ด้วยความเคารพต่อเพื่อนสมาชิกที่ชื่นชอบต่อพรรคการเมืองนี้...ผู้เสนอเห็นตามประเด็นหัวข้อกระทู้โดยแท้จริง ด้วยเหตุสนับสนุนดังนี้
ในภาพใหญ่...พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นในการนำเสนอนโยบายที่จะให้คนในสังคมยอมรับ เชื่อถือ หรือ ยอมรับจากการเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่และรับใช้ต่อประเทศชาติมานาน ทำให้ต้องตั้งข้อสังเกตุว่า น่าจะมีจุดอ่อน หรือปัญหากับระบบการวางแผนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของพรรค จากผู้มีความรู้ หรือ ขาดลักษณะความเป็น "เนื้อเดียว" ประเภท "เรื่องของพรรคข้าไม่เกี่ยว"
นายอภิสิทธิ์ฯ หัวหน้าพรรค นักวิชาการบางคนถึงกับมองว่า "ตายไปแล้ว" ในทางการเมือง จากเหตุการณ์ของการชุมนุมและมีประชาชนเสียชีวิต และ บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แม้ผลในทางคดียังไม่ปรากฎชัด แต่การไต่สวนทางคดีที่ศาลมีคำสั่งชี้สาเหตุแห่งการตายของผู้เสียชีวิต
อย่างน้อย 3 ราย นั้น ก็จะเป็นโซ่ตรวนที่เป็นภาระหนักอึ้งติดตัวนายอภิสิทธิ์ฯไปอีกนาน นอกจากนี้ การเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.ที่กำลังแข่งขั้นและ
ปรากฎผลในไม่ช้านี้ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ฯ การออกมาประกาศจะลาออกของรองหัวหน้าพรรค อย่างนายกรณ์ฯ น่าจะมี"นัยยะ" มากกว่าบอกถึงความตั้งใจในการต่อสู้ตามที่นายอภิสิทธิ์ฯให้สัมภาษณ์กับสื่อ
ในส่วนปัจจัยบอกเหตุอื่น...หันมามองตัวแทนรุ่นใหม่ ทั้ง ทั้งชุด "สายล่อฟ้า" ก็ดี บุญยอดฯ ก็ดี หรือ แม้กระทั้งคนอื่นๆ ที่ผ่านมาผู้ที่ติดตามเรื่องราวทางการเมืองจะเห็นและวิเคราะห์ได้ว่า นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์เหล่านี้ จะสามารถก้าวเข้ามาเป็นตัวแทนที่จะสร้างศรัทธา ความเชื่อถือ ให้กับประชาชนได้มากน้อแค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น นายเทพไทฯ ท่านที่มีโอกาสติดตามดูรายการ ก็จะรับรู้ได้ถึงความ
กักขฬะ ไร้มารยาท อย่างที่ไม่น่าจะมีในตัวของนักการเมือง แค่เพียงเพราะผู้อื่นอยู่ในฝ่ายการเมืองตรงข้ามเท่านั้น ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่สามารถที่จะฝากอนาคตของพรรคไว้กับนักการเมืองรุ่นต่อไปเหล่านี้ได้เลย
ถึงเวลานี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะนับถอยหลังเพื่อไปสู่จุดต่ำสุดของความเสื่อมถอย เพื่อปรับตัวเองให้อยู่รอดและกำหนดทางเดินใหม่ในถนนทางการเมืองเส้นนี้...อย่างเช่น การเปลี่ยนหัวหน้าพรรค หรือ อาจถึงกับการแยกกลุ่มสมาชิกตามการเมืองภายในพรรคก็ได้...ถึงเวลานั้น การเมืองไทยน่าจะมีการแข่งขันที่ดูดีกว่า และ มีประโยชน์ต่อสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
.
ประชาธิปัตย์ : นับเวลาถอยหลังถึงที่สุดของจุดเสื่อม...เพื่อเริ่มต้นใหม่
ในภาพใหญ่...พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นในการนำเสนอนโยบายที่จะให้คนในสังคมยอมรับ เชื่อถือ หรือ ยอมรับจากการเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่และรับใช้ต่อประเทศชาติมานาน ทำให้ต้องตั้งข้อสังเกตุว่า น่าจะมีจุดอ่อน หรือปัญหากับระบบการวางแผนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของพรรค จากผู้มีความรู้ หรือ ขาดลักษณะความเป็น "เนื้อเดียว" ประเภท "เรื่องของพรรคข้าไม่เกี่ยว"
นายอภิสิทธิ์ฯ หัวหน้าพรรค นักวิชาการบางคนถึงกับมองว่า "ตายไปแล้ว" ในทางการเมือง จากเหตุการณ์ของการชุมนุมและมีประชาชนเสียชีวิต และ บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แม้ผลในทางคดียังไม่ปรากฎชัด แต่การไต่สวนทางคดีที่ศาลมีคำสั่งชี้สาเหตุแห่งการตายของผู้เสียชีวิต
อย่างน้อย 3 ราย นั้น ก็จะเป็นโซ่ตรวนที่เป็นภาระหนักอึ้งติดตัวนายอภิสิทธิ์ฯไปอีกนาน นอกจากนี้ การเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.ที่กำลังแข่งขั้นและ
ปรากฎผลในไม่ช้านี้ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ฯ การออกมาประกาศจะลาออกของรองหัวหน้าพรรค อย่างนายกรณ์ฯ น่าจะมี"นัยยะ" มากกว่าบอกถึงความตั้งใจในการต่อสู้ตามที่นายอภิสิทธิ์ฯให้สัมภาษณ์กับสื่อ
ในส่วนปัจจัยบอกเหตุอื่น...หันมามองตัวแทนรุ่นใหม่ ทั้ง ทั้งชุด "สายล่อฟ้า" ก็ดี บุญยอดฯ ก็ดี หรือ แม้กระทั้งคนอื่นๆ ที่ผ่านมาผู้ที่ติดตามเรื่องราวทางการเมืองจะเห็นและวิเคราะห์ได้ว่า นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์เหล่านี้ จะสามารถก้าวเข้ามาเป็นตัวแทนที่จะสร้างศรัทธา ความเชื่อถือ ให้กับประชาชนได้มากน้อแค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น นายเทพไทฯ ท่านที่มีโอกาสติดตามดูรายการ ก็จะรับรู้ได้ถึงความ
กักขฬะ ไร้มารยาท อย่างที่ไม่น่าจะมีในตัวของนักการเมือง แค่เพียงเพราะผู้อื่นอยู่ในฝ่ายการเมืองตรงข้ามเท่านั้น ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่สามารถที่จะฝากอนาคตของพรรคไว้กับนักการเมืองรุ่นต่อไปเหล่านี้ได้เลย
ถึงเวลานี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะนับถอยหลังเพื่อไปสู่จุดต่ำสุดของความเสื่อมถอย เพื่อปรับตัวเองให้อยู่รอดและกำหนดทางเดินใหม่ในถนนทางการเมืองเส้นนี้...อย่างเช่น การเปลี่ยนหัวหน้าพรรค หรือ อาจถึงกับการแยกกลุ่มสมาชิกตามการเมืองภายในพรรคก็ได้...ถึงเวลานั้น การเมืองไทยน่าจะมีการแข่งขันที่ดูดีกว่า และ มีประโยชน์ต่อสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
.