ผมว่าเพื่อนๆในห้องนี้ คงทราบมาแล้วว่า บัตรเครดิตจะถูกคิดจากวันที่เกิดรายการ
และหลายๆคนในห้องก็คงไม่รู้ และยิ่งประชาชนทั่วไปก็คงไม่รู้ว่า
บัตรเครดิตจะถูกคิดจากวันที่เกิดรายการ
ถ้าหาก 1. เรามียอดคงค้างจ่ายไม่ครบในรอบบัญชีปีที่ผ่านมา
หรือ 2 . ถึงแม้ว่ายอดเดือนที่แล้วเป็น 0 ไม่มีคงค้าง แต่สิ้นรอบบัญชีเราจ่ายไม่เต็มจำนวน ธนาคารจะย้อนกลับไปคิดจากวันที่รูดบัตรด้วยยอดเต็มจำนวนทันที
แล้วอย่างนี้ผมจะรูดบัตรทำไม ผมกดบัตรเงินสดไม่ดีกว่าหรือเพราะเท่ากับไม่ได้ให้เครดิตเลย
เพื่อความเป็นธรรม ตามที่คนทั่วไปปกติเข้าใจกัน บัตรเครดิตมีเครดิตเทอมจนถึงวันที่ธนาคารแจ้งยอดเรียกเก็บมา
ดังนั้นก็ควรจะเริ่มนับวันแรกและยอดเงินหลังจากที่แจ้งสรุปยอดมา
ความเป็นมา
น้องภรรยาผมให้ผมรูดบัตรจ่ายค่าเบี้ยประกันรถให้ โดยขอจ่าย 3 งวดงวดละ 7,000 บาท ดอกเท่าไหร่ก็คิดมา
ผมก็เอาบัตรเครดิตที่ไม่ค่อยได้ใช้รูดไปให้
และบัตรเครดิตนี้ผมก็ได้นำมาใช้ซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อบินไปญี่ปุ่นจำนวนประมาณ 40,000 บาท
และกะว่าเมื่อใบแจ้งยอดมาก็จ่ายเต็มจำนวนไป 40,000 ของน้องก็ให้มันผ่อนต่อไป
เมื่อใบแจ้งยอดมาก็ไม่คิดอะไร จ่ายไป 40,000 + ที่น้องขอผ่อน
เดือนถัดมาเห็นดอกเบี้ยเรียกเก็บจำนวนมากผิดปกติ จึงขอรายละเอียดการคำนวณจากธนาคารไป
เมื่อธนาคารส่งมาพบว่า ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ผมรูด 40,000 บาท จนถึงวันที่ปิดยอดรายเดือน
ผมจึงคิดว่ามันไม่ถูกต้อง คุณจะมาคิดอย่างนี้ได้อย่างไร เท่ากับไม่ได้ให้เครดิตเลย
(อย่ามาอ้างว่ามีรายละเอียดคำนวณในใบสมัครบัตรเครดิต)
ผมจึงโทรไปโวยกับ Supervisor กับ Callcenter SCB เธอก็ตอบวนไปมา ว่ามันคิดจากวันที่เกิดรายการ
ก็ไม่เป็นไรผมบอกเธอไปว่าผมจะจ่ายเอง
ถึงแม้ดอกเบี้ยมันจะเป็นจำนวนไม่มาก อาจจะไม่คุ้มกับค่ารถ ค่าเสียเวลา ถ้าผมต้องเดินทาง ลางานไปชี้แจง
แต่ผมก็จะทำ เพื่อความเป็นธรรม และอยากรู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย สคบ และศาลคุ้มครองผู้บริโภค จะเข้าใจประชาชนมั้ย
เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะที่มีหนี้สินบัตรเครดิตไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
ขณะนี้ผมได้ร้องเรียนไปยัง
1. ธปท และตรวจสอบแล้วว่าธปท ได้รับเรื่องแล้ว
2. สคบ ได้ร้องเรียนทาง Email พร้อมเอกสารประกอบ และ สคบ ได้รับเรื่องแล้ว
3. กำลังศึกษาเรื่องศาลคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ แต่ Search ใน Google ก็เจอเวปอื่นๆ ไม่ใช่เวปศาลคุ้มครองผู้บริโภค
เลยขอศึกษาข้อมูล และรอดูทีท่า ธปท กับ สคบ ก่อน
ไม่รู้จะเว่อร์ไปมั้ย ถ้าผมจะบอกว่า ถ้า SCB มาเจรจา ขอลดให้ผมเป็นกรณีพิเศษ
แต่จะคำนวณแบบนี้กับประชาชนคนอื่นๆต่อไป ผมก็จะไม่ยอมหยุด
ผมอยากรู้ว่าหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงศาลคุ้มครองผู้บริโภคประเทศไทยนี้
จะยึดหลักตามธนาคาร (อ้างว่า บอกในใบสมัครแล้ว) หรือจะยึดหลักความเป็นธรรม ให้กับประชาชน
ไว้ลองมาดูกันครับ
*** แก้ไขเพิ่มเติม***
Search เจอตัวอย่างในเวปธนาคารแห่งประเทศไทย
http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest_credit.aspx
SCB ตั้งใจคิดผิดจริงๆ งานนี้ ไม่รู้SCB รวยกินเงินคนอื่นไปเท่าไหร่แล้ว
เมื่อผมร้องเรียนการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต จากวันที่เกิดรายการ ไปที่ธปท สคบ และอาจไปศาล เพื่อบรรทัดฐาน
และหลายๆคนในห้องก็คงไม่รู้ และยิ่งประชาชนทั่วไปก็คงไม่รู้ว่า
บัตรเครดิตจะถูกคิดจากวันที่เกิดรายการ
ถ้าหาก 1. เรามียอดคงค้างจ่ายไม่ครบในรอบบัญชีปีที่ผ่านมา
หรือ 2 . ถึงแม้ว่ายอดเดือนที่แล้วเป็น 0 ไม่มีคงค้าง แต่สิ้นรอบบัญชีเราจ่ายไม่เต็มจำนวน ธนาคารจะย้อนกลับไปคิดจากวันที่รูดบัตรด้วยยอดเต็มจำนวนทันที
แล้วอย่างนี้ผมจะรูดบัตรทำไม ผมกดบัตรเงินสดไม่ดีกว่าหรือเพราะเท่ากับไม่ได้ให้เครดิตเลย
เพื่อความเป็นธรรม ตามที่คนทั่วไปปกติเข้าใจกัน บัตรเครดิตมีเครดิตเทอมจนถึงวันที่ธนาคารแจ้งยอดเรียกเก็บมา
ดังนั้นก็ควรจะเริ่มนับวันแรกและยอดเงินหลังจากที่แจ้งสรุปยอดมา
ความเป็นมา
น้องภรรยาผมให้ผมรูดบัตรจ่ายค่าเบี้ยประกันรถให้ โดยขอจ่าย 3 งวดงวดละ 7,000 บาท ดอกเท่าไหร่ก็คิดมา
ผมก็เอาบัตรเครดิตที่ไม่ค่อยได้ใช้รูดไปให้
และบัตรเครดิตนี้ผมก็ได้นำมาใช้ซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อบินไปญี่ปุ่นจำนวนประมาณ 40,000 บาท
และกะว่าเมื่อใบแจ้งยอดมาก็จ่ายเต็มจำนวนไป 40,000 ของน้องก็ให้มันผ่อนต่อไป
เมื่อใบแจ้งยอดมาก็ไม่คิดอะไร จ่ายไป 40,000 + ที่น้องขอผ่อน
เดือนถัดมาเห็นดอกเบี้ยเรียกเก็บจำนวนมากผิดปกติ จึงขอรายละเอียดการคำนวณจากธนาคารไป
เมื่อธนาคารส่งมาพบว่า ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ผมรูด 40,000 บาท จนถึงวันที่ปิดยอดรายเดือน
ผมจึงคิดว่ามันไม่ถูกต้อง คุณจะมาคิดอย่างนี้ได้อย่างไร เท่ากับไม่ได้ให้เครดิตเลย
(อย่ามาอ้างว่ามีรายละเอียดคำนวณในใบสมัครบัตรเครดิต)
ผมจึงโทรไปโวยกับ Supervisor กับ Callcenter SCB เธอก็ตอบวนไปมา ว่ามันคิดจากวันที่เกิดรายการ
ก็ไม่เป็นไรผมบอกเธอไปว่าผมจะจ่ายเอง
ถึงแม้ดอกเบี้ยมันจะเป็นจำนวนไม่มาก อาจจะไม่คุ้มกับค่ารถ ค่าเสียเวลา ถ้าผมต้องเดินทาง ลางานไปชี้แจง
แต่ผมก็จะทำ เพื่อความเป็นธรรม และอยากรู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย สคบ และศาลคุ้มครองผู้บริโภค จะเข้าใจประชาชนมั้ย
เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะที่มีหนี้สินบัตรเครดิตไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
ขณะนี้ผมได้ร้องเรียนไปยัง
1. ธปท และตรวจสอบแล้วว่าธปท ได้รับเรื่องแล้ว
2. สคบ ได้ร้องเรียนทาง Email พร้อมเอกสารประกอบ และ สคบ ได้รับเรื่องแล้ว
3. กำลังศึกษาเรื่องศาลคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ แต่ Search ใน Google ก็เจอเวปอื่นๆ ไม่ใช่เวปศาลคุ้มครองผู้บริโภค
เลยขอศึกษาข้อมูล และรอดูทีท่า ธปท กับ สคบ ก่อน
ไม่รู้จะเว่อร์ไปมั้ย ถ้าผมจะบอกว่า ถ้า SCB มาเจรจา ขอลดให้ผมเป็นกรณีพิเศษ
แต่จะคำนวณแบบนี้กับประชาชนคนอื่นๆต่อไป ผมก็จะไม่ยอมหยุด
ผมอยากรู้ว่าหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงศาลคุ้มครองผู้บริโภคประเทศไทยนี้
จะยึดหลักตามธนาคาร (อ้างว่า บอกในใบสมัครแล้ว) หรือจะยึดหลักความเป็นธรรม ให้กับประชาชน
ไว้ลองมาดูกันครับ
*** แก้ไขเพิ่มเติม***
Search เจอตัวอย่างในเวปธนาคารแห่งประเทศไทย
http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest_credit.aspx
SCB ตั้งใจคิดผิดจริงๆ งานนี้ ไม่รู้SCB รวยกินเงินคนอื่นไปเท่าไหร่แล้ว