tower crane ที่แขนเครนเป็นแบบตรงๆกับแบบเอียงๆ มันต่างกันอย่างไรครับ

กระทู้คำถาม
อยากรู้ครับ เพราะสร้างบางตึกใช้ tower crane แบบแขนตรงๆ ขนานไปกับพื้น บางตึกเป็นแขนแบบเอียงสัก 45 องศาได้ เลยอยากทราบข้อแตกต่างระหว่างสองแบบครับว่าต่างกันอย่างไร การทำงาน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คห 2 พูดผิดเรื่องน้ำหนักครับ จะตรง จะเอียงยกได้พอ ๆ กันขึ้นอยู่กับ spec ของมัน จะตึกสูงมาก ๆ หรือเตี้ยก็ใช้ได้ทั้ง 2 แบบครับ
เครนออกมาให้รับการแกว่งอยู่แล้ว ถ้าสูงมากก็จะมีจุดเชื่อมทาวเวอร์เครนกับตึกเพื่อถ่ายพลังงานไปยังตัวตึกแทน
ถ้าจะยกถึง 25-40 ตันนั่นต้องใช้รถเครนครับ จ้างเป็นครั้งคราวไป

สำหรับทาวเวอร์เครนการใช้งานที่ต่างกันหลัก ๆ คือ แขนเอียง หรือบูมกระดก (แขนเครนเรียกว่าบูม boom หรือจิ๊บ jib) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Luffing เหมาะกับพื้นที่จำกัด เช่นมีตึกอยู่รอบ ๆ หรือพื้นที่ด้านข้างไม่ต้องการให้เครนยกของลากผ่าน

การทำงานต่างกันที่แบบตรง หรือบูมราบจะมีตัว Trolley คอยวิ่งที่แขนบูม ตะขอจะห้องลงมาจาก trolley เพื่อยกของ trolley จะเป็นตัวคุมระยะใกล้ ไกลในการยก

จากรูปคือ trolley ที่ยึดกับบูมของทาวเวอร์เครน จะเห็นว่ามีสลิงเชื่อม trolley กับตะขอ ในรูปจะเห็นว่าทดสลิงถึง 4 เส้น เพื่อให้ยกของได้หนักขึ้น

ส่วนบูมกระดกจะไม่มี trolley ตะขอจะห้อยลงมาจากปลายบูมเลย การยกของเข้าออกจะใช้วิธีกระดกบูมขึ้นมา เหมือนเรางอข้อศอกเพื่อให้ของในมือเข้ามาใกล้เรา

ภาพไดอะเกรมการระยะทำงานของทาวเวอร์เครนแบบ Luffing และน้ำหนักที่ยกได้ในระยะต่าง ๆ

ที่เห็นว่ามีตะขอห้อยอยู่หลายจุดจริง ๆ คือเวลาใช้งานจะใช้แค่จุดเดียวถ้าอยากได้ยาว ๆ ก็ต่อบูมให้ยาวขึ้นระยะทำงานจะมากขึ้น แต่ก็รับน้ำหนักได้น้อยลง ความยาวบูมจะถูกกำหนดมาตั้งแต่ตอนติดตั้งแล้วไม่มีการปรับภายหลังเนื่องจากยุ่งยาก และเสียเวลา

ที่ต่างกันอีกอย่างคือในสเปกที่เท่ากัน แบบบูมกระดกจะแพงกว่าทั้งค่าเช่า และราคาซื้อ เนื่องจากตัววินซ์ หรือมอเตอร์ที่ใช้ยกทั้งบูมขึ้นมาต้องใช้กำลังแรงม้ามาก เพราะต้องรับภาระน้ำหนักแขน+ของ แต่บูมราบตัววินซ์ของ trolley แค่ใช้ขับเคลื่อนไปตามรางเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่