สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ขออธิบายคร่าวๆ นะครับ แต่ค่อนข้างย้อนอดีตหน่อยนะ เพราะช่วงต่อระหว่างยุคดาร์วิน กับยุคคิมูร่า นี่ร้อยกว่าปีเชียว
เอาเป็นว่าช่วงที่ดาร์วินเสนอทฤษฎี natural selection จะเป็นที่ยอมรับไปทั่วนั้น คนที่เชื่อตามนี้ส่วนใหญ่จะนับว่าเป็นพวก selectionist คือเชื่อว่าการคัดเลือกหรือ selection นั่นเป็นกลไกหลักของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
แต่มาในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน ความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์เชิง Mendel ก็มีมากขึ้นและทำให้เราเข้าใจถึงการมียีนเป็นหน่วยเดี่ยวทางพันธุกรรม และการมี allele ที่แตกต่างกันในหนึ่งยีน (หรือหนึ่ง locus) ซึ่งเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์หรือ mutation ทำให้เกิดการตีความแนวคิดวิวัฒนาการใหม่ว่าเกิดจากความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ genetic variation เป็นหลัก คนที่เชื่อในเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นพวก mutationist
แล้วก็มายุคกลางที่หลายๆ คนเคยเรียนกันเกี่ยวกับ micro evolution หรือวิวัฒนาการระดับจุลภาค เมื่อเราเอาความรู้ด้านพันธุศาสตร์ประชากร population genetics มาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพันธุกรรมภายในประชากรของสปีชีส์หนึ่งๆ โดยทำให้เราเห็นภาพว่าจริงๆ แล้ว ประชากรถูกทั้ง mutation และ selection กระทำอยู่ตลอดเวลา แต่การที่เราเห็นค่าความถี่ยีนคงที่อยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น ก็เกิดจากสมดุลที่มีต่อกันระหว่าง mutation กับ selection ในเวลานั้น
ต่อเมื่อประชากรเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนของประชากร ด้วยเหตุผลต่างๆ (ไม่ว่าจะ mutation selection migration หรือ genetic drift) ก็จะทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ speciation ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ในที่สุด
ที่นี้ เมื่อช่วง 30-40 กว่าปีก่อน ในยุคที่เรามีความรู้เรื่อง molecular biology มากขึ้นและมีคนนำเอาความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอและยีนมาใช้อธิบายวิวัฒนาการระดับโมเลกุล molecular evolution ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งมากชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ชื่อ โมโต้ คิมูร่า เสนอทฤษฎีเรื่อง neutral theory of molecular evolution ขึ้น ซึ่งไม่ได้ปฏิเสธแนวคิด selection ของดาร์วิน แต่บอกว่า selection นั้นกระทำในระดับ phenotype ของลักษณะรูปร่างภายนอกของสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าในระดับยีนนั้น เค้าเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ได้รับผลกระทบจาก selection แต่มันจะคงที่อยู่อย่างนั้นอย่างเป็นกลาง โดยยีนที่เราเป็นตัวกลายพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกไว้แค่กลางๆ เท่านั้น (selectively neutral mutant) ไม่ได้เน้นว่าคัดเลือกทิ้ง หรือคัดเลือกเก็บ ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับความถี่ยีนได้นั้น เค้ายกให้กับ random genetic drift ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ประชากรลดจำนวนลงมากกว่า
ทฤษฎีของคิมูร่านี้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมาก มีทั้งคนเห็นด้วย (พวก neutralist ) และไม่เห็นด้วย ปัญหาก็คือ ตัวอย่างของยีนที่เป็นไปตาม neutral hypothesis นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแค่พวก intron ที่ไม่ได้มีการคัดเลือกใดๆ มากระทำ (อาจนับรวมถึงพวก non-coding gene อื่นๆ เช่น spacer หรือแม้แต่ ribosomal DNA) แต่ในกรณีของยีนที่ code ให้โปรตีนนั้น ชัดเจนว่ามีจำนวนมากที่เราพบแล้วว่าถูกคัดเลือกไว้
ด้วยเหตุนี้ทฤษฎี neutral theory ก็ได้รับการปรับปรุงมาเป็น nearly-neutral theory ในยุคหลังปี 2000 ไปแล้ว
เอาเป็นว่าช่วงที่ดาร์วินเสนอทฤษฎี natural selection จะเป็นที่ยอมรับไปทั่วนั้น คนที่เชื่อตามนี้ส่วนใหญ่จะนับว่าเป็นพวก selectionist คือเชื่อว่าการคัดเลือกหรือ selection นั่นเป็นกลไกหลักของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
แต่มาในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน ความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์เชิง Mendel ก็มีมากขึ้นและทำให้เราเข้าใจถึงการมียีนเป็นหน่วยเดี่ยวทางพันธุกรรม และการมี allele ที่แตกต่างกันในหนึ่งยีน (หรือหนึ่ง locus) ซึ่งเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์หรือ mutation ทำให้เกิดการตีความแนวคิดวิวัฒนาการใหม่ว่าเกิดจากความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ genetic variation เป็นหลัก คนที่เชื่อในเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นพวก mutationist
แล้วก็มายุคกลางที่หลายๆ คนเคยเรียนกันเกี่ยวกับ micro evolution หรือวิวัฒนาการระดับจุลภาค เมื่อเราเอาความรู้ด้านพันธุศาสตร์ประชากร population genetics มาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพันธุกรรมภายในประชากรของสปีชีส์หนึ่งๆ โดยทำให้เราเห็นภาพว่าจริงๆ แล้ว ประชากรถูกทั้ง mutation และ selection กระทำอยู่ตลอดเวลา แต่การที่เราเห็นค่าความถี่ยีนคงที่อยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น ก็เกิดจากสมดุลที่มีต่อกันระหว่าง mutation กับ selection ในเวลานั้น
ต่อเมื่อประชากรเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนของประชากร ด้วยเหตุผลต่างๆ (ไม่ว่าจะ mutation selection migration หรือ genetic drift) ก็จะทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ speciation ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ในที่สุด
ที่นี้ เมื่อช่วง 30-40 กว่าปีก่อน ในยุคที่เรามีความรู้เรื่อง molecular biology มากขึ้นและมีคนนำเอาความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอและยีนมาใช้อธิบายวิวัฒนาการระดับโมเลกุล molecular evolution ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งมากชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ชื่อ โมโต้ คิมูร่า เสนอทฤษฎีเรื่อง neutral theory of molecular evolution ขึ้น ซึ่งไม่ได้ปฏิเสธแนวคิด selection ของดาร์วิน แต่บอกว่า selection นั้นกระทำในระดับ phenotype ของลักษณะรูปร่างภายนอกของสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าในระดับยีนนั้น เค้าเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ได้รับผลกระทบจาก selection แต่มันจะคงที่อยู่อย่างนั้นอย่างเป็นกลาง โดยยีนที่เราเป็นตัวกลายพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกไว้แค่กลางๆ เท่านั้น (selectively neutral mutant) ไม่ได้เน้นว่าคัดเลือกทิ้ง หรือคัดเลือกเก็บ ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับความถี่ยีนได้นั้น เค้ายกให้กับ random genetic drift ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ประชากรลดจำนวนลงมากกว่า
ทฤษฎีของคิมูร่านี้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมาก มีทั้งคนเห็นด้วย (พวก neutralist ) และไม่เห็นด้วย ปัญหาก็คือ ตัวอย่างของยีนที่เป็นไปตาม neutral hypothesis นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแค่พวก intron ที่ไม่ได้มีการคัดเลือกใดๆ มากระทำ (อาจนับรวมถึงพวก non-coding gene อื่นๆ เช่น spacer หรือแม้แต่ ribosomal DNA) แต่ในกรณีของยีนที่ code ให้โปรตีนนั้น ชัดเจนว่ามีจำนวนมากที่เราพบแล้วว่าถูกคัดเลือกไว้
ด้วยเหตุนี้ทฤษฎี neutral theory ก็ได้รับการปรับปรุงมาเป็น nearly-neutral theory ในยุคหลังปี 2000 ไปแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ใครเข้าใจ ทฤษฏีความเป็นกลาง Neutral Theory ของคิมูระ มั้งคะ???
จะโต้วาทีกับ ทฤษฏีการคัดเลือกทางธรรมชาติ ของชาร์ล ดาร์วิน อะค่ะ
ขอความช่วยเหลือ พี่ๆ เพื่อนๆ ห้องหว้ากอ หน่อยนะคะ ^^