นกกระจิบเคยบอกว่า ในการเล่น Asean Chess นั้น เราได้เปรียบแค่การเปิดหมาก แต่นับจากกลางกระดานไปเราจะเสียเปรียบจากการเล่นกับผู้เล่นหมากรุกสากลระดับ GM ที่คิดเก่งกว่าเรา อันนี้ผมไม่เห็นด้วย (ขอให้ผมคิดผิด) เพราะเชื่อว่าเราได้เปรียบในทุกช่วงของการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหมาก กลางกระดาน หรือท้ายเกม เนื่องจากการที่คล้ายหมากรุกไทยมากดังกล่าว ซึ่งเมื่อมีข่าวเป็นแนวโน้มว่าจะมีการปรับกติกาให้เบี้ยที่ขึ้นไปหงายถึงแถวแปด สามารถเลือกที่จะโปรโมทเป็นหมากตัวใหญ่ได้ [แทนที่จะเป็นเม็ด (หรือควีน) อย่างเดียว] แล้วกลัวว่าจะทำให้ไทยเราเสียเปรียบ (หรือทำให้ได้เปรียบน้อยลง) ซึ่งผมกลับเห็นแย้งว่ากลับทำให้ไทยเราได้เปรียบมากขึ้นไปอีก จากการที่เราเล่นได้ดีกว่าจึงมีโอกาศที่จะเข็นเบี้ยคว่ำไปสุดกระดานได้มากกว่าอีกฝ่าย จึงเพิ่มโอกาสที่จะชนะมากขึ้น !! (กติกา Asean Chess ในซีเกมส์ปลายปีนี้ ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เบี้ยโปรโมทเป็นตัวใหญ่ได้)
หรือแม้แต่การใช้ตัวหมากและกระดานเป็นชุดของหมากรุกสากลก็เป็นเพียงความไม่คุ้นชินที่ช่วงซ้อมก่อนไปแข่งครั้งแรกนั้น นกกระจิบเคยพูดขำๆ ว่าหากเปลี่ยนตัวหมากเป็นหมากรุกไทยก็ไม่กลัวใครเลย แต่จากการฝึกซ้อมด้วยจำนวนกระดานนับไม่ถ้วน ตัวหมากและกระดานดังกล่าวก็กลายเป็นคุ้นเคยของยอดเซียนท่านนี้ เมื่อการแข่งขันครั้งแรกในซีเกมส์ที่อินโดฯ จบลง ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเราเล่นหมากรุกอาเซียนเก่งกว่าใครๆ บนโลกใบนี้ !!
อาจมีคำถามว่าเหตุใดหมากรุกอาเซียนซึ่งเป็นกีฬาใหม่ที่ควรจะเป็นเพียงกีฬาสาธิตที่ไม่มีการนับเหรียญรางวัลก่อน แล้วจึงบรรจุเข้าเป็นอีกประเภทกีฬาที่นับเหรียญอย่างเป็นทางการในการจัดแข่งครั้งถัดไปเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆ ซึ่งอาจอธิบายได้ง่ายมากว่าโดยการจัดให้เป็นกีฬาหมากรุกที่มีการจัดแข่งอยู่แล้วคือหมากรุกสากล เพียงแยกประเภทและเพิ่มเหรียญรางวัลเข้าไปก็จึงทำได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจัดเป็นกีฬาอย่างเดียวกันแต่เมื่อมองถึงอนาคตของหมากรุกอาเซียนแล้ว แนวโน้มกลับดูว่าจะไม่แจ่มใสนัก อาจจะเป็นเหมือนดาวตกที่วูบวาบมาแล้วหายไปอย่างรวดเร็ว หรือโชคดียังคงอยู่ก็อาจะเป็นไปอย่างเกร็นๆ โดยเหตุผลดังนี้
1). การมีหมากรุกอาเซียนแข่งในซีเกมส์ แม้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด แต่การได้เหรียญทองจากกีฬาประเภทหมากกระดานครั้งแรกนี้ เป็นเหมือนภาพลวงตาที่ผลงานชิ้นเอกนี้ไม่ต่างกับการนำหมากรุกพื้นเมืองของไทยไปแข่งกัน ด้วยความยินยอมพร้อมใจของหลายๆ ชาติที่คิดว่าตนก็มีโอกาศชนะอยู่ ซึ่งหากยังบรรจุให้แข่งขันไปสัก 2 - 3 ครั้งก็จะเห็นกันว่าไทยเราผูกปีกินขาดแต่เพียงชาติเดียว โอกาสที่ประเทศเจ้าภาพจะบรรจุกีฬานี้ไว้ในรายการแข่งขันจึงเป็นไปได้ยาก (เว้นแต่จะล็อบบี้อย่างหนักหรือเมื่อเราเป็นเจ้าภาพ)
2). ตราบใดที่ยังมีความพยายามบรรจุกีฬาพื้นเมืองของประเทศเจ้าภาพลงไปในซีเกมส์ ดังเช่น ครั้งถัดไปที่พม่าเป็นเจ้าภาพ ก็มีความพยายามนำกีฬาพื้นเมืองอย่างน้อย 2 ประเภทกีฬาบรรจุเข้ามา คือ หมากรุกพม่า และตะกร้อวง (หรือ "ชินลง") ซึ่งก็โดยวิธีการเกาะกับประเภทที่มีการแข่งขันอยู่แล้ว คือหมากรุกสากล กับเซปัคตะกร้อและตะกร้อลวดห่วง ก็ทำให้กีฬาพื้นเมืองทั้งสองประเภทถูกจัดให้แข่งขันอย่างเป็นทางการและเพิ่ม
เหรียญรางวัลอีกมากมาย เป็นต้น ยิ่งมีการนำกีฬาพื้นเมืองเข้ามามากเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมากรุกพื้นเมือง ก็ยิ่งจะทำให้กีฬาภูมิภาคหมดความหมายกระทั่งอาจถูกยกเลิกไป เพราะโดยวัตถุประสงค์ของกีฬาภูมิภาค (เช่น หมากรุกอาเซียนนี้ เป็นต้น) ก็เพื่อไม่ให้ชาติที่เป็นเจ้าภาพเอาเปรียบชาติอื่นๆ โดยนำกีฬาพื้นเมืองของตนมาบรรจุแข่ง
หากจะยกตัวอย่างความสำเร็จของกีฬาตะกร้อมาเทียบ จะเห็นความต่างที่ทำให้ยากที่จะเดินตามความสำเร็จของกีฬาดังกล่าวได้ ดังนี้
เดิมกีฬาเตะลูกหวาย มีที่นิยมในโลกนี้เพียงในสามประเทศเท่านั้น คือพม่า (ตะกร้อวง) มาเลย์เซีย (ตะกร้อข้ามตาข่าย) และไทย (ทั้งตะกร้อวง และตะกร้อข้ามตาข่าย) เมื่อมีความเห็นร่วมกันที่จะนำกีฬานี้บรรจุเข้าแข่งขันในซีเกมส์ ก็มีการปรับเปลี่ยนกติกาให้เป็นที่ยอมรับ กระทั่งจนชื่อของกีฬาใหม่ประเภทข้ามตาข่ายนี้ถูกตั้งใหม่ว่าเซปัคตะกร้อ ซึ่งเป็นชื่อภาษามาเลย์เซียต่อด้วยชื่อภาษาไทย ทำให้พ้นจากสภาพกีฬาพื้นเมืองขึ้นมาเป็นกีฬาภูมิภาค(หรืออาจใช้ว่า"ภาคพื้น") อีกอย่างหนึ่งของอาเซียน โดยยังมีเอกลักษณ์สำคัญคืออุปกรณ์ที่ยังเป็นลูกหวายและตาข่ายแบบที่ไม่มีกีฬาใดเหมือน
ต่างจาก AseanChess ที่เมื่อมองทางกายภาพ จะเห็นว่าเป็นหมากรุกสากลชัดเจน เพราะตัวหมาก กระดาน และNotation ที่ใช้ก็เป็นของหมากรุกสากลทั้งสิ้น เริ่มต้นตั้งกระดานใหม่แถวหมากตัวนายก็เป็นแบบหมากรุกสากล(ควีนตั้งตรงในแนวตั้งเดียวกัน จึงจะเดินไม่เจอกันเลยในแนวทแยง) การขึ้นไปหงายหรือโปรโมทก็เป็นตามกำหนดอยู่ในหมากรุกสากล คือเบี้ยต้องไปจนสุดกระดาน กระทั่งชื่อเรียกตัวหมากต่างๆ ก็เป็นของหมากรุกสากล ยกเว้นบิชอพ(bishop)เท่านั้นที่เปลี่ยนชื่อเป็นช้าง(elephant)
จึงอาจกล่าวได้ว่า AseanChess มีที่มาจากแนวคิดพื้นฐานของหมากรุกสากล มากกว่าจะเป็นการปรับกติกาและรูปแบบหมากรุกพื้นเมืองของแต่ละชาติในอาเซียนให้เป็นกีฬาใหม่ที่เหมาะสมและไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ลักษณะทางกายภาพและอื่นๆ จึงยากที่จะให้ยอมรับอย่างสนิทใจว่านี่คือหมากรุกของภูมิภาคอาเซียนนี้
3). เป็นกีฬาที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่กีฬาที่ผ่านกาลเวลาและพิสูจน์ถึงความนิยมของผู้เล่น อันแสดงถึงคุณค่าของตัวกีฬา ก็เป็นคำถามสำคัญว่า ปกติการจะบรรจุกีฬาใหม่เข้าแข่งในซีเกมส์ แม้จะเป็นกีฬาพื้นเมือง ก็จะมีการกำหนดว่าต้องเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในข้อกำหนดนี้ ประเทศที่มีประชากรมาก เช่น อินโดเนเซีย ฯ ก็อาจดูได้เปรียบเมื่อจะนำกีฬาพื้นเมืองของตนมาให้แข่งร่วมว่ามีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก (แต่ก็เพียงในประเทศของตนเท่านั้น) แต่หมากรุกอาเซียนนี้ อย่าว่าถึงความนิยมเลย แม้กระทั่งคนที่เล่นเป็นในโลกนี้ก็กล่าวได้ว่านับหัวได้ แต่กีฬาหมากกระดานใหม่ที่มีผู้คนเล่นเป็นน้อยที่สุดในโลกนี้ (น้อยกว่ากีฬาหมากกระดานพื้นเมืองใดๆ ในอาเซียนด้วยซ้ำ) กลับถูกนำมาใช้แข่งขันและชิงเหรียญทองมากมายในซีเกมส์ !!
AseanChess จึงน่าจะมีอายุขัยไม่ยืนนัก !!?? แต่โดยที่เป็นกีฬาที่เหล่านักหมากรุกจากประเทศไทยสามารถสร้างผลงานอย่างโดดเด่น แทบจะกล่าวได้ว่าเราสามารถกวาดทุกเหรียญทองที่กำหนดมี (รวมถึงเหรียญอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ด้วย) ซึ่งก็จะเป็นผลงานที่ส่งผลดีต่อวงการหมากรุก(ทั้งสากลและไทย) บ้านเรา ในการที่จะได้รับความสนใจทั้งความนิยมและการสนับสนุนที่จะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น แม้อนาคตของ AseanChess จะมองไม่เห็น แต่นี่น่าจะเป็นเครื่องมือและโอกาสสำคัญอีกอันหนึ่งในการพัฒนากีฬาหมากรุกของไทยเรา สำหรับหมากรุกสากลอาจจะชัดเจนในแนวทางเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและแข่งขันกับชาติอื่นๆ (อย่างน้อยที่สุดคือในอาเซียน) ได้ต่อไป แต่สำหรับหมากรุกไทย ก็เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าจะพัฒนาต่อในทิศทางใด และอย่างไร ?
หมากรุกอาเซียน (Asean Chess)...........อนาคตที่ยังมองไม่เห็น (2/2)
หรือแม้แต่การใช้ตัวหมากและกระดานเป็นชุดของหมากรุกสากลก็เป็นเพียงความไม่คุ้นชินที่ช่วงซ้อมก่อนไปแข่งครั้งแรกนั้น นกกระจิบเคยพูดขำๆ ว่าหากเปลี่ยนตัวหมากเป็นหมากรุกไทยก็ไม่กลัวใครเลย แต่จากการฝึกซ้อมด้วยจำนวนกระดานนับไม่ถ้วน ตัวหมากและกระดานดังกล่าวก็กลายเป็นคุ้นเคยของยอดเซียนท่านนี้ เมื่อการแข่งขันครั้งแรกในซีเกมส์ที่อินโดฯ จบลง ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเราเล่นหมากรุกอาเซียนเก่งกว่าใครๆ บนโลกใบนี้ !!
อาจมีคำถามว่าเหตุใดหมากรุกอาเซียนซึ่งเป็นกีฬาใหม่ที่ควรจะเป็นเพียงกีฬาสาธิตที่ไม่มีการนับเหรียญรางวัลก่อน แล้วจึงบรรจุเข้าเป็นอีกประเภทกีฬาที่นับเหรียญอย่างเป็นทางการในการจัดแข่งครั้งถัดไปเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆ ซึ่งอาจอธิบายได้ง่ายมากว่าโดยการจัดให้เป็นกีฬาหมากรุกที่มีการจัดแข่งอยู่แล้วคือหมากรุกสากล เพียงแยกประเภทและเพิ่มเหรียญรางวัลเข้าไปก็จึงทำได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจัดเป็นกีฬาอย่างเดียวกันแต่เมื่อมองถึงอนาคตของหมากรุกอาเซียนแล้ว แนวโน้มกลับดูว่าจะไม่แจ่มใสนัก อาจจะเป็นเหมือนดาวตกที่วูบวาบมาแล้วหายไปอย่างรวดเร็ว หรือโชคดียังคงอยู่ก็อาจะเป็นไปอย่างเกร็นๆ โดยเหตุผลดังนี้
1). การมีหมากรุกอาเซียนแข่งในซีเกมส์ แม้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด แต่การได้เหรียญทองจากกีฬาประเภทหมากกระดานครั้งแรกนี้ เป็นเหมือนภาพลวงตาที่ผลงานชิ้นเอกนี้ไม่ต่างกับการนำหมากรุกพื้นเมืองของไทยไปแข่งกัน ด้วยความยินยอมพร้อมใจของหลายๆ ชาติที่คิดว่าตนก็มีโอกาศชนะอยู่ ซึ่งหากยังบรรจุให้แข่งขันไปสัก 2 - 3 ครั้งก็จะเห็นกันว่าไทยเราผูกปีกินขาดแต่เพียงชาติเดียว โอกาสที่ประเทศเจ้าภาพจะบรรจุกีฬานี้ไว้ในรายการแข่งขันจึงเป็นไปได้ยาก (เว้นแต่จะล็อบบี้อย่างหนักหรือเมื่อเราเป็นเจ้าภาพ)
2). ตราบใดที่ยังมีความพยายามบรรจุกีฬาพื้นเมืองของประเทศเจ้าภาพลงไปในซีเกมส์ ดังเช่น ครั้งถัดไปที่พม่าเป็นเจ้าภาพ ก็มีความพยายามนำกีฬาพื้นเมืองอย่างน้อย 2 ประเภทกีฬาบรรจุเข้ามา คือ หมากรุกพม่า และตะกร้อวง (หรือ "ชินลง") ซึ่งก็โดยวิธีการเกาะกับประเภทที่มีการแข่งขันอยู่แล้ว คือหมากรุกสากล กับเซปัคตะกร้อและตะกร้อลวดห่วง ก็ทำให้กีฬาพื้นเมืองทั้งสองประเภทถูกจัดให้แข่งขันอย่างเป็นทางการและเพิ่ม
เหรียญรางวัลอีกมากมาย เป็นต้น ยิ่งมีการนำกีฬาพื้นเมืองเข้ามามากเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมากรุกพื้นเมือง ก็ยิ่งจะทำให้กีฬาภูมิภาคหมดความหมายกระทั่งอาจถูกยกเลิกไป เพราะโดยวัตถุประสงค์ของกีฬาภูมิภาค (เช่น หมากรุกอาเซียนนี้ เป็นต้น) ก็เพื่อไม่ให้ชาติที่เป็นเจ้าภาพเอาเปรียบชาติอื่นๆ โดยนำกีฬาพื้นเมืองของตนมาบรรจุแข่ง
หากจะยกตัวอย่างความสำเร็จของกีฬาตะกร้อมาเทียบ จะเห็นความต่างที่ทำให้ยากที่จะเดินตามความสำเร็จของกีฬาดังกล่าวได้ ดังนี้
เดิมกีฬาเตะลูกหวาย มีที่นิยมในโลกนี้เพียงในสามประเทศเท่านั้น คือพม่า (ตะกร้อวง) มาเลย์เซีย (ตะกร้อข้ามตาข่าย) และไทย (ทั้งตะกร้อวง และตะกร้อข้ามตาข่าย) เมื่อมีความเห็นร่วมกันที่จะนำกีฬานี้บรรจุเข้าแข่งขันในซีเกมส์ ก็มีการปรับเปลี่ยนกติกาให้เป็นที่ยอมรับ กระทั่งจนชื่อของกีฬาใหม่ประเภทข้ามตาข่ายนี้ถูกตั้งใหม่ว่าเซปัคตะกร้อ ซึ่งเป็นชื่อภาษามาเลย์เซียต่อด้วยชื่อภาษาไทย ทำให้พ้นจากสภาพกีฬาพื้นเมืองขึ้นมาเป็นกีฬาภูมิภาค(หรืออาจใช้ว่า"ภาคพื้น") อีกอย่างหนึ่งของอาเซียน โดยยังมีเอกลักษณ์สำคัญคืออุปกรณ์ที่ยังเป็นลูกหวายและตาข่ายแบบที่ไม่มีกีฬาใดเหมือน
ต่างจาก AseanChess ที่เมื่อมองทางกายภาพ จะเห็นว่าเป็นหมากรุกสากลชัดเจน เพราะตัวหมาก กระดาน และNotation ที่ใช้ก็เป็นของหมากรุกสากลทั้งสิ้น เริ่มต้นตั้งกระดานใหม่แถวหมากตัวนายก็เป็นแบบหมากรุกสากล(ควีนตั้งตรงในแนวตั้งเดียวกัน จึงจะเดินไม่เจอกันเลยในแนวทแยง) การขึ้นไปหงายหรือโปรโมทก็เป็นตามกำหนดอยู่ในหมากรุกสากล คือเบี้ยต้องไปจนสุดกระดาน กระทั่งชื่อเรียกตัวหมากต่างๆ ก็เป็นของหมากรุกสากล ยกเว้นบิชอพ(bishop)เท่านั้นที่เปลี่ยนชื่อเป็นช้าง(elephant)
จึงอาจกล่าวได้ว่า AseanChess มีที่มาจากแนวคิดพื้นฐานของหมากรุกสากล มากกว่าจะเป็นการปรับกติกาและรูปแบบหมากรุกพื้นเมืองของแต่ละชาติในอาเซียนให้เป็นกีฬาใหม่ที่เหมาะสมและไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ลักษณะทางกายภาพและอื่นๆ จึงยากที่จะให้ยอมรับอย่างสนิทใจว่านี่คือหมากรุกของภูมิภาคอาเซียนนี้
3). เป็นกีฬาที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่กีฬาที่ผ่านกาลเวลาและพิสูจน์ถึงความนิยมของผู้เล่น อันแสดงถึงคุณค่าของตัวกีฬา ก็เป็นคำถามสำคัญว่า ปกติการจะบรรจุกีฬาใหม่เข้าแข่งในซีเกมส์ แม้จะเป็นกีฬาพื้นเมือง ก็จะมีการกำหนดว่าต้องเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในข้อกำหนดนี้ ประเทศที่มีประชากรมาก เช่น อินโดเนเซีย ฯ ก็อาจดูได้เปรียบเมื่อจะนำกีฬาพื้นเมืองของตนมาให้แข่งร่วมว่ามีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก (แต่ก็เพียงในประเทศของตนเท่านั้น) แต่หมากรุกอาเซียนนี้ อย่าว่าถึงความนิยมเลย แม้กระทั่งคนที่เล่นเป็นในโลกนี้ก็กล่าวได้ว่านับหัวได้ แต่กีฬาหมากกระดานใหม่ที่มีผู้คนเล่นเป็นน้อยที่สุดในโลกนี้ (น้อยกว่ากีฬาหมากกระดานพื้นเมืองใดๆ ในอาเซียนด้วยซ้ำ) กลับถูกนำมาใช้แข่งขันและชิงเหรียญทองมากมายในซีเกมส์ !!
AseanChess จึงน่าจะมีอายุขัยไม่ยืนนัก !!?? แต่โดยที่เป็นกีฬาที่เหล่านักหมากรุกจากประเทศไทยสามารถสร้างผลงานอย่างโดดเด่น แทบจะกล่าวได้ว่าเราสามารถกวาดทุกเหรียญทองที่กำหนดมี (รวมถึงเหรียญอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ด้วย) ซึ่งก็จะเป็นผลงานที่ส่งผลดีต่อวงการหมากรุก(ทั้งสากลและไทย) บ้านเรา ในการที่จะได้รับความสนใจทั้งความนิยมและการสนับสนุนที่จะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น แม้อนาคตของ AseanChess จะมองไม่เห็น แต่นี่น่าจะเป็นเครื่องมือและโอกาสสำคัญอีกอันหนึ่งในการพัฒนากีฬาหมากรุกของไทยเรา สำหรับหมากรุกสากลอาจจะชัดเจนในแนวทางเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและแข่งขันกับชาติอื่นๆ (อย่างน้อยที่สุดคือในอาเซียน) ได้ต่อไป แต่สำหรับหมากรุกไทย ก็เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าจะพัฒนาต่อในทิศทางใด และอย่างไร ?