ทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการแผนงานรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน สสส. บอกว่า ในงานวันเด็กปีนี้ ไม่ควรแจกลูกอมและขนมหวานให้เด็ก เพราะข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการว่าด้วยน้ำตาลแห่งชาติ ระบุว่า แม้ตัวเลขของน้ำตาลที่นำไปใช้ในลูกอมไม่ได้สูงมาก แต่มีอัตราการใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น เห็นได้ว่าในลูกอม 1 เม็ด นอกจากน้ำตาลแล้วยังมีสี กลิ่น รส เป็นส่วนประกอบ ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นสารสังเคราะห์ และที่เหลือ 96-98% เป็นน้ำตาลทั้งหมด ซึ่งนอกจากทำให้ฟันผุแล้ว ยังเสี่ยงขาดสารอาหาร เป็นโรคอ้วน และเตี้ยด้วย
จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ปี 2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำรวจเด็กอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,740 คน พบว่าเด็กไทยอายุ 3 ขวบ ฟันผุร้อยละ 61.37 โดยฟันผุเฉลี่ย 3.21 ซี่ต่อคน และเด็กอายุ 5 ขวบ ฟันผุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.64 เฉลี่ย 5.43 ซี่ต่อคน ผลสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า เด็กชนบทมีฟันผุมากกว่าเด็กในเมือง และพบว่าเด็กไทยกินขนมกรุบกรอบทุกวันประมาณร้อยละ 30 และกินบางวันร้อยละ 42 ส่วนลูกอมมีเด็กกินทุกวัน ร้อยละ 15-20 และกินบางวัน ร้อยละ 42
เมื่อเปรียบเทียบการกินลูกอมและขนมกรุบกรอบจากการสำรวจเมื่อปี 2546 กับปี 2551-2552 ในเด็กอายุ 6-14 ปี พบว่า เมื่อปี 2546 เด็กกินขนมกรุบกรอบทุกวัน ร้อยละ 12 เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี 2551-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่เด็กกินลูกอมทุกวัน ร้อยละ 10.3 เมื่อปี 2546 เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2551-2552 หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ขณะเดียวกันข้อมูลการสำรวจจากเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน พบว่า เด็กเริ่มกินขนมตั้งแต่ 8.5 เดือน เพราะพ่อแม่และคนเลี้ยงซื้อให้กิน เพื่อตัดปัญหาร้องงอแง ทั้งนี้ ขนมกรุบกรอบมักจะมีไขมันและโซเดียมเกินค่ามาตรฐานอาหารว่างที่แนะนำ ลูกอมมีน้ำตาลเกิน ถ้ากินเกิน 2 เม็ด
การกินน้ำตาล 1 ครั้ง จะเกิดกรดที่ทำลายฟันนาน 40 นาที จากนั้นจะกลับสู่สภาพปกติได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการกินบ่อยๆ เช่น การกินทุกชั่วโมง จะทำให้ฟันแช่อยู่ในกรดตลอดเวลา ทำให้ฟันผุเกิดขึ้นได้รวดเร็วและรุนแรง
ฉะนั้น! ถ้ารักเด็กก็ไม่ควรทำร้ายเด็ก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357722416&grpid=&catid=09&subcatid=0901
วันเด็กไม่ใช่จะตามใจเด็กไปเสียทุกอย่าง ควรดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆ
ถ้ารักเด็ก อย่าแจกลูกอม วันเสาร์ที่ 12 มกราคม 56
จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ปี 2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำรวจเด็กอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,740 คน พบว่าเด็กไทยอายุ 3 ขวบ ฟันผุร้อยละ 61.37 โดยฟันผุเฉลี่ย 3.21 ซี่ต่อคน และเด็กอายุ 5 ขวบ ฟันผุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.64 เฉลี่ย 5.43 ซี่ต่อคน ผลสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า เด็กชนบทมีฟันผุมากกว่าเด็กในเมือง และพบว่าเด็กไทยกินขนมกรุบกรอบทุกวันประมาณร้อยละ 30 และกินบางวันร้อยละ 42 ส่วนลูกอมมีเด็กกินทุกวัน ร้อยละ 15-20 และกินบางวัน ร้อยละ 42
เมื่อเปรียบเทียบการกินลูกอมและขนมกรุบกรอบจากการสำรวจเมื่อปี 2546 กับปี 2551-2552 ในเด็กอายุ 6-14 ปี พบว่า เมื่อปี 2546 เด็กกินขนมกรุบกรอบทุกวัน ร้อยละ 12 เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี 2551-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่เด็กกินลูกอมทุกวัน ร้อยละ 10.3 เมื่อปี 2546 เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2551-2552 หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ขณะเดียวกันข้อมูลการสำรวจจากเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน พบว่า เด็กเริ่มกินขนมตั้งแต่ 8.5 เดือน เพราะพ่อแม่และคนเลี้ยงซื้อให้กิน เพื่อตัดปัญหาร้องงอแง ทั้งนี้ ขนมกรุบกรอบมักจะมีไขมันและโซเดียมเกินค่ามาตรฐานอาหารว่างที่แนะนำ ลูกอมมีน้ำตาลเกิน ถ้ากินเกิน 2 เม็ด
การกินน้ำตาล 1 ครั้ง จะเกิดกรดที่ทำลายฟันนาน 40 นาที จากนั้นจะกลับสู่สภาพปกติได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการกินบ่อยๆ เช่น การกินทุกชั่วโมง จะทำให้ฟันแช่อยู่ในกรดตลอดเวลา ทำให้ฟันผุเกิดขึ้นได้รวดเร็วและรุนแรง
ฉะนั้น! ถ้ารักเด็กก็ไม่ควรทำร้ายเด็ก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357722416&grpid=&catid=09&subcatid=0901
วันเด็กไม่ใช่จะตามใจเด็กไปเสียทุกอย่าง ควรดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆ