จำไม่ได้ว่าเคยลองเอาผลงานชิ้นนี้มาลงที่พันทิพย์ไหม เนื่องจากเป็นผลงานเขียนประวัติศาสตร์อย่างย่อเชิงสำรวจที่กึ่งวิชาการซึ่งผมภูมิใจมาก ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ผลงานเขียนชุดนี้เป็นผลงานที่ได้นำขึ้นถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเทพฯ เมื่องานตรุษจีนตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยเป็นผลงานเขียนที่ทางทีมงานของ www.thaisamkok.com ขอให้ช่วยทำขึ้นแบบกะทันหัน เนื่องจากทางทีมงานได้รับมอบหมายจากสำนักราชเลขาฯให้เข้าร่วมจัดบอร์ดในงานเทศกาลตรุษจีนที่ถนนเยาวราช ซึ่งสมเด็จพระเทพฯจะเสด็จไปเป็นประธานและทอดพระเนตร โดยทีมงานต้องถวายหนังสือประกอบที่ทำขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน และประวัติของถนนเยาวราช
ผลงานชุดนี้เลยถูกเขียนขึ้นในช่วงนั้นแบบเร่งด่วน แต่ก็พยายามทำออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ดีพอได้ เนื่องจากสมเด็จพระเทพฯท่านทรงเป็นผู้ที่รอบรู้เรื่องจีนอย่างกว้างขวางอันดับต้นๆในเมืองไทย ดังนั้นตอนที่เขียนผลงานชุดนี้เลยคิดว่าถ้าทำออกมาเป็นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยจีนแบบธรรมดาคงไม่พอเพียงแน่ เพราะท่านย่อมรู้อยู่แล้ว
ดังนั้นก็เลยเขียนงานชุดนี้ออกมาเป็นประวัติศาสตร์กึ่งวิชาการแบบเชิงสำรวจ ด้วยการพยายามเล่าถึงความสัมพันธ์ไทยจีนแต่โบราณและความเกี่ยวโยงที่ส่งผลต่อบริบททางสังคมในทุกวันนี้อย่างคร่าวๆ และเน้นให้อ่านเข้าใจง่ายเท่าที่จะทำได้ในงานเขียนประวัติศาสตร์แบบกึ่งวิชาการ
ผลงานชุดนี้แน่นอนว่าได้ถวายพระองค์ท่านไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากผู้เขียนเองกำลังคร่ำเคร่งกับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและเตรียมเข้าสู่แวดวงจีนศึกษาในด้านประวัติศาสตร์และงานเขียนแบบเต็มตัว เลยลองขุดเอางานนี้ออกมาลองเผยแพร่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในห้องนี้ได้ลองอ่านกัน หากว่ามีอะไรจะติชมหรือแนะนำ วิจารณ์ก็จะขอบคุณมาก เพื่อพัฒนาผลงานอื่นๆให้ก้าวหน้ายิ่งขึั้น
............................................................................
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ไทย – จีน
มิตรภาพ ช้างเผือก และ มังกร
สองชนชาติ สองเผ่าพันธุ์ ที่มีความเชื่อโยงต่อกันมาแต่อดีตกาล ซึ่งปัจจุบันได้หลอมรวมความสัมพันธ์และกลมกลืนกันจนเสมือนเครือญาติที่แนบแน่นที่สุด นับเป็นความผูกพันและมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่อันยากจะหาได้ในหน้าประวัติศาสตร์
หากกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติไทย และจีนนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มิอาจหาจุดเริ่มต้น และอาจจะไม่มีจุดสิ้นสุด ด้วยชาวไทยและชาวจีนในวันนี้หล่อหลอมรวมจนกลืนเป็นเนื้อเดียว แทบแยะไม่ออกว่าคนไหนมีเชื้อไทย เชื้อจีน เราจะพบเห็นลูกครึ่งไทยจีนมากมายในประเทศไทย จนเรียกได้ว่าอาจจะมีมากกว่า 3 ใน 4 ของประเทศ ทำให้คนไทยและจีนแทบจะเป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน อีกทั้งประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ครั้งยังไม่เกิดรัฐชาติไทย ชนชาติจีนก็มีความสัมพันธ์กับชาวไทยโบราณมาตลอด
ความสัมพันธ์อันไม่อาจตัดขาดได้นี้ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้ลูกหลานและผู้คนในยุคปัจจุบันได้รับรู้ถึงเส้นทางความสัมพันธ์ของชนชาติจีนที่แทบจะเป็นเครือญาติส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษเรา ในที่นี้พวกเราจึงอยากจะขอเป็นมัคคุเทศก์ ในการเปิดประตูแห่งกาลเวลาเพื่อเดินย้อนรอยดูเส้นทางประวัติศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ไทยจีนที่ผ่านมา ซึ่งหากลองแบ่งแยกตามยุคสมัยแล้ว น่าจะแบ่งได้สามช่วงเวลา ดังนี้
1.ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีน ยุคโบราณ : การทูตระบบบรรณาการ
อันที่จริงชนชาติจีนหรือชาวฮั่นมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิมาช้านานแล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่ปีใด แต่มีหลักฐานเป็นศิลาจารึกที่พอเชื่อถือได้ว่าชาวจีนมีการติดต่อกับผู้คนในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในทุกวันนี้ตั้งแต่ก่อนช่วงพุทธศักราช 1000 นับตั้งแต่ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเริ่มก่อร่างสร้างตัวด้วยซ้ำ ซึ่งมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของพระและนักบวชชาวจีน โดยเฉพาะหลวงจีนจาวจูกัวซึ่งเดินทางมายังแถบคาบสมุทรอินโดจีนและได้ทำการจดบันทึกจดหมายเหตุไว้ถึงความรุ่งเรืองของบรรดานครในดินแดนซึ่งเชื่อได้ว่าคือดินแดนแหลมทองและบริเวณหมู่เกาะมลายู ในช่วงทศวรรษที่ 1200 ซึ่งด้วยเอกสารฉบับนี้ได้พ้องตรงกับหลักศิลาจารึกของเมืองตันชอว์ที่ปาเล็มบัง ทำให้โลกได้รู้จักกับอาณาจักรโบราณในดินแดนนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ทวาราวดี ล้านนา และ ศรีวิชัย
จากนั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในดินแดนแหลมทองกับชนชาติจีนก็เริ่มขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการค้าขาย หากเรานับตามที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่าวัฒนธรรมของสยามหรือชาวไทยมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรสุโขทัย โดยเริ่มในยุคสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งจะตรงกับยุคปลายของราชวงศ์ซ้องต่อต้นราชวงศ์หยวนของจีน
แต่การติดต่อสัมพันธ์ที่พอจะมีหลักฐานอ้างอิงนั้น เริ่มต้นจากยุคพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งตรงกับตอนต้นของราชวงศ์หยวน อันเป็นสมัยของกุบไลข่าน ซึ่งนับว่าเป็นการติดต่อครั้งแรกระหว่างไทยจีนที่มีบันทึกหลงเหลือเป็นหลักฐานอ้างอิงแน่ชัด
จากบันทึกของจีน แสดงว่าปีพ.ศ.1825 กุบไลข่านได้มีบัญชาให้ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักร “เสียน” ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาจักรเสียนที่ว่านี้เป็นคำเรียกที่ชาวจีนโบราณกล่าวถึงดินแดนของชาวสยาม โดยมีบันทึกว่า
“ปีที่ 19 ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจีไฮ่ มีรับสั่งให้นายพลเหอจื่อจื้อ เป็นทูตไปยังสยาม (เสียน)”
แต่ปรากฏว่าคณะทูตของจีนชุดนี้มาไม่ถึงสุโขทัย เพราะถูกพวกจามแห่งอาณาจักรจามปาจับตัวในระหว่างเดินทางและประหารชีวิตหมด”
ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตไปยังจีนครั้งแรก ใน ปี พ.ศ. 1835 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี การส่งทูตไปเยือนจีนครานี้ นับเป็นการส่งทูตไปจีนเป็นครั้งแรกที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ และจากนั้นทางสุโขทัยก็ส่งคณะทูตพร้อมบรรณาการไปยังจีนถึง 14 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ.1835 ถึง 1865 ในขณะที่จีนส่งทูตมาถึงไทย 4 ครั้ง แต่เดินทางมาถึงโดยปลอดภัย 3 ครั้งเท่านั้น
เป้าหมายของสุโขทัยและจีนในการเจริญไมตรีนั้นนับว่าแตกต่างกัน ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า เหตุที่สุโขทัยส่งทูตและบรรณาการ ยอมนอบน้อมต่อจีนนั้นเพื่อเป้าหมายทางการเมือง โดยเป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตเพื่อป้องกันมิให้ จักรพรรดิกุบไลข่านสนับสนุนอาณาจักรอื่นๆในแถบเดียวกันโดยเฉพาะสุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะอาณาจักรสุพรรณภูมิได้เคยส่งเครื่องบรรณการไปยังจีน ใน พ.ศ. 1834 เพื่อขอความสนับสนุนทางการเมืองด้วย ทางสุโขทัยซึ่งเพิ่งจะเริ่มก่อร่าง ขยายอิทธิพลจึงจำต้องผูกมิตรกับจีนไว้เช่นกัน
ในขณะที่ทางจีนนั้นเพียงต้องการประกาศแสนยานุภาพและการยอมรับจากอาณาจักรโดยรอบ ให้ยอมอ่อนน้อมให้และยกจีนเป็นศูนย์กลางแห่งการปกครอง มีบันทึกบางฉบับว่าทางจีนได้แจ้งให้ พ่อขุนรามคำแหงทำการส่งบรรณาการและเดินทางไปเข้าเฝ้ากุบไลข่าน เพื่อแสดงว่ายินยอมและยอมรับในอำนาจของราชวงศ์หยวน ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมิได้เดินทางเสด็จไปตามที่ได้รับเชิญ เพียงแค่ส่งบรรณาการกลับไปเท่านั้น และทางกุบไลข่านเองก็ไม่ได้ว่ากระไร วิเคราะห์ได้ว่าอาจเพราะทางจีนเองก็ไม่ได้ใส่ใจกับท่าทีเช่นนี้ของสุโขทัยมากนัก เนื่องด้วยเป็นสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าร้อนชื้น สัตว์ป่าชุกชุม ยากแก่การเดินทางและอยู่อาศัย ทางจีนเองจึงอาจเพียงต้องการให้สุโขทัยส่งจิ้มก้องหรือบรรณาการมาให้เพื่อยอมรับสถานะในฐานะผู้ปกครองสูงสุดเท่านั้น ซึ่งน่าสังเกตว่าทุกครั้งที่เกิดการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ ทางจีนเองก็จะมีการส่งทูตมาเพื่อให้ชาวสยามส่งบรรณาการเพื่อยอมรับในสถานะนี้ของตนเอง แต่ก็มิได้ใส่ใจนัก หากเชื้อพระวงศ์สยามจะไม่เดินทางไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิจีน ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบประนีประนอมนี้ก็ดำเนินมาอย่างยาวนานจนถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ทีเดียว โดยหากเปรียบเทียบกับอาณาจักรโดยรอบอื่นๆเช่นพุกามที่อยู่ใกล้กันแล้ว ท่าทีของจีนนับว่ารุนแรงกว่ามาก
การติดต่อระหว่างสุโขทัยและจีนในช่วงนี้ยังส่งผลให้การค้าระหว่าง อาณาจักรทั้งสองขยายตัว มีการถ่ายทอดความรู้ของจีนมายังไทย ซึ่งส่งผลมากที่สุดคือการที่ช่างจีนได้เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เครื่องชามสังคโลก” และต่อมาเครื่องสังคโลกก็ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย
ต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงสิ้นลง สุโขทัยก็เริ่มเสื่อมอำนาจ ทำให้อยุธยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้เริ่มผงาดขึ้นมา และค่อยๆขยายอิทธิพลจนกระทั่งกลายเป็นศูนย์อำนาจทางการทหารและการปกครองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ ภายใต้การนำของกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทองและสุพรรณภูมิ อันเป็นเวลาเดียวกับทางจีนเองก็เกิดการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ เมื่อชาวจีนสามสามารถโค่นราชวงศ์หยวนของมองโกลที่ปกครองจีนมาเกือบร้อยปีลง และก่อตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น มีจูหยวนจาง สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งในยุคนี้เองที่ปรากฏชื่อ ”อาณาจักรเสียนหลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาณาจักรของชาวไทยหรือสยามขึ้นในพงศาวดารจีนเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ.1913 โดยข้อความที่ปรากฏว่า
“ปีที่ 3 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการไปยังประเทศเสียนหลอ (สยาม)”
พระเจ้าอู่ทองหรือพระบรมราชาธิราชที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ส่งของพื้นเมืองพร้อมทั้งเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิจีน ซึ่งพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ 374 ได้บันทึกไว้ว่า
“ปีที่ 4 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 9 ซันเลียเจาพีเอี๋ย (สมเด็จเจ้าพระยา คาดว่าหมายถึงพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์ของประเทศสยามอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยลู่จงจุ้นและพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย ช้างบ้าน 6 เชือก เต่าหกขา และของพื้นเมืองอื่นๆ (จักรพรรดิ) ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประทานแพรกิมและแพรดอกขาวอย่างดีแก่กษัตริย์ (สยาม)”
นับจากนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีและค้าขายกับจีนอีกประมาณ 130 ครั้ง ภายในเวลาเกือบ 400 ปี ขณะที่ทางจีนได้ส่งคณะทูตมาประมาณ 17 ครั้งด้วยกัน และเหตุการณ์สำคัญคือในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ภายใต้การนำของแม่ทัพขันทีเจิ้งเหอ (ชาวไทยเรียก ซำปอกง) ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นนักเดินเรือและเทพเจ้าแห่งการเรือของจีน เดินทางข้ามทะเลมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และได้แวะพักที่อยุธยา โดยมีบันทึกในปี พ.ศ.1951
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนดำเนินอย่างราบรื่นเรื่อยมา เริ่มมีชาวจีนอพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น บางส่วนก็เข้ามารับราชการ การค้าสำเภาระหว่างไทยจีนในช่วงนี้ยังได้ทำให้อยุธยามีความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจเหนือนครรัฐต่างๆและกลายเป็นศูนย์การค้าและจุดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตกที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย
แต่การที่ชาวจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ก็มีผลกระทบอยู่บ้าง โดยเฉพาะในสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 4 ซึ่งได้เปิดช่องให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามามีอิทธิพลในราชสำนัก เกิดการคอรัปชั่น ระบบราชการเริ่มเสื่อมโทรม จนภายหลังเมื่อพระไชยราชาธิราชได้เข้ามากวาดล้างอิทธิพลของพ่อค้าจีนในราชสำนักแล้ว ก็จำกัดบทบาทของชาวจีนไม่ให้เข้ามามีอำนาจในวงราชการอีก แต่ในด้านการค้าแล้ว ก็ยังคงสานสัมพันธ์ไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
(งานเขียนประวัติศาสตร์เชิงสำรวจ) ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างย่อ ผลงานถวายสมเด็จพระเทพฯเมื่องานตรุษจีนปี 2555
ผลงานชุดนี้เลยถูกเขียนขึ้นในช่วงนั้นแบบเร่งด่วน แต่ก็พยายามทำออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ดีพอได้ เนื่องจากสมเด็จพระเทพฯท่านทรงเป็นผู้ที่รอบรู้เรื่องจีนอย่างกว้างขวางอันดับต้นๆในเมืองไทย ดังนั้นตอนที่เขียนผลงานชุดนี้เลยคิดว่าถ้าทำออกมาเป็นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยจีนแบบธรรมดาคงไม่พอเพียงแน่ เพราะท่านย่อมรู้อยู่แล้ว
ดังนั้นก็เลยเขียนงานชุดนี้ออกมาเป็นประวัติศาสตร์กึ่งวิชาการแบบเชิงสำรวจ ด้วยการพยายามเล่าถึงความสัมพันธ์ไทยจีนแต่โบราณและความเกี่ยวโยงที่ส่งผลต่อบริบททางสังคมในทุกวันนี้อย่างคร่าวๆ และเน้นให้อ่านเข้าใจง่ายเท่าที่จะทำได้ในงานเขียนประวัติศาสตร์แบบกึ่งวิชาการ
ผลงานชุดนี้แน่นอนว่าได้ถวายพระองค์ท่านไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากผู้เขียนเองกำลังคร่ำเคร่งกับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและเตรียมเข้าสู่แวดวงจีนศึกษาในด้านประวัติศาสตร์และงานเขียนแบบเต็มตัว เลยลองขุดเอางานนี้ออกมาลองเผยแพร่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในห้องนี้ได้ลองอ่านกัน หากว่ามีอะไรจะติชมหรือแนะนำ วิจารณ์ก็จะขอบคุณมาก เพื่อพัฒนาผลงานอื่นๆให้ก้าวหน้ายิ่งขึั้น
............................................................................
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ไทย – จีน
มิตรภาพ ช้างเผือก และ มังกร
สองชนชาติ สองเผ่าพันธุ์ ที่มีความเชื่อโยงต่อกันมาแต่อดีตกาล ซึ่งปัจจุบันได้หลอมรวมความสัมพันธ์และกลมกลืนกันจนเสมือนเครือญาติที่แนบแน่นที่สุด นับเป็นความผูกพันและมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่อันยากจะหาได้ในหน้าประวัติศาสตร์
หากกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติไทย และจีนนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มิอาจหาจุดเริ่มต้น และอาจจะไม่มีจุดสิ้นสุด ด้วยชาวไทยและชาวจีนในวันนี้หล่อหลอมรวมจนกลืนเป็นเนื้อเดียว แทบแยะไม่ออกว่าคนไหนมีเชื้อไทย เชื้อจีน เราจะพบเห็นลูกครึ่งไทยจีนมากมายในประเทศไทย จนเรียกได้ว่าอาจจะมีมากกว่า 3 ใน 4 ของประเทศ ทำให้คนไทยและจีนแทบจะเป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน อีกทั้งประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ครั้งยังไม่เกิดรัฐชาติไทย ชนชาติจีนก็มีความสัมพันธ์กับชาวไทยโบราณมาตลอด
ความสัมพันธ์อันไม่อาจตัดขาดได้นี้ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้ลูกหลานและผู้คนในยุคปัจจุบันได้รับรู้ถึงเส้นทางความสัมพันธ์ของชนชาติจีนที่แทบจะเป็นเครือญาติส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษเรา ในที่นี้พวกเราจึงอยากจะขอเป็นมัคคุเทศก์ ในการเปิดประตูแห่งกาลเวลาเพื่อเดินย้อนรอยดูเส้นทางประวัติศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ไทยจีนที่ผ่านมา ซึ่งหากลองแบ่งแยกตามยุคสมัยแล้ว น่าจะแบ่งได้สามช่วงเวลา ดังนี้
1.ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีน ยุคโบราณ : การทูตระบบบรรณาการ
อันที่จริงชนชาติจีนหรือชาวฮั่นมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิมาช้านานแล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่ปีใด แต่มีหลักฐานเป็นศิลาจารึกที่พอเชื่อถือได้ว่าชาวจีนมีการติดต่อกับผู้คนในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในทุกวันนี้ตั้งแต่ก่อนช่วงพุทธศักราช 1000 นับตั้งแต่ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเริ่มก่อร่างสร้างตัวด้วยซ้ำ ซึ่งมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของพระและนักบวชชาวจีน โดยเฉพาะหลวงจีนจาวจูกัวซึ่งเดินทางมายังแถบคาบสมุทรอินโดจีนและได้ทำการจดบันทึกจดหมายเหตุไว้ถึงความรุ่งเรืองของบรรดานครในดินแดนซึ่งเชื่อได้ว่าคือดินแดนแหลมทองและบริเวณหมู่เกาะมลายู ในช่วงทศวรรษที่ 1200 ซึ่งด้วยเอกสารฉบับนี้ได้พ้องตรงกับหลักศิลาจารึกของเมืองตันชอว์ที่ปาเล็มบัง ทำให้โลกได้รู้จักกับอาณาจักรโบราณในดินแดนนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ทวาราวดี ล้านนา และ ศรีวิชัย
จากนั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในดินแดนแหลมทองกับชนชาติจีนก็เริ่มขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการค้าขาย หากเรานับตามที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่าวัฒนธรรมของสยามหรือชาวไทยมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรสุโขทัย โดยเริ่มในยุคสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งจะตรงกับยุคปลายของราชวงศ์ซ้องต่อต้นราชวงศ์หยวนของจีน
แต่การติดต่อสัมพันธ์ที่พอจะมีหลักฐานอ้างอิงนั้น เริ่มต้นจากยุคพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งตรงกับตอนต้นของราชวงศ์หยวน อันเป็นสมัยของกุบไลข่าน ซึ่งนับว่าเป็นการติดต่อครั้งแรกระหว่างไทยจีนที่มีบันทึกหลงเหลือเป็นหลักฐานอ้างอิงแน่ชัด
จากบันทึกของจีน แสดงว่าปีพ.ศ.1825 กุบไลข่านได้มีบัญชาให้ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักร “เสียน” ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาจักรเสียนที่ว่านี้เป็นคำเรียกที่ชาวจีนโบราณกล่าวถึงดินแดนของชาวสยาม โดยมีบันทึกว่า
“ปีที่ 19 ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจีไฮ่ มีรับสั่งให้นายพลเหอจื่อจื้อ เป็นทูตไปยังสยาม (เสียน)”
แต่ปรากฏว่าคณะทูตของจีนชุดนี้มาไม่ถึงสุโขทัย เพราะถูกพวกจามแห่งอาณาจักรจามปาจับตัวในระหว่างเดินทางและประหารชีวิตหมด”
ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตไปยังจีนครั้งแรก ใน ปี พ.ศ. 1835 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี การส่งทูตไปเยือนจีนครานี้ นับเป็นการส่งทูตไปจีนเป็นครั้งแรกที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ และจากนั้นทางสุโขทัยก็ส่งคณะทูตพร้อมบรรณาการไปยังจีนถึง 14 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ.1835 ถึง 1865 ในขณะที่จีนส่งทูตมาถึงไทย 4 ครั้ง แต่เดินทางมาถึงโดยปลอดภัย 3 ครั้งเท่านั้น
เป้าหมายของสุโขทัยและจีนในการเจริญไมตรีนั้นนับว่าแตกต่างกัน ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า เหตุที่สุโขทัยส่งทูตและบรรณาการ ยอมนอบน้อมต่อจีนนั้นเพื่อเป้าหมายทางการเมือง โดยเป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตเพื่อป้องกันมิให้ จักรพรรดิกุบไลข่านสนับสนุนอาณาจักรอื่นๆในแถบเดียวกันโดยเฉพาะสุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะอาณาจักรสุพรรณภูมิได้เคยส่งเครื่องบรรณการไปยังจีน ใน พ.ศ. 1834 เพื่อขอความสนับสนุนทางการเมืองด้วย ทางสุโขทัยซึ่งเพิ่งจะเริ่มก่อร่าง ขยายอิทธิพลจึงจำต้องผูกมิตรกับจีนไว้เช่นกัน
ในขณะที่ทางจีนนั้นเพียงต้องการประกาศแสนยานุภาพและการยอมรับจากอาณาจักรโดยรอบ ให้ยอมอ่อนน้อมให้และยกจีนเป็นศูนย์กลางแห่งการปกครอง มีบันทึกบางฉบับว่าทางจีนได้แจ้งให้ พ่อขุนรามคำแหงทำการส่งบรรณาการและเดินทางไปเข้าเฝ้ากุบไลข่าน เพื่อแสดงว่ายินยอมและยอมรับในอำนาจของราชวงศ์หยวน ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมิได้เดินทางเสด็จไปตามที่ได้รับเชิญ เพียงแค่ส่งบรรณาการกลับไปเท่านั้น และทางกุบไลข่านเองก็ไม่ได้ว่ากระไร วิเคราะห์ได้ว่าอาจเพราะทางจีนเองก็ไม่ได้ใส่ใจกับท่าทีเช่นนี้ของสุโขทัยมากนัก เนื่องด้วยเป็นสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าร้อนชื้น สัตว์ป่าชุกชุม ยากแก่การเดินทางและอยู่อาศัย ทางจีนเองจึงอาจเพียงต้องการให้สุโขทัยส่งจิ้มก้องหรือบรรณาการมาให้เพื่อยอมรับสถานะในฐานะผู้ปกครองสูงสุดเท่านั้น ซึ่งน่าสังเกตว่าทุกครั้งที่เกิดการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ ทางจีนเองก็จะมีการส่งทูตมาเพื่อให้ชาวสยามส่งบรรณาการเพื่อยอมรับในสถานะนี้ของตนเอง แต่ก็มิได้ใส่ใจนัก หากเชื้อพระวงศ์สยามจะไม่เดินทางไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิจีน ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบประนีประนอมนี้ก็ดำเนินมาอย่างยาวนานจนถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ทีเดียว โดยหากเปรียบเทียบกับอาณาจักรโดยรอบอื่นๆเช่นพุกามที่อยู่ใกล้กันแล้ว ท่าทีของจีนนับว่ารุนแรงกว่ามาก
การติดต่อระหว่างสุโขทัยและจีนในช่วงนี้ยังส่งผลให้การค้าระหว่าง อาณาจักรทั้งสองขยายตัว มีการถ่ายทอดความรู้ของจีนมายังไทย ซึ่งส่งผลมากที่สุดคือการที่ช่างจีนได้เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เครื่องชามสังคโลก” และต่อมาเครื่องสังคโลกก็ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย
ต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงสิ้นลง สุโขทัยก็เริ่มเสื่อมอำนาจ ทำให้อยุธยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้เริ่มผงาดขึ้นมา และค่อยๆขยายอิทธิพลจนกระทั่งกลายเป็นศูนย์อำนาจทางการทหารและการปกครองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ ภายใต้การนำของกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทองและสุพรรณภูมิ อันเป็นเวลาเดียวกับทางจีนเองก็เกิดการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ เมื่อชาวจีนสามสามารถโค่นราชวงศ์หยวนของมองโกลที่ปกครองจีนมาเกือบร้อยปีลง และก่อตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น มีจูหยวนจาง สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งในยุคนี้เองที่ปรากฏชื่อ ”อาณาจักรเสียนหลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาณาจักรของชาวไทยหรือสยามขึ้นในพงศาวดารจีนเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ.1913 โดยข้อความที่ปรากฏว่า
“ปีที่ 3 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการไปยังประเทศเสียนหลอ (สยาม)”
พระเจ้าอู่ทองหรือพระบรมราชาธิราชที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ส่งของพื้นเมืองพร้อมทั้งเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิจีน ซึ่งพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ 374 ได้บันทึกไว้ว่า
“ปีที่ 4 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 9 ซันเลียเจาพีเอี๋ย (สมเด็จเจ้าพระยา คาดว่าหมายถึงพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์ของประเทศสยามอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยลู่จงจุ้นและพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย ช้างบ้าน 6 เชือก เต่าหกขา และของพื้นเมืองอื่นๆ (จักรพรรดิ) ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประทานแพรกิมและแพรดอกขาวอย่างดีแก่กษัตริย์ (สยาม)”
นับจากนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีและค้าขายกับจีนอีกประมาณ 130 ครั้ง ภายในเวลาเกือบ 400 ปี ขณะที่ทางจีนได้ส่งคณะทูตมาประมาณ 17 ครั้งด้วยกัน และเหตุการณ์สำคัญคือในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ภายใต้การนำของแม่ทัพขันทีเจิ้งเหอ (ชาวไทยเรียก ซำปอกง) ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นนักเดินเรือและเทพเจ้าแห่งการเรือของจีน เดินทางข้ามทะเลมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และได้แวะพักที่อยุธยา โดยมีบันทึกในปี พ.ศ.1951
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนดำเนินอย่างราบรื่นเรื่อยมา เริ่มมีชาวจีนอพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น บางส่วนก็เข้ามารับราชการ การค้าสำเภาระหว่างไทยจีนในช่วงนี้ยังได้ทำให้อยุธยามีความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจเหนือนครรัฐต่างๆและกลายเป็นศูนย์การค้าและจุดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตกที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย
แต่การที่ชาวจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ก็มีผลกระทบอยู่บ้าง โดยเฉพาะในสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 4 ซึ่งได้เปิดช่องให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามามีอิทธิพลในราชสำนัก เกิดการคอรัปชั่น ระบบราชการเริ่มเสื่อมโทรม จนภายหลังเมื่อพระไชยราชาธิราชได้เข้ามากวาดล้างอิทธิพลของพ่อค้าจีนในราชสำนักแล้ว ก็จำกัดบทบาทของชาวจีนไม่ให้เข้ามามีอำนาจในวงราชการอีก แต่ในด้านการค้าแล้ว ก็ยังคงสานสัมพันธ์ไว้ได้อย่างต่อเนื่อง