การทำความเข้าใจศาสนาเชน ซึ่งเป็นศาสนาร่วมสมัยกับศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาล
น่าจะทำให้เราชาวพุทธ ได้ฉุกคิดถึงแง่มุมอะไรหลายอย่างทีเดียว.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวีระ
ศาสดาแห่งศาสนาเชน
ตอนที่ 1
มหาวีระ
สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล เต็มไปด้วยลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย ในครั้งนี้ ผมขอชวนไปทำความรู้จักกับผู้ก่อตั้งระบบความเชื่อคนสำคัญคนหนึ่ง นั่นคือ ศาสดามหาวีระ (Mahavira) ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน (Jainism)
ใครที่พอรู้จักศาสนาเชนอยู่บ้าง อาจจะข้องใจตงิดๆ ว่า ผมเปลี่ยนรสนิยม มีศรัทธาอยากเป็นชีเปลือย นุ่งลมห่มฟ้าหรือเปล่าหว่า จึงมาชวนคุยเรื่องของพวกเดียรถีย์ที่ทางพุทธเรียกชื่อว่า นิครนถ์นาฏบุตร ผู้นี้
เหตุผลง่ายๆ ครับ คือ
หนึ่ง - มหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ดังนั้น เรื่องเล่าใด ๆ ก็ตามที่ปรากฏอยู่ในประวัติของศาสดาองค์นี้ ย่อมจะสะท้อนสังคมและความคิดของผู้คนในสมัยพุทธกาลได้
สอง – ไม่ว่าเราจะศรัทธาหรือเห็นคล้อยตามคำสอนมหาวีระหรือไม่ แต่ศาสดาองค์นี้ก็มีจุดประสงค์ที่ดีงาม คือ หวังช่วยผู้คนให้พ้นทุกข์
สาม – ที่ผ่านมาชาวพุทธรับรู้สภาพสังคมอินเดียในสมัยนั้นจากมุมมองของพุทธศาสนาเป็นหลัก จะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าเรามองด้วยสายตาของศาสนาอื่นร่วมสมัยดูบ้าง
ผมเชื่อว่า คุณผู้อ่านจะได้มุมมองแปลกใหม่ติดสมองกลับไปบ้างแน่ๆ
พระมหาวีระเกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระเจ้าสิทธารถะ (King Siddartha) ตระกูลชญาตริกะ อยู่ในพวกกษัตริย์ลิจฉวีที่ร่วมปกครองนครเวสาลี (ไพสาลี) นครหลวงของแคว้นวิเทหะในสมัยนั้น พระราชมารดามีพระนามว่า พระนางตฤศลา (Queen Trishala) พระมหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ ตำราส่วนใหญ่ว่าเกิดก่อน แต่บางตำราก็ว่าเกิดทีหลัง
ตำนานของเชนกล่าวว่า ก่อนประสูติ พระนางตฤศลามีพระสุบินนิมิตถึงสิ่งมงคล 14 อย่าง ได้แก่ ช้าง โค ราชสีห์ เทวีลักษมี พวงบุปผชาติ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดวงอาทิตย์ ธงผืนใหญ่ โถใส่น้ำทำด้วยเงิน สระบัว ทะเลน้ำนม อากาศยานของเทพ อัญมณี และไฟที่ปราศจากควัน (บางตำราเพิ่มเข้าไปอีก 2 อย่าง คือ ปลาคู่ และบัลลังก์)
พระสุบินนิมิตของพระนางตฤศลา
ในวันที่พระกุมารน้อยประสูติ ได้มีการจัดงานมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตามท้องถนนทั่วนครเวสาลี ผู้คนนำเครื่องสังเวยไปเซ่นไหว้ในเทวสถาน กษัตริย์และพราหมณ์ไปสาธยายพระเวทและมนตร์ต่อหน้าปฏิมาของพระพรหมและพระวิษณุ
ส่วนบรรดาฤาษีจากลุ่มแม่น้ำคงคาและเทือกเขาหิมาลัยที่มาเฝ้าชมพระบารมี เมื่อได้เห็นพระกุมารก็ทำนายว่า พระกุมารจะรุ่งเรืองในอนาคต โดยถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นจักรพรรดิราช แต่ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอก และได้มีพิธีขนานนามว่า วรรธมาน (Vardhaman) ชื่อนี้เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ขณะที่พระนางตฤศลาทรงมีพระครรภ์อยู่นั้น ราชอาณาจักรได้บังเกิดสิ่งที่เป็นมงคลขึ้นมากมาย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เหล่ามวลบุปผชาติก็เบ่งบานสะพรั่ง เป็นอาทิ
กล่าวกันว่า การถือกำเนิดของพระกุมารน้อยทำให้บรรลังก์ขององค์อินทร์ทั้งหลาย (มีหลายองค์) สั่นสะเทือน ร้อนถึงองค์ศักรินทร์ (Sakarindra) ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่พระอินทร์ทั้งปวงต้องไปรับเสด็จ โดยทำให้พระมารดาบรรทมหลับ แล้วเชิญพระกุมารไปประกอบพิธียังเขาพระสุเมรุ (เรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์นี่ไปกันได้ดีกับคนในวรรณะกษัตริย์ เพราะคนในวรรณะนี้ก็คือ ชาวอารยันซึ่งเดิมทีเป็นพวกเร่ร่อนที่นับถือเทพแห่งฟากฟ้า เช่น พระอินทร์ และพระวรุณ)
เหล่าพระอินทร์นำพระกุมารไปเขาพระสุเมรุ
เจ้าชายวรรธมานได้รับการศึกษาเยี่ยงกษัตริย์ โดยศึกษาไตรเพทจนจบบริบูรณ์ และศึกษาวิชาทางโลกอื่นๆ เช่น วิชายิงธนู วิชาหมอช้าง วิชาฝึกม้าพยศและม้าป่า และวิชาการทหาร เป็นต้น
แล้วพระนาม “มหาวีระ” ได้มาเมื่อไร? อย่างไร?
คำอธิบายมี 2 แนวครับ
แนวแรกระบุว่า ท่านได้รับพระนามมหาวีระหลังจากที่ได้สละชีวิตทางโลก มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรม โดยเผชิญกับความยากลำบากต่าง ๆ นานาด้วยความสงบ สุขุมเยือกเย็น และกล้าหาญ
ส่วนอีกแนวหนึ่งอ้างถึงวีรกรรมในวัยเยาว์ กล่าวคือ วันหนึ่งขณะที่เจ้าชายทรงเล่นกับพระสหายในพระราชอุทยาน ได้มีช้างพลายเมามันเชือกหนึ่งหลุดจากโรงช้างต้น บุกเข้าไปในพระราชอุทยานและตรงเข้าไปยังพวกกุมารน้อยที่กำลังเล่นกันอยู่ กุมารทั้งหลายเมื่อเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว หนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง
แต่เจ้าชายวรรธมานกลับไม่สะทกสะท้าน และเมื่อได้จังหวะก็ะกระโดดเข้าจับงวงขึ้นสู่หลังช้าง บังคับให้ช้างเดินกลับไปยังโรงช้างต้นตามที่ได้ศึกษามา เมื่อมอบช้างให้กับควาญช้างแล้ว ก็เสด็จกลับพระราชวัง
เมื่อกิตติศัพท์เรื่องนี้เล่าลือแพร่หลายออกไป ประชาชนทั้งหลายก็ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญว่า เจ้าชายทรงมีความกล้าหาญยิ่งนัก และถวายพระนามใหม่ว่า มหาวีระ (วีระ = ความกล้าหาญ) ซึ่งปรากฏว่าพระนามใหม่นี้ฮ็อตฮิตติดปากยิ่งกว่าพระนามเดิมเสียอีก
เจ้าชายวรรธมานมีความกล้าหาญไม่กลัวงูเห่าตั้งแต่วัยเยาว์
อีกตำนานหนึ่งเล่าเสริมว่า องค์เทพศักรินทร์ทรงอิจฉาความกล้าหาญของเจ้าชายวรรธมานซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา จึงได้แปลงเป็นงูเห่ามาเลื้อยพันรอบต้นไม้ในบริเวณที่เจ้าชายและพระสหายกำลังเล่นกันอยู่ พระสหายทั้งหลายต่างวิ่งหนีกันกระเจิง มีแต่เจ้าชายน้อยเท่านั้นที่ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง ฉวยมือคว้าหมับจับงูร้ายอย่างรวดเร็ว แล้วเหวี่ยงทิ้งไป!
เรื่องตำนานช้างกับงูนี่น่าคิดทีเดียว เพราะในภาษาไทยมีคำว่า นาคินทร์ นาเคนทร์ นาเคศ และนาเคศวร (ที่มีรากมาจากบาลีและสันสกฤต) ซึ่งแปลว่า พญาช้าง หรือพญางู ก็ได้
เรื่องนี้ของฝากไปถึงผู้รู้ทางภาษาและวัฒนธรรมอินเดีย ช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยเถิดว่า ตำนานช้างและงูที่ว่านี้ มีรายละเอียดสนุก ๆ ซุกซ่อนอยู่หรือไม่
โปรดติดตามตอนที่ 2 (จบ)
http://www.gotoknow.org/posts/198540?
มหาวีระ - ศาสดาแห่งศาสนาเชน ตอนที่ 1
น่าจะทำให้เราชาวพุทธ ได้ฉุกคิดถึงแง่มุมอะไรหลายอย่างทีเดียว.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวีระ
ศาสดาแห่งศาสนาเชน
ตอนที่ 1
มหาวีระ
สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล เต็มไปด้วยลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย ในครั้งนี้ ผมขอชวนไปทำความรู้จักกับผู้ก่อตั้งระบบความเชื่อคนสำคัญคนหนึ่ง นั่นคือ ศาสดามหาวีระ (Mahavira) ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน (Jainism)
ใครที่พอรู้จักศาสนาเชนอยู่บ้าง อาจจะข้องใจตงิดๆ ว่า ผมเปลี่ยนรสนิยม มีศรัทธาอยากเป็นชีเปลือย นุ่งลมห่มฟ้าหรือเปล่าหว่า จึงมาชวนคุยเรื่องของพวกเดียรถีย์ที่ทางพุทธเรียกชื่อว่า นิครนถ์นาฏบุตร ผู้นี้
เหตุผลง่ายๆ ครับ คือ
หนึ่ง - มหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ดังนั้น เรื่องเล่าใด ๆ ก็ตามที่ปรากฏอยู่ในประวัติของศาสดาองค์นี้ ย่อมจะสะท้อนสังคมและความคิดของผู้คนในสมัยพุทธกาลได้
สอง – ไม่ว่าเราจะศรัทธาหรือเห็นคล้อยตามคำสอนมหาวีระหรือไม่ แต่ศาสดาองค์นี้ก็มีจุดประสงค์ที่ดีงาม คือ หวังช่วยผู้คนให้พ้นทุกข์
สาม – ที่ผ่านมาชาวพุทธรับรู้สภาพสังคมอินเดียในสมัยนั้นจากมุมมองของพุทธศาสนาเป็นหลัก จะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าเรามองด้วยสายตาของศาสนาอื่นร่วมสมัยดูบ้าง
ผมเชื่อว่า คุณผู้อ่านจะได้มุมมองแปลกใหม่ติดสมองกลับไปบ้างแน่ๆ
พระมหาวีระเกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระเจ้าสิทธารถะ (King Siddartha) ตระกูลชญาตริกะ อยู่ในพวกกษัตริย์ลิจฉวีที่ร่วมปกครองนครเวสาลี (ไพสาลี) นครหลวงของแคว้นวิเทหะในสมัยนั้น พระราชมารดามีพระนามว่า พระนางตฤศลา (Queen Trishala) พระมหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ ตำราส่วนใหญ่ว่าเกิดก่อน แต่บางตำราก็ว่าเกิดทีหลัง
ตำนานของเชนกล่าวว่า ก่อนประสูติ พระนางตฤศลามีพระสุบินนิมิตถึงสิ่งมงคล 14 อย่าง ได้แก่ ช้าง โค ราชสีห์ เทวีลักษมี พวงบุปผชาติ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดวงอาทิตย์ ธงผืนใหญ่ โถใส่น้ำทำด้วยเงิน สระบัว ทะเลน้ำนม อากาศยานของเทพ อัญมณี และไฟที่ปราศจากควัน (บางตำราเพิ่มเข้าไปอีก 2 อย่าง คือ ปลาคู่ และบัลลังก์)
พระสุบินนิมิตของพระนางตฤศลา
ในวันที่พระกุมารน้อยประสูติ ได้มีการจัดงานมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตามท้องถนนทั่วนครเวสาลี ผู้คนนำเครื่องสังเวยไปเซ่นไหว้ในเทวสถาน กษัตริย์และพราหมณ์ไปสาธยายพระเวทและมนตร์ต่อหน้าปฏิมาของพระพรหมและพระวิษณุ
ส่วนบรรดาฤาษีจากลุ่มแม่น้ำคงคาและเทือกเขาหิมาลัยที่มาเฝ้าชมพระบารมี เมื่อได้เห็นพระกุมารก็ทำนายว่า พระกุมารจะรุ่งเรืองในอนาคต โดยถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นจักรพรรดิราช แต่ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอก และได้มีพิธีขนานนามว่า วรรธมาน (Vardhaman) ชื่อนี้เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ขณะที่พระนางตฤศลาทรงมีพระครรภ์อยู่นั้น ราชอาณาจักรได้บังเกิดสิ่งที่เป็นมงคลขึ้นมากมาย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เหล่ามวลบุปผชาติก็เบ่งบานสะพรั่ง เป็นอาทิ
กล่าวกันว่า การถือกำเนิดของพระกุมารน้อยทำให้บรรลังก์ขององค์อินทร์ทั้งหลาย (มีหลายองค์) สั่นสะเทือน ร้อนถึงองค์ศักรินทร์ (Sakarindra) ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่พระอินทร์ทั้งปวงต้องไปรับเสด็จ โดยทำให้พระมารดาบรรทมหลับ แล้วเชิญพระกุมารไปประกอบพิธียังเขาพระสุเมรุ (เรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์นี่ไปกันได้ดีกับคนในวรรณะกษัตริย์ เพราะคนในวรรณะนี้ก็คือ ชาวอารยันซึ่งเดิมทีเป็นพวกเร่ร่อนที่นับถือเทพแห่งฟากฟ้า เช่น พระอินทร์ และพระวรุณ)
เหล่าพระอินทร์นำพระกุมารไปเขาพระสุเมรุ
เจ้าชายวรรธมานได้รับการศึกษาเยี่ยงกษัตริย์ โดยศึกษาไตรเพทจนจบบริบูรณ์ และศึกษาวิชาทางโลกอื่นๆ เช่น วิชายิงธนู วิชาหมอช้าง วิชาฝึกม้าพยศและม้าป่า และวิชาการทหาร เป็นต้น
แล้วพระนาม “มหาวีระ” ได้มาเมื่อไร? อย่างไร?
คำอธิบายมี 2 แนวครับ
แนวแรกระบุว่า ท่านได้รับพระนามมหาวีระหลังจากที่ได้สละชีวิตทางโลก มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรม โดยเผชิญกับความยากลำบากต่าง ๆ นานาด้วยความสงบ สุขุมเยือกเย็น และกล้าหาญ
ส่วนอีกแนวหนึ่งอ้างถึงวีรกรรมในวัยเยาว์ กล่าวคือ วันหนึ่งขณะที่เจ้าชายทรงเล่นกับพระสหายในพระราชอุทยาน ได้มีช้างพลายเมามันเชือกหนึ่งหลุดจากโรงช้างต้น บุกเข้าไปในพระราชอุทยานและตรงเข้าไปยังพวกกุมารน้อยที่กำลังเล่นกันอยู่ กุมารทั้งหลายเมื่อเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว หนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง
แต่เจ้าชายวรรธมานกลับไม่สะทกสะท้าน และเมื่อได้จังหวะก็ะกระโดดเข้าจับงวงขึ้นสู่หลังช้าง บังคับให้ช้างเดินกลับไปยังโรงช้างต้นตามที่ได้ศึกษามา เมื่อมอบช้างให้กับควาญช้างแล้ว ก็เสด็จกลับพระราชวัง
เมื่อกิตติศัพท์เรื่องนี้เล่าลือแพร่หลายออกไป ประชาชนทั้งหลายก็ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญว่า เจ้าชายทรงมีความกล้าหาญยิ่งนัก และถวายพระนามใหม่ว่า มหาวีระ (วีระ = ความกล้าหาญ) ซึ่งปรากฏว่าพระนามใหม่นี้ฮ็อตฮิตติดปากยิ่งกว่าพระนามเดิมเสียอีก
เจ้าชายวรรธมานมีความกล้าหาญไม่กลัวงูเห่าตั้งแต่วัยเยาว์
อีกตำนานหนึ่งเล่าเสริมว่า องค์เทพศักรินทร์ทรงอิจฉาความกล้าหาญของเจ้าชายวรรธมานซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา จึงได้แปลงเป็นงูเห่ามาเลื้อยพันรอบต้นไม้ในบริเวณที่เจ้าชายและพระสหายกำลังเล่นกันอยู่ พระสหายทั้งหลายต่างวิ่งหนีกันกระเจิง มีแต่เจ้าชายน้อยเท่านั้นที่ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง ฉวยมือคว้าหมับจับงูร้ายอย่างรวดเร็ว แล้วเหวี่ยงทิ้งไป!
เรื่องตำนานช้างกับงูนี่น่าคิดทีเดียว เพราะในภาษาไทยมีคำว่า นาคินทร์ นาเคนทร์ นาเคศ และนาเคศวร (ที่มีรากมาจากบาลีและสันสกฤต) ซึ่งแปลว่า พญาช้าง หรือพญางู ก็ได้
เรื่องนี้ของฝากไปถึงผู้รู้ทางภาษาและวัฒนธรรมอินเดีย ช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยเถิดว่า ตำนานช้างและงูที่ว่านี้ มีรายละเอียดสนุก ๆ ซุกซ่อนอยู่หรือไม่
โปรดติดตามตอนที่ 2 (จบ)
http://www.gotoknow.org/posts/198540?