updated: 11 ม.ค. 2556 เวลา 17:18:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง" หนังสือชี้แจง จาก ท่านว. วชิรเมธี ระบุถึงผู้เข้าใจผิดกรณีวลีจำเลย ฆ่าเวลา บาปยิ่งการฆ่าคน นั้นมีความเพี้ยนไปไกลเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
หนังสือ "ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง" เล่มนี้ มี 48 หน้า จัดทำโดยสถาบันวิมุตยาลัย ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 มีคำปรารภโดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือนามปากกา ว.วชิรเมธี ดังนี้
เวลาสองปีมานี้ (2554-2555) มีผู้นำเอาข้อเขียนและคำพูดของผู้เขียนในหลายเรื่อง หลายประเด็น ไปตีความให้ผิดเพี้ยนออกไปจากความเป็นจริงหลายเรื่อง บางเรื่องก็เพี้ยนน้อย บางเรื่องก็เพี้ยนมาก แต่บางเรื่องก็ทั้งเพี้ยนและทั้งเพิ่ม (ทัศนคติของคนอื่นเข้ามาปลอมปนบางรายก็เลยไปขั้นบิดเบือน) จนแทบไม่เหลือเค้าความหมายเดิมให้แลเห็น
เช่น คำบรรยายเรื่องการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของเวลา ที่ผู้เขียนมักนำมาเทศก์หรือเขียนอยู่บ่อยๆ ว่า เรามีเวลาจำกัด แล้วก็มักจะกล่าวเชิงอุปมาว่า
"การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่การฆ่าเวลาเป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่านั้น" ซึ่งต่อมามีบางคนไปตัดทอนให้เหลือสั้นๆ ว่า
"ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" เป็นต้น วลีทั้งสองนี้ ถ้าอ่านด้วยใจเป็นธรรมก็จะทราบเจตนารมณ์ชัดเจนว่า กำลังพูดถึงเรื่องการใช้เวลาไม่คุ้มอย่างที่เราเรียกกันว่า "การฆ่าเวลา" นั่นเอง
แต่ต่อมามีผู้นำไปบิดเบือนให้เสียหายจนกลายเป็นว่า ผู้เขียนยุยงให้คนไทยลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง จากนั้นก็ใส่สีตีไข่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกล่าวได้ว่า เพี้ยนออกไปไกลจนเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิกก็ว่าได้ ผู้เขียนเห็นว่า หากไม่เขียนอะไรชี้แจงเอาไว้บ้าง ต่อไปก็คงจะมีคนเข้าใจผิดกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นการประทุษร้ายทางปัญญาแก่ประชาชน และจะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อตัวผู้เขียนโดยตรงอีกด้วย
ดังนั้น เมื่อมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาสัมภาษณ์ประกอบการเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนจึงขอให้นักศึกษากลุ่มเดิมนั้นถอดเทปการสนทนา นำมาเรียบเรียงเพิ่มเติมนิดหน่อย แล้วอนุญาตให้ศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์เผยแผ่เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในระยะยาวสืบไป
ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ผู้เขียนมิได้ระบุเจาะจงถึงตัวบุคคลผู้ใดเป็นพิเศษ เมื่อพูดถึงการทำงานของบุคคลก็พึงทราบว่า เป็นการพูดอย่างกว้างๆ เพื่อหวังผลต่อสาธารณะเป็นสำคัญ หวังว่า เมื่อได้ทำความเข้าใจร่วมกันไว้อย่างที่่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้แล้ว ใครต่อใครที่เคยเข้าใจอะไรผิดๆ ก็คงจะได้มองเห็นอีกด้านหนึ่งของข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและหันมาช่วยกันสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญาก้าวพ้นสังคมอุดมความเห็นกันได้ในวันหนึ่งข้างหน้าเสียทีหากสิ่งที่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้มีบางถ้อยกระทงความไปกระทบกระทั่งผู้ใดหรือใครก็ตาม (หากจะพึงมีอยู่บ้าง) ผู้เขียนก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
สำหรับเนื้อหาภายในหนังสือได้นำคำสอนของ พระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง หาความรู้ ก่อนเชิดชูความเห็น มีบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และคำสอนต่างๆ ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มดังกล่าวมีไฮไลท์อยู่ที่ ปุจฉา-วิสัชนา ระหว่างนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และ พระมหาวุฒิชัย เรื่อง วลี "ฆ่าเวลา บาปยิ่งการฆ่าคน"
พระมหาวุฒิชัย อธิบายว่าเกิดความเข้าใจผิดไปไกลเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และก่อนจะตอบคำถามนั้น ท่านว.ขอให้อ่านบทความชื่อ "มายาการของหลอดด้าย" ซึ่งเป็นบทความที่ท่านว. เคยเขียนไว้เมื่อประมาณปีพ.ศ.2550 เป็นบทความที่สอนให้คนเข้าใจ "คุณค่าของเวลา"
จากนั้น พระมหาวุฒิชัย ก็ตอบคำถามว่า ข้อความที่แท้จริงนั้นมาจากคำสอนของพระที่สอนว่า การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่ตัวผู้เขียนนั้นได้อุปมาอีกว่า การฆ่าเวลาต่างหากที่เป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่า เพราะเมื่อคุณฆ่าสัตว์ หากสำนึกได้ คุณก็อาจจะไปหาสัตว์มาปล่อยเอาบุญ แต่หากคุณฆ่าเวลาด้วยวิธีใดก็ตาม ถึงแม้คุณจะสำนึกผิด กลับมาเห็นคุณค่าของเวลา ทว่าก้ไม่สามารถย้อนเวลาที่ผ่านไปแล้วให้หวนคืนมาได้ เป็นการมุ่งเน้นปลุกให้คนตื่นขึ้นมาเห็นคุณค่าของเวลา
ส่วนกรณีวลี
"ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" นั้น
เป็นเรื่องที่ในเวลาต่อมามีอาสาสมัครงานธรรมะคัดข้อความไปเผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ แต่ด้วยอักษรที่ถูกจำกัดเพียง 140 คำ อาสาสมัครผู้นั้นจึงเขียนลงไปว่า "ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" แต่อย่างไรก็ตามหากลองอ่านให้ดี ไม่ได้บอกว่าฆ่าคนไม่บาป แต่สามารถตีความได้ว่า "ฆ่าคนก็บาป ฆ่าเวลาก็บาป" บาปในที่นี้ไม่ใช่บาปในความหมายเดียวกับการฆ่าคน แต่เป็นการพูดเพื่อ"กระตุก"ให้ตื่นมาเห็นความสำคัญของเวลา และกล่าวอุปมาว่าฆ่าเวลาบาปมากกว่า ก็เพราะคนเราอาจเผลอฆ่าเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ค่าได้วันหนึ่งๆ นับร้อยครั้งพันครั้ง
และยังวิสัชนาเพิ่มเติมว่า ความเข้าใจผิดเกิดจาก ใครบางคนได้อ่านข้อความเหล่านี้เข้า แล้วไม่สนใจหาความรู้เพิ่มเติมว่าข้อความแท้ๆ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร กล่าวในบริบทไหน หรือข้อความที่ตัดทอนใหม่ มีความหมายระหว่างบรรทัดอย่างไร
แล้วอธิบายอีกว่า การฆ่าสัตว์ ฆ่าคนนั้นเป็นบาปอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องกระทำกันง่ายๆ คนปกติที่ไหน ก็ไม่มีใครลุกขึ้นมาฆ่าคนทั้งนั้น จะมีก็แต่คนไม่ปกติเท่านั้น ส่วนการ "ฆ่าเวลา" เกิดขึ้นได้ทุกวัน ที่ว่าฆ่าเวลาเป็นบาปก็เพราะเราทำกันทุกวันโดยไม่รู้สึกตัว
ความหมายของคำว่า "ฆ่าเวลา" ก็หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเผลอประมาท ขาดสติ พร่าผลาญเวลาไปอย่างไร้ค่า ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โสตถิผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พร่าเวลาไปกับการนินทาว่าร้ายคนอื่น พร่าเวลาไปกับการดื่มสุรา เสพยาเสพติด พร่าเวลาไปกับการจมอยู่ในอบายมุขจนลืมวันลืมคืน หรือพร่าเวลาไปกับการบันเทิงเริงรมย์ในโลกโลกีย์จนไม่สนใจว่า จะพัฒนาชีวิตของตัวเองให้พ้นไปจากการดำรงอยู่ด้วยสัญชาตญาณกิน ดื่ม สืบพันธุ์ ได้อย่างไร ก็เท่ากับว่า เรากำลัง"ฆ่าเวลา"
---
ข้อมูลเชิงอรรถ
1. การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่การฆ่าเวลาเป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่านั้น = 57 คำ
2. การฆ่าเวลา บาปไม่น้อยไปกว่าการฆ่าคน ว.วชิรเมธี = 46 คำ
3. Time killing is more sin than no kill human being. ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน = 77 คำ
ท่าน "ว.วชิรเมธี" ขอเคลียร์ ออกหนังสือ "ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง"
updated: 11 ม.ค. 2556 เวลา 17:18:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง" หนังสือชี้แจง จาก ท่านว. วชิรเมธี ระบุถึงผู้เข้าใจผิดกรณีวลีจำเลย ฆ่าเวลา บาปยิ่งการฆ่าคน นั้นมีความเพี้ยนไปไกลเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
หนังสือ "ชำระความเชื่อ เพื่อเอื้อความจริง" เล่มนี้ มี 48 หน้า จัดทำโดยสถาบันวิมุตยาลัย ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 มีคำปรารภโดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือนามปากกา ว.วชิรเมธี ดังนี้
เวลาสองปีมานี้ (2554-2555) มีผู้นำเอาข้อเขียนและคำพูดของผู้เขียนในหลายเรื่อง หลายประเด็น ไปตีความให้ผิดเพี้ยนออกไปจากความเป็นจริงหลายเรื่อง บางเรื่องก็เพี้ยนน้อย บางเรื่องก็เพี้ยนมาก แต่บางเรื่องก็ทั้งเพี้ยนและทั้งเพิ่ม (ทัศนคติของคนอื่นเข้ามาปลอมปนบางรายก็เลยไปขั้นบิดเบือน) จนแทบไม่เหลือเค้าความหมายเดิมให้แลเห็น
เช่น คำบรรยายเรื่องการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของเวลา ที่ผู้เขียนมักนำมาเทศก์หรือเขียนอยู่บ่อยๆ ว่า เรามีเวลาจำกัด แล้วก็มักจะกล่าวเชิงอุปมาว่า "การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่การฆ่าเวลาเป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่านั้น" ซึ่งต่อมามีบางคนไปตัดทอนให้เหลือสั้นๆ ว่า "ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" เป็นต้น วลีทั้งสองนี้ ถ้าอ่านด้วยใจเป็นธรรมก็จะทราบเจตนารมณ์ชัดเจนว่า กำลังพูดถึงเรื่องการใช้เวลาไม่คุ้มอย่างที่เราเรียกกันว่า "การฆ่าเวลา" นั่นเอง
แต่ต่อมามีผู้นำไปบิดเบือนให้เสียหายจนกลายเป็นว่า ผู้เขียนยุยงให้คนไทยลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง จากนั้นก็ใส่สีตีไข่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกล่าวได้ว่า เพี้ยนออกไปไกลจนเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิกก็ว่าได้ ผู้เขียนเห็นว่า หากไม่เขียนอะไรชี้แจงเอาไว้บ้าง ต่อไปก็คงจะมีคนเข้าใจผิดกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นการประทุษร้ายทางปัญญาแก่ประชาชน และจะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อตัวผู้เขียนโดยตรงอีกด้วย
ดังนั้น เมื่อมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาสัมภาษณ์ประกอบการเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนจึงขอให้นักศึกษากลุ่มเดิมนั้นถอดเทปการสนทนา นำมาเรียบเรียงเพิ่มเติมนิดหน่อย แล้วอนุญาตให้ศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์เผยแผ่เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในระยะยาวสืบไป
ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ผู้เขียนมิได้ระบุเจาะจงถึงตัวบุคคลผู้ใดเป็นพิเศษ เมื่อพูดถึงการทำงานของบุคคลก็พึงทราบว่า เป็นการพูดอย่างกว้างๆ เพื่อหวังผลต่อสาธารณะเป็นสำคัญ หวังว่า เมื่อได้ทำความเข้าใจร่วมกันไว้อย่างที่่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้แล้ว ใครต่อใครที่เคยเข้าใจอะไรผิดๆ ก็คงจะได้มองเห็นอีกด้านหนึ่งของข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและหันมาช่วยกันสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญาก้าวพ้นสังคมอุดมความเห็นกันได้ในวันหนึ่งข้างหน้าเสียทีหากสิ่งที่ปรากฎในหนังสือเล่มนี้มีบางถ้อยกระทงความไปกระทบกระทั่งผู้ใดหรือใครก็ตาม (หากจะพึงมีอยู่บ้าง) ผู้เขียนก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
สำหรับเนื้อหาภายในหนังสือได้นำคำสอนของ พระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง หาความรู้ ก่อนเชิดชูความเห็น มีบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และคำสอนต่างๆ ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มดังกล่าวมีไฮไลท์อยู่ที่ ปุจฉา-วิสัชนา ระหว่างนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และ พระมหาวุฒิชัย เรื่อง วลี "ฆ่าเวลา บาปยิ่งการฆ่าคน"
พระมหาวุฒิชัย อธิบายว่าเกิดความเข้าใจผิดไปไกลเลยอ่าวไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และก่อนจะตอบคำถามนั้น ท่านว.ขอให้อ่านบทความชื่อ "มายาการของหลอดด้าย" ซึ่งเป็นบทความที่ท่านว. เคยเขียนไว้เมื่อประมาณปีพ.ศ.2550 เป็นบทความที่สอนให้คนเข้าใจ "คุณค่าของเวลา"
จากนั้น พระมหาวุฒิชัย ก็ตอบคำถามว่า ข้อความที่แท้จริงนั้นมาจากคำสอนของพระที่สอนว่า การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่ตัวผู้เขียนนั้นได้อุปมาอีกว่า การฆ่าเวลาต่างหากที่เป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่า เพราะเมื่อคุณฆ่าสัตว์ หากสำนึกได้ คุณก็อาจจะไปหาสัตว์มาปล่อยเอาบุญ แต่หากคุณฆ่าเวลาด้วยวิธีใดก็ตาม ถึงแม้คุณจะสำนึกผิด กลับมาเห็นคุณค่าของเวลา ทว่าก้ไม่สามารถย้อนเวลาที่ผ่านไปแล้วให้หวนคืนมาได้ เป็นการมุ่งเน้นปลุกให้คนตื่นขึ้นมาเห็นคุณค่าของเวลา
ส่วนกรณีวลี "ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" นั้น เป็นเรื่องที่ในเวลาต่อมามีอาสาสมัครงานธรรมะคัดข้อความไปเผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ แต่ด้วยอักษรที่ถูกจำกัดเพียง 140 คำ อาสาสมัครผู้นั้นจึงเขียนลงไปว่า "ฆ่าเวลา บาปยิ่งกว่าฆ่าคน" แต่อย่างไรก็ตามหากลองอ่านให้ดี ไม่ได้บอกว่าฆ่าคนไม่บาป แต่สามารถตีความได้ว่า "ฆ่าคนก็บาป ฆ่าเวลาก็บาป" บาปในที่นี้ไม่ใช่บาปในความหมายเดียวกับการฆ่าคน แต่เป็นการพูดเพื่อ"กระตุก"ให้ตื่นมาเห็นความสำคัญของเวลา และกล่าวอุปมาว่าฆ่าเวลาบาปมากกว่า ก็เพราะคนเราอาจเผลอฆ่าเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ค่าได้วันหนึ่งๆ นับร้อยครั้งพันครั้ง
และยังวิสัชนาเพิ่มเติมว่า ความเข้าใจผิดเกิดจาก ใครบางคนได้อ่านข้อความเหล่านี้เข้า แล้วไม่สนใจหาความรู้เพิ่มเติมว่าข้อความแท้ๆ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร กล่าวในบริบทไหน หรือข้อความที่ตัดทอนใหม่ มีความหมายระหว่างบรรทัดอย่างไร
แล้วอธิบายอีกว่า การฆ่าสัตว์ ฆ่าคนนั้นเป็นบาปอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องกระทำกันง่ายๆ คนปกติที่ไหน ก็ไม่มีใครลุกขึ้นมาฆ่าคนทั้งนั้น จะมีก็แต่คนไม่ปกติเท่านั้น ส่วนการ "ฆ่าเวลา" เกิดขึ้นได้ทุกวัน ที่ว่าฆ่าเวลาเป็นบาปก็เพราะเราทำกันทุกวันโดยไม่รู้สึกตัว
ความหมายของคำว่า "ฆ่าเวลา" ก็หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเผลอประมาท ขาดสติ พร่าผลาญเวลาไปอย่างไร้ค่า ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โสตถิผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พร่าเวลาไปกับการนินทาว่าร้ายคนอื่น พร่าเวลาไปกับการดื่มสุรา เสพยาเสพติด พร่าเวลาไปกับการจมอยู่ในอบายมุขจนลืมวันลืมคืน หรือพร่าเวลาไปกับการบันเทิงเริงรมย์ในโลกโลกีย์จนไม่สนใจว่า จะพัฒนาชีวิตของตัวเองให้พ้นไปจากการดำรงอยู่ด้วยสัญชาตญาณกิน ดื่ม สืบพันธุ์ ได้อย่างไร ก็เท่ากับว่า เรากำลัง"ฆ่าเวลา"
---
ข้อมูลเชิงอรรถ
1. การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่การฆ่าเวลาเป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่านั้น = 57 คำ
2. การฆ่าเวลา บาปไม่น้อยไปกว่าการฆ่าคน ว.วชิรเมธี = 46 คำ
3. Time killing is more sin than no kill human being. ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน = 77 คำ