำนวนเหรียญของหมากรุกสากลลง แต่กลับไปเพิ่มในส่วนหมากรุกพื้นเมืองของตน แน่นอนว่าด้วยความหวังที่จะโกยเหรียญอย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเมื่อคาดการณ์อย่างคร่าวๆ แล้ว จ้าวเหรียญทองหมากรุกซีเกมส์ครั้งนี้ ก็คงมีเพียง 3 ชาติเท่านั้น คือ เวียตนาม พม่า หรือไทย แต่ชาติไหนจะเข้าป้ายคว้าเหรียญทองได้มากกว่า ??? ก็เป็นเรื่องที่อาจมาลองพิจารณากัน
จ้าวเหรียญทองประเภทหมากรุกครั้งที่แล้ว คือเวียตนาม กวาดจากหมากรุกสากลไปได้ถึง 6 จากทั้งหมด 8 เหรียญทอง ครั้งนี้มีให้ชิง 6 เหรียญทอง ก็น่าจะโกยได้มากกว่าชาติอื่น แต่อาจจะไม่ทั้งหมด โอกาสของเวียตนามน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4 หรือ 5 เหรียญทอง
ว่าถึงหมากรุกอาเซียนที่มีให้ชิงกันเพียงเหรียญทองเดียว เราคว้าได้อย่างง่ายดายด้วยการชนะรวด 100 % เต็มโดยฝีมือของนกกระจิบ ก็แสดงให้เห็นถึงความเหนือชั้นของเราที่ชาติอื่นยากจะตามทัน ดังนั้น 5 เหรียญทองที่มีให้ชิงชัยในประเภทนี้ หากเราได้ครบทั้งหมดจึงเป็นเรื่องธรรมดามาก หากขาดหายไปแม้แต่เหรียญเดียวก็ต้องนับว่าแปลกประหลาดมาก แต่เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ว่าเราได้แน่ๆ 4 หรือ 5 เหรียญทองจากหมากรุกอาเซียน ทำให้ไทยกับเวียตนามสูสีกันมาก จึงต้องดูตัวชี้ขาดที่หมากรุกพม่า
การนำกีฬาพื้นเมืองอย่างหมากรุกพม่ามาแข่งเช่นนี้ ย่อมทำให้เจ้าภาพได้เปรียบอย่างสุดกู่ จากความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่มากกว่ามหาศาล ขณะที่ชาติอื่นยังเล่นไม่เป็นด้วยซ้ำ ดังนั้น หากเป็นโดยธรรมชาติแล้ว พม่าก็น่าจะกวาดได้ทั้งหมด 7 เหรียญทองจากประเภทนี้ ซึ่งย่อมทำให้เป็นจ้าวแห่งกีฬาที่ต้องนั่งเล่นนี้แน่นอน
แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลต่างๆ มาประกอบแล้ว จะพบว่าโอกาสของเราที่จะแย่งชิงเหรียญทองจากหมากรุกพม่าก็มีความเป็นไปได้อยู่ !!!
ก่อนอื่นมารู้จักกับหมากรุกพม่ากันสักพอสังเขปก่อน เพื่อดูกันว่าโอกาสที่ว่านั้นจะเป็นจริงได้ไหม ?
ว่ากันว่าหมากรุกพื้นเมืองของ 4 ชาติ คือ พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา มีความคล้ายกันมาก ซึ่งหากจะสรุปว่าชาติที่ต่างออกไปมากที่สุด ก็น่าจะเป็นพม่า ที่แม้ตัวเดินทุกตัวจะเหมือนกันกับไทย แต่รูปกระดาน การตั้งตัวหมาก และกติกาบางอย่างก็ต่างออกไป
1 กระดาน คล้ายกระดานหมากรุกไทย คือ 8x8 แต่มีเส้นตรง 2 เส้นเพิ่มขึ้นมาลากทแยงจากมุมทั้งสี่มาตัดกันที่กลางกระดาน
2 เริ่มต้นตั้งกระดาน
2.1 เบี้ยตั้งแถวที่3 จำนวน 4 ตัว และตั้งแถวที่4 อีก4 ตัวตามภาพ
2.2 หมากตัวใหญ่ทั้ง8 ตัวของแต่ละฝ่ายสามารถเลือกวางได้อย่างอิสระภายในเขตพื้นที่ๆ เบี้ยฝ่ายตนล้อมอยู่ โดยฝ่ายเดินก่อนเริ่มโดยวางตัวหมากทั้ง8 ตัวลงไปก่อน เมื่อเสร็จแล้ว ก็เป็นอีกฝ่ายลงหมากตัวใหญ่ทั้ง 8 ตัวเช่นกัน จากนั้นฝ่ายแรกเริ่มเป็นฝ่ายเดิน และสลับกันจนกว่าจะจบเกม
3 การหงาย(หรือโปรโมท)เบี้ย ต่างจากหมากรุกอื่นๆ ทั้งหมากรุกสากล หมากรุกอาเซียน และหมากรุกไทย !!!
3.1 เบี้ยจะขึ้นไปหงายได้ในแถวที่ต่างกัน คือจะหงายได้ที่ช่องมีเส้นทแยงพาดผ่านเท่านั้น !! ตัวอย่างเช่น ฝ่ายขาวจะหงายเบี้ยตัวที่5 จากซ้ายโดยโดยการเดินเพียงตาแรกตาเดียว ! เบี้ยตัวที่ 6 จากซ้ายต้องเดินขึ้นไปอีก 2 ตา ส่วนเบี้ยริมทั้งสองด้านต้องเดินไปจนสุดกระดาน !!
3.2 ในการหงายเบี้ยจะกลายเป็นเม็ด แต่จะมีเม็ดสองตัวในกระดานไม่ได้
3.3 ในการหงายนั้น ถือเป็นการทีหนึ่ง จะต้องไม่เป็นการจะกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่ง ! ฯ
แม้กติกาจะต่างไปบ้าง แต่จากการที่เราเชื่อกันว่าการเดินตัวหมากรุกที่มีโคนกับเม็ดประกอบนี้ ไม่มีชาติใดสู้ไทยได้แน่ ในส่วนของการเลือกตั้งหมากตอนเริ่มต้นนั้น แม้เราจะไม่มีประสบการเล่นโดยตรง แต่การเปิดหมากหรือรูปทรงหมากนั้น เซียนหมากรุกไทยมีความรู้ความเข้าใจดี คงใช้เวลาไม่มากนักในการทำความเข้าใจและดูแล้วก็ไม่ถึงกับทำให้เราเสียเปรียบอะไร (ส่วนนี้เป็นความเห็นของคุณบุญสืบ แซ่เฮง ซึ่งเมื่อคิดๆ กันดูก็น่าจะเป็นเช่นนั้น)
มองโอกาสที่เราจะได้เหรียญทองจากหมากรุกพม่าในซีเกมส์ครั้งนี้
1 ความยุ่งยากและเป็นปัญหาที่สุดคือการหงายที่ซับซ้อนกว่าหมากรุกใดๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง และการฝึกซ้อมอย่างเต็มที่ อาจต้องมีเครื่องมือช่วย เช่น เซียนหมากรุกพม่ามาช่วยแนะนำ หรืออาศัยโปรแกรมหมากรุกพม่าคอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกซ้อมและถอดแต้ม เป็นต้น
2 ความรู้ เกี่ยวกับหมากรุกพม่ามีน้อยมาก ตำราหรือบันทึกการเล่นไม่มี (หรือหากจะมีคงน้อยเต็มที) แม้เหมือนจะเป็นทางลบที่ทำให้เราไม่สามารถเรียนรู้หรือพัฒนาจากของเดิมที่พม่ามีอยู่ แต่ในทางบวก ก็แสดงว่าระบบความรู้ของหมากรุกพม่าไม่ดี จึงยากที่ผู้เล่นจะเข้าใจได้ลึกซึ้ง ก็เป็นโอกาสของเราที่จะใช้เวลาที่มีอยู่หลายเดือนนี้ ศึกษาและฝึกฝนกันเต็มที่ ก็จะสามารถไล่ทันได้อย่างไม่ยากจนเกินไป
3 เซียนหมากรุกไทย ล้วนมีความรู้ความเข้าใจในการเดินหมากรุกพื้นเมืองของไทยกันดีมาก ซึ่งประเมินได้ชัดเจนว่า หมากรุกอาเซียนที่คล้ายหมากรุกไทยมากนั้น ไม่ต้องยอดเซียนหมากรุกไทยระดับแถวหน้าสุด(เช่น เซียนแหว่ง เซียนป่อง นกกระจิบ เซียนทนายและหนูเพชน เป็นต้น) ไป แต่เอาแถวสองไปบู๊แทนก็กวาดเหรียญได้หมดไม่ต่างกัน ก็สามารถโยกประดายอดเซียนฯ ดังกล่าวมาเล่นหมากรุกพม่า โอกาสที่จะได้เหรียญทองก็จะมีมากขึ้น
แต่ประเด็นนี้ก็จะมีปัญหาและคำถามตามมามากมายว่า แถวสองเราชนะหมากรุกอาเซียนแน่นอนหรือ ? และจะแฟร์กับประดายอดเซียนที่ต้องมาเล่นประเภทที่ต้องลุ้นมาก ซึ่งมีโอกาสพลาดได้ ต่างจากหมากรุกอาเซียนที่ไม่ว่าใครลงไปเล่นก็ชนะแน่
ซึ่งหากเราแบ่งเหรียญจากหมากรุกพม่าได้สัก 2-3 เหรียญ ก็ค่อนข้างมั่นใจกันได้ว่า จ้าวแห่งหมากกระดานหนนี้เป็นของประเทศไทยแน่นอน