บทความพิเศษ : แพทย์วินิจฉัย... ผู้ใหญ่ในสภา มีค่ากว่า ประชาชน?!!
สั่นคลอนวงการแพทย์และความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ กับเหตุการณ์ช่างภาพเครือเนชั่นถูกหมอเลือกปฏิบัติ ไม่นำตัวคนป่วยความดันกำเริบปางตายส่งโรงพยาบาลทั้งที่ทำได้ เหตุเพราะ “กลัวผู้ใหญ่ตำหนิ” หากนำรถพยาบาลซึ่งเข้าใจว่ามีไว้บริการ ส.ส.-ส.ว.ในรัฐสภาเท่านั้นออกใช้ ต้องเรียกรถพยาบาลอีกคันหนึ่งมารับแทน
สะเทือนใจ... ไม่ใช่ ส.ส.-ส.ว. รอไปก่อน
ถ้ามีคนป่วยอาการปางตาย นอนหายใจริบหรี่อยู่ตรงหน้า คุณจะเลือกช่วยเหลือเขาด้วยวิธีใด? แน่นอน ผู้มีศีลธรรม-จริยธรรมในจิตใจ ต้องตอบตรงกันว่าจะเลือกวิธีที่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วที่สุดก่อน
แต่ในกรณี สกล สนธิรัตน์ ช่างภาพเครือเนชั่นล้มป่วยกลางรัฐสภา กลับไม่เป็นเช่นนั้น เขากลับถูกนายแพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าซึ่งประจำอยู่ขณะนั้น ปฏิเสธนำส่งโรงพยาบาลในทันที เหตุเพราะมองเห็นว่ารถพยาบาลที่จอดตำตาอยู่ตรงนั้น มีไว้สำหรับบริการ ส.ส. และ ส.ว. แต่เพียงอย่างเดียว ประชาชนคนธรรมดาไม่มีสิทธิ์!!
เหตุการณ์สะเทือนอารมณ์ในครั้งนี้สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ในสังคม ผู้คนเริ่มตั้งคำถามต่อจรรยาบรรณแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องต่างออกมาแก้ตัวเป็นพัลวัน ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าเข้ามามากมาย นี่คือความจริงจากสายตาผู้อยู่ในเหตุการณ์อันแสนน่าเศร้าที่เกิดขึ้น
“ประมาณบ่ายโมง ช่วงนั้นถ่ายภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอ๋ (สกล สนธิรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ป่วย) กับผมเดินมาที่โต๊ะเพื่อจะส่งภาพเข้าสำนักพิมพ์ สักพักเขาก็บ่นว่าเขามึนหัว จะวูบแล้ว น้องบอย (สวัสดิ์ ปันยศ) ช่างภาพไทยรัฐก็เลยเข้ามาช่วยพยุงอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเดินเองไม่ไหวแล้วตอนนั้น แต่เอ๋เป็นคนตัวใหญ่ น้ำหนักมาก พวกเราก็เลยไปตามหมอมาดีกว่า ให้มาดูอาการ ก็มีพยาบาล 2 คนกับหมออีก 1 คน มาช่วยตรวจ สอบถามอาการว่าเป็นยังไง ชาแขนไหม เอ๋ก็ตอบไปเรื่อย ผมก็คิดว่าน่าจะโอเคแล้ว น่าจะจัดการกันได้ ก็เลยเดินออกไปข้างนอก” ฉลาด จันทร์เดช ประธานชมรมช่างภาพการเมือง ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงมีโมโห
ผ่านไปประมาณ 10-15 นาที ปรากฏว่าทุกอย่างยังไม่เรียบร้อยอย่างใจคิด น้องที่รู้จักในรัฐสภาโทร.มาบอกด้วยน้ำเสียงไม่สู้ดีว่าผู้ป่วยอาการแย่มากแล้ว ถึงขั้นออกปากเองว่า “ผมไม่ไหวแล้วๆ” แต่ไม่มีทีท่าว่ากลุ่มแพทย์จะนำตัวส่งโรงพยาบาล ได้แต่ตรวจวัดชีพจรกันต่อไป ผู้อยู่ปลายสายอย่างเขาจึงตรงดิ่งเข้าไปทันที
“เห็นแล้วโมโหมาก ผมตะโกนออกไปเลยว่า เฮ้ย! นี่มัวแต่ทำอะไรกันอยู่ ทำไมยังไม่พาไปโรงพยาบาลกันอีกวะ จะปล่อยให้คนไข้ตายก่อนเหรอ ไม่มีจรรยาบรรณหรือยังไงกัน!! แต่ผมพูดหยาบกว่านี้หน่อย เพราะมันไม่ไหวจริงๆ เราเดินออกไปตั้งนาน กลับมาก็ยังเห็นเพื่อนนอนอยู่ท่าเดิม แล้วไอ้รถพยาบาลที่จอดอยู่ มันเอาไปส่งคนเจ็บก่อนไม่ได้เลยเหรอ หรือว่าเอาไว้ส่งแค่พวก ส.ส. กับ ส.ว.
แล้วหมอเขาว่าไงรู้ไหม เขาบอกว่า รถคันนี้ไม่สามารถนำคนป่วยคนนี้ไปส่งได้ เขาจะถูกตำหนิจากผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถนำคนป่วยนอก คนที่ไม่ใช่ ส.ส. กับ ส.ว. ก็เลยไปส่งไม่ได้ ได้ยินแบบนี้พวกเราก็ของขึ้นสิ
ผมบอกเลย นี่เขาก็คนเหมือนกันไม่ใช่เหรอ คุณมีจรรยาบรรณหรือเปล่า ในเมื่อคนป่วยใกล้จะตายแล้ว คุณจะให้ตายต่อหน้าเหรอ ไอ้คำว่า “กลัวผู้ใหญ่จะตำหนิ” นี่ ผู้ใหญ่คนนั้นมันคือใคร พวกผมก็ยังคาใจกันอยู่ สุดท้ายเราก็ตัดสินใจประสานขอรถพยาบาลจากข้างนอกเข้ามาแทน แต่ต้องรอไปอีกประมาณ 10 นาที รอจนเอ๋เริ่มมีอาการไม่ดี หน้าซีดหน้าเซียว ไม่สามารถพูดจาตอบโต้ได้อีกแล้ว ระหว่างนั้นหมอก็ไม่ได้ทำอะไรด้วย ได้แต่ยืนดูพวกเราด่าเขานั่นแหละ
ผมถามหน่อยเถอะว่า ทำไมคุณไม่เอารถที่จอดอยู่ตรงนั้นไปส่งคนเจ็บก่อน แล้วค่อยเอารถอีกคันที่เรียกมา มาสแตนด์บายก็ยังได้ แต่เขาก็ตอบมาแค่ กลัวผู้ใหญ่จะตำหนิ แล้วจะให้เราพูดอะไรได้ ถ้าผมเป็นแพทย์ ด้วยจรรยาบรรณของแพทย์แล้ว ผมยอมใช้ศักดิ์ศรีของผมรองรับคำด่า-คำตำหนิ ยังดีกว่าต้องให้คนไข้มาเสี่ยงแบบนี้!!”
ช่วยชีวิต คิดตามลำดับชนชั้น?
เมื่อข่าวเรื่องนี้แพร่สะพัดออกไปในสื่อแขนงต่างๆ ผู้คนมากมายตั้งคำถามต่อจรรยาบรรณของแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงต้องหอบเอาคำแก้ตัวออกมาอธิบาย ทั้งโฆษกประธานสภา, ผอ.รพ.พระมงกุฎเกล้า ในฐานะโรงพยาบาลผู้จัดหน่วยแพทย์ประจำรัฐสภา และ ผอ.สำนักการแพทย์ กทม. ซึ่งมีโรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวอยู่ในความรับผิดชอบ ต่างพร้อมใจกันออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว ยืนยันเป็นเสียงเดียวว่า
“แพทย์และพยาบาลประจำรัฐสภาที่เข้าไปดูแลอาการนายสกลได้วินิจฉัยอาการเบื้องต้นตามหลักทางการแพทย์ ทำตามหลักวิชาชีพการรักษาอย่างถูกต้อง ประเมินแล้วว่าสามารถรอส่งผู้ป่วยได้ เพราะยังสามารถแสดงอาการโต้ตอบและความรู้สึกได้ระดับหนึ่ง โรงพยาบาลไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยเลย ทุกคนได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน” ต่อให้คนป่วยคนนั้นเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. อย่างที่ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสงสัย ก็ยังขอยืนยันว่าใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
การแสดงความรับผิดชอบจากเหตุการณ์นี้จึงเหลือเพียงคำขอโทษขอโพย แก้ต่างว่าไม่เคยมีคำสั่งจากผู้ใหญ่คนไหนในรัฐสภาระบุว่า รถพยาบาลที่ประจำอยู่ มีไว้ให้คนใหญ่คนโตใช้เท่านั้น “มีไว้อำนวยความสะดวกในการนำส่งโรงพยาบาลบุคลากรสภาฯ ซึ่งหมายถึง ส.ส.-ส.ว. ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ ข้าราชการ ลูกจ้าง และรวมถึงสื่อมวลชนประจำรัฐสภาด้วย” สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงให้ฟัง ทั้งยังตำหนิว่าเหตุการณ์ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นเพราะดุลยพินิจของนายแพทย์ผู้อยู่ในเหตุการณ์เอง
แต่ไม่ว่าจะกล่าวอ้างกันอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ก็คือชีวิตของ "สกล สนธิรัตน์" ประชาชนคนหนึ่งที่ต้องตกเป็นเหยื่อในสถานการณ์นี้ จากตอนแรกที่ความดันเริ่มขึ้น เขายังสามารถพูดคุย-โต้ตอบได้ตามปกติ กระทั่งค่อยๆ ทรุดหนักขึ้นๆ เรื่อยๆ ระหว่างรอรถพยาบาล และมีความดันพุ่งสูงถึง 180 เมื่อถึงโรงพยาบาลกลาง เกิดอาการปากเบี้ยว ร่างกายไม่ตอบสนองใดๆ อยู่ในอาการโคม่า เมื่อเอกซเรย์ดูจึงเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองแตก ต้องผ่าตัดหยุดเลือดที่ก้านสมองซึ่งกำลังทำลายเนื้อสมองไปเรื่อยๆ ถึงแม้การผ่าตัดจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้ป่วยก็ยังคงนอนนิ่ง อาการเป็นตายเท่ากัน
“คิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันใช้เวลานานมาก กว่าจะมาถึงมือหมอ ตั้งแต่ตอนเริ่มมีอาการ ปฐมพยาบาลกันตรงนั้น ไม่ยอมเคลื่อนย้าย แค่รวมเวลาที่อยู่ที่รัฐสภาก็ประมาณ 30 นาทีแล้ว ไหนจะต้องรอรถพยาบาลอีกคันหนึ่งมารับไปโรงพยาบาลอีก กว่าจะเดินทางไปถึง ตีไปสัก 10 นาที พอไปถึงกว่าจะเช็ค กว่าจะเข้าเครื่องสแกน ต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ล่ะ ตอนประมาณหนึ่งทุ่มเศษๆ หมอก็ขอเช็คทั้งหมดอีกที เพราะคนไข้เริ่มไม่ตอบสนองแล้ว พอเช็กอีกทีก็พบว่าเส้นเลือดที่แตกมันใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียวแล้ว กระจายเต็มพื้นที่ ไปทำลายเนื้อเยื่อในสมองเรียบร้อย
ถ้าเขาจะอ้างว่า ต้องใช้เวลาปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบบนี้อยู่แล้ว อันนี้ผมก็เถียงไม่ออก ไม่รู้ว่าปกติเขาใช้เวลากันนานขนาดนี้ไหม แต่มันเสียใจตรงที่ ถ้าลองคิดว่าวินาทีนั้นเป็น ส.ส.ล้ม ผมคิดว่าเขาต้องรีบนำส่งกันอยู่แล้ว ไม่ต้องมานั่งพิถีพิถัน เค้นเอาข้อมูลคนไข้จนอาการทรุดหรอก ถามจนคนไข้บอก ผมไม่ไหวแล้วๆ
และก่อนหน้านี้ผมก็ไม่เคยคิดมาก่อนนะว่า รถพยาบาลมันมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกันด้วย คิดว่าสามารถไปส่งทุกคนได้เท่ากันหมด แล้วสภาพรถที่จอดประจำอยู่ที่รัฐสภาก็ดูไม่ได้ต่างกับรถที่มารับทีหลังเลย เป็นรถช่วยชีวิตเหมือนๆ กัน น่าจะทำหน้าที่ทดแทนกันได้ แต่เขาก็ไม่ยอมให้ใช้แทน” ฉลาด จันทร์เดช เพื่อนของผู้ป่วย เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงปลงตก
จรรยาบรรณแพทย์ หายไปไหน?
เมื่อสังคมหันมาเพ่งพินิจถึงการเลือกปฏิบัติในวงการแพทย์พร้อมๆ กัน จึงได้คำตอบจากหลายฝ่ายว่าไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้ว อย่างที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ พูดถึงประเด็นนี้เอาไว้ในรายการเวคอัพไทยแลนด์ว่า
โรงพยาบาลของรัฐจำนวนมากมีห้องพิเศษสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้ป่วยธรรมดาไปโรงพยาบาลกลาง หรือวชิรพยาบาล แล้วอยากขอห้อง เขาจะบอกว่าเต็ม ทั้งที่ความจริงโรงพยาบาลเหล่านี้จะมีห้องพิเศษ 3-4 ห้องเก็บไว้ให้ผู้บริหารของโรงพยาบาล หรือว่าผู้ใหญ่ของ กทม.เสมอ
“โรงพยาบาลรัฐจำนวนมากมีห้องซึ่งไม่ให้คนธรรมดาใช้ เก็บไว้เป็นห้องว่างอย่างน้อย 3-4 ห้อง ให้ผู้ใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ เข้าไปรักษาได้ตลอดเวลา คุณคิดว่าเรื่องนี้ไม่จริง ก็ต้องตามดู” เขาประกาศเอาไว้กลางรายการ
เช่นเดียวกับ ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเผยว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติมีมาตลอดในสังคมไทย ทั้งในระบบราชการและวงการแพทย์
“มันเป็นอย่างนี้มาตลอด ในหน่วยงานระดับสูงก็สนใจให้บริการกับข้าราชการระดับสูง นักการเมืองระดับสูง แต่ไม่ได้ใส่ใจต่อคนที่ปฏิบัติการสนับสนุน หรือเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ในระดับปฏิบัติการ สะท้อนให้เห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ปฏิบัติต่อคน(เหมือนกัน) แต่ไม่เท่าเทียมกัน”
แม้แต่กรณีนี้ ผู้ป่วยเป็นนักข่าว ทำงานสาธารณะ ยังได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ต้องถามเลยว่าชาวบ้านในชนบทจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร จึงขอเสนอให้วงการแพทย์หันมาทบทวนจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ในองค์กร โดยให้ไล่ตรวจสอบไปตั้งแต่ผู้อยู่ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าจนถึงระดับผู้บริหารสูงสุดเลยทีเดียว
“ความจริง วงการแพทย์มันมีเสียงสะท้อนมานานแล้ว ดูแลคนรวยอย่างดี คนไม่มีเงินไม่ดูแล บางคนต้องเซ็นรับรองค่าใช้จ่ายก่อนรักษา พฤติกรรมแบบนี้ไม่สอดคล้องกับหลักจริยธรรม ผมคิดว่า แพทย์ก็ใช้งบประมาณของแผ่นดิน อุปกรณ์ก็มาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งนั้น เมื่อใช้ภาษีของประชาชนก็ต้องดูแลรักษาประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เลือกดูว่าใครเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย”
จากมุมมองของผู้อยู่ในเหตุการณ์ ในฐานะเพื่อนของผู้ป่วย และในฐานะประชาชนคนหนึ่ง คุณฉลาด ประธานชมรมช่างภาพการเมือง ก็ได้แต่หวังว่าบทเรียนในครั้งนี้จะราคาแพงเพียงพอให้วงการแพทย์หันมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า “คุณเรียนแพทย์มาเพื่ออะไร ถ้าแค่จะกลัวคำตำหนิจากผู้ใหญ่ แต่ไม่สนใจชีวิตผู้คน เอาแค่หมอโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ออกมายอมรับว่าใช้ดุลยพินิจผิดพลาด ผมว่าคนก็มองเห็นเรื่องจรรยาบรรณตกต่ำกันหมดแล้ว แค่ความรู้สึกไม่กล้า กลัวคำตำหนิ แล้วจะปล่อยให้คนไข้ตายอยู่ตรงหน้า ก็ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกกันไปหมดแล้ว”
ถึงเหตุการณ์นี้จะเป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างของพฤติกรรม “วัวหายล้อมคอก” ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้มากไปกว่านี้ “ถึงสื่อทุกแขนงจะเสนอเรื่องนี้ออกไป แต่ผมก็ยังไม่เห็นความรับผิดชอบจากใครเลย มีแต่คำขอโทษแล้วก็โบ้ยกันไปมา” แต่สุดท้าย ก็ได้แต่หวังว่าหนึ่งชีวิตที่กำลังนอนริบหรี่อยู่ จะช่วยเตือนสติ สะกิดให้ได้คิดกันบ้าง
“ทั้งหมอ ทั้งผู้ยิ่งใหญ่-ผู้ทรงเกียรติในรัฐสภานั่นแหละ ถามหน่อยเถอะว่า อาการป่วยของพวก ส.ส.-ส.ว. มันจะป่วยกันได้ทุกวันเลยเหรอ เวลามี 365 วัน เอารถมาจอดปีๆ หนึ่ง เสียงบประมาณไปเท่าไหร่ ภาษีเราก็เสียเหมือนกัน กรุณาให้บริการด้วยใจที่มีจริยธรรม มีจรรยาบรรณให้เท่าเทียมกันด้วย!!”
Credit: ASTV ผู้จัดการ LIVE
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปล.ผมไม่อยากให้อ้างอิงว่านี่มาจากฝากข่าวสำนักไหน แต่อยากให้วิจารณ์ในประเด็น"จรรยาบรรณของแพทย์"
บทความพิเศษ : แพทย์วินิจฉัย... ผู้ใหญ่ในสภา มีค่ากว่า ประชาชน?!!
สั่นคลอนวงการแพทย์และความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ กับเหตุการณ์ช่างภาพเครือเนชั่นถูกหมอเลือกปฏิบัติ ไม่นำตัวคนป่วยความดันกำเริบปางตายส่งโรงพยาบาลทั้งที่ทำได้ เหตุเพราะ “กลัวผู้ใหญ่ตำหนิ” หากนำรถพยาบาลซึ่งเข้าใจว่ามีไว้บริการ ส.ส.-ส.ว.ในรัฐสภาเท่านั้นออกใช้ ต้องเรียกรถพยาบาลอีกคันหนึ่งมารับแทน
สะเทือนใจ... ไม่ใช่ ส.ส.-ส.ว. รอไปก่อน
ถ้ามีคนป่วยอาการปางตาย นอนหายใจริบหรี่อยู่ตรงหน้า คุณจะเลือกช่วยเหลือเขาด้วยวิธีใด? แน่นอน ผู้มีศีลธรรม-จริยธรรมในจิตใจ ต้องตอบตรงกันว่าจะเลือกวิธีที่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วที่สุดก่อน
แต่ในกรณี สกล สนธิรัตน์ ช่างภาพเครือเนชั่นล้มป่วยกลางรัฐสภา กลับไม่เป็นเช่นนั้น เขากลับถูกนายแพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าซึ่งประจำอยู่ขณะนั้น ปฏิเสธนำส่งโรงพยาบาลในทันที เหตุเพราะมองเห็นว่ารถพยาบาลที่จอดตำตาอยู่ตรงนั้น มีไว้สำหรับบริการ ส.ส. และ ส.ว. แต่เพียงอย่างเดียว ประชาชนคนธรรมดาไม่มีสิทธิ์!!
เหตุการณ์สะเทือนอารมณ์ในครั้งนี้สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ในสังคม ผู้คนเริ่มตั้งคำถามต่อจรรยาบรรณแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องต่างออกมาแก้ตัวเป็นพัลวัน ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าเข้ามามากมาย นี่คือความจริงจากสายตาผู้อยู่ในเหตุการณ์อันแสนน่าเศร้าที่เกิดขึ้น
“ประมาณบ่ายโมง ช่วงนั้นถ่ายภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอ๋ (สกล สนธิรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ป่วย) กับผมเดินมาที่โต๊ะเพื่อจะส่งภาพเข้าสำนักพิมพ์ สักพักเขาก็บ่นว่าเขามึนหัว จะวูบแล้ว น้องบอย (สวัสดิ์ ปันยศ) ช่างภาพไทยรัฐก็เลยเข้ามาช่วยพยุงอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเดินเองไม่ไหวแล้วตอนนั้น แต่เอ๋เป็นคนตัวใหญ่ น้ำหนักมาก พวกเราก็เลยไปตามหมอมาดีกว่า ให้มาดูอาการ ก็มีพยาบาล 2 คนกับหมออีก 1 คน มาช่วยตรวจ สอบถามอาการว่าเป็นยังไง ชาแขนไหม เอ๋ก็ตอบไปเรื่อย ผมก็คิดว่าน่าจะโอเคแล้ว น่าจะจัดการกันได้ ก็เลยเดินออกไปข้างนอก” ฉลาด จันทร์เดช ประธานชมรมช่างภาพการเมือง ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงมีโมโห
ผ่านไปประมาณ 10-15 นาที ปรากฏว่าทุกอย่างยังไม่เรียบร้อยอย่างใจคิด น้องที่รู้จักในรัฐสภาโทร.มาบอกด้วยน้ำเสียงไม่สู้ดีว่าผู้ป่วยอาการแย่มากแล้ว ถึงขั้นออกปากเองว่า “ผมไม่ไหวแล้วๆ” แต่ไม่มีทีท่าว่ากลุ่มแพทย์จะนำตัวส่งโรงพยาบาล ได้แต่ตรวจวัดชีพจรกันต่อไป ผู้อยู่ปลายสายอย่างเขาจึงตรงดิ่งเข้าไปทันที
“เห็นแล้วโมโหมาก ผมตะโกนออกไปเลยว่า เฮ้ย! นี่มัวแต่ทำอะไรกันอยู่ ทำไมยังไม่พาไปโรงพยาบาลกันอีกวะ จะปล่อยให้คนไข้ตายก่อนเหรอ ไม่มีจรรยาบรรณหรือยังไงกัน!! แต่ผมพูดหยาบกว่านี้หน่อย เพราะมันไม่ไหวจริงๆ เราเดินออกไปตั้งนาน กลับมาก็ยังเห็นเพื่อนนอนอยู่ท่าเดิม แล้วไอ้รถพยาบาลที่จอดอยู่ มันเอาไปส่งคนเจ็บก่อนไม่ได้เลยเหรอ หรือว่าเอาไว้ส่งแค่พวก ส.ส. กับ ส.ว.
แล้วหมอเขาว่าไงรู้ไหม เขาบอกว่า รถคันนี้ไม่สามารถนำคนป่วยคนนี้ไปส่งได้ เขาจะถูกตำหนิจากผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถนำคนป่วยนอก คนที่ไม่ใช่ ส.ส. กับ ส.ว. ก็เลยไปส่งไม่ได้ ได้ยินแบบนี้พวกเราก็ของขึ้นสิ
ผมบอกเลย นี่เขาก็คนเหมือนกันไม่ใช่เหรอ คุณมีจรรยาบรรณหรือเปล่า ในเมื่อคนป่วยใกล้จะตายแล้ว คุณจะให้ตายต่อหน้าเหรอ ไอ้คำว่า “กลัวผู้ใหญ่จะตำหนิ” นี่ ผู้ใหญ่คนนั้นมันคือใคร พวกผมก็ยังคาใจกันอยู่ สุดท้ายเราก็ตัดสินใจประสานขอรถพยาบาลจากข้างนอกเข้ามาแทน แต่ต้องรอไปอีกประมาณ 10 นาที รอจนเอ๋เริ่มมีอาการไม่ดี หน้าซีดหน้าเซียว ไม่สามารถพูดจาตอบโต้ได้อีกแล้ว ระหว่างนั้นหมอก็ไม่ได้ทำอะไรด้วย ได้แต่ยืนดูพวกเราด่าเขานั่นแหละ
ผมถามหน่อยเถอะว่า ทำไมคุณไม่เอารถที่จอดอยู่ตรงนั้นไปส่งคนเจ็บก่อน แล้วค่อยเอารถอีกคันที่เรียกมา มาสแตนด์บายก็ยังได้ แต่เขาก็ตอบมาแค่ กลัวผู้ใหญ่จะตำหนิ แล้วจะให้เราพูดอะไรได้ ถ้าผมเป็นแพทย์ ด้วยจรรยาบรรณของแพทย์แล้ว ผมยอมใช้ศักดิ์ศรีของผมรองรับคำด่า-คำตำหนิ ยังดีกว่าต้องให้คนไข้มาเสี่ยงแบบนี้!!”
ช่วยชีวิต คิดตามลำดับชนชั้น?
เมื่อข่าวเรื่องนี้แพร่สะพัดออกไปในสื่อแขนงต่างๆ ผู้คนมากมายตั้งคำถามต่อจรรยาบรรณของแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงต้องหอบเอาคำแก้ตัวออกมาอธิบาย ทั้งโฆษกประธานสภา, ผอ.รพ.พระมงกุฎเกล้า ในฐานะโรงพยาบาลผู้จัดหน่วยแพทย์ประจำรัฐสภา และ ผอ.สำนักการแพทย์ กทม. ซึ่งมีโรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวอยู่ในความรับผิดชอบ ต่างพร้อมใจกันออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว ยืนยันเป็นเสียงเดียวว่า
“แพทย์และพยาบาลประจำรัฐสภาที่เข้าไปดูแลอาการนายสกลได้วินิจฉัยอาการเบื้องต้นตามหลักทางการแพทย์ ทำตามหลักวิชาชีพการรักษาอย่างถูกต้อง ประเมินแล้วว่าสามารถรอส่งผู้ป่วยได้ เพราะยังสามารถแสดงอาการโต้ตอบและความรู้สึกได้ระดับหนึ่ง โรงพยาบาลไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยเลย ทุกคนได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน” ต่อให้คนป่วยคนนั้นเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. อย่างที่ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสงสัย ก็ยังขอยืนยันว่าใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
การแสดงความรับผิดชอบจากเหตุการณ์นี้จึงเหลือเพียงคำขอโทษขอโพย แก้ต่างว่าไม่เคยมีคำสั่งจากผู้ใหญ่คนไหนในรัฐสภาระบุว่า รถพยาบาลที่ประจำอยู่ มีไว้ให้คนใหญ่คนโตใช้เท่านั้น “มีไว้อำนวยความสะดวกในการนำส่งโรงพยาบาลบุคลากรสภาฯ ซึ่งหมายถึง ส.ส.-ส.ว. ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ ข้าราชการ ลูกจ้าง และรวมถึงสื่อมวลชนประจำรัฐสภาด้วย” สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงให้ฟัง ทั้งยังตำหนิว่าเหตุการณ์ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นเพราะดุลยพินิจของนายแพทย์ผู้อยู่ในเหตุการณ์เอง
แต่ไม่ว่าจะกล่าวอ้างกันอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ก็คือชีวิตของ "สกล สนธิรัตน์" ประชาชนคนหนึ่งที่ต้องตกเป็นเหยื่อในสถานการณ์นี้ จากตอนแรกที่ความดันเริ่มขึ้น เขายังสามารถพูดคุย-โต้ตอบได้ตามปกติ กระทั่งค่อยๆ ทรุดหนักขึ้นๆ เรื่อยๆ ระหว่างรอรถพยาบาล และมีความดันพุ่งสูงถึง 180 เมื่อถึงโรงพยาบาลกลาง เกิดอาการปากเบี้ยว ร่างกายไม่ตอบสนองใดๆ อยู่ในอาการโคม่า เมื่อเอกซเรย์ดูจึงเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองแตก ต้องผ่าตัดหยุดเลือดที่ก้านสมองซึ่งกำลังทำลายเนื้อสมองไปเรื่อยๆ ถึงแม้การผ่าตัดจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้ป่วยก็ยังคงนอนนิ่ง อาการเป็นตายเท่ากัน
“คิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันใช้เวลานานมาก กว่าจะมาถึงมือหมอ ตั้งแต่ตอนเริ่มมีอาการ ปฐมพยาบาลกันตรงนั้น ไม่ยอมเคลื่อนย้าย แค่รวมเวลาที่อยู่ที่รัฐสภาก็ประมาณ 30 นาทีแล้ว ไหนจะต้องรอรถพยาบาลอีกคันหนึ่งมารับไปโรงพยาบาลอีก กว่าจะเดินทางไปถึง ตีไปสัก 10 นาที พอไปถึงกว่าจะเช็ค กว่าจะเข้าเครื่องสแกน ต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ล่ะ ตอนประมาณหนึ่งทุ่มเศษๆ หมอก็ขอเช็คทั้งหมดอีกที เพราะคนไข้เริ่มไม่ตอบสนองแล้ว พอเช็กอีกทีก็พบว่าเส้นเลือดที่แตกมันใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียวแล้ว กระจายเต็มพื้นที่ ไปทำลายเนื้อเยื่อในสมองเรียบร้อย
ถ้าเขาจะอ้างว่า ต้องใช้เวลาปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบบนี้อยู่แล้ว อันนี้ผมก็เถียงไม่ออก ไม่รู้ว่าปกติเขาใช้เวลากันนานขนาดนี้ไหม แต่มันเสียใจตรงที่ ถ้าลองคิดว่าวินาทีนั้นเป็น ส.ส.ล้ม ผมคิดว่าเขาต้องรีบนำส่งกันอยู่แล้ว ไม่ต้องมานั่งพิถีพิถัน เค้นเอาข้อมูลคนไข้จนอาการทรุดหรอก ถามจนคนไข้บอก ผมไม่ไหวแล้วๆ
และก่อนหน้านี้ผมก็ไม่เคยคิดมาก่อนนะว่า รถพยาบาลมันมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกันด้วย คิดว่าสามารถไปส่งทุกคนได้เท่ากันหมด แล้วสภาพรถที่จอดประจำอยู่ที่รัฐสภาก็ดูไม่ได้ต่างกับรถที่มารับทีหลังเลย เป็นรถช่วยชีวิตเหมือนๆ กัน น่าจะทำหน้าที่ทดแทนกันได้ แต่เขาก็ไม่ยอมให้ใช้แทน” ฉลาด จันทร์เดช เพื่อนของผู้ป่วย เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงปลงตก
จรรยาบรรณแพทย์ หายไปไหน?
เมื่อสังคมหันมาเพ่งพินิจถึงการเลือกปฏิบัติในวงการแพทย์พร้อมๆ กัน จึงได้คำตอบจากหลายฝ่ายว่าไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้ว อย่างที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ พูดถึงประเด็นนี้เอาไว้ในรายการเวคอัพไทยแลนด์ว่า
โรงพยาบาลของรัฐจำนวนมากมีห้องพิเศษสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้ป่วยธรรมดาไปโรงพยาบาลกลาง หรือวชิรพยาบาล แล้วอยากขอห้อง เขาจะบอกว่าเต็ม ทั้งที่ความจริงโรงพยาบาลเหล่านี้จะมีห้องพิเศษ 3-4 ห้องเก็บไว้ให้ผู้บริหารของโรงพยาบาล หรือว่าผู้ใหญ่ของ กทม.เสมอ
“โรงพยาบาลรัฐจำนวนมากมีห้องซึ่งไม่ให้คนธรรมดาใช้ เก็บไว้เป็นห้องว่างอย่างน้อย 3-4 ห้อง ให้ผู้ใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ เข้าไปรักษาได้ตลอดเวลา คุณคิดว่าเรื่องนี้ไม่จริง ก็ต้องตามดู” เขาประกาศเอาไว้กลางรายการ
เช่นเดียวกับ ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเผยว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติมีมาตลอดในสังคมไทย ทั้งในระบบราชการและวงการแพทย์
“มันเป็นอย่างนี้มาตลอด ในหน่วยงานระดับสูงก็สนใจให้บริการกับข้าราชการระดับสูง นักการเมืองระดับสูง แต่ไม่ได้ใส่ใจต่อคนที่ปฏิบัติการสนับสนุน หรือเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ในระดับปฏิบัติการ สะท้อนให้เห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ปฏิบัติต่อคน(เหมือนกัน) แต่ไม่เท่าเทียมกัน”
แม้แต่กรณีนี้ ผู้ป่วยเป็นนักข่าว ทำงานสาธารณะ ยังได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ต้องถามเลยว่าชาวบ้านในชนบทจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร จึงขอเสนอให้วงการแพทย์หันมาทบทวนจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ในองค์กร โดยให้ไล่ตรวจสอบไปตั้งแต่ผู้อยู่ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าจนถึงระดับผู้บริหารสูงสุดเลยทีเดียว
“ความจริง วงการแพทย์มันมีเสียงสะท้อนมานานแล้ว ดูแลคนรวยอย่างดี คนไม่มีเงินไม่ดูแล บางคนต้องเซ็นรับรองค่าใช้จ่ายก่อนรักษา พฤติกรรมแบบนี้ไม่สอดคล้องกับหลักจริยธรรม ผมคิดว่า แพทย์ก็ใช้งบประมาณของแผ่นดิน อุปกรณ์ก็มาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งนั้น เมื่อใช้ภาษีของประชาชนก็ต้องดูแลรักษาประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เลือกดูว่าใครเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย”
จากมุมมองของผู้อยู่ในเหตุการณ์ ในฐานะเพื่อนของผู้ป่วย และในฐานะประชาชนคนหนึ่ง คุณฉลาด ประธานชมรมช่างภาพการเมือง ก็ได้แต่หวังว่าบทเรียนในครั้งนี้จะราคาแพงเพียงพอให้วงการแพทย์หันมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า “คุณเรียนแพทย์มาเพื่ออะไร ถ้าแค่จะกลัวคำตำหนิจากผู้ใหญ่ แต่ไม่สนใจชีวิตผู้คน เอาแค่หมอโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ออกมายอมรับว่าใช้ดุลยพินิจผิดพลาด ผมว่าคนก็มองเห็นเรื่องจรรยาบรรณตกต่ำกันหมดแล้ว แค่ความรู้สึกไม่กล้า กลัวคำตำหนิ แล้วจะปล่อยให้คนไข้ตายอยู่ตรงหน้า ก็ทำให้ประชาชนเสียความรู้สึกกันไปหมดแล้ว”
ถึงเหตุการณ์นี้จะเป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างของพฤติกรรม “วัวหายล้อมคอก” ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้มากไปกว่านี้ “ถึงสื่อทุกแขนงจะเสนอเรื่องนี้ออกไป แต่ผมก็ยังไม่เห็นความรับผิดชอบจากใครเลย มีแต่คำขอโทษแล้วก็โบ้ยกันไปมา” แต่สุดท้าย ก็ได้แต่หวังว่าหนึ่งชีวิตที่กำลังนอนริบหรี่อยู่ จะช่วยเตือนสติ สะกิดให้ได้คิดกันบ้าง
“ทั้งหมอ ทั้งผู้ยิ่งใหญ่-ผู้ทรงเกียรติในรัฐสภานั่นแหละ ถามหน่อยเถอะว่า อาการป่วยของพวก ส.ส.-ส.ว. มันจะป่วยกันได้ทุกวันเลยเหรอ เวลามี 365 วัน เอารถมาจอดปีๆ หนึ่ง เสียงบประมาณไปเท่าไหร่ ภาษีเราก็เสียเหมือนกัน กรุณาให้บริการด้วยใจที่มีจริยธรรม มีจรรยาบรรณให้เท่าเทียมกันด้วย!!”
Credit: ASTV ผู้จัดการ LIVE
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปล.ผมไม่อยากให้อ้างอิงว่านี่มาจากฝากข่าวสำนักไหน แต่อยากให้วิจารณ์ในประเด็น"จรรยาบรรณของแพทย์"