ธนาคารอิสลาม
อารีฟีน อรุณพูลทรัพย์
คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า การนำจริยธรรมและปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ของอิสลามมาปรับใช้กับระบบการเงินและการธนาคารสมัยใหม่ อันเป็นผลให้เกิดธนาคารในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าธนาคารอิสลาม นั้นถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งของโลกมุสลิมในศตวรรษนี้ก็ว่าได้ และอีกเช่นกันการกำเนิดของธนาคารอิสลามถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมที่เป็นสากลของหลักคำสอนของอิสลามที่แม้แต่กาลเวลาก็ไม่อาจเปลี่ยนแปรงได้ แม้ว่ามันจะเป็นเวลามากว่า1400ปีก็ตาม (ก่อนหน้าที่จะมีธนาคารอิสลามนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ถูกทำให้เชื่อว่าระบบการธนาคารจะไม่สามารดำเนินงานได้หากไม่ตั้งอยู่บนหลักการของระบบดอกเบี้ย และการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินกู้ถือเป็นความชอบทำทางการเงิน)
แม้ว่าแนวความคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามเริ่มมีขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยกลุ่มนักฟื้นฟูอิสลามที่ต้องการจะให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมุสลิมวางพื้นฐานอยู่บนบทบัญญัติของศาสนา และธนาคารอิสลามในรูปแบบที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นถือว่ามีอายุเพียง 40กว่าปี แต่มันก็มีรากฐานที่สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เมื่อ 1400 กว่าปีก่อน
ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยของท่านนบีนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า
บัยตุ้ลมาล (Bayt al-mal) ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บและแบ่งสรรรายได้ระหว่างชาวมูฮายิรีน (Muhajirs) และชาวอันซอศ (Ansas) บัยตุ้ลมาลนี้เองที่เป็นต้นแบบของกองคลังและธนาคารกลางของรัฐอิสลามในเวลาต่อมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า บัยตุ้ลมาลนั้นมิได้ทำหน้าที่เป็นของกองคลังและธนาคารกลางของรัฐอิสลามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในบางยุคบางสมัย บัยตุ้ลมาลก็ทำหน้าที่บางอย่าคล้ายกับธนาคารพาณิชในปัจจุบันด้วยเช่นกัน เช่นในช่วงแรกๆของสมัยราชวงศ์อุมัยยะ (Umayyad) บัยตุ้ลมาลทำหน้าที่บางอย่างคล้ายธนาคารเพื่อการเกษตรด้วย
ท่านนบีเองก็เคยทำหน้าที่เป็น มุดาริบ (Mudarib) คุมกองคาราวาน ใน
สัญญามุดอรอบะฮฺ (Mudarabah) และมุดอรอบะฮฺนี้เองที่เป็นหลักการและเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่งในการดำเนินงานของธนาคารอิสลามให้ปัจจุบัน
นับตั้งแต่ธนาคารธนาคารอิสลามแห่งแรกชื่อ
มิตฆ็อมร์ (Mit Ghamr) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นที่ประเทศอียิปต์ในปี พ.ศ. 2506(ค.ศ.1963) ระบบธนาคารอิสลามก็มีการปรับปรุงและพัฒนามาโดยตลอด มีการนำเสนอเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา และสอดคล่องกับสภาพเศรษฐกิจและความต้องการทางการเงินของสังคมปัจจุบันมากขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันขนาดของระบบการเงินอิสลามนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 10-15% ต่อปี มีสภาบันการเงินมากกว่า 250 สภาบัน (ธนาคารพานิช ธนาคารเพื่อการลงทุน บริษัทประกันภัย ฯลฯ) ที่ดำเนินงานภายใต้หลักการของอิสลาม กระจายอยู่ทั่วโลก มีสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และเงินทุนอีกประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันการเงินเหล่านี้
พอมาถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่าแล้ว ธนาคารอิสลามคืออะไรและมีความแตกต่างกับธนาคารในระบบอื่นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วธนาคารอิสลามก็ทำหน้าที่หลักเหมือนธนาคารทั่วไป คือเป็นสื่อกลางทางการเงินระหว่าง ผู้ลงทุนหรือผู้ฝากกับผู้กู้หรือผู้ประกอบการ (ธนาคารจัดหาช่องทางในการลงทุนให้แก่ผู้ฝาก ผ่านทางบัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ และเป็นแหล่งเงินทุนของผู้กู้หรือผู้ประกอบการ
โดยการนำเงินที่ได้จากผู้ฝากมาปล่อยสินเชื่อให้ก็ผู้ที่ต้องการ) อย่างไรก็ตามแม้ว่าธนาคารอิสลามและธนาคารทั่วไปจะมีหน้าที่หลักเหมือนกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สำคัญหลายประการเช่นการห้ามดอกเบี้ย และการไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจหรือกิจกรรมที่ขัดกับหลักการศาสนาและเป็นภัยต่อสังคม
ธนาคารอิสลามเป็นธนาคารที่ปลอดจากระบบดอกเบี้ย
การไม่ดำเนินธุรกิจบนหลักการดอกเบี้ยถือเป็นข้อแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของธนาคารอิสลามกับธนาคารทั่วไป ตามบทบัญญัติในคัมภีร์กุรอานที่สั่ง“ห้ามดอกเบี้ย แต่อนุมัติการค้า” และคำสอนที่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าจะเพิ่มพูนการทำกุศลทานและบั่นทอนดอกเบี้ย” การห้ามดอกเบี้ยจึงถือเป็นขอกำหนดทางการเงินที่สำคัญของอิสลาม ดังนั้นการดำเนินงานของธนาคารอิสลามจะไม่ตั้งอยู่บนหลักการดอกเบี้ย แต่จะตั้งอยู่บนหลักการการแบ่งบันผลกำไร
อิสลามถือว่าดอกเบี้ยเป็นบ่อเกิดของการเอารัดเอาเปรียบและความอยุติธรรมให้สังคม และเป็นตัวถ่วงความเจริญทางเศรษฐกิจ
อิสลามถือว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยบนเงินกู้นั้นไม่มีความชอบธรรมและไม่สมเหตุสมผล เป็นการเอารัดเอาเปรียบ เพราะถ้าหากถือว่าการปล่อยกู้เป็นการลงทุน เพราะเหตุใดเงินลงทุนของผู้ปล่อยกู้จึงได้รับการประกันว่าจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ในขณะผู้ประกอบการหรือผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ปล่อยกู้ไม่ว่าเงินที่กู้มานั้นจะก่อให้เกิดรายได้หรือไม่ก็ตาม นั้นก็หมายความว่าในสภาพเศรษฐกิจเดียวกันผู้ปล่อยกู้ไม่ได้รับความเสี่ยงใดๆในการลงทุนเลย แต่ผู้กู้กับต้องรับความเสียงนั้นไว้ทั้งหมด ในทางกลับกันหากกิจการของผู้กู้ทำกำไรได้อย่างมากอันเนื่องมาจากการนำเงินนั้นมาลงทุน ก็เป็นความไม่เป็นธรรมกับผู้ปล่อยกู้เช่นกัน
อิสลามถือว่าหลักการแบ่งผลกำไรขาดทุนนั้นยุตธรรม เช่นในฐานะที่เงินทุนและแรงงานต่างเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต ดังนั้นผู้ปล่อยกู้ควรจะได้รับผลตอบแทนตามสัดส่วนของผลกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการ
ในระบบดอกเบี้ยนั้นเนื่องจากผู้ปล่อยกู้จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากผลประกอบการของผู้กู้ แต่จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอนตายตัวในรูปของดอกเบี้ย
ดังนั้นผู้ปล่อยกู้จะปล่อยกู้เฉพาะผู้กู้ที่มีหลักประกันเงินกู้ที่ดีเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าโครงการที่ผู้กู้จะนำเงินไปลงทุนนั้นจะก่อให้เกิดผลกำไรหรือไม่
ดังนั้นเงินทุนจำนวนมากจึงถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆทางเศรษฐกิจ เป็นการสินเปลืองทรัพยากรทางเศรษฐกิจโดยเปล่าประโยชน์ ในระบบการแบ่งผลกำไรขาดทุนนั้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของเงินกู้นั้นขึ้นอยู่กับผลกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจที่เงินกู้นั้นถูกนำไปลงทุน ดังนั้นผู้ปล่อยกู้จะพิจารณาปล่อยกู้ให้กับโครงการหรือธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ในการทำกำไรสูงสุดก่อนเป็นอันดับแรก เป็นผลให้เงินทุนนั้นถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
เนื่องจากธนาคารอิสลามดำเนินงานภายใต้ปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ของอิสลามที่มุ่งเน้นในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่างธนาคารอิสลามกับธนาคารทั่วไปที่ชัดเจนอีกประการก็คือจะไม่สนับสนุนหรือปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่ขัดกับหลักการศาสนาและเป็นภัยต่อสังคมถึงแม้ว่าธุรกิจนั้นจะสามารถทำกำไรได้อย่างมากก็ตาม ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มของมึนเมา อาวุธ สถานเริงรมย์ ดอกเบี้ยหรือสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอื่นๆ จะไม่รับการปล่อยชินเชื่อโดยธนาคารอิสลาม
ด้วยเหตุที่ธนาคารอิสลามไม่ได้ดำเนินงานตามหลักการดอกเบี้ย
ดังนั้นธนาคารจึงมีวิธีการระดมเงินทุนและปล่อยสินเชื้อ ที่ต่างจากธนาคารทั่วไป เป็นที่รู้ว่าธนาคารระดมทุนผ่านทางเงินฝาก โดยทั่วไปแล้วบัญชีเงินฝากธนาคารอิสลามแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ด้วยกัน
ประเภทแรกคือ บัญชีเงินฝากที่ไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆจากการฝาก เนื่องจากผู้ฝากไม่ได้อนุญาตให้ธนาคารนำเงินไปลงทุน บัญชีประเภทนี้ได้แก่ บัญชีกระแสรายวัน (Current Account) และ บัญชีรักษาทรัพย์เป็นต้น
อีกประเภทคือเงินฝากที่ได้รับผลตอบแทนจากการฝาก ในบัญชีประเภทนี้จะมีข้อตกลงว่าผู้ฝากจะต้องอนุญาตให้ธนาคารสามารถนำเงินฝากไปลงทุนหาผลตอบทนได้ ผลตอบแทนที่ได้รับจากบัญชีประเภทนี้ไม่ได้อยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่จะอยู่ในรูปของเงินปันผลที่คำนวณจากผลกำไรขาดทุนของธนาคาร บัญชีประเภทนี้ได้แก่ บัญชีเงินฝากเพื่อการลงทุน(Investment Account)
วิธีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามนั้นก็เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่ทำให้ธนาคารอิสลามนั้นแตกต่างจากธนาคารทั่วไป อาจจะพุดได้ว่าวิธีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามนั้นแตกต่างจากธนาคารทั่วไปอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากธนาคารอิสลามไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการปล่อยกู้ หลักการหรือรูปแบบของสัญญาให้การปล่อยสินเชื่อที่สำคัญๆของธนาคารอิสลามได้แก่
•มุรอบาฮะฮฺ (Murabahat)- หลักการบวกกำไร (Make-Up /Cost Plus Based Financing )
มุรอบาฮะฮฺเป็นรุปแบบสัญญาการปล่อยสินเชื่อที่นิยมใช่กันมาก คิดเป็น 80-90% ของสินเชื่อที่ปล่อยโดยธนาคารอิสลาม ขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อโดยวิธีการนี้คือ ลูกค้าของธนาคารจะแจ้งความประสงค์กับทางธนาคารว่าต้องการซื้อสิ่งของอย่างไดอย่างหนึ่ง และต้องการให้ธนาคารออกสินเชื่อเพื่อซื้อสิ่งของนั้น ธนาคารก็จะเป็นผู้ซื้อสิ่งของที่ระบุนั้นมาเป็นของตนเองและขายให้กับลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
โดยราคาที่ธนาคารขายให้การลูกค้านั้นจะบวกกำไรของธนาคารเขาไปด้วย โดยลูกค้าสามารถชำระสินเชื่อในรูปเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวดๆก็ได้แล้วแต่สัญญาที่ตกลงกัน เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้สัญญานี้ถูกต้องตามหลักการศาสนาก็คือ ธนาคารจะต้องบอกถึงต้นทุนของสิ่งของและกำไรที่ธนาคารบวกเข้าไปให้ลูกค้ารู้ และ
ธนาคารจะต้องเป็นเจ้าของสิ่งนั้นก่อนที่จะขายต่อให้กับลูกค้า สินเชื่อที่ปล่อยโดยใช้หลักการนี้เช่น สินเชื่อเพื่อการซื่อวัตถุดิบ เป็นต้น
•มุชารอกะฮฺ (Musharakah)-หลักการความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
สินเชื่อบนหลักการมุชารอกะฮฺเป็นการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบที่ธนาคารจะเข้าไปร่วมลงทุนกันลูกค้า
ดังนั้นธนาคารจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนทางการค้าไม่ใช่เจ้าหนี้ ธนาคารจะได้ผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อในรูปของส่วนแบ่งของผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ แต่ในกรณีที่ขาดทุนธนาคารก็จะได้ผลกระทบตามสัดส่วนที่ขาดทนแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น
สินเชื่อที่ปล่อยบนหลักการนี้เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและการส่งออก หรือใช้ในการออก หนังสือเครดิต (Letters of credit หนังสือที่ผู้ประกอบการขอให้ธนาคารในท่องถิ่นของตนแจ้งไปยังธนาคารในต่างประเทศให้จ่ายเงินให้แก่บุคคสที่3 มักใช้ในธุรกิจนำเข้าและส่งออกเป็นเครื่องมือการชำระเงินค่าสินค่าและบริการ)
ธนาคารอิสลามในซูดานได้ใช้หลักการมุชารอกะฮฺในการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเกษตร โดยธนาคารและเกษตรกรจะทำสัญญามุชารอกะฮฺเป็นหุ้นส่วนกับ โดยธนาคารจะลงหุ้นเป็นค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการเพราะปลูก ส่วนเกษตรกรลงหุ้นเป็นที่ดินและแรงงาน
•มุดอรอบะฮฺ (Mudarabah) – หลักการแบ่งผลกำไร (Profit-Sharing)
ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎี มุดอรอบะฮฺจะถูกสนับสนุนให้เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงานของธนาคารอิสลาม
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺนั้นไม่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่ลายนัก
เนื่องจากสินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺนั้นมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในหลายประเทศและยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานในทางปฏิบัติ โดยสรุปแล้วแนวคิดของการปล่อยสินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺคือ ธนาคารจะปล่อยเงินกู้ให้การโครงการใดโครงการหนึ่ง โดยธนาคารเป็นผู้ออกเงินทุนในการในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ส่วนผู้กู้ทำหน้าเป็นดำเนินการเท่านั้น สัดส่วนการแบ่งผลกำไรขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญา ในกรณีที่ขาดทุนธนาคารจะสุญเสียเงินทุน ส่วนผู้กู้หรือผู้ประกอบการจะสุญเสียในรูปของการสินเปรื่องเวลาและแรงงานที่ลงไป
(ยังมีต่อ)
มารู้จักกับการเงินของระบอบอิสลามกันนะครับ
อารีฟีน อรุณพูลทรัพย์
คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า การนำจริยธรรมและปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ของอิสลามมาปรับใช้กับระบบการเงินและการธนาคารสมัยใหม่ อันเป็นผลให้เกิดธนาคารในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าธนาคารอิสลาม นั้นถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งของโลกมุสลิมในศตวรรษนี้ก็ว่าได้ และอีกเช่นกันการกำเนิดของธนาคารอิสลามถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมที่เป็นสากลของหลักคำสอนของอิสลามที่แม้แต่กาลเวลาก็ไม่อาจเปลี่ยนแปรงได้ แม้ว่ามันจะเป็นเวลามากว่า1400ปีก็ตาม (ก่อนหน้าที่จะมีธนาคารอิสลามนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ถูกทำให้เชื่อว่าระบบการธนาคารจะไม่สามารดำเนินงานได้หากไม่ตั้งอยู่บนหลักการของระบบดอกเบี้ย และการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินกู้ถือเป็นความชอบทำทางการเงิน)
แม้ว่าแนวความคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามเริ่มมีขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยกลุ่มนักฟื้นฟูอิสลามที่ต้องการจะให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมุสลิมวางพื้นฐานอยู่บนบทบัญญัติของศาสนา และธนาคารอิสลามในรูปแบบที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นถือว่ามีอายุเพียง 40กว่าปี แต่มันก็มีรากฐานที่สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เมื่อ 1400 กว่าปีก่อน
ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยของท่านนบีนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า บัยตุ้ลมาล (Bayt al-mal) ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บและแบ่งสรรรายได้ระหว่างชาวมูฮายิรีน (Muhajirs) และชาวอันซอศ (Ansas) บัยตุ้ลมาลนี้เองที่เป็นต้นแบบของกองคลังและธนาคารกลางของรัฐอิสลามในเวลาต่อมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า บัยตุ้ลมาลนั้นมิได้ทำหน้าที่เป็นของกองคลังและธนาคารกลางของรัฐอิสลามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในบางยุคบางสมัย บัยตุ้ลมาลก็ทำหน้าที่บางอย่าคล้ายกับธนาคารพาณิชในปัจจุบันด้วยเช่นกัน เช่นในช่วงแรกๆของสมัยราชวงศ์อุมัยยะ (Umayyad) บัยตุ้ลมาลทำหน้าที่บางอย่างคล้ายธนาคารเพื่อการเกษตรด้วย
ท่านนบีเองก็เคยทำหน้าที่เป็น มุดาริบ (Mudarib) คุมกองคาราวาน ในสัญญามุดอรอบะฮฺ (Mudarabah) และมุดอรอบะฮฺนี้เองที่เป็นหลักการและเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่งในการดำเนินงานของธนาคารอิสลามให้ปัจจุบัน
นับตั้งแต่ธนาคารธนาคารอิสลามแห่งแรกชื่อมิตฆ็อมร์ (Mit Ghamr) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นที่ประเทศอียิปต์ในปี พ.ศ. 2506(ค.ศ.1963) ระบบธนาคารอิสลามก็มีการปรับปรุงและพัฒนามาโดยตลอด มีการนำเสนอเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา และสอดคล่องกับสภาพเศรษฐกิจและความต้องการทางการเงินของสังคมปัจจุบันมากขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันขนาดของระบบการเงินอิสลามนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 10-15% ต่อปี มีสภาบันการเงินมากกว่า 250 สภาบัน (ธนาคารพานิช ธนาคารเพื่อการลงทุน บริษัทประกันภัย ฯลฯ) ที่ดำเนินงานภายใต้หลักการของอิสลาม กระจายอยู่ทั่วโลก มีสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และเงินทุนอีกประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันการเงินเหล่านี้
พอมาถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่าแล้ว ธนาคารอิสลามคืออะไรและมีความแตกต่างกับธนาคารในระบบอื่นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วธนาคารอิสลามก็ทำหน้าที่หลักเหมือนธนาคารทั่วไป คือเป็นสื่อกลางทางการเงินระหว่าง ผู้ลงทุนหรือผู้ฝากกับผู้กู้หรือผู้ประกอบการ (ธนาคารจัดหาช่องทางในการลงทุนให้แก่ผู้ฝาก ผ่านทางบัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ และเป็นแหล่งเงินทุนของผู้กู้หรือผู้ประกอบการ
โดยการนำเงินที่ได้จากผู้ฝากมาปล่อยสินเชื่อให้ก็ผู้ที่ต้องการ) อย่างไรก็ตามแม้ว่าธนาคารอิสลามและธนาคารทั่วไปจะมีหน้าที่หลักเหมือนกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สำคัญหลายประการเช่นการห้ามดอกเบี้ย และการไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจหรือกิจกรรมที่ขัดกับหลักการศาสนาและเป็นภัยต่อสังคม
ธนาคารอิสลามเป็นธนาคารที่ปลอดจากระบบดอกเบี้ย
การไม่ดำเนินธุรกิจบนหลักการดอกเบี้ยถือเป็นข้อแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของธนาคารอิสลามกับธนาคารทั่วไป ตามบทบัญญัติในคัมภีร์กุรอานที่สั่ง“ห้ามดอกเบี้ย แต่อนุมัติการค้า” และคำสอนที่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าจะเพิ่มพูนการทำกุศลทานและบั่นทอนดอกเบี้ย” การห้ามดอกเบี้ยจึงถือเป็นขอกำหนดทางการเงินที่สำคัญของอิสลาม ดังนั้นการดำเนินงานของธนาคารอิสลามจะไม่ตั้งอยู่บนหลักการดอกเบี้ย แต่จะตั้งอยู่บนหลักการการแบ่งบันผลกำไร
อิสลามถือว่าดอกเบี้ยเป็นบ่อเกิดของการเอารัดเอาเปรียบและความอยุติธรรมให้สังคม และเป็นตัวถ่วงความเจริญทางเศรษฐกิจ
อิสลามถือว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยบนเงินกู้นั้นไม่มีความชอบธรรมและไม่สมเหตุสมผล เป็นการเอารัดเอาเปรียบ เพราะถ้าหากถือว่าการปล่อยกู้เป็นการลงทุน เพราะเหตุใดเงินลงทุนของผู้ปล่อยกู้จึงได้รับการประกันว่าจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ในขณะผู้ประกอบการหรือผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ปล่อยกู้ไม่ว่าเงินที่กู้มานั้นจะก่อให้เกิดรายได้หรือไม่ก็ตาม นั้นก็หมายความว่าในสภาพเศรษฐกิจเดียวกันผู้ปล่อยกู้ไม่ได้รับความเสี่ยงใดๆในการลงทุนเลย แต่ผู้กู้กับต้องรับความเสียงนั้นไว้ทั้งหมด ในทางกลับกันหากกิจการของผู้กู้ทำกำไรได้อย่างมากอันเนื่องมาจากการนำเงินนั้นมาลงทุน ก็เป็นความไม่เป็นธรรมกับผู้ปล่อยกู้เช่นกัน
อิสลามถือว่าหลักการแบ่งผลกำไรขาดทุนนั้นยุตธรรม เช่นในฐานะที่เงินทุนและแรงงานต่างเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต ดังนั้นผู้ปล่อยกู้ควรจะได้รับผลตอบแทนตามสัดส่วนของผลกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการ
ในระบบดอกเบี้ยนั้นเนื่องจากผู้ปล่อยกู้จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากผลประกอบการของผู้กู้ แต่จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอนตายตัวในรูปของดอกเบี้ย
ดังนั้นผู้ปล่อยกู้จะปล่อยกู้เฉพาะผู้กู้ที่มีหลักประกันเงินกู้ที่ดีเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าโครงการที่ผู้กู้จะนำเงินไปลงทุนนั้นจะก่อให้เกิดผลกำไรหรือไม่
ดังนั้นเงินทุนจำนวนมากจึงถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆทางเศรษฐกิจ เป็นการสินเปลืองทรัพยากรทางเศรษฐกิจโดยเปล่าประโยชน์ ในระบบการแบ่งผลกำไรขาดทุนนั้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของเงินกู้นั้นขึ้นอยู่กับผลกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจที่เงินกู้นั้นถูกนำไปลงทุน ดังนั้นผู้ปล่อยกู้จะพิจารณาปล่อยกู้ให้กับโครงการหรือธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ในการทำกำไรสูงสุดก่อนเป็นอันดับแรก เป็นผลให้เงินทุนนั้นถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
เนื่องจากธนาคารอิสลามดำเนินงานภายใต้ปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ของอิสลามที่มุ่งเน้นในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่างธนาคารอิสลามกับธนาคารทั่วไปที่ชัดเจนอีกประการก็คือจะไม่สนับสนุนหรือปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่ขัดกับหลักการศาสนาและเป็นภัยต่อสังคมถึงแม้ว่าธุรกิจนั้นจะสามารถทำกำไรได้อย่างมากก็ตาม ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มของมึนเมา อาวุธ สถานเริงรมย์ ดอกเบี้ยหรือสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอื่นๆ จะไม่รับการปล่อยชินเชื่อโดยธนาคารอิสลาม
ด้วยเหตุที่ธนาคารอิสลามไม่ได้ดำเนินงานตามหลักการดอกเบี้ย
ดังนั้นธนาคารจึงมีวิธีการระดมเงินทุนและปล่อยสินเชื้อ ที่ต่างจากธนาคารทั่วไป เป็นที่รู้ว่าธนาคารระดมทุนผ่านทางเงินฝาก โดยทั่วไปแล้วบัญชีเงินฝากธนาคารอิสลามแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ด้วยกัน
ประเภทแรกคือ บัญชีเงินฝากที่ไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆจากการฝาก เนื่องจากผู้ฝากไม่ได้อนุญาตให้ธนาคารนำเงินไปลงทุน บัญชีประเภทนี้ได้แก่ บัญชีกระแสรายวัน (Current Account) และ บัญชีรักษาทรัพย์เป็นต้น
อีกประเภทคือเงินฝากที่ได้รับผลตอบแทนจากการฝาก ในบัญชีประเภทนี้จะมีข้อตกลงว่าผู้ฝากจะต้องอนุญาตให้ธนาคารสามารถนำเงินฝากไปลงทุนหาผลตอบทนได้ ผลตอบแทนที่ได้รับจากบัญชีประเภทนี้ไม่ได้อยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่จะอยู่ในรูปของเงินปันผลที่คำนวณจากผลกำไรขาดทุนของธนาคาร บัญชีประเภทนี้ได้แก่ บัญชีเงินฝากเพื่อการลงทุน(Investment Account)
วิธีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามนั้นก็เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่ทำให้ธนาคารอิสลามนั้นแตกต่างจากธนาคารทั่วไป อาจจะพุดได้ว่าวิธีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอิสลามนั้นแตกต่างจากธนาคารทั่วไปอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากธนาคารอิสลามไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการปล่อยกู้ หลักการหรือรูปแบบของสัญญาให้การปล่อยสินเชื่อที่สำคัญๆของธนาคารอิสลามได้แก่
•มุรอบาฮะฮฺ (Murabahat)- หลักการบวกกำไร (Make-Up /Cost Plus Based Financing )
มุรอบาฮะฮฺเป็นรุปแบบสัญญาการปล่อยสินเชื่อที่นิยมใช่กันมาก คิดเป็น 80-90% ของสินเชื่อที่ปล่อยโดยธนาคารอิสลาม ขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อโดยวิธีการนี้คือ ลูกค้าของธนาคารจะแจ้งความประสงค์กับทางธนาคารว่าต้องการซื้อสิ่งของอย่างไดอย่างหนึ่ง และต้องการให้ธนาคารออกสินเชื่อเพื่อซื้อสิ่งของนั้น ธนาคารก็จะเป็นผู้ซื้อสิ่งของที่ระบุนั้นมาเป็นของตนเองและขายให้กับลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
โดยราคาที่ธนาคารขายให้การลูกค้านั้นจะบวกกำไรของธนาคารเขาไปด้วย โดยลูกค้าสามารถชำระสินเชื่อในรูปเงินสดหรือผ่อนชำระเป็นงวดๆก็ได้แล้วแต่สัญญาที่ตกลงกัน เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้สัญญานี้ถูกต้องตามหลักการศาสนาก็คือ ธนาคารจะต้องบอกถึงต้นทุนของสิ่งของและกำไรที่ธนาคารบวกเข้าไปให้ลูกค้ารู้ และธนาคารจะต้องเป็นเจ้าของสิ่งนั้นก่อนที่จะขายต่อให้กับลูกค้า สินเชื่อที่ปล่อยโดยใช้หลักการนี้เช่น สินเชื่อเพื่อการซื่อวัตถุดิบ เป็นต้น
•มุชารอกะฮฺ (Musharakah)-หลักการความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
สินเชื่อบนหลักการมุชารอกะฮฺเป็นการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบที่ธนาคารจะเข้าไปร่วมลงทุนกันลูกค้า
ดังนั้นธนาคารจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนทางการค้าไม่ใช่เจ้าหนี้ ธนาคารจะได้ผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อในรูปของส่วนแบ่งของผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ แต่ในกรณีที่ขาดทุนธนาคารก็จะได้ผลกระทบตามสัดส่วนที่ขาดทนแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น
สินเชื่อที่ปล่อยบนหลักการนี้เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและการส่งออก หรือใช้ในการออก หนังสือเครดิต (Letters of credit หนังสือที่ผู้ประกอบการขอให้ธนาคารในท่องถิ่นของตนแจ้งไปยังธนาคารในต่างประเทศให้จ่ายเงินให้แก่บุคคสที่3 มักใช้ในธุรกิจนำเข้าและส่งออกเป็นเครื่องมือการชำระเงินค่าสินค่าและบริการ)
ธนาคารอิสลามในซูดานได้ใช้หลักการมุชารอกะฮฺในการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเกษตร โดยธนาคารและเกษตรกรจะทำสัญญามุชารอกะฮฺเป็นหุ้นส่วนกับ โดยธนาคารจะลงหุ้นเป็นค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการเพราะปลูก ส่วนเกษตรกรลงหุ้นเป็นที่ดินและแรงงาน
•มุดอรอบะฮฺ (Mudarabah) – หลักการแบ่งผลกำไร (Profit-Sharing)
ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎี มุดอรอบะฮฺจะถูกสนับสนุนให้เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินงานของธนาคารอิสลาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺนั้นไม่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่ลายนัก
เนื่องจากสินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺนั้นมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในหลายประเทศและยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานในทางปฏิบัติ โดยสรุปแล้วแนวคิดของการปล่อยสินเชื่อบนหลักการมุดอรอบะฮฺคือ ธนาคารจะปล่อยเงินกู้ให้การโครงการใดโครงการหนึ่ง โดยธนาคารเป็นผู้ออกเงินทุนในการในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ส่วนผู้กู้ทำหน้าเป็นดำเนินการเท่านั้น สัดส่วนการแบ่งผลกำไรขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญา ในกรณีที่ขาดทุนธนาคารจะสุญเสียเงินทุน ส่วนผู้กู้หรือผู้ประกอบการจะสุญเสียในรูปของการสินเปรื่องเวลาและแรงงานที่ลงไป
(ยังมีต่อ)