ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556
ระบบประสาทรับกลิ่นของมนุษย์ถือเป็นสัมผัสที่สมบูรณ์สุดนับแต่แรกเกิด จึงสามารถแยกแยะกลิ่นเป็นเลิศไม่แพ้สัตว์บางจำพวก
เรื่องราวของ "มนุษย์ดมกลิ่น" ในบ้านเรา หลายคนอาจจะไม่คุ้นชิน หรือยินยลมากนัก
แง่มุมเหล่านี้ถือว่ายังมีมิติบางประการที่น่าค้นหา
กระทั่งเมื่อปัญหาโรงงานอาหารสัตว์ที่ก่อมลภาวะให้แก่วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม จนทำให้หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาส ต้องออกมาถือธงนำต่อสู้ด้วยความขึงขังเกรียวกราว
ชื่อชั้นของมนุษย์ดมกลิ่นจึงถูกหยิบยกมากล่าวขานถึงมากขึ้น
ที่มาที่ไปเรื่องนี้ "โชติ ตราชู" ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้ออกประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่องวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม จนมีการขึ้นบัญชีผู้ผ่านทดสอบกลิ่นของ คพ. เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2544
ควบคู่กับการเปิดห้องปฏิบัติการตรวจทดสอบกลิ่นจากแหล่งกำเนิดมลพิษเมื่อราวกลางปี 2555 โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำแล็บ 10 คน รวมทั้งยังได้ขึ้นทะเบียนผู้ทดสอบกลิ่นไว้แล้ว 124 ราย เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดมอีกด้วย
เจ้าหน้าที่แล็บรายหนึ่งอธิบายว่า ปัญหาการร้องเรียนมลพิษต่างๆ เช่น กลิ่นเหม็นจากฟาร์มสุกร โรงเลี้ยงไก่ โรงงานอาหารสัตว์ หรือแม้แต่โรงงานน้ำพริก และโรงงานผลิตกาแฟ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง สามารถใช้การตรวจสอบโดยวิธีการสูดดมด้วยมนุษย์ได้เลย เนื่องจากประสาทสัมผัสของมนุษย์จะจับกลิ่นได้ไว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเก็บกลิ่นที่ใช้กับโรงงานประเภทสารเคมี ปิโตรเคมี ที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย เหล่านี้จึงไม่สามารถใช้มนุษย์ดมกลิ่นได้
พร้อมแจกแจงกระบวนการทำงานให้ฟังว่า ขั้นตอนการทำงานคือ เมื่อมีการร้องเรียนกลิ่นเหม็น อย่างกรณีวัดหลวงปู่พุทธะอิสระเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะลงไปเก็บตัวอย่างกลิ่นด้วยวิธีการปั๊มอากาศเข้าไว้ในถุงเก็บอากาศที่มีปริมาตร 3 ลิตร โดยต้องนำส่งกลิ่นเข้ามาที่แล็บ เพื่อให้ผู้ทดสอบกลิ่นตรวจความเข้มของกลิ่นทันทีภายใน 24 ชั่วโมง หรืออย่างช้าต้องไม่เกิน 30 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้กลิ่นจางเกินไป
จากนั้นจะปั๊มแยกอากาศตั้งแต่ขนาด 10 ซีซี ใส่ในถุงขนาดเล็กๆ และลดความเข้มของตัวอย่างกลิ่นจนถึงระดับต่างๆ คือ 10 เท่า 30 เท่า 100 เท่า 300 เท่า 1,000 เท่า จนถึง 1 หมื่นเท่า เตรียมให้แก่ผู้ทดสอบกลิ่นได้ลองดม ทั้งหมดใช้วิธีการตรวจวัดที่กำหนดโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
เจ้าหน้าที่รายนี้ยังเล่าว่า การตรวจสอบความเข้มของกลิ่นที่ตรวจสอบนั้น จะต้องให้ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ทดสอบกลิ่นมาร่วมทีมตรวจสอบทุกครั้งคราวละ 6 คน ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครมาทดสอบกว่า 500 ราย แต่ผ่านการทดสอบแค่ 124 ราย โดยผู้ขึ้นทะเบียนจะมีอายุ 1 ปี จากนั้นต้องมีการคัดเลือกใหม่เพื่อขึ้นทะเบียนในปีถัดไป
"วิธีการทำงานของผู้ทดสอบกลิ่นก็คือ สมมุติว่ามีตัวอย่างกลิ่นที่ต้องตรวจสอบ จะต้องมาตรวจสอบ 5 สารมาตรฐานทุกครั้งก่อน ประกอบด้วยกลิ่นมาตรฐานที่กลิ่นคล้ายดอกไม้ (Beta phenyl-ethyl alcohol) กลิ่นคล้ายเหม็นไหม้ (Methyl cyclopenolon) กลิ่นเหม็นอับๆ แบบถุงเท้า (Iso-valeric acid) กลิ่นเหม็นคล้ายๆ ผลไม้รสเปรี้ยวฉุน (Gamma undecalctone) และกลิ่นเหม็นมากๆ (Scalol) หากผ่านการทดสอบทั้งหมดจึงจะไปทดสอบกลิ่นที่นำมาตรวจ โดยจะดมกลิ่นผ่านถุงอากาศที่แบ่งความเข้มข้นไว้ จนกว่าจะเจือจางจนไม่ได้กลิ่น และผลจะต้องออกมา 4 ใน 6 คือ จะเอาสถิติค่าความเข้มของแต่ละคนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยของกลิ่นที่นำมาตรวจสอบ
จีรศักดิ์ เพ่งเลิศ มนุษย์ดมกลิ่นวัย 28 ปี ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบกลิ่นใน 2556 บอกว่า รู้สึกดีใจที่ผ่านการทดสอบเป็นมนุษย์ดมกลิ่น ยอมรับว่า การดมกลิ่นเป็นเรื่องยาก และต้องใช้ประสาทสัมผัสในการสูดดมที่ดีมาก เพราะการทดสอบจะใช้สารมาตรฐานที่เจือจางสุดๆ เพื่อจะได้วัดว่าจมูกเราไวต่อกลิ่นหรือไม่
"การทำงานต้องลงพื้นที่ที่มีการร้องเรียนเรื่องมลพิษ ล่าสุดไปตรวจโรงงานถุงพลาสติกที่ต้องใช้สีและมีกลิ่นเหม็นมาก ดังนั้นถ้าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบกลิ่นแล้ว ต่อไปก็จะประยุกต์ใช้กับการทำงานต่อไป" จีรศักดิ์กล่าว
เช่นเดียวกับวลัยนุช พรรณสังข์ ก็บอกในทำนองเดียวกันว่า ดีใจที่ผ่านเป็นผู้ทดสอบกลิ่น เพราะจะได้ช่วยเรื่องการทำงานและบรรเทาปัญหากลิ่นเหม็นที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนและร้องเรียนกันมาก จึงจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างกลิ่นมาตรวจสอบว่า ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนจริงหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแล็บแห่งนี้มีการเก็บตัวอย่างกลิ่น เพื่อให้ทีมมนุษย์ดมกลิ่นตรวจสอบไปแล้ว เช่น กลิ่นเหม็นจากโรงงานไก่ โรงงานอาหารสัตว์ที่ จ.นครปฐม
กระนั้น การทำหน้าที่ทำนองนี้ใช้ว่าจะทำได้ดีทุกคนไป เห็นได้ว่าในปีนี้มีผู้ทดสอบ 10 ราย แต่ผ่านแค่ 2 รายเท่านั้น...
ไขชีวิต 'มนุษย์ดมกลิ่น'
ระบบประสาทรับกลิ่นของมนุษย์ถือเป็นสัมผัสที่สมบูรณ์สุดนับแต่แรกเกิด จึงสามารถแยกแยะกลิ่นเป็นเลิศไม่แพ้สัตว์บางจำพวก
เรื่องราวของ "มนุษย์ดมกลิ่น" ในบ้านเรา หลายคนอาจจะไม่คุ้นชิน หรือยินยลมากนัก
แง่มุมเหล่านี้ถือว่ายังมีมิติบางประการที่น่าค้นหา
กระทั่งเมื่อปัญหาโรงงานอาหารสัตว์ที่ก่อมลภาวะให้แก่วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม จนทำให้หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาส ต้องออกมาถือธงนำต่อสู้ด้วยความขึงขังเกรียวกราว
ชื่อชั้นของมนุษย์ดมกลิ่นจึงถูกหยิบยกมากล่าวขานถึงมากขึ้น
ที่มาที่ไปเรื่องนี้ "โชติ ตราชู" ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้ออกประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่องวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม จนมีการขึ้นบัญชีผู้ผ่านทดสอบกลิ่นของ คพ. เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2544
ควบคู่กับการเปิดห้องปฏิบัติการตรวจทดสอบกลิ่นจากแหล่งกำเนิดมลพิษเมื่อราวกลางปี 2555 โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำแล็บ 10 คน รวมทั้งยังได้ขึ้นทะเบียนผู้ทดสอบกลิ่นไว้แล้ว 124 ราย เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดมอีกด้วย
เจ้าหน้าที่แล็บรายหนึ่งอธิบายว่า ปัญหาการร้องเรียนมลพิษต่างๆ เช่น กลิ่นเหม็นจากฟาร์มสุกร โรงเลี้ยงไก่ โรงงานอาหารสัตว์ หรือแม้แต่โรงงานน้ำพริก และโรงงานผลิตกาแฟ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง สามารถใช้การตรวจสอบโดยวิธีการสูดดมด้วยมนุษย์ได้เลย เนื่องจากประสาทสัมผัสของมนุษย์จะจับกลิ่นได้ไว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเก็บกลิ่นที่ใช้กับโรงงานประเภทสารเคมี ปิโตรเคมี ที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย เหล่านี้จึงไม่สามารถใช้มนุษย์ดมกลิ่นได้
พร้อมแจกแจงกระบวนการทำงานให้ฟังว่า ขั้นตอนการทำงานคือ เมื่อมีการร้องเรียนกลิ่นเหม็น อย่างกรณีวัดหลวงปู่พุทธะอิสระเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะลงไปเก็บตัวอย่างกลิ่นด้วยวิธีการปั๊มอากาศเข้าไว้ในถุงเก็บอากาศที่มีปริมาตร 3 ลิตร โดยต้องนำส่งกลิ่นเข้ามาที่แล็บ เพื่อให้ผู้ทดสอบกลิ่นตรวจความเข้มของกลิ่นทันทีภายใน 24 ชั่วโมง หรืออย่างช้าต้องไม่เกิน 30 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้กลิ่นจางเกินไป
จากนั้นจะปั๊มแยกอากาศตั้งแต่ขนาด 10 ซีซี ใส่ในถุงขนาดเล็กๆ และลดความเข้มของตัวอย่างกลิ่นจนถึงระดับต่างๆ คือ 10 เท่า 30 เท่า 100 เท่า 300 เท่า 1,000 เท่า จนถึง 1 หมื่นเท่า เตรียมให้แก่ผู้ทดสอบกลิ่นได้ลองดม ทั้งหมดใช้วิธีการตรวจวัดที่กำหนดโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
เจ้าหน้าที่รายนี้ยังเล่าว่า การตรวจสอบความเข้มของกลิ่นที่ตรวจสอบนั้น จะต้องให้ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ทดสอบกลิ่นมาร่วมทีมตรวจสอบทุกครั้งคราวละ 6 คน ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครมาทดสอบกว่า 500 ราย แต่ผ่านการทดสอบแค่ 124 ราย โดยผู้ขึ้นทะเบียนจะมีอายุ 1 ปี จากนั้นต้องมีการคัดเลือกใหม่เพื่อขึ้นทะเบียนในปีถัดไป
"วิธีการทำงานของผู้ทดสอบกลิ่นก็คือ สมมุติว่ามีตัวอย่างกลิ่นที่ต้องตรวจสอบ จะต้องมาตรวจสอบ 5 สารมาตรฐานทุกครั้งก่อน ประกอบด้วยกลิ่นมาตรฐานที่กลิ่นคล้ายดอกไม้ (Beta phenyl-ethyl alcohol) กลิ่นคล้ายเหม็นไหม้ (Methyl cyclopenolon) กลิ่นเหม็นอับๆ แบบถุงเท้า (Iso-valeric acid) กลิ่นเหม็นคล้ายๆ ผลไม้รสเปรี้ยวฉุน (Gamma undecalctone) และกลิ่นเหม็นมากๆ (Scalol) หากผ่านการทดสอบทั้งหมดจึงจะไปทดสอบกลิ่นที่นำมาตรวจ โดยจะดมกลิ่นผ่านถุงอากาศที่แบ่งความเข้มข้นไว้ จนกว่าจะเจือจางจนไม่ได้กลิ่น และผลจะต้องออกมา 4 ใน 6 คือ จะเอาสถิติค่าความเข้มของแต่ละคนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยของกลิ่นที่นำมาตรวจสอบ
จีรศักดิ์ เพ่งเลิศ มนุษย์ดมกลิ่นวัย 28 ปี ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบกลิ่นใน 2556 บอกว่า รู้สึกดีใจที่ผ่านการทดสอบเป็นมนุษย์ดมกลิ่น ยอมรับว่า การดมกลิ่นเป็นเรื่องยาก และต้องใช้ประสาทสัมผัสในการสูดดมที่ดีมาก เพราะการทดสอบจะใช้สารมาตรฐานที่เจือจางสุดๆ เพื่อจะได้วัดว่าจมูกเราไวต่อกลิ่นหรือไม่
"การทำงานต้องลงพื้นที่ที่มีการร้องเรียนเรื่องมลพิษ ล่าสุดไปตรวจโรงงานถุงพลาสติกที่ต้องใช้สีและมีกลิ่นเหม็นมาก ดังนั้นถ้าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทดสอบกลิ่นแล้ว ต่อไปก็จะประยุกต์ใช้กับการทำงานต่อไป" จีรศักดิ์กล่าว
เช่นเดียวกับวลัยนุช พรรณสังข์ ก็บอกในทำนองเดียวกันว่า ดีใจที่ผ่านเป็นผู้ทดสอบกลิ่น เพราะจะได้ช่วยเรื่องการทำงานและบรรเทาปัญหากลิ่นเหม็นที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนและร้องเรียนกันมาก จึงจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างกลิ่นมาตรวจสอบว่า ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนจริงหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแล็บแห่งนี้มีการเก็บตัวอย่างกลิ่น เพื่อให้ทีมมนุษย์ดมกลิ่นตรวจสอบไปแล้ว เช่น กลิ่นเหม็นจากโรงงานไก่ โรงงานอาหารสัตว์ที่ จ.นครปฐม
กระนั้น การทำหน้าที่ทำนองนี้ใช้ว่าจะทำได้ดีทุกคนไป เห็นได้ว่าในปีนี้มีผู้ทดสอบ 10 ราย แต่ผ่านแค่ 2 รายเท่านั้น...