เหนือเมฆ, Zero Dark Thirty เราได้อะไรจากบทเรียนนี้?

สังคมไทยไม่เคยสอนให้เราพูดกัน นี่คือสิ่งที่ผมคิด อย่าว่าคนอื่นเลย กระทั่งตัวผมเอง ในสมัยเรียนก็ไม่ชอบการยกมือตอบ

แน่ล่ะ, ผมอาย ไม่เคยมีใครสอนให้ผมยกมือ คนยกมือชอบโดนเพ่งเล็ง โดนหมั่นไส้

ตลกดีเนอะ คนที่พยายามดิ้นรน สร้างอะไรขึ้นมา กลับโดนตราหน้าว่าเป็นพวกอยากเด่น

แม้แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย อาจารย์ส่วนใหญ่ยังคงสอนหนังสือตามแบบฉบับดั้งเดิม

เราจะไม่ค่อยเห็นคลาสไหนที่มีแค่เก้าอี้หันชนกัน ถกเถียงเรื่องราวคาใจที่เก็บมานาน พูดเรื่องละเอียดอ่อน แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เราไม่เคยรู้ (และไม่คิดจะรู้) เราชอบอ้างว่า "ประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" (ก็เออดิ ถึงต้องมาพูดกันไงเล่า)

ความเห็นที่แตกต่าง ทำให้เรายอมรับในตัวคนอื่น ลดอีโก้ของตัวเองลงบ้าง มีความกล้าขึ้นบ้าง

แรกเริ่มมันอาจจะทำให้เราไม่พอใจ แต่การไม่พอใจกันไม่ใช่หรือ ที่ทำให้เราพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

คนเรามีสิทธิ์ที่จะไม่พอใจ เบื่อที่บ้าน เบื่อกับคำพูดของเพื่อน บางคนไม่ชอบหัวหน้า บางคนทะเลาะกับแฟน

สิ่งที่ผมพบก็คือ ทุกครั้งที่ไม่พอใจ การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุดคือพูดคุยกัน หากเราไม่คิดจะพูดกัน เราคงไม่มีวันก้าวไปข้างหน้า




ตั้งแต่เกิดเรื่องนี้ มีสิ่งหนึ่งที่กวนใจผมมาโดยตลอด  มันเป็นสิ่งที่ผมไม่สามารถยอมรับได้เลย

การพยายามปกปิด มันเป็นการบอกทางอ้อมว่า พวกเราทั้งหมดมันโง่บัดซบ

คำประเภทที่ว่า "ช่างหัวแกสิ, เรื่องของแก, แกไม่สมควรจะรู้เรื่องพรรค์นี้หรอกน่า" ยิ่งรับรู้แล้วยิ่งเจ็บปวด

คนที่มีความคิดแบบนี้กำลังยืนเป็นหัวเรือใหญ่ของประเทศจริง ๆ งั้นหรือ?

ผมอาจจะไม่เก่ง ไม่ได้เรียนจบสูง ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมมั่นใจคือ

พวกเราทุกคนไม่ได้โง่, อย่าหยิบยื่นหญ้าให้เราทาน เพียงเพราะคิดว่าเราจะไม่มีแรงตอบโต้

อย่าดูถูกพวกเราให้มันมากเกินไป สักวันคนที่ประเมินพวกเราต่ำจะเสียใจ



ขอบคุณที่รับฟังคำบ่นครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่