หัวใจของความสำเร็จที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ ความฟิตหรือความสมบูรณ์แข็งแรงในสมรรถภาพของนักฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งนอกเหนือจากจะทำให้ทีมมีชัยต่อคู่ต่อสู้แล้ว ยังถือเป็นการลดการบาดเจ็บด้วยหากนักฟุตบอลมีความแข็งแกร่งของร่างกายอย่าง ดี ซึ่งเราก็เห็นกันมาแล้วจากนักเตะทีมชาติของเรา และหลายคนคงสงสัยว่าทีมงานได้ทดสอบสภาพร่างกายนักเตะกันหรือไม่ การทดสอบที่ใช้กันทั่วไปก็คือ
1. การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Test) ที่มีการทดสอบ 3 แบบ
1.1การวัดแรงเหยียดขา (Leg Dynamometer Test)
1.2การวัดแรงเหยียดหลัง (Back Dynamometer Test )
1.3การวัดแรงบีบมือ (Hand Grip Test)
2. การทดสอบความรวดเร็วและความคล่องแคล่ว (Sprint and Agility Test) มี 3 แบบดังนี้
2.1 40 Meters Sprint (การจับเวลาวิ่งเร็ว 40 เมตร) ทดสอบทางยาว 40 เมตร โดยนักฟุตบอลวิ่งจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุด 40 เมตร แล้วจับเวลา โดยอนุญาตให้ทดลองวิ่งได้ 1 ครั้ง และเอาจริงอีก 1 ครั้ง เอาเวลาที่ดีที่สุดที่ทำได้ ในกรณีที่ต้องการดูรายละเอียดมากขึ้นอาจจับเวลาช่วง 10 เมตรแรกด้วยเพื่อดูความเร็วต้น
2.2 Four Line Sprint (เป็นการทดสอบความคล่องตัวหรือความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางขณะวิ่ง) โดยต้องเตรียมสนามเพื่อการทดสอบหาพื้นที่ในสนามฟุตบอลขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร แนวเส้นที่ 1 ห่างจากเส้นที่ 2 เท่ากับ 20 เมตร แนวเส้นที่ 2 ถึงแนวเส้นที่ 3 และแนวเส้นที่ 3 ถึงแนวเส้นที่ 4 ห่างเท่ากันคือ 10 เมตร จุดเริ่มต้น (จุด A) อยู่บนแนวเส้นที่ 3 จุด B, C อยู่บนแนวเส้นที่ 4 และ 2 ตามลำดับ โดยอยู่ในแนวขนานกัน จุด D, E อยู่บนแนวเส้นที่ 3 และ 1 ตามลำดับ โดยอยู่ในแนวขนานกัน การประเมินผล ให้จับเวลานับตั้งแต่ให้สัญญาณ เริ่มทดสอบนักฟุตบอลลุกขึ้นเริ่มวิ่งจากจุด A-B-C-D-E จนผ่านจุด E ไป
2.3 Zigzag Run (การวิ่งซิกแซ็ก) วิธีทดสอบ ให้นักฟุตบอลยืนอยู่ข้างกรวยหมายเลข 1 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการทดสอบหากรวยอีก 5 อัน มาวางทแยงกันเป็น 2 แถวตามรูป แถวแรกกรวยหมายเลข 1, 3 และ 5 ส่วนแถวที่ 2 กรวยหมายเลข 2, 4 และ 6 เมื่อให้สัญญาณเริ่มการทดสอบ นักฟุตบอลจะต้องวิ่งไปทีละจุดจากกรวยหมายเลข 1 ไปอ้อมกรวยหมายเลข 2 วิ่งไล่ไปเรื่อยจนผ่านกรวยหมายเลข 6 การประเมินผล ให้จับเวลาตั้งแต่ให้สัญญาณเริ่มการทดสอบ นักฟุตบอลเริ่มวิ่งจนกระทั่งผ่านกรวยหมายเลขที่ 6
3. การทดสอบความบึกบึนทั้งแบบแอโรบิกและแอนแอโรบิก (Tests of Aerobic and Anaerobic Endurance)
Aerobic endurance (ความบึกบึนอดทนด้านแอโร บิก) หมายถึงความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง (กล้ามเนื้อขา/กล้ามเนื้อแขน) เช่น การวิ่ง เป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงของระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิตและการหายใจ ในการนำโลหิตที่มีออกซิเจนไปส่งให้เซลล์ของกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานอย่างต่อ เนื่อง
Anaerobic endurance (ความบึกบึน อดทนด้านแอนแอโรบิก) หมายถึง ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเป็นเวลาสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น การยกน้ำหนัก การวิ่งเร็วในช่วงสั้น ๆ และหยุดพัก ซึ่งไม่ต้องอาศัยความแข็งแรงของระบบหัวใจหรือที่เรียกว่า aerobic fitness แต่อาศัยความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Muscular Fitness เป็นหลัก
การทดสอบดังกล่าวจะมี 3 แบบ คือ
3.1 Three Corner Run (วิ่ง 3 เหลี่ยม) เตรียมสนามฟุตบอล ให้วิ่งจาก A B C D แล้วจับเวลาและให้จับชีพจรก่อนเริ่มทดสอบ ขณะที่ถึงจุด D และหลังจากนั้นอีก 2 นาที เพื่อนำมาเปรียบเทียบและประเมินผล
3.2 Shuttle Run Test - เป็นการทดสอบความฟิตหรือความแข็งแรงระบบแอโรบิก (Aerobic Fitness)
ให้นักฟุตบอลวิ่งติดต่อกันโดยนับรอบที่วิ่งได้โดยจากจุดเริ่มต้นไปถึงจุด วิ่งกลับห่างกัน 20 เมตร โดยเมื่อวิ่งครบ 1 รอบ แล้วให้พักได้ 5 วินาที แล้ววิ่งรอบต่อไปโดยจะต้องวิ่งให้เร็วขึ้นกว่ารอบก่อนหน้านี้ไปเรื่อย ๆ การทดสอบสิ้นสุดลงเมื่อนักฟุตบอลวิ่งต่อไปไม่ไหวแล้ว
การประเมินผลก่อนการทดสอบให้จับชีพจร ของนักฟุตบอลขณะพัก และเมื่อการทดสอบสิ้นสุดลงให้จับชีพจรอีกครั้งหนึ่ง โดยบันทึกเอาไว้เป็นจำนวนการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที โดยให้เก็บเป็นสถิติเอาไว้สำหรับเปรียบเทียบกับการทดสอบครั้งก่อน ๆ รวมทั้งเปรียบเทียบกับนักฟุตบอลคนอื่น ๆ ด้วย
3.3 Twelve Minute Run (การวิ่ง 12 นาที) การทดสอบอาจใช้ลู่วิ่งในสนามกีฬา (1 รอบเท่ากับ 400 เมตร) โดยใช้รองเท้าผ้าใบ โดยวัดระยะทางที่วิ่งได้เมื่อครบ 12 นาที ซึ่งแต่ละผู้เล่นอาจเล่นครบ 12 นาทีในจุดต่าง ๆ กัน และให้วัดชีพจรทันที (ครั้ง/นาที) และอีก 3 ครั้ง คือนาทีที่ 13, 15 และ 17 เพื่อดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะค่อย ๆ ลดลงมาอย่างต่อเนื่องอย่างไร? ให้บันทึกเก็บไว้เป็นสถิติเพื่อเปรียบเทียบกับตนเองและนักฟุตบอลคนอื่น ๆ ต่อไป
การทดสอบทั้ง 9 แบบ เพื่อครอบคลุมทั้ง 3 เป้าหมาย คือ
1. Strength Tests การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (3 สถานี)
2. Sprint and Agility Tests การทดสอบความรวดเร็วและความคล่องแคล่ว (3 สถานี)
3. Tests of Anaerobic and Aerobic Endurance (การทดสอบความแข็งแรงบึกบึนด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิก) (3 สถานี)
โดยผลที่ได้นักกายภาพหรือนักวิทยาศาตร์การแพทย์จะรายงานให้โค้ชหรือผู้ฝึกสอนนำไปประเมินนักฟุตบอล และต้องเข้าใจว่าเป็น Pre-season Assessment of Performance เพื่อทดสอบก่อนเข้าสู่ช่วงของการแข่งขันนะครับ เพราะระหว่างการแข่งขันจะมีการฝึกซ้อมและการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพิจารณาตารางการเตรียมทีม การทดสอบการฝึกซ้อมและอื่นๆ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในช่วงเตรียมทีมก่อนการแข่งขันจริง การประเมินสภาพร่างกาย มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากทดสอบแล้วนักเตะมีสภาพกล้ามเนื้อ ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงจากปกติมาก แล้วส่งสนามแข่งขันจริง จะเกิดอันตรายกับนักเตะได้ทั้งจากบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงหัวใจเลยทีเดียว เพราะฉนั้นการทดสอบจึงสำคัญมาก เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจของโค้ชว่านักเตะสภาพร่างกายคะแนนแบบนี้ควรส่งลงเล่นหรือไม่หรือควรส่งลงเวลาใดครับผม
การประเมินสภาพร่างกายนักฟุตบอลก่อนแข่ง
1. การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Test) ที่มีการทดสอบ 3 แบบ
1.1การวัดแรงเหยียดขา (Leg Dynamometer Test)
1.2การวัดแรงเหยียดหลัง (Back Dynamometer Test )
1.3การวัดแรงบีบมือ (Hand Grip Test)
2. การทดสอบความรวดเร็วและความคล่องแคล่ว (Sprint and Agility Test) มี 3 แบบดังนี้
2.1 40 Meters Sprint (การจับเวลาวิ่งเร็ว 40 เมตร) ทดสอบทางยาว 40 เมตร โดยนักฟุตบอลวิ่งจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุด 40 เมตร แล้วจับเวลา โดยอนุญาตให้ทดลองวิ่งได้ 1 ครั้ง และเอาจริงอีก 1 ครั้ง เอาเวลาที่ดีที่สุดที่ทำได้ ในกรณีที่ต้องการดูรายละเอียดมากขึ้นอาจจับเวลาช่วง 10 เมตรแรกด้วยเพื่อดูความเร็วต้น
2.2 Four Line Sprint (เป็นการทดสอบความคล่องตัวหรือความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางขณะวิ่ง) โดยต้องเตรียมสนามเพื่อการทดสอบหาพื้นที่ในสนามฟุตบอลขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร แนวเส้นที่ 1 ห่างจากเส้นที่ 2 เท่ากับ 20 เมตร แนวเส้นที่ 2 ถึงแนวเส้นที่ 3 และแนวเส้นที่ 3 ถึงแนวเส้นที่ 4 ห่างเท่ากันคือ 10 เมตร จุดเริ่มต้น (จุด A) อยู่บนแนวเส้นที่ 3 จุด B, C อยู่บนแนวเส้นที่ 4 และ 2 ตามลำดับ โดยอยู่ในแนวขนานกัน จุด D, E อยู่บนแนวเส้นที่ 3 และ 1 ตามลำดับ โดยอยู่ในแนวขนานกัน การประเมินผล ให้จับเวลานับตั้งแต่ให้สัญญาณ เริ่มทดสอบนักฟุตบอลลุกขึ้นเริ่มวิ่งจากจุด A-B-C-D-E จนผ่านจุด E ไป
2.3 Zigzag Run (การวิ่งซิกแซ็ก) วิธีทดสอบ ให้นักฟุตบอลยืนอยู่ข้างกรวยหมายเลข 1 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการทดสอบหากรวยอีก 5 อัน มาวางทแยงกันเป็น 2 แถวตามรูป แถวแรกกรวยหมายเลข 1, 3 และ 5 ส่วนแถวที่ 2 กรวยหมายเลข 2, 4 และ 6 เมื่อให้สัญญาณเริ่มการทดสอบ นักฟุตบอลจะต้องวิ่งไปทีละจุดจากกรวยหมายเลข 1 ไปอ้อมกรวยหมายเลข 2 วิ่งไล่ไปเรื่อยจนผ่านกรวยหมายเลข 6 การประเมินผล ให้จับเวลาตั้งแต่ให้สัญญาณเริ่มการทดสอบ นักฟุตบอลเริ่มวิ่งจนกระทั่งผ่านกรวยหมายเลขที่ 6
3. การทดสอบความบึกบึนทั้งแบบแอโรบิกและแอนแอโรบิก (Tests of Aerobic and Anaerobic Endurance)
Aerobic endurance (ความบึกบึนอดทนด้านแอโร บิก) หมายถึงความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง (กล้ามเนื้อขา/กล้ามเนื้อแขน) เช่น การวิ่ง เป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงของระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิตและการหายใจ ในการนำโลหิตที่มีออกซิเจนไปส่งให้เซลล์ของกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานอย่างต่อ เนื่อง
Anaerobic endurance (ความบึกบึน อดทนด้านแอนแอโรบิก) หมายถึง ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเป็นเวลาสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น การยกน้ำหนัก การวิ่งเร็วในช่วงสั้น ๆ และหยุดพัก ซึ่งไม่ต้องอาศัยความแข็งแรงของระบบหัวใจหรือที่เรียกว่า aerobic fitness แต่อาศัยความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Muscular Fitness เป็นหลัก
การทดสอบดังกล่าวจะมี 3 แบบ คือ
3.1 Three Corner Run (วิ่ง 3 เหลี่ยม) เตรียมสนามฟุตบอล ให้วิ่งจาก A B C D แล้วจับเวลาและให้จับชีพจรก่อนเริ่มทดสอบ ขณะที่ถึงจุด D และหลังจากนั้นอีก 2 นาที เพื่อนำมาเปรียบเทียบและประเมินผล
3.2 Shuttle Run Test - เป็นการทดสอบความฟิตหรือความแข็งแรงระบบแอโรบิก (Aerobic Fitness)
ให้นักฟุตบอลวิ่งติดต่อกันโดยนับรอบที่วิ่งได้โดยจากจุดเริ่มต้นไปถึงจุด วิ่งกลับห่างกัน 20 เมตร โดยเมื่อวิ่งครบ 1 รอบ แล้วให้พักได้ 5 วินาที แล้ววิ่งรอบต่อไปโดยจะต้องวิ่งให้เร็วขึ้นกว่ารอบก่อนหน้านี้ไปเรื่อย ๆ การทดสอบสิ้นสุดลงเมื่อนักฟุตบอลวิ่งต่อไปไม่ไหวแล้ว
การประเมินผลก่อนการทดสอบให้จับชีพจร ของนักฟุตบอลขณะพัก และเมื่อการทดสอบสิ้นสุดลงให้จับชีพจรอีกครั้งหนึ่ง โดยบันทึกเอาไว้เป็นจำนวนการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที โดยให้เก็บเป็นสถิติเอาไว้สำหรับเปรียบเทียบกับการทดสอบครั้งก่อน ๆ รวมทั้งเปรียบเทียบกับนักฟุตบอลคนอื่น ๆ ด้วย
3.3 Twelve Minute Run (การวิ่ง 12 นาที) การทดสอบอาจใช้ลู่วิ่งในสนามกีฬา (1 รอบเท่ากับ 400 เมตร) โดยใช้รองเท้าผ้าใบ โดยวัดระยะทางที่วิ่งได้เมื่อครบ 12 นาที ซึ่งแต่ละผู้เล่นอาจเล่นครบ 12 นาทีในจุดต่าง ๆ กัน และให้วัดชีพจรทันที (ครั้ง/นาที) และอีก 3 ครั้ง คือนาทีที่ 13, 15 และ 17 เพื่อดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะค่อย ๆ ลดลงมาอย่างต่อเนื่องอย่างไร? ให้บันทึกเก็บไว้เป็นสถิติเพื่อเปรียบเทียบกับตนเองและนักฟุตบอลคนอื่น ๆ ต่อไป
การทดสอบทั้ง 9 แบบ เพื่อครอบคลุมทั้ง 3 เป้าหมาย คือ
1. Strength Tests การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (3 สถานี)
2. Sprint and Agility Tests การทดสอบความรวดเร็วและความคล่องแคล่ว (3 สถานี)
3. Tests of Anaerobic and Aerobic Endurance (การทดสอบความแข็งแรงบึกบึนด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิก) (3 สถานี)
โดยผลที่ได้นักกายภาพหรือนักวิทยาศาตร์การแพทย์จะรายงานให้โค้ชหรือผู้ฝึกสอนนำไปประเมินนักฟุตบอล และต้องเข้าใจว่าเป็น Pre-season Assessment of Performance เพื่อทดสอบก่อนเข้าสู่ช่วงของการแข่งขันนะครับ เพราะระหว่างการแข่งขันจะมีการฝึกซ้อมและการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพิจารณาตารางการเตรียมทีม การทดสอบการฝึกซ้อมและอื่นๆ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในช่วงเตรียมทีมก่อนการแข่งขันจริง การประเมินสภาพร่างกาย มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากทดสอบแล้วนักเตะมีสภาพกล้ามเนื้อ ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงจากปกติมาก แล้วส่งสนามแข่งขันจริง จะเกิดอันตรายกับนักเตะได้ทั้งจากบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงหัวใจเลยทีเดียว เพราะฉนั้นการทดสอบจึงสำคัญมาก เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจของโค้ชว่านักเตะสภาพร่างกายคะแนนแบบนี้ควรส่งลงเล่นหรือไม่หรือควรส่งลงเวลาใดครับผม