ให้ข้าราชการมาทำงานวันสิ้นปีเพื่อหลีกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดา พฤติกรรมแบบนี้ไม่ควรเกิดเป็นคนไทย

ตั้งกระทู้นี้มา 5 - 6 ปีแล้ว แต่ข้อกล่าวหาว่าให้ข้าราชการมาทำงานในวันสิ้นปีก็ยังอยู่(วันก่อนรายการตอบโจทย์ทนายพันธมิตรก็ยังเอาเรื่องนี้มากล่าวหาทักษิณ)  เลยเอามาให้อ่านกันอีกทีครับ ไม่ได้หวังว่าคนเกลียดจะเลิกเกลียด แต่หวังว่าผู้ที่มีใจเป็นกลางจะได้ข้อมูลอีกด้านไปพิจารณาครับ



http://topicstock.ppantip.com/rajdumnern/topicstock/2007/07/P5622071/P5622071.html






ข้อกล่าวหา




คัดลอกพอสังเขป

.
.
.


สนธิ - ข้อที่ 4 น่าสนใจมาก พอโอนเสร็จ รีบเร่งโอนที่ดินของกองทุนฯ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ เอื้อผู้ชนะประมูลไม่ต้องเสียภาษีมาก รวยยิ้มเลยนะ นี่ผมต้องขอพูดอย่างหยาบๆ นะ ยังโกงแม้กระทั่งค่าโอนที่ดินแค่ 10 กว่าล้าน ก็ยังไม่ยอมเสีย ผมจะบอกให้เป็นอย่างไร คือรัฐบาลเขาตั้งอัตราค่าธรรมเนียมการโอนที่เขาต้องการส่งเสริมการซื้อที่ดิน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เขาขยายระยะเวลามาจนถึงปลายปี 2546 แล้วก็ที่ดินผืนนี้ ถ้าโอนภายในปี 2546 ก็จะเสียภาษีแค่ 722,000 บาท ถ้าโอน 47 เสีย 2 เปอร์เซ็นต์ เสีย 15 ล้านบาท เห็นไหม กับแค่ 13-14 ล้านบาท อั๊วก็ไม่ยอมเสีย วิธีลื้อไม่ยอมเสียลื้อทำยังไง ก็ให้ผัวลื้อ ประกาศว่าวันพุธที่ 31 ธันวาคม
      
      สนธิ - จำได้หรือเปล่าพ่อแม่พี่น้อง มีอยู่ปีหนึ่ง พุธที่ 31 ธันวาคม 2546 บอกว่าไม่ใช่วันหยุด เป็นวันทำงาน ดูมันสิ เห็นหรือยัง เพื่อให้กรมที่ดินทำงาน อีจะได้โอนที่ดินให้คุณหญิงพจมาน โอนในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เห็นหรือยังพ่อแม่พี่น้อง ที่ดินที่ควรจะซื้อในราคากลางก็ไม่ยอมจ่าย ภาษีเล็กๆ น้อยๆ 10 กว่าล้าน ก็ไม่ยอมจ่าย มีเงิน 7-8 หมื่นล้าน ในประเทศ ซ่อนไว้เมืองนอกอีก 7-8 หมื่นล้าน เบ็ดเสร็จอีมีเงินแสนกว่าล้าน เงินแม้กระทั่งเล็กแค่นี้อียังไม่ยอมให้รัฐ จะเห็นได้ชัดลักษณะแบบนี้มีอยู่เรื่อง พี่น้องจำได้หรือเปล่า ถ้าพี่น้องเคยติดตามข่าว นายโอ๊ค พานทองแท้ เคยทำสวนสนุก จำได้ไหม ที่ใจกลางรัชดาฯ แล้วจำได้ไหมตอนที่อีทำอะไรเกิดขึ้น อีรถไฟฟ้าใต้ดินลดราคาให้ 15 บาท ตลอดสาย ตลอดระยะเวลาที่ลูกชายอีทำสวนสนุก เพื่อให้คนนั่งรถไฟฟ้า แทนที่จะเสีย 30-40 บาท เสียแค่ 15 บาท จะได้มาสวนสนุกอี พอสวนสนุกอีปิดปั๊บ โปรโมชั่นยกเลิกไปเลย เห็นหรือยัง ว่าภาษีไม่ต้องเสีย นายตี๋ แมทชิ่ง ต้องไปแอบตั้งอยู่แถวๆ เมืองทองธานี ต้องเสียภาษีหมดทุกบาททุกสตางค์ เห็นหรือยังพ่อแม่พี่น้อง



http:ager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000072910






ข้อเท็จจริง



1.มติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้ออกมาในวันที่ 25 พย. 46และเป็นวันเดียวกันกับที่กองทุนฟื้นฟูประกาศให้มีการประมูลที่ดินรัชดารอบ 3 ทักษิณยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองจะประมูลได้หรือเปล่ากระบวนการจะเสร็จวันไหนจะประกาศให้วันที่ 31 ธันวา 49เป็นวันทำงานเพื่อประโยชน์ตัวเองได้อย่างไรครับ....







2.มติครม.ในวันนั้นให้เหตุผลว่าอย่างนี้ครับ...


คัดลอกพอสังเขป...

.
.
.

31. เรื่อง กำหนดให้วันที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ กำหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ และให้วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นวันปฏิบัติราชการ

ทั้งนี้ การกำหนดให้วันที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เป็นการดำเนินการแนวทางเดียวกับวันหยุดเทศกาลปีใหม่ในปีที่แล้ว จะช่วยลดปัญหาการใช้สิทธิลาก่อน – หลังวันหยุดราชการเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ทำให้ข้าราชการ ลูกจ้างของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมครอบครัว และภูมิลำเนาของตน รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สำหรับรัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการใดที่มีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนหรือราชการสำคัญที่จะต้องดำเนินการในวันดังกล่าว หากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ก็ให้รัฐวิสาหกิจและหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป

http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab25nov46.htm



ผมถือว่าเหตุผลฟังขึ้นนะครับเพราะนอกจากจะช่วยไม่ให้ลูกจ้าง,ข้าราชการสิ้นเปลืองวันลาโดยใช่เหตุแล้วยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกตะหาก เก่งจัง...

แล้วช่วยไม่ให้ข้าราชการและลูกจ้างสิ้นเปลืองวันลาอย่างไร...ก็ลองเปิดปฏิทินดูก็จะพบว่าในปี 2546 วันที 31 ธค.ตรงกับวันพุธ ดังนั้นในวันที่ 2 มกราคม 2547ซึ่งตรงกับวันศุกร์ก็จะเป็นวันทำการซึ่งคงไม่มีใครอยากมาเท่าไร บางคนบ้านไกลๆก็กลับบ้านไม่ได้เพราะวันหยุดไม่ติดต่อกัน รัฐบาลทักษิณก็เลยให้มาทำงานในวันที่ 31 ธค.และให้หยุดในวันที่ 2 มกราคมไงครับ







3.ในคำฟ้องของคตส.คดีที่ดินรัชดามีตอนหนึ่งว่าอย่างนี้ครับ



คัดลอกพอสังเขป


.
.
.


ต่อมากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวใหม่ โดยกันส่วนที่เป็นสาธารณะประโยชน์ออก การแบ่งแยกที่ดินจาก 13 โฉนด เหลือเพียง 4 โฉนด เลขที่ 2298, 2299, 2300 และ 2301 เหลือเนื้อที่เพียง 33-0-78.9 ไร่ แล้วประกาศประมูล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 โดยกำหนดให้ผู้เข้าประกวดราคาต้องวางเงินมัดจำการยื่นซองเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเกิน 10% ตามที่ระบุในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นระเบียบที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ มีผู้ซื้อแบบ 4 ราย แต่มีผู้ยื่นซองเสนอราคาและชำระเงินมัดจำการยื่นซอง 3 ราย คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 730,000,000 บาท, บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 750,000,000 บาท และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สมรสจำเลยที่ 1 เสนอราคา 772,000,000 บาท

กระทั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯอนุมัติให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลและกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาชำระก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ต่อมาได้ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิพร้อมส่งมอบที่ดินวันที่ 30 ธันวาคม 2546 โดยการทำนิติกรรมจำเลยที่ 1 ได้ลงนามยินยอมพร้อมแสดงสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทข้าราชการการเมือง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=59451





สรุปสั้นๆได้ว่า คุณหญิงพจมานได้ชำระเงินตั้งแต่วันที่ 29 ธันวา(เป็นอย่างน้อย)และการโอนเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 49 แล้วครับไม่มีความจำเป็นต้องประกาศให้วันที่ 31 ธค.เป็นวันทำงานแต่อย่างใด...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่