วันที่ 8 มกราคม 2556 01:00
เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ สลัดอาชีพวาณิชธนกิจ สู่เซียนหุ้น VI
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ลงทุนแรกๆออกแนวมั่วๆงงๆ สงสัยอ่านหนังสือเยอะไป แถมเปลี่ยนหุ้นบ่อยมาก ถือไม่เคยเกิน 2 เดือน จริงๆ หุ้นที่เลือกเป็นหุ้นที่ดี ผิดตรงที่ ใจเร็ว
ถ้าพ่อไม่ “โชคดี” ขายที่ดินในสวนยางพารา จังหวัดระยอง ที่ใช้ทำงานหาเงินเลี้ยงลูก 10 คน จนได้ “กำไร 10 เด้ง” แวดวง Value Investor คงไม่มีชายชื่อ “เชาว์” เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ “เซียนหุ้นหลักร้อยล้าน” ที่ครั้งหนึ่งเคยกอบโกย “กำไร 10 เด้ง” จากหุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) หุ้นที่ “เสี่ยปู่” สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล เซียนหุ้นพันล้าน “แสนรัก”
ชีวิตวัยเด็กของ “ชายหนุ่ม” ผู้หวงแหนตัวเลขของอายุ เขาเป็นลูกคนที่ 9 จากพี่น้อง 10 คน ลืมตาดูโลกครั้งแรก บนตึกไม้ 2 ชั้น ที่ไม่ใช่โรงพยาบาล ในจังหวัดระยอง ด้วยการทำคลอดของ “หมอตำแย” ก่อนจะ “รวย” เป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักร้อยล้าน ครอบครัวของเขาเคยเข้าข่าย “ยากจน” มาก่อน
“เชาว์” เริ่มรับรู้รสชาติ “ความร่ำรวย” ครั้งแรก เมื่อผู้เป็นพ่อสบโอกาสช่วงนิคมอุตสาหกรรมมาตาพุตเข้ามาในพื้นที่ใหม่ๆ ด้วยการขายที่ดินสวนยางพารา ทำให้รับกำไรเข้ากระเป๋า “มหาศาล” เมื่อสลัดความยากจนพ้นอก และเริ่มทำงานในตำแหน่งวิศวะกรรมได้ระยะหนึ่ง ช่วงปลายปี 2539 เขาจึงขอเงินพ่อไปเรียนหลักสูตร MBA 2 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบการศึกษาคณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2538
ช่วงที่ “เชาว์” เรียนจบปริญญาโท เมืองไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ทุกคนกำลังตกงาน ทำให้เขาต้อง “ดิ้นรน” หางานทำในสหรัฐ ตำแหน่งบัญชี คือ งานที่ทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ในอเมริกานานถึง 7 ปี จากนั้นเขาก็ตัดสินใจกลับเมืองไทยตอนอายุ 30 ปี เพื่อมาทำงานด้านวานิชกิจ (Investment Banking) ทำได้ 6-7 ปี เขาตัดสินใจลาออกในปี 2555 เพื่อออกมาทำธุรกิจแฟรนไซส์ขายเครื่องสำอาง
“เชาว์” รำลึกความหลังให้ “กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week” ฟังว่า คุณพอจะนึกภาพออกมั้ยว่า บ้านหลังหนึ่งอยู่กัน 10 คน มันลำบากไม่ได้สบายขนาดไหน ผมเห็นพ่อแม่ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมกลายเป็นคนรู้จักคุณค่าของเงินมากขึ้น
ผมโชคดีตรงที่เป็นเด็กหัวดี เรียนหนังสือเก่ง สมัยเรียนหนังสือเคยเป็นตัวแทนของโรงเรียนตอบปัญหาด้วยนะ (หัวเราะ) จำได้ตอนนั้นเรียนประถมศึกษาที่โรงเรียนระยองวิทยาคม เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมในกรุงเทพ ก่อนจะมาเอ็นทรานซ์ติด คณะวิศวะโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ช่วงนั้นประจวบเหมาะเหมือน “โชค 2 ชั้น” ราคาที่ดินแถบจังหวัดระยองพาเหรดกันขึ้น หลังนิคมอุตสาหกรรมมาตาพุดไปลงทุน (รวยเพราะที่ดิน) จะว่าไปช่วงเวลานั้นคนระยองรวยกันเป็นทิวแถว พ่อเลยมีเงินส่งผมไปเรียนต่ออเมริกา ถือว่าเป็นช่วงฟลุ๊คของชีวิต ถ้าเขาไปสร้างนิคมฯอยู่แถวราชบุรี ผมก็ซวย (หัวเราะ) ไม่ได้ไปเรียนต่อแล้วอเมริกาแน่นอน
“เซียนหุ้นร้อยล้านบาท” เริ่มต้นเล่าเส้นทางการลงทุนให้ฟังว่า ผมสนใจตลาดทุนมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนนั้นไม่เข้าใจ เล่นไม่เป็น ผมเริ่มสะสมความรู้เรื่อยๆนาน 6-7 ปี ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลทุกวัน
ช่วงกลับมาเมืองไทย มีวันหนึ่งไปยืนรอแฟน เขาทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์ แถวสีลม ยืนรอนานมันเมื่อย ก็เลยเดินเข้าไปในร้านหนังสือแก้เซ็ง เดินวนไปวนมาเจอหนังสือ “ตีแตก” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรกในประเทศไทย ตอนนั้นคิดในใจ “ใครเนี่ย” แต่ถึงไม่รู้จักก็ซื้อมาอ่านนะเพราะอาจารย์เขียนเรื่องการลงทุนแนว VI เข้าใจง่าย มีเหตุผล
จากนั้นก็เริ่มค้นหาหนังสือลงทุนแนววีไอของอาจารย์นิเวศน์ เรียกว่าแทบจะเหมาหมดทั้งร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ หนังสือนักลงทุนที่มีชื่อเสียงก็ซื้อ อาทิ “ปีเตอร์ ลินซ์” และ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ผมใช้เวลาอ่านหนังสือทั้งหมด 6 เดือน จนเข้าใจถ่องแท้ถึงการลงทุนแนว VI
ความคิด “ตกผนึก” กระโดดเข้าลงทุนในตลาดหุ้นช่วงปลายปี 2548 เขาเล่าด้วยน้ำเสียงเฮฮาว่า ผมยอมเทเงินหมดกระเป๋า 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเก็บสะสมตอนทำงานอยู่ที่อเมริกา เพื่อมาซื้อหุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) นี่คือ หุ้นตัวแรกของผม
ตอนนั้นเน้นดูธุรกิจดีๆ P/E ต่ำๆ หุ้นปันผลเยอะๆ ซึ่งหุ้น CPALL มันเข้าข่าย ซื้อตอนราคา 6 บาท ถือ 2 เดือน ราคายังอยู่ที่เดิม (หัวเราะ) เขาหันไปถามเพื่อนที่มานั่งร่วมวงสนทนาว่า หุ้น ซีพี ออลล์ ต้องดีซิ ตอนนั้นผมซื้อตามสูตรที่เขาแนะนำในหนังสือเลย แต่ลืมไปว่าช่วงนั้น CPALL มี Lotus เมืองจีน ทำให้บริษัทขาดทุน นั่นจึงเป็นเหตุให้ราคาหุ้นไม่ไปไหน
เขา บอกว่า แรกๆลงทุนแบบมั่วๆงงๆ สงสัยจะอ่านหนังสือเยอะไป เปลี่ยนหุ้นบ่อย ถือไม่เคยเกิน 2 เดือน จริงๆ หุ้นที่เลือกเป็นหุ้นที่ดี แต่ดันใจเร็วเปลี่ยนระหว่างทางบ่อยไป ผ่านมา 6-7 เดือน เริ่มมานั่งคิดว่าท่าทางต้องเปลี่ยนแนวไปถือยาว
“เชาว์” เล่าต่อว่า 7 ปีของการลงทุนแนว VI ผมถือว่าเดินมาถูกทาง ได้รับผลตอบแทนดีเกิดคาด ตามหลักลงทุนแนววีไอ คือ ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ แต่ประโยคนี้แตกขแนงออกไปได้หลายแบบ หุ้นก็มีหลายสไตส์ มีทั้งแบบ “เทิร์นอะราวด์” หุ้นที่มีการเติบโตไปเรื่อยๆ หุ้นราคาถูกมาก และ หุ้นพลูชิพ
แต่ผมชอบ “หุ้นที่มีอัตราการเติบโต” มากที่สุด เพราะยิ่งถือหุ้นตัวนั้นนานเท่าไรราคาหุ้นก็จะยิ่งขึ้น และก็จะมีกำไรมากขึ้น ยิ่งหุ้นตัวนั้นมีอนาคตที่ดีเหมือนที่คิดไว้ ผลตอบแทนยิ่งงาม ชอบถือหุ้นยาวๆ ซื้อสัก 3 ตัว แล้วหลับตาไม่ต้องทำอะไรกับหุ้นตัวนั้นเลย ผมอดทนรอได้ อย่างเมื่อก่อนตอนทำงานตำแหน่ง IB ผมต้องทำงานตั้งแต่เช้ายันมืด แทบไม่มีเวลามานั่งหน้าจอดูกราฟหุ้น
เขา บอกว่า ปัจจุบันมีหุ้นอยู่ในพอร์ตทั้งหมด 7 ตัว มูลค่าการลงทุนหลักร้อยล้านบาท ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 60% ต่อปี ถือว่า “ฟลุ๊ค” มาก เพราะว่าที่ผ่านมากระแสนักลงทุนวีไอมาแรง ทำให้หุ้นที่วีไอเลือกช้อนไว้ขึ้นหมดทุกตัว
ถ้าให้มองอนาคต ต่อไปลงทุนตลาดหุ้นไทยคงได้ผลตอบแทนไม่มากเท่าไรแล้ว เพราะว่าหุ้น “ดีราคาถูก” ไม่เหลือแล้ว ฉะนั้นหากใครได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 20-30% ถือว่าโอเค “เหมือนมาหาตอนปลาหมดบึง โอกาสจะหาปลากินมันยากแล้ว”
ถามถึงหุ้นในพอร์ต “เชาว” สวนทันที ขอบอกชื่อแค่ 3 ตัวนะ หุ้น บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) ถือมายาวนานกว่า 6 ปีแล้วยังไม่คิดขาย ตอนนี้มี 7.7 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.99% ณ วันที่ 24 ส.ค.2555 หุ้น แฮลเซี่ยนเทคโนโลยี่ (HTECH) ซื้อมาตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติซับไพร์ม (Sub-Prime) ได้มาตั้งแต่ราคาไอพีโอหุ้นละ1.50 บาท ณ วันที่ 28 พ.ค.2555 ผมมีหุ้นจำนวน 2.3 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.90%
หุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) มีอยู่ในมือ 8 ล้านหุ้น คิดเป็น 3% (ณ วันที่ 27 พ.ย. 2555) และหุ้น มุ่งพัฒนา อินเตอร์แนชชั่นแนล (MOONG) ผมใช้ชื่อภรรยาและน้องภรรยาซื้อลงทุน (เชาว์และภรรยาคนละนามสกุล) เขาไม่ยอมเปิดเผยชื่อภรรยาและน้องภรรยา แต่เราค้นเจอชื่อ “ชนาทิพย์ ศรีตระกูล” ถือหุ้น MOONG 1.2 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.02% และ “ปวีณา ศรีตระกูล 955,500 หุ้น คิดเป็น 0.80% (ณ วันที่4 พ.ค.2555)
ถามถึงหุ้นตัวอื่นๆ “เชาว์” บอกว่า บอกไม่ได้ (หัวเราะ) เพราะใช้ชื่อภรรยาเล่น แต่หลังๆหุ้นเริ่มเยอะขึ้น ไซด์พอร์ตใหญ่ขึ้น ยกตัวอย่างหุ้นบางตัวสภาพคล่องน้อย ซื้อได้ไม่เยอะ ทำให้ต้องหันถือหุ้นมากตัวแทน เน้นหุ้นเล็กๆ เพราะผลประกอบการเติบโตไวดี (หัวเราะ)
ถ้าผมเลือกหุ้นผิดก็จะปฎิบัติการขายทันที แต่ส่วนใหญ่จะดูให้ชัวร์ก่อนซื้อ ทำให้ไม่ค่อยลงทุนผิดพลาดเท่าไร หากเจอหุ้นที่ดีกว่าตัวที่ถือลงทุน ก็จะขายตัวเดิมมาซื้อตัวใหม่ทันที แม้จะไม่ค่อยอยากขายเท่าไรก็ตาม การลงทุนหุ้นแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผมไปแล้ว
“ด็อกเตอร์นิเวศน์” เคยพูดไว้ว่า หุ้น ซุปเปอร์สต็อก เป็นหุ้นที่มีแบรนด์เติบโตแน่นอน สัมผัสได้รู้ว่าตัวไหนดีไม่ดี เมื่อเจอหุ้นตัวไหนที่สนใจ ก็ต้องกลับไปนั่งดูว่ากิจการตัวนี้ดีหรือไม่
เราต้องพยายาม “เปิดหูเปิดตา” อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพื่อจะได้รู้ว่าเค้าพูดถึงอะไรกัน มีอะไรเกิดขึ้นมาอุตสาหกรรมนี้บ้าง เราไม่จำเป็นต้องจบ MBA ไม่จำเป็นต้องผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ขอแค่ดูธุรกิจให้เป็น ช่างสังเกตุ พวกหนังสือประวัติศาสตร์ธุรกิจอ่านได้ก็ควรอ่าน เพราะอดีตจะช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างประวัติ “สตีฟจอบส์” (Steve jobs) ทำไมแอปเปิลถึงเกิดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้ ผมก็ไปอ่านจุดเริ่มต้น และก็นำมาปรับใช้
อยากจะบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า ให้เน้นลงทุนหุ้นแบบ “โฟกัส” อธิบายง่ายๆ การลงทุนหุ้นน้อยตัว พอร์ตเล็กๆ ไม่ถึงหลักล้านบาท มีหุ้นแค่ 3 ตัว ก็ถือว่าโอเคแล้ว ถ้าพอร์ตเริ่มใหญ่ ก็ให้ซื้อหุ้นแค่ 5-7 ตัว ถ้าหุ้นเริ่มเกิน 10 ตัว ผมว่ามันจะเริ่มมั่วแล้วนักลงทุนจะเริ่มงง
“เซียนหุ้น VI” ทิ้งท้ายว่า ผมสนใจอยากเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่ไม่ใช้เร็วๆนี้ คงต้องใช้เวลาศึกษา 1-2 ปี หากเข้าไปลงทุนจริงๆ คงซื้อหุ้นเหมือนลงทุนหุ้นไทยเมื่อก่อน ตลาดต่างประเทศมีหุ้นดีๆ เยอะ อาทิเช่น หุ้น Google และหุ้น Apple ซึ่งหุ้นพวกนี้มีขนาดใหญ่ เราใส่เงินลงทุนเข้าไป 20 ล้านบาท เปรียบเหมือนทำเงินหล่นหายไปในมหาสมุทร แต่เราก็ได้เงินปันผลตอบแทนกลับมา 3-4% ก็ถือว่าโอเคนะ
กำไร 10 เด้ง ต้อง “หุ้นคาร์มาร์ท”
“เชาว์” เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ ตัดสินใจควักเงินซื้อหุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) จนมีกำไร 10 เด้ง เพียงเพราะ “ความอยากรู้” วันหนึ่งเขาไปทานข้าวเที่ยงแถวอโศก เห็นผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 30 คน มุ่งดูสินค้าอะไรสักอย่าง เขาหันไปถามรุ่นน้องผู้หญิง ได้คำตอบว่า “เขามุ่งดูเครื่องสำอางกันพี่”
ตอนนั้น “เชาว์” ตัดสินใจแทรกตัวเข้าไปดูสินค้า ก่อนจะพลิกข้างกล่องเครื่องสำอางเห็นเขียนว่า บริษัทจำกัดมหาชน ความคิดแว๊บแรก “บริษัทนี้อยู่ในตลาดนี่นา” จากนั้นเขากลับมานอนคิด “ถ้าเราได้ถือหุ้นบริษัทนี้ต้องรวยแน่ๆ” จุดเริ่มต้นการเป็นเจ้าของหุ้น KAMART เริ่มต้นขึ้นทันที
เชาว์ เล่าว่า ผมนัดคุยกับเจ้าของบริษัท เขาบอกว่า “ยี่ห้อของเราติดตลาดแล้วนะ” เมื่อจบบทสนทนาคิดในใจ “ได้การละ” ตอนแรกๆหุ้น KAMART ให้ผลตอบแทนเยอะอย่างไม่น่าเชื่อ ถือมา 2 ปี ราคาหุ้นขึ้นมา 10 กว่าเท่า
บังเอิญหุ้นตัวนี้คนไม่ค่อยรู้จัก เพราะว่าเขาเปลี่ยนธุรกิจจากเดิมที่ขาย ทีวี อิเล็กทรอนิกส์ แต่มัน “เจ๊ง”ขาดทุน 5 ปีติด ดูย้อนหลังมาร์เก็ตแค็ปเหลือเพียง 200 ล้านบาท มี 600 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.40 บาท ธุรกิจ “เน่ามาก” ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เพราะว่าขาดทุนทุกปีคนก็เลย “ส่ายหัว”
แต่ปัจจุบันบริษัทเขาซื้อแฟรนไซส์ เครื่องสำอาง KAMART มาทำธุรกิจเองกับพี่ชายได้ประมาณ 1 ปี ตอนนี้ขยายสาขาไปกว่า 10 แห่ง มีทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ผลประกอบการก็เป็นที่น่าพอใจ
มาลองดูข้อมูลทางการเงินของทั้ง 3 บริษัทว่าเป็นอย่างไร ทำไมท่านถึงทุ่ม 3 ตัวนี้
1 BOL
2 HTECH
3 KAMART
รวมกระทู้ Wild Rabbit ( 8 มกราคม 2556)
เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ สลัดอาชีพวาณิชธนกิจ สู่เซียนหุ้น VI
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ลงทุนแรกๆออกแนวมั่วๆงงๆ สงสัยอ่านหนังสือเยอะไป แถมเปลี่ยนหุ้นบ่อยมาก ถือไม่เคยเกิน 2 เดือน จริงๆ หุ้นที่เลือกเป็นหุ้นที่ดี ผิดตรงที่ ใจเร็ว
ถ้าพ่อไม่ “โชคดี” ขายที่ดินในสวนยางพารา จังหวัดระยอง ที่ใช้ทำงานหาเงินเลี้ยงลูก 10 คน จนได้ “กำไร 10 เด้ง” แวดวง Value Investor คงไม่มีชายชื่อ “เชาว์” เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ “เซียนหุ้นหลักร้อยล้าน” ที่ครั้งหนึ่งเคยกอบโกย “กำไร 10 เด้ง” จากหุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) หุ้นที่ “เสี่ยปู่” สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล เซียนหุ้นพันล้าน “แสนรัก”
ชีวิตวัยเด็กของ “ชายหนุ่ม” ผู้หวงแหนตัวเลขของอายุ เขาเป็นลูกคนที่ 9 จากพี่น้อง 10 คน ลืมตาดูโลกครั้งแรก บนตึกไม้ 2 ชั้น ที่ไม่ใช่โรงพยาบาล ในจังหวัดระยอง ด้วยการทำคลอดของ “หมอตำแย” ก่อนจะ “รวย” เป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักร้อยล้าน ครอบครัวของเขาเคยเข้าข่าย “ยากจน” มาก่อน
“เชาว์” เริ่มรับรู้รสชาติ “ความร่ำรวย” ครั้งแรก เมื่อผู้เป็นพ่อสบโอกาสช่วงนิคมอุตสาหกรรมมาตาพุตเข้ามาในพื้นที่ใหม่ๆ ด้วยการขายที่ดินสวนยางพารา ทำให้รับกำไรเข้ากระเป๋า “มหาศาล” เมื่อสลัดความยากจนพ้นอก และเริ่มทำงานในตำแหน่งวิศวะกรรมได้ระยะหนึ่ง ช่วงปลายปี 2539 เขาจึงขอเงินพ่อไปเรียนหลักสูตร MBA 2 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบการศึกษาคณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2538
ช่วงที่ “เชาว์” เรียนจบปริญญาโท เมืองไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ทุกคนกำลังตกงาน ทำให้เขาต้อง “ดิ้นรน” หางานทำในสหรัฐ ตำแหน่งบัญชี คือ งานที่ทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ในอเมริกานานถึง 7 ปี จากนั้นเขาก็ตัดสินใจกลับเมืองไทยตอนอายุ 30 ปี เพื่อมาทำงานด้านวานิชกิจ (Investment Banking) ทำได้ 6-7 ปี เขาตัดสินใจลาออกในปี 2555 เพื่อออกมาทำธุรกิจแฟรนไซส์ขายเครื่องสำอาง
“เชาว์” รำลึกความหลังให้ “กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week” ฟังว่า คุณพอจะนึกภาพออกมั้ยว่า บ้านหลังหนึ่งอยู่กัน 10 คน มันลำบากไม่ได้สบายขนาดไหน ผมเห็นพ่อแม่ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมกลายเป็นคนรู้จักคุณค่าของเงินมากขึ้น
ผมโชคดีตรงที่เป็นเด็กหัวดี เรียนหนังสือเก่ง สมัยเรียนหนังสือเคยเป็นตัวแทนของโรงเรียนตอบปัญหาด้วยนะ (หัวเราะ) จำได้ตอนนั้นเรียนประถมศึกษาที่โรงเรียนระยองวิทยาคม เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมในกรุงเทพ ก่อนจะมาเอ็นทรานซ์ติด คณะวิศวะโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ช่วงนั้นประจวบเหมาะเหมือน “โชค 2 ชั้น” ราคาที่ดินแถบจังหวัดระยองพาเหรดกันขึ้น หลังนิคมอุตสาหกรรมมาตาพุดไปลงทุน (รวยเพราะที่ดิน) จะว่าไปช่วงเวลานั้นคนระยองรวยกันเป็นทิวแถว พ่อเลยมีเงินส่งผมไปเรียนต่ออเมริกา ถือว่าเป็นช่วงฟลุ๊คของชีวิต ถ้าเขาไปสร้างนิคมฯอยู่แถวราชบุรี ผมก็ซวย (หัวเราะ) ไม่ได้ไปเรียนต่อแล้วอเมริกาแน่นอน
“เซียนหุ้นร้อยล้านบาท” เริ่มต้นเล่าเส้นทางการลงทุนให้ฟังว่า ผมสนใจตลาดทุนมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนนั้นไม่เข้าใจ เล่นไม่เป็น ผมเริ่มสะสมความรู้เรื่อยๆนาน 6-7 ปี ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลทุกวัน
ช่วงกลับมาเมืองไทย มีวันหนึ่งไปยืนรอแฟน เขาทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์ แถวสีลม ยืนรอนานมันเมื่อย ก็เลยเดินเข้าไปในร้านหนังสือแก้เซ็ง เดินวนไปวนมาเจอหนังสือ “ตีแตก” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรกในประเทศไทย ตอนนั้นคิดในใจ “ใครเนี่ย” แต่ถึงไม่รู้จักก็ซื้อมาอ่านนะเพราะอาจารย์เขียนเรื่องการลงทุนแนว VI เข้าใจง่าย มีเหตุผล
จากนั้นก็เริ่มค้นหาหนังสือลงทุนแนววีไอของอาจารย์นิเวศน์ เรียกว่าแทบจะเหมาหมดทั้งร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ หนังสือนักลงทุนที่มีชื่อเสียงก็ซื้อ อาทิ “ปีเตอร์ ลินซ์” และ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ผมใช้เวลาอ่านหนังสือทั้งหมด 6 เดือน จนเข้าใจถ่องแท้ถึงการลงทุนแนว VI
ความคิด “ตกผนึก” กระโดดเข้าลงทุนในตลาดหุ้นช่วงปลายปี 2548 เขาเล่าด้วยน้ำเสียงเฮฮาว่า ผมยอมเทเงินหมดกระเป๋า 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเก็บสะสมตอนทำงานอยู่ที่อเมริกา เพื่อมาซื้อหุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) นี่คือ หุ้นตัวแรกของผม
ตอนนั้นเน้นดูธุรกิจดีๆ P/E ต่ำๆ หุ้นปันผลเยอะๆ ซึ่งหุ้น CPALL มันเข้าข่าย ซื้อตอนราคา 6 บาท ถือ 2 เดือน ราคายังอยู่ที่เดิม (หัวเราะ) เขาหันไปถามเพื่อนที่มานั่งร่วมวงสนทนาว่า หุ้น ซีพี ออลล์ ต้องดีซิ ตอนนั้นผมซื้อตามสูตรที่เขาแนะนำในหนังสือเลย แต่ลืมไปว่าช่วงนั้น CPALL มี Lotus เมืองจีน ทำให้บริษัทขาดทุน นั่นจึงเป็นเหตุให้ราคาหุ้นไม่ไปไหน
เขา บอกว่า แรกๆลงทุนแบบมั่วๆงงๆ สงสัยจะอ่านหนังสือเยอะไป เปลี่ยนหุ้นบ่อย ถือไม่เคยเกิน 2 เดือน จริงๆ หุ้นที่เลือกเป็นหุ้นที่ดี แต่ดันใจเร็วเปลี่ยนระหว่างทางบ่อยไป ผ่านมา 6-7 เดือน เริ่มมานั่งคิดว่าท่าทางต้องเปลี่ยนแนวไปถือยาว
“เชาว์” เล่าต่อว่า 7 ปีของการลงทุนแนว VI ผมถือว่าเดินมาถูกทาง ได้รับผลตอบแทนดีเกิดคาด ตามหลักลงทุนแนววีไอ คือ ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ แต่ประโยคนี้แตกขแนงออกไปได้หลายแบบ หุ้นก็มีหลายสไตส์ มีทั้งแบบ “เทิร์นอะราวด์” หุ้นที่มีการเติบโตไปเรื่อยๆ หุ้นราคาถูกมาก และ หุ้นพลูชิพ
แต่ผมชอบ “หุ้นที่มีอัตราการเติบโต” มากที่สุด เพราะยิ่งถือหุ้นตัวนั้นนานเท่าไรราคาหุ้นก็จะยิ่งขึ้น และก็จะมีกำไรมากขึ้น ยิ่งหุ้นตัวนั้นมีอนาคตที่ดีเหมือนที่คิดไว้ ผลตอบแทนยิ่งงาม ชอบถือหุ้นยาวๆ ซื้อสัก 3 ตัว แล้วหลับตาไม่ต้องทำอะไรกับหุ้นตัวนั้นเลย ผมอดทนรอได้ อย่างเมื่อก่อนตอนทำงานตำแหน่ง IB ผมต้องทำงานตั้งแต่เช้ายันมืด แทบไม่มีเวลามานั่งหน้าจอดูกราฟหุ้น
เขา บอกว่า ปัจจุบันมีหุ้นอยู่ในพอร์ตทั้งหมด 7 ตัว มูลค่าการลงทุนหลักร้อยล้านบาท ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 60% ต่อปี ถือว่า “ฟลุ๊ค” มาก เพราะว่าที่ผ่านมากระแสนักลงทุนวีไอมาแรง ทำให้หุ้นที่วีไอเลือกช้อนไว้ขึ้นหมดทุกตัว
ถ้าให้มองอนาคต ต่อไปลงทุนตลาดหุ้นไทยคงได้ผลตอบแทนไม่มากเท่าไรแล้ว เพราะว่าหุ้น “ดีราคาถูก” ไม่เหลือแล้ว ฉะนั้นหากใครได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 20-30% ถือว่าโอเค “เหมือนมาหาตอนปลาหมดบึง โอกาสจะหาปลากินมันยากแล้ว”
ถามถึงหุ้นในพอร์ต “เชาว” สวนทันที ขอบอกชื่อแค่ 3 ตัวนะ หุ้น บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) ถือมายาวนานกว่า 6 ปีแล้วยังไม่คิดขาย ตอนนี้มี 7.7 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.99% ณ วันที่ 24 ส.ค.2555 หุ้น แฮลเซี่ยนเทคโนโลยี่ (HTECH) ซื้อมาตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติซับไพร์ม (Sub-Prime) ได้มาตั้งแต่ราคาไอพีโอหุ้นละ1.50 บาท ณ วันที่ 28 พ.ค.2555 ผมมีหุ้นจำนวน 2.3 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.90%
หุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) มีอยู่ในมือ 8 ล้านหุ้น คิดเป็น 3% (ณ วันที่ 27 พ.ย. 2555) และหุ้น มุ่งพัฒนา อินเตอร์แนชชั่นแนล (MOONG) ผมใช้ชื่อภรรยาและน้องภรรยาซื้อลงทุน (เชาว์และภรรยาคนละนามสกุล) เขาไม่ยอมเปิดเผยชื่อภรรยาและน้องภรรยา แต่เราค้นเจอชื่อ “ชนาทิพย์ ศรีตระกูล” ถือหุ้น MOONG 1.2 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.02% และ “ปวีณา ศรีตระกูล 955,500 หุ้น คิดเป็น 0.80% (ณ วันที่4 พ.ค.2555)
ถามถึงหุ้นตัวอื่นๆ “เชาว์” บอกว่า บอกไม่ได้ (หัวเราะ) เพราะใช้ชื่อภรรยาเล่น แต่หลังๆหุ้นเริ่มเยอะขึ้น ไซด์พอร์ตใหญ่ขึ้น ยกตัวอย่างหุ้นบางตัวสภาพคล่องน้อย ซื้อได้ไม่เยอะ ทำให้ต้องหันถือหุ้นมากตัวแทน เน้นหุ้นเล็กๆ เพราะผลประกอบการเติบโตไวดี (หัวเราะ)
ถ้าผมเลือกหุ้นผิดก็จะปฎิบัติการขายทันที แต่ส่วนใหญ่จะดูให้ชัวร์ก่อนซื้อ ทำให้ไม่ค่อยลงทุนผิดพลาดเท่าไร หากเจอหุ้นที่ดีกว่าตัวที่ถือลงทุน ก็จะขายตัวเดิมมาซื้อตัวใหม่ทันที แม้จะไม่ค่อยอยากขายเท่าไรก็ตาม การลงทุนหุ้นแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผมไปแล้ว
“ด็อกเตอร์นิเวศน์” เคยพูดไว้ว่า หุ้น ซุปเปอร์สต็อก เป็นหุ้นที่มีแบรนด์เติบโตแน่นอน สัมผัสได้รู้ว่าตัวไหนดีไม่ดี เมื่อเจอหุ้นตัวไหนที่สนใจ ก็ต้องกลับไปนั่งดูว่ากิจการตัวนี้ดีหรือไม่
เราต้องพยายาม “เปิดหูเปิดตา” อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพื่อจะได้รู้ว่าเค้าพูดถึงอะไรกัน มีอะไรเกิดขึ้นมาอุตสาหกรรมนี้บ้าง เราไม่จำเป็นต้องจบ MBA ไม่จำเป็นต้องผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ขอแค่ดูธุรกิจให้เป็น ช่างสังเกตุ พวกหนังสือประวัติศาสตร์ธุรกิจอ่านได้ก็ควรอ่าน เพราะอดีตจะช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างประวัติ “สตีฟจอบส์” (Steve jobs) ทำไมแอปเปิลถึงเกิดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้ ผมก็ไปอ่านจุดเริ่มต้น และก็นำมาปรับใช้
อยากจะบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า ให้เน้นลงทุนหุ้นแบบ “โฟกัส” อธิบายง่ายๆ การลงทุนหุ้นน้อยตัว พอร์ตเล็กๆ ไม่ถึงหลักล้านบาท มีหุ้นแค่ 3 ตัว ก็ถือว่าโอเคแล้ว ถ้าพอร์ตเริ่มใหญ่ ก็ให้ซื้อหุ้นแค่ 5-7 ตัว ถ้าหุ้นเริ่มเกิน 10 ตัว ผมว่ามันจะเริ่มมั่วแล้วนักลงทุนจะเริ่มงง
“เซียนหุ้น VI” ทิ้งท้ายว่า ผมสนใจอยากเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่ไม่ใช้เร็วๆนี้ คงต้องใช้เวลาศึกษา 1-2 ปี หากเข้าไปลงทุนจริงๆ คงซื้อหุ้นเหมือนลงทุนหุ้นไทยเมื่อก่อน ตลาดต่างประเทศมีหุ้นดีๆ เยอะ อาทิเช่น หุ้น Google และหุ้น Apple ซึ่งหุ้นพวกนี้มีขนาดใหญ่ เราใส่เงินลงทุนเข้าไป 20 ล้านบาท เปรียบเหมือนทำเงินหล่นหายไปในมหาสมุทร แต่เราก็ได้เงินปันผลตอบแทนกลับมา 3-4% ก็ถือว่าโอเคนะ
กำไร 10 เด้ง ต้อง “หุ้นคาร์มาร์ท”
“เชาว์” เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ ตัดสินใจควักเงินซื้อหุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) จนมีกำไร 10 เด้ง เพียงเพราะ “ความอยากรู้” วันหนึ่งเขาไปทานข้าวเที่ยงแถวอโศก เห็นผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 30 คน มุ่งดูสินค้าอะไรสักอย่าง เขาหันไปถามรุ่นน้องผู้หญิง ได้คำตอบว่า “เขามุ่งดูเครื่องสำอางกันพี่”
ตอนนั้น “เชาว์” ตัดสินใจแทรกตัวเข้าไปดูสินค้า ก่อนจะพลิกข้างกล่องเครื่องสำอางเห็นเขียนว่า บริษัทจำกัดมหาชน ความคิดแว๊บแรก “บริษัทนี้อยู่ในตลาดนี่นา” จากนั้นเขากลับมานอนคิด “ถ้าเราได้ถือหุ้นบริษัทนี้ต้องรวยแน่ๆ” จุดเริ่มต้นการเป็นเจ้าของหุ้น KAMART เริ่มต้นขึ้นทันที
เชาว์ เล่าว่า ผมนัดคุยกับเจ้าของบริษัท เขาบอกว่า “ยี่ห้อของเราติดตลาดแล้วนะ” เมื่อจบบทสนทนาคิดในใจ “ได้การละ” ตอนแรกๆหุ้น KAMART ให้ผลตอบแทนเยอะอย่างไม่น่าเชื่อ ถือมา 2 ปี ราคาหุ้นขึ้นมา 10 กว่าเท่า
บังเอิญหุ้นตัวนี้คนไม่ค่อยรู้จัก เพราะว่าเขาเปลี่ยนธุรกิจจากเดิมที่ขาย ทีวี อิเล็กทรอนิกส์ แต่มัน “เจ๊ง”ขาดทุน 5 ปีติด ดูย้อนหลังมาร์เก็ตแค็ปเหลือเพียง 200 ล้านบาท มี 600 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.40 บาท ธุรกิจ “เน่ามาก” ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เพราะว่าขาดทุนทุกปีคนก็เลย “ส่ายหัว”
แต่ปัจจุบันบริษัทเขาซื้อแฟรนไซส์ เครื่องสำอาง KAMART มาทำธุรกิจเองกับพี่ชายได้ประมาณ 1 ปี ตอนนี้ขยายสาขาไปกว่า 10 แห่ง มีทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ผลประกอบการก็เป็นที่น่าพอใจ
มาลองดูข้อมูลทางการเงินของทั้ง 3 บริษัทว่าเป็นอย่างไร ทำไมท่านถึงทุ่ม 3 ตัวนี้
1 BOL
2 HTECH
3 KAMART