กสทช.เตรียมเปิดประมูล USO ส.ค.-ก.ย.นี้ นำร่อง 2 จังหวัด “หนอยคาย-พิษณุโลก” ภายใต้งบจังหวัดละ 250 ล้านบาท เบื้องต้นเสนอแผนเข้าบอร์ด 16 ม.ค.นี้ก่อนเปิดประชาพิจารณ์ต่อไป
พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีการประชุมวานนี้ (9 ม.ค.) โดยได้พิจารณาวาระการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) หลังจาก กสทช.เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ประจำปี 2555-2559 แล้ว ซึ่งในตอนนี้กำลังเตรียมปรับปรุงรายละเอียดของแผนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ กสทช.และเหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการใช้งานบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง
“ล่าสุด เราได้สรุปให้จังหวัดหนองคาย และจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดนำร่องแล้ว โดยกำหนดงบประมาณจังหวัดละ 250 ล้านบาท”
ขณะที่ในการประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีการเสนอแผนการสรุปร่างหลักเกณฑ์ยูเอสโอเข้าที่ประชุม หลังจากได้รับอนุมัติจากบอร์ดแล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การประชาพิจารณ์แผนสรุป USO ทันที ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ กสทช.จะสามารถเปิดให้เอกชนที่สนใจโครงการดังกล่าว เข้ามาประมูลเสนอราคาเพื่อรับงานไปดำเนินได้ ซึ่งต้องจัดให้มีบริการในความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำ 2 Mbps
แต่เดิมเป้าหมายของแผนแม่บท USO กสทช.จะนำร่องเปิดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง 2 แห่ง จากภาคเหนือ และอีสาน ซึ่งก็สรุปเป็นหนองคายกับพิษณุโลก จากเดิมกำหนดจังหวัดต้นแบบไว้ 4 แห่ง แต่ลดลงหลังทำประชาพิจารณ์ โดยแต่ละจังหวัดแบ่งพื้นที่เป็นเอ บี และซี ตามสภาพการตลาด และภูมิศาสตร์
ขณะเดียวกัน การจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ที่ชนะการประมูลโครงการ USO จะแบ่งออกเป็น 5 งวดได้แก่ 20% เมื่อมีการลงนามในข้อตกลงอุดหนุนการให้บริการ USO งวดที่ 2 จำนวน 30% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบ 40% งวดที่ 3 อีก 30% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบ 80% งวดที่ 4 อีก 15% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบสมบูรณ์ 100% ส่วนเงินอุดหนุนอีก 5% จะจ่ายเมื่อเปิดให้บริการตามเงื่อนไขครบ 1 ปี และมีคุณภาพความเร็วผ่านเกณฑ์ที่กสทช.กำหนดอย่าง
พล.อ.สุกิจกล่าวต่อว่า เบื้องต้น กสทช.ได้กำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์การให้บริการ USO แบ่งเป็น 3 โซน 1. พื้นที่เอ เป็นบริเวณที่มีผู้ประกอบการมาก ปริมาณความต้องการสูง หาลูกค้าได้ง่าย สร้างรายได้และกำไรได้ พื้นที่บี เป็นบริเวณที่มีศักยภาพเข้าไปทำตลาด มีปริมาณความต้องการของประชาชน แต่ยังไม่มีบริการเข้าไป และพื้นที่ซี คือ พื้นที่ที่ขาดแคลนด้านบริการโทรคมนาคมทุกประเภท แม้ความต้องการของประชาชนในพื้นที่จะมี แต่ไม่มีผู้ประกอบการเข้าไปทำตลาด เพราะจะประสบปัญหาขาดทุน
นอกจากนี้ การกำหนดราคากลางในการทำ USO ของแต่ละจังหวัด ได้จัดให้มีโมเดลต้นแบบ แต่ละจังหวัดต้องมีบริการใดบ้าง เช่น ต้องมีโทรศัพท์สาธารณะ โทรศัพท์ประจำที่ อินเทอร์เน็ตเท่าใด ซึ่งตัวเลข 250 ล้านบาทนี้ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เป็นผู้เสนอมา โดยประเมินจากศักยภาพและความขาดแคลนบริการโทรคมนาคม โดย กสทช.มีเป้าหมายที่จะให้คนไทยได้ใช้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงและครอบคลุม โดยบริการเสียงครอบคลุม 99% บริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมดภายใน 5 ปี จากปัจจุบันอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 35%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มกราคม 2556 23:37 น.
http://astv.mobi/AYyuj6I
Company Relate Link :
กสทช.
กสทช.เล็งประมูล “USO” ส.ค.นี้
พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีการประชุมวานนี้ (9 ม.ค.) โดยได้พิจารณาวาระการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) หลังจาก กสทช.เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ประจำปี 2555-2559 แล้ว ซึ่งในตอนนี้กำลังเตรียมปรับปรุงรายละเอียดของแผนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ กสทช.และเหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการใช้งานบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง
“ล่าสุด เราได้สรุปให้จังหวัดหนองคาย และจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดนำร่องแล้ว โดยกำหนดงบประมาณจังหวัดละ 250 ล้านบาท”
ขณะที่ในการประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีการเสนอแผนการสรุปร่างหลักเกณฑ์ยูเอสโอเข้าที่ประชุม หลังจากได้รับอนุมัติจากบอร์ดแล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การประชาพิจารณ์แผนสรุป USO ทันที ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ กสทช.จะสามารถเปิดให้เอกชนที่สนใจโครงการดังกล่าว เข้ามาประมูลเสนอราคาเพื่อรับงานไปดำเนินได้ ซึ่งต้องจัดให้มีบริการในความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำ 2 Mbps
แต่เดิมเป้าหมายของแผนแม่บท USO กสทช.จะนำร่องเปิดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง 2 แห่ง จากภาคเหนือ และอีสาน ซึ่งก็สรุปเป็นหนองคายกับพิษณุโลก จากเดิมกำหนดจังหวัดต้นแบบไว้ 4 แห่ง แต่ลดลงหลังทำประชาพิจารณ์ โดยแต่ละจังหวัดแบ่งพื้นที่เป็นเอ บี และซี ตามสภาพการตลาด และภูมิศาสตร์
ขณะเดียวกัน การจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ที่ชนะการประมูลโครงการ USO จะแบ่งออกเป็น 5 งวดได้แก่ 20% เมื่อมีการลงนามในข้อตกลงอุดหนุนการให้บริการ USO งวดที่ 2 จำนวน 30% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบ 40% งวดที่ 3 อีก 30% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบ 80% งวดที่ 4 อีก 15% เมื่อติดตั้งโครงข่ายครบสมบูรณ์ 100% ส่วนเงินอุดหนุนอีก 5% จะจ่ายเมื่อเปิดให้บริการตามเงื่อนไขครบ 1 ปี และมีคุณภาพความเร็วผ่านเกณฑ์ที่กสทช.กำหนดอย่าง
พล.อ.สุกิจกล่าวต่อว่า เบื้องต้น กสทช.ได้กำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์การให้บริการ USO แบ่งเป็น 3 โซน 1. พื้นที่เอ เป็นบริเวณที่มีผู้ประกอบการมาก ปริมาณความต้องการสูง หาลูกค้าได้ง่าย สร้างรายได้และกำไรได้ พื้นที่บี เป็นบริเวณที่มีศักยภาพเข้าไปทำตลาด มีปริมาณความต้องการของประชาชน แต่ยังไม่มีบริการเข้าไป และพื้นที่ซี คือ พื้นที่ที่ขาดแคลนด้านบริการโทรคมนาคมทุกประเภท แม้ความต้องการของประชาชนในพื้นที่จะมี แต่ไม่มีผู้ประกอบการเข้าไปทำตลาด เพราะจะประสบปัญหาขาดทุน
นอกจากนี้ การกำหนดราคากลางในการทำ USO ของแต่ละจังหวัด ได้จัดให้มีโมเดลต้นแบบ แต่ละจังหวัดต้องมีบริการใดบ้าง เช่น ต้องมีโทรศัพท์สาธารณะ โทรศัพท์ประจำที่ อินเทอร์เน็ตเท่าใด ซึ่งตัวเลข 250 ล้านบาทนี้ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เป็นผู้เสนอมา โดยประเมินจากศักยภาพและความขาดแคลนบริการโทรคมนาคม โดย กสทช.มีเป้าหมายที่จะให้คนไทยได้ใช้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงและครอบคลุม โดยบริการเสียงครอบคลุม 99% บริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมดภายใน 5 ปี จากปัจจุบันอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 35%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มกราคม 2556 23:37 น.
http://astv.mobi/AYyuj6I
Company Relate Link :
กสทช.