กรมการแพทย์ เผย บริษัทเอกชนจัดอบรมแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ เอง ชี้ไม่ได้มาตรฐาน แก้เกมเสนอเกณฑ์พิจารณาแพทย์ประกอบกิจการคลินิกผิวพรรณถึง 3 ระดับ ลงใน MOU “การกำกับดูแลสถานพยาบาล” ลั่นทุกระดับต้องมีเอกสารฝึกอบรมจากสถาบันที่แพทยสภารับรอง หวังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางดำเนินคดีทางกฎหมาย หากพบการกระทำความผิด
วันนี้ (10 ม.ค.) ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การกำกับดูแลสถานพยาบาล” ระหว่าง กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สธ.ทั้งด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการใช้บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับสถานพยาบาล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการบริหารยาและเวชภัณฑ์คงคลัง ให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย สะดวกรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ
นายพสิษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการบูรณาการในการปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ประสานความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้ในการดำเนินการกำกับดูแลสถานพยาบาล 2.กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในสถานพยาบาล ได้แก่ ยา วัตถุเสพติด อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และ 3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้บริโภค
ด้าน นพ.จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กรมการแพทย์ได้เสนอเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบการคลินิกผิวหนังและคลินิกผิวพรรณ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินและพิจารณาสถานประกอบการวิชาชีพเวชกรรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะพิจารณาประเภทของแพทย์ผู้ประกอบกิจการ 3 ระดับ ดังนี้ 1.แพทย์ผู้ประกอบกิจการ จะต้องมีวุฒิบัตรสาขาตจวิทยา หรือ ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรสองปีขึ้นไป จากสถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการให้การรักษา และการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารแสดงตัวแพทย์ผู้ทำการรักษา ได้รับการฝึกใช้จากสถาบันตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ที่มีทั้งหมด 5 หน่วยงาน คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.พระมงกุฏ และสถาบันโรคผิวหนัง
นพ.จิโรจ กล่าวอีกว่า 2.แพทย์ที่ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรหนึ่งปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงสองปี จากสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรอง จะต้องได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มโบทูลินัม ท็อกซิน (โบท็อกซ์) หรือฟิลเลอร์ และต้องมีเอกสารรับรองการฝึกใช้เครื่องมือหรือยาฉีดดังกล่าวจากสถานฝึกอบรมตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา และ 3.แพทย์ที่ไม่เคยได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หรือเคยได้รับประกาศนียบัตร ในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หลักสูตรน้อยกว่าหนึ่งปี หากรักษาโดยใช้โบท็อกซ์ หรือฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดจากบริษัทผู้จำหน่าย และต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มดังกล่าวจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
“ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา แพทย์ที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถผ่าได้ตั้งแต่หัวถึงเท้า แต่แพทย์ที่จบทุกวันนี้ทำงานไม่ครบ 1 ปี ก็ถูกซื้อตัวจากคลินิกความงาม ทั้งที่ไม่มีความรู้เรื่องผิวหนัง มีเพียงแต่ทำยอดให้ได้ตามสั่ง รวมถึงไม่รู้จริงในการแก้ไขโรค เช่น เจอความผิดปกติบนใบหน้า ก็วินิจฉัยว่า เป็นสิวหรือเป็นฝ้าไปทั้งหมด หรือพูดเรื่องสเต็มเซลล์ ฉีดกลับไปที่หน้าบ้าง ใช้อะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ทำให้วงการแพทย์ไม่สบายใจ และอยากให้ใช้มาตรฐานการอบรมตามสถานที่ได้รับการฝึกอบรมของแพทยสภา มาเป็นมาตรฐานในการประกอบกิจการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังต้องมีการหารือกับแพทยสภา เพื่อกำหนดในการออกใบประกอบโรคศิลป์ต่อไป” รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.จิโรจ กล่าวด้วยว่า รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยในการดูแลเรื่องของการเป็นสถานพยาบาล และคลินิกเถื่อน โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางรักษา ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีการอบรมกันเองจากบริษัทเอกชนที่จัดทำฟิลเลอร์ หรือโบท็อกซ์ ซึ่งบางครั้งอบรมเพียงไม่กี่วัน แล้วแจกประกาศนียบัตรไปแขวน ทำให้ขาดมาตรฐาน เพราะฉะนั้น เมื่อหลักเกณฑ์ที่กรมการแพทย์เสนอได้นำไปบรรจุอยู่ใน MOU แล้ว ก็จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามกฎหมายความควบคุมของแต่ละหน่วยงานได้ทันที
อภัยลืมแปะลิ้งครับ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000003823
เล็งทำเกณฑ์จัดระดับแพทย์ผิวหนัง ดัดหลัง บ.เอกชนแอบจัดอบรม
วันนี้ (10 ม.ค.) ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การกำกับดูแลสถานพยาบาล” ระหว่าง กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สธ.ทั้งด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการใช้บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับสถานพยาบาล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการบริหารยาและเวชภัณฑ์คงคลัง ให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย สะดวกรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ
นายพสิษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการบูรณาการในการปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ประสานความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้ในการดำเนินการกำกับดูแลสถานพยาบาล 2.กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในสถานพยาบาล ได้แก่ ยา วัตถุเสพติด อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และ 3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้บริโภค
ด้าน นพ.จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กรมการแพทย์ได้เสนอเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบการคลินิกผิวหนังและคลินิกผิวพรรณ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินและพิจารณาสถานประกอบการวิชาชีพเวชกรรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะพิจารณาประเภทของแพทย์ผู้ประกอบกิจการ 3 ระดับ ดังนี้ 1.แพทย์ผู้ประกอบกิจการ จะต้องมีวุฒิบัตรสาขาตจวิทยา หรือ ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรสองปีขึ้นไป จากสถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการให้การรักษา และการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารแสดงตัวแพทย์ผู้ทำการรักษา ได้รับการฝึกใช้จากสถาบันตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ที่มีทั้งหมด 5 หน่วยงาน คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.พระมงกุฏ และสถาบันโรคผิวหนัง
นพ.จิโรจ กล่าวอีกว่า 2.แพทย์ที่ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรหนึ่งปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงสองปี จากสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรอง จะต้องได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มโบทูลินัม ท็อกซิน (โบท็อกซ์) หรือฟิลเลอร์ และต้องมีเอกสารรับรองการฝึกใช้เครื่องมือหรือยาฉีดดังกล่าวจากสถานฝึกอบรมตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา และ 3.แพทย์ที่ไม่เคยได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หรือเคยได้รับประกาศนียบัตร ในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หลักสูตรน้อยกว่าหนึ่งปี หากรักษาโดยใช้โบท็อกซ์ หรือฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดจากบริษัทผู้จำหน่าย และต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มดังกล่าวจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
“ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา แพทย์ที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถผ่าได้ตั้งแต่หัวถึงเท้า แต่แพทย์ที่จบทุกวันนี้ทำงานไม่ครบ 1 ปี ก็ถูกซื้อตัวจากคลินิกความงาม ทั้งที่ไม่มีความรู้เรื่องผิวหนัง มีเพียงแต่ทำยอดให้ได้ตามสั่ง รวมถึงไม่รู้จริงในการแก้ไขโรค เช่น เจอความผิดปกติบนใบหน้า ก็วินิจฉัยว่า เป็นสิวหรือเป็นฝ้าไปทั้งหมด หรือพูดเรื่องสเต็มเซลล์ ฉีดกลับไปที่หน้าบ้าง ใช้อะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ทำให้วงการแพทย์ไม่สบายใจ และอยากให้ใช้มาตรฐานการอบรมตามสถานที่ได้รับการฝึกอบรมของแพทยสภา มาเป็นมาตรฐานในการประกอบกิจการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังต้องมีการหารือกับแพทยสภา เพื่อกำหนดในการออกใบประกอบโรคศิลป์ต่อไป” รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.จิโรจ กล่าวด้วยว่า รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยในการดูแลเรื่องของการเป็นสถานพยาบาล และคลินิกเถื่อน โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางรักษา ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีการอบรมกันเองจากบริษัทเอกชนที่จัดทำฟิลเลอร์ หรือโบท็อกซ์ ซึ่งบางครั้งอบรมเพียงไม่กี่วัน แล้วแจกประกาศนียบัตรไปแขวน ทำให้ขาดมาตรฐาน เพราะฉะนั้น เมื่อหลักเกณฑ์ที่กรมการแพทย์เสนอได้นำไปบรรจุอยู่ใน MOU แล้ว ก็จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามกฎหมายความควบคุมของแต่ละหน่วยงานได้ทันที
อภัยลืมแปะลิ้งครับ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000003823