ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระบบสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังจากรัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนระบบสุขภาพจากการอุปถัมภ์ เป็นระบบประกันสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันคนไทย 64 ล้านคนเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์
การเข้าถึงบริการสุขภาพของไทยปัจจุบันจะมี 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคม โดยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ถือเป็นระบบประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพราะต้องดูแลคนถึง 48 ล้านคน
หลังการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีในเดือนต.ค.ปีก่อน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข เริ่ม ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในระบบสาธารณสุขไทย
ด้วยดีกรีสาธารณสุขศาสตร์ สาขาบริหารงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พ่วงด้วยประสบการณ์ด้านการบริหารในองค์กรต่างๆ มาหลายสิบปี ทำให้หัวเรือใหญ่ของกระทรวงหมอในวันนี้ ทำงาน ดูผิดหู ผิดตาไปจากวัฒนธรรมการเมือง เหมือนเคยๆ
"การปฏิรูประบบสาธารณสุขในวันนี้ทำเพื่ออยากเห็นความมั่นคงของระบบ อาจจะมีบางคนมองว่าผมจะเข้ามาล้มระบบหากิน หรือหาผลประโยชน์ก็แล้วแต่ ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามทำให้เห็นว่าผมไม่มีนอกไม่มีใน ถือเป็นเรื่องปกติ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เชื่อว่าคนบางกลุ่มอาจไม่อยากเปลี่ยนแปลงระบบเพราะไม่อยากทำ หรือตามไม่ทัน บางกลุ่มก็ระแวงว่าผมทำเพื่อผลประโยชน์ บางกลุ่มกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อรูปแบบของประโยชน์ที่เคยได้รับ และบางคนก็ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แต่ผมอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมิฉะนั้นจะเกิดผล กระทบต่อระบบแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงการรวมกองทุน เพราะที่มาของกองทุนต่างกัน แต่ต้องทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีเหตุผล" ถือเป็นคำยืนยันถึงแนวคิดปฏิรูประบบสาธารณสุขจาก นพ.ประดิษฐ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องจัดแนวคิดบริหารจัดการระบบใหม่ โดยเน้นการแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบให้ถูกนำมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นพ.ประดิษฐชี้ให้เห็นภาพว่า ขณะนี้ในระบบประกันสุขภาพใช้งบประมาณ 2 แสนล้านบาท ดูแลประชากร 48 ล้านคน มีผู้มาใช้บริการ 32 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้มาใช้บริการมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านคน
แปลว่า ประชากร 31 ล้านคน ใช้บริการเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น สมมติ ค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อครั้ง จะคิดเป็นประมาณ 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่างบอีก 1 แสนล้าน จะเลี้ยงประชากรเพียง 1 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันระบบมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
การจะปรับการบริหารให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เริ่มทำไปแล้ว เช่น การเปลี่ยนระบบจัดซื้อยาร่วมกัน เปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น เชื่อว่าจะใช้เวลา แก้ปัญหาโครงสร้างในช่วง 2 ปีแรก และเริ่มตั้งงบประมาณใน ปี 2557 โดยปรับวิธีการใช้เงิน ค่าเหมาจ่ายรายหัว เชื่อว่า เมื่อเริ่มต้นแล้วระบบก็จะดำเนินต่อไปได้
การปฏิรูประบบถือเป็นวิธีอย่างหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่อยากทำเพื่อจัดระบบสุขภาพไทยให้เรียบร้อยและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ทำให้เกิดคุณภาพมีหลายปัจจัย และไม่สามารถทำเพียงใส่เงินเข้าไปในระบบได้ แต่ต้องมีการปรับปรุงหลายๆ เรื่อง เพื่อไม่ให้ใส่เงินแล้วหายไปในระบบโดยไม่มีคุณภาพ
"การเปลี่ยนแปลงย่อมมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ส่วนที่ยังเป็นปัญหาทางเทคนิค เช่น เรื่องค่าแรงในการเหมาจ่ายนั้น อาจยังมีความไม่เข้าใจ โดยเฉพาะแพทย์โรงพยาบาลเล็ก ที่มีความกังวลว่าจะได้รับค่าตอบแทนลดลง เพราะประชากรรายหัวน้อยกว่า ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าเงินที่ได้อาจต้องเปลี่ยน เช่น จากเดิมเหมาจ่าย 5 หมื่นบาท เป็นจ่ายพื้นฐาน 2-3 หมื่นบาท ที่เหลือก็ต้องเอางานมาแลกไป เป็นต้น ส่วนเงินค่าทุรกันดารก็ยังต้องได้เหมือนเดิม เพื่อดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ" นพ.ประดิษฐอธิบาย
การเปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการนั้น เจ้ากระทรวงหมอ อธิบายว่า นโยบายคือ เทน้ำต้องทำให้เต็มโต๊ะก่อน คือ ต้องทำให้คนปกติได้มี สิทธิเข้าถึงบริการที่ควรจะได้ก่อน เช่น เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบริการ คนกรุงเทพฯ มีอัตราการซื้อยากินเอง ร้อยละ 72 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงบริการที่ไม่สะดวกก็ต้องไปหาทางปรับปรุงระบบ โดยที่ไม่นำมาตรการทางการเงินมาเป็นตัวบังคับ เพราะสร้างความขัดแย้งจนทำให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอ
ที่ผ่านมาหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขจึงกำกวม ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ช่วยดูแลมาตรฐานประชาชนด้านสาธารณสุข ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จึงทำได้แค่การเริ่มต้นจัดระบบการบริการสุขภาพ จากที่รัฐให้การอุปถัมภ์ เป็นการประกันสุขภาพ แต่ยังไม่ได้พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
การแบ่งบทบาทหน้าที่ใหม่เป็นสิ่งที่ นพ.ประดิษฐได้เริ่มต้นงานขึ้น โดยจัดแบ่งเป็น
1. การเป็นผู้ให้บริการ (provider) จัดเป็นเครือข่ายบริการ 12 เครือข่าย โดยให้โรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกันมารวมกันเป็นเครือข่ายบริการแบบเขต เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เช่น ให้หมอเวียนมาใช้เครื่องมือ ห้องผ่าตัด หรือแบ่งปันเตียง ของร.พ.ชุมชน และร.พ.เอกชน ที่อัตราครองเตียงต่ำกว่า ก็จะคุ้มกว่าการขยายตึกไปเรื่อยๆ ถือเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพ ดีกว่าการให้แต่ละ โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกันขยายบริการ ขยายอาคารออกไปเรื่อยๆ ในขณะที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เมื่อระบบดีขึ้นแล้วรัฐจึงจะใส่เงินเข้าไปในระบบให้เกิดประสิทธิภาพ
2. การเป็นผู้ดูแลระดับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Authority) โดยกำหนดบทบาทให้กรมวิชาการต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดทำบทบาทของตนเองให้เชื่อมโยงกับภายนอกและภายในกระทรวง และแยกให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล กฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ โดยทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของประเทศให้ทุกฝ่ายได้ใช้ร่วมกัน
3. ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (National Health Information) เป็นการนำข้อมูลจากการทำงานของ สปสช. มาดูว่าประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ตรงไหน เพื่อนำไปสู่การสร้างนโยบาย เพื่อกำหนดตัวแปร ตัวชี้วัด เมื่อสปสช.ต้องซื้อบริการก็จะรู้ว่า ดัชนีชี้วัดคืออะไร เช่น ปัญหาที่พบสูงคือ โรคเรื้อรัง ก็หาทางแก้ปัญหาส่วนนี้ เป็นต้น ซึ่ง National Health Authority จะไม่มีส่วนได้เสียกับระบบบริการ เพียงแต่ทำหน้าที่ว่าภาพรวมคืออะไร
นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแพ็กเกจสุขภาพ ที่จะเป็นดัชนีชี้วัดของทุกหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อพัฒนางานไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ 66 ตัวชี้วัดและเน้นหนักเป็นพิเศษ 25 ตัวชี้วัด ไม่ใช่เน้นการทำงานตามโครงการเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะเน้นกลุ่มตามช่วงวัย ใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ 0-6 ปี, 7-18 ปี, 19-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ป้องกันไม่ให้ เจ็บป่วย เป็นเหมือนวัคซีนในอดีตที่ช่วยป้องกันโรค
เช่น แพ็กเกจของวัย 0-6 ขวบ เช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด, ทำคลอดโดยแพทย์, ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบ และได้รับการตรวจ คัดกรองทั้งกายและจิต เด็กวัย 7-18 ขวบ เน้นการเตรียมตัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคต เช่น ปัญหาการใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย และโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
วัย 19-60 ปี เน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย นอกจากนี้ กลุ่มด้อยโอกาส ที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคทางจิตจะมีแพ็กเกจดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น
การเดินทางของระบบสาธารณสุขไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และมีปัจจัยที่ซับซ้อน แต่มี เป้าหมายเดียวกันคือเดินไปให้ถึงการทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ซึ่งหมายถึง ต้นทุนทรัพยากรบุคคลที่พร้อมพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าไปอีก คงต้องรอดูว่าการปฏิรูประบบครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยเดินทางไปได้ไกลเพียงใด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEkwTURFMU5nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdNUzB5TkE9PQ==
"รมต.สธ. ประดิษฐ" ปฏิวัติสาธารณสุขไทย
การเข้าถึงบริการสุขภาพของไทยปัจจุบันจะมี 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคม โดยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ถือเป็นระบบประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพราะต้องดูแลคนถึง 48 ล้านคน
หลังการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีในเดือนต.ค.ปีก่อน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข เริ่ม ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในระบบสาธารณสุขไทย
ด้วยดีกรีสาธารณสุขศาสตร์ สาขาบริหารงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พ่วงด้วยประสบการณ์ด้านการบริหารในองค์กรต่างๆ มาหลายสิบปี ทำให้หัวเรือใหญ่ของกระทรวงหมอในวันนี้ ทำงาน ดูผิดหู ผิดตาไปจากวัฒนธรรมการเมือง เหมือนเคยๆ
"การปฏิรูประบบสาธารณสุขในวันนี้ทำเพื่ออยากเห็นความมั่นคงของระบบ อาจจะมีบางคนมองว่าผมจะเข้ามาล้มระบบหากิน หรือหาผลประโยชน์ก็แล้วแต่ ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามทำให้เห็นว่าผมไม่มีนอกไม่มีใน ถือเป็นเรื่องปกติ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เชื่อว่าคนบางกลุ่มอาจไม่อยากเปลี่ยนแปลงระบบเพราะไม่อยากทำ หรือตามไม่ทัน บางกลุ่มก็ระแวงว่าผมทำเพื่อผลประโยชน์ บางกลุ่มกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อรูปแบบของประโยชน์ที่เคยได้รับ และบางคนก็ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แต่ผมอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมิฉะนั้นจะเกิดผล กระทบต่อระบบแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงการรวมกองทุน เพราะที่มาของกองทุนต่างกัน แต่ต้องทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีเหตุผล" ถือเป็นคำยืนยันถึงแนวคิดปฏิรูประบบสาธารณสุขจาก นพ.ประดิษฐ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องจัดแนวคิดบริหารจัดการระบบใหม่ โดยเน้นการแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบให้ถูกนำมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นพ.ประดิษฐชี้ให้เห็นภาพว่า ขณะนี้ในระบบประกันสุขภาพใช้งบประมาณ 2 แสนล้านบาท ดูแลประชากร 48 ล้านคน มีผู้มาใช้บริการ 32 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้มาใช้บริการมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านคน
แปลว่า ประชากร 31 ล้านคน ใช้บริการเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น สมมติ ค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อครั้ง จะคิดเป็นประมาณ 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่างบอีก 1 แสนล้าน จะเลี้ยงประชากรเพียง 1 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันระบบมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
การจะปรับการบริหารให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เริ่มทำไปแล้ว เช่น การเปลี่ยนระบบจัดซื้อยาร่วมกัน เปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น เชื่อว่าจะใช้เวลา แก้ปัญหาโครงสร้างในช่วง 2 ปีแรก และเริ่มตั้งงบประมาณใน ปี 2557 โดยปรับวิธีการใช้เงิน ค่าเหมาจ่ายรายหัว เชื่อว่า เมื่อเริ่มต้นแล้วระบบก็จะดำเนินต่อไปได้
การปฏิรูประบบถือเป็นวิธีอย่างหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่อยากทำเพื่อจัดระบบสุขภาพไทยให้เรียบร้อยและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ทำให้เกิดคุณภาพมีหลายปัจจัย และไม่สามารถทำเพียงใส่เงินเข้าไปในระบบได้ แต่ต้องมีการปรับปรุงหลายๆ เรื่อง เพื่อไม่ให้ใส่เงินแล้วหายไปในระบบโดยไม่มีคุณภาพ
"การเปลี่ยนแปลงย่อมมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ส่วนที่ยังเป็นปัญหาทางเทคนิค เช่น เรื่องค่าแรงในการเหมาจ่ายนั้น อาจยังมีความไม่เข้าใจ โดยเฉพาะแพทย์โรงพยาบาลเล็ก ที่มีความกังวลว่าจะได้รับค่าตอบแทนลดลง เพราะประชากรรายหัวน้อยกว่า ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าเงินที่ได้อาจต้องเปลี่ยน เช่น จากเดิมเหมาจ่าย 5 หมื่นบาท เป็นจ่ายพื้นฐาน 2-3 หมื่นบาท ที่เหลือก็ต้องเอางานมาแลกไป เป็นต้น ส่วนเงินค่าทุรกันดารก็ยังต้องได้เหมือนเดิม เพื่อดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ" นพ.ประดิษฐอธิบาย
การเปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการนั้น เจ้ากระทรวงหมอ อธิบายว่า นโยบายคือ เทน้ำต้องทำให้เต็มโต๊ะก่อน คือ ต้องทำให้คนปกติได้มี สิทธิเข้าถึงบริการที่ควรจะได้ก่อน เช่น เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบริการ คนกรุงเทพฯ มีอัตราการซื้อยากินเอง ร้อยละ 72 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงบริการที่ไม่สะดวกก็ต้องไปหาทางปรับปรุงระบบ โดยที่ไม่นำมาตรการทางการเงินมาเป็นตัวบังคับ เพราะสร้างความขัดแย้งจนทำให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอ
ที่ผ่านมาหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขจึงกำกวม ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ช่วยดูแลมาตรฐานประชาชนด้านสาธารณสุข ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จึงทำได้แค่การเริ่มต้นจัดระบบการบริการสุขภาพ จากที่รัฐให้การอุปถัมภ์ เป็นการประกันสุขภาพ แต่ยังไม่ได้พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
การแบ่งบทบาทหน้าที่ใหม่เป็นสิ่งที่ นพ.ประดิษฐได้เริ่มต้นงานขึ้น โดยจัดแบ่งเป็น
1. การเป็นผู้ให้บริการ (provider) จัดเป็นเครือข่ายบริการ 12 เครือข่าย โดยให้โรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกันมารวมกันเป็นเครือข่ายบริการแบบเขต เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เช่น ให้หมอเวียนมาใช้เครื่องมือ ห้องผ่าตัด หรือแบ่งปันเตียง ของร.พ.ชุมชน และร.พ.เอกชน ที่อัตราครองเตียงต่ำกว่า ก็จะคุ้มกว่าการขยายตึกไปเรื่อยๆ ถือเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพ ดีกว่าการให้แต่ละ โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกันขยายบริการ ขยายอาคารออกไปเรื่อยๆ ในขณะที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เมื่อระบบดีขึ้นแล้วรัฐจึงจะใส่เงินเข้าไปในระบบให้เกิดประสิทธิภาพ
2. การเป็นผู้ดูแลระดับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Authority) โดยกำหนดบทบาทให้กรมวิชาการต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดทำบทบาทของตนเองให้เชื่อมโยงกับภายนอกและภายในกระทรวง และแยกให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล กฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ โดยทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของประเทศให้ทุกฝ่ายได้ใช้ร่วมกัน
3. ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (National Health Information) เป็นการนำข้อมูลจากการทำงานของ สปสช. มาดูว่าประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ตรงไหน เพื่อนำไปสู่การสร้างนโยบาย เพื่อกำหนดตัวแปร ตัวชี้วัด เมื่อสปสช.ต้องซื้อบริการก็จะรู้ว่า ดัชนีชี้วัดคืออะไร เช่น ปัญหาที่พบสูงคือ โรคเรื้อรัง ก็หาทางแก้ปัญหาส่วนนี้ เป็นต้น ซึ่ง National Health Authority จะไม่มีส่วนได้เสียกับระบบบริการ เพียงแต่ทำหน้าที่ว่าภาพรวมคืออะไร
นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแพ็กเกจสุขภาพ ที่จะเป็นดัชนีชี้วัดของทุกหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อพัฒนางานไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ 66 ตัวชี้วัดและเน้นหนักเป็นพิเศษ 25 ตัวชี้วัด ไม่ใช่เน้นการทำงานตามโครงการเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะเน้นกลุ่มตามช่วงวัย ใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ 0-6 ปี, 7-18 ปี, 19-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ป้องกันไม่ให้ เจ็บป่วย เป็นเหมือนวัคซีนในอดีตที่ช่วยป้องกันโรค
เช่น แพ็กเกจของวัย 0-6 ขวบ เช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด, ทำคลอดโดยแพทย์, ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบ และได้รับการตรวจ คัดกรองทั้งกายและจิต เด็กวัย 7-18 ขวบ เน้นการเตรียมตัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคต เช่น ปัญหาการใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย และโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
วัย 19-60 ปี เน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย นอกจากนี้ กลุ่มด้อยโอกาส ที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคทางจิตจะมีแพ็กเกจดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น
การเดินทางของระบบสาธารณสุขไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และมีปัจจัยที่ซับซ้อน แต่มี เป้าหมายเดียวกันคือเดินไปให้ถึงการทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ซึ่งหมายถึง ต้นทุนทรัพยากรบุคคลที่พร้อมพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าไปอีก คงต้องรอดูว่าการปฏิรูประบบครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยเดินทางไปได้ไกลเพียงใด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEkwTURFMU5nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdNUzB5TkE9PQ==