เนื่องจากถูกจำกัดด้วยจำนวนกระทู้วันละ 4 กระทู้ จึงขอปรับวิธีการ
แปะข่าว พี่จะรวมข่าวจาก "มติชน" ไว้ในกระทู้เดียวกันกันหมด...
โปรดติดตาม ...ด้วยค่ะ
คุยกับ “ทามาดะ” ในวันที่ ”ประเทศไทย” หมกมุ่นอยู่กับปัญหา ”ประชาธิปไตย”
สัมภาษณ์โดย บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ
บรรยากาศทางการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมายังอยู่ในภาวะที่มี
ความเคลื่อนไหวและน่าจับตามองตลอดเวลา ทั้งประเด็นการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ปัญหาเหลือง-แดงและที่สำคัญคือการกระบวนการสร้าง
ประชาธิปไตยที่ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด จนถึงเวลานี้สถานการณ์
ทางการเมืองของประเทศก็ยังไม่สามารถเชื่อมั่นในสิ่งใดได้
หลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลจะส่งผลต่อกระบวนการ
ประชาธิปไตยอย่างไร "มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์ “ศ.โยชิฟูมิ ทามาดะ”
อาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย
ร่วมสมัยผู้ติดตามความเคลื่อนไหวในเมืองไทยอย่างใกล้ชิด ......
หาไม่าแก้ไขเพิ่มเติมในกระทู้ ก็คงจะไปเติมอยูี่ในคคห. ค่ะ ...
<
<
<
@อนาคตความขัดแย้ง "เหลือง-แดง" จะคลี่คลายไปในทิศทางใด
ผมเข้าใจตรรกะของคนเสื้อแดงได้ แต่ผมไม่เข้าใจว่าคนเสื้อเหลืองคิด
อะไรอยู่ ส่วนคำถามที่ว่าเสื้อเหลืองจะหายไปหรือไม่ ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับ
ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง มีใครบ้างผมไม่รู้ แต่รู้ว่ามีคนอยู่เบื้องหลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้
เกิดม็อบ “เสธ.อ้าย” ซึ่งโดยสาระเนื้อหาแล้วก็คือกลุ่มพันธมิตร เพียง
แค่เปลี่ยนชื่อกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเท่านั้น เมื่อเสธอ้ายไปก็อาจจะ
มีคนอื่นออกมาเคลื่อนไหวแทน แต่ทั้งนี้มีเนื้อหาสาระเป็นอันเดียวกัน
เพราะมีคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มเดียวกัน ในอนาคตกลุ่มเสื้อเหลือง
อาจเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กลงได้ แต่เชื่อว่าจะไม่หายไปง่าย ๆ
@แนวโน้มของคนที่อยู่เบื้องหลังเสื้อเหลืองคิดว่าจะมีโอกาสชนะในการ
ต่อสู้ทางการเมืองหรือไม่
ผมเดาว่าเขายังมีทางชนะแต่ถ้าชนะไม่ได้ก็อาจลงเอยด้วยการประนีประนอม
แต่คนกลุ่มนี้เชื่อว่าตัวเองยังมีทางชนะจึงคงไม่สลายตัวไปง่าย ๆ
@จากการออกมาเคลื่อนไหวของ "เสธ.อ้าย" มองปรากฏการณ์กลุ่ม
อนุรักษ์นิยมในสังคมไทยขณะนี้อย่างไรถดถอยหรือพัฒนาไปในทิศทางใด
ผมมองว่าไม่ได้ถดถอยหรือก้าวหน้า คิดว่าไม่ไปไหน เปลี่ยนแค่เพียงรูป
แบบเท่านั้น แต่เป้าหมายก็ยังอยู่ตรงจุดเดิม
@คิดอย่างไรกับประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา 112”
มาตรา 112 ถือว่าสำคัญกับเฉพาะบางคน แต่สำหรับประชาชนโดยทั่วไป
ถือว่าไม่มีความหมาย ถ้าเทียบกับประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยใน
โลกแล้ว ควรจะแก้ไขมาตรานี้ เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวสถาบันเอง
และผู้ที่จะเสียหายมากที่สุดก็คือตัวสถาบันไม่ใช่ประชาชน ขณะนี้นักวิชาการ
ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าใจว่า มาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการกดขี่ประชาชน
คิดว่าสถาบันต้องดำรงอยู่ต่อไป อย่างในประเทศญี่ปุ่นหรือยุโรปที่มี
สถาบันกษัตริย์สามารถดำรงควบคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตยได้
ในขณะที่ประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับสถาบัน
ถือว่ายังมีความพิเศษอยู่ ทำให้เกิดปัญหาอยู่ในขณะนี้
@จากคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี’53 เชื่อว่าท้ายที่สุดจะหาตัวคนมา
ลงโทษได้หรือไม่
ถ้าเป็นที่ประเทศญี่ปุ่นหากเกิดเหตุในลักษณะนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเป็น
คนรับผิดชอบในฐานะผู้ที่มีคำสั่งไม่เหมาะสม การดำเนินคดีในทางอาญา
เป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ “จริยธรรม” เป็นสิ่งสำคัญและคนที่เป็นมนุษย์
ทุกคนต้องมี ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องลาออกหรือวางมือจากการเมือง
@บทบาทของรัฐบาลปัจจุบันและความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์
สลายการชุมนุมเมื่อปี’53
ผมเดาไม่ได้ว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่ แต่เชื่อว่าอย่างน้อยรัฐบาลต้องตอบ
คำถามกับคนเสื้อแดง ที่ต้องหาตัวผู้กระทำผิดจากการสลายการชุมนุม
เมื่อปี 2553 มาลงโทษ ดังนั้น รัฐบาลต้องดำเนินคดีกับผู้ที่สั่งการใน
ขณะนั้น ถ้าไม่ทำอะไรคนเสื้อแดงก็อาจไม่พอใจ อย่างน้อยรัฐบาลยัง
ต้องแสดงให้คนเสื้อแดงเห็นว่ามีความจริงใจในการดำเนินคดีสลาย
การชุมนุม
@คิดอย่างไรกับ พ.ร.บ.ปรองดอง
เรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับกลุ่มนิติราษฎร์ ว่าความอยุติธรรมเกิดขึ้นจากการ
รัฐประหารเมื่อปี 2549 จึงควรล้างผลพวงที่เกิดจากการรัฐประหารและ
กลับไปสภาพเดิม ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่
โดยไม่ใช้กฎหมายซึ่งเกิดจากการรัฐประหาร
ผมยังเชื่อเหมือนเดิม การเมืองไทยในขณะนี้เมื่อเทียบกับประเทศ
เพื่อนบ้านถือว่าอยู่ในสภาพแย่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เมื่อ
ย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อน ถือว่าประเทศไทยมีพัฒนาการ
ทางการเมืองทีดีประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน
สาเหตุสำคัญผมคิดว่ามาจากการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง ซึ่งต่างชาติ
จำนวนมากเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นสาระสำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ใน
ระบอบประชาธิปไตย ด้วยสภาพบริบทของการเมืองไทย ที่ชนชั้นนำ
ยังเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้หลายปีที่ผ่านมากระบวนการ
ทำให้เป็นประชาธิปไตยกลับถอยหลัง
@คิดว่าจะมีรัฐประหารครั้งต่อไปเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่
การรัฐประหารไม่ได้มาจากทหาร แต่มีคนสั่งหรือมีผู้รับรองให้ ดังนั้น
จึงขึ้นอยู่กับผู้ที่สั่งว่าจะคิดอย่างไร อย่างน้อยคิดว่าสังคม ประชาชน
นักธุรกิจ ไม่มีใครต้องการการรัฐประหาร
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356957611&grpid=&catid=01&subcatid=0100
ตามอ่านเต็มจาก link ดีกว่า เนื้อหาน่าสนใจมาก ...นี่คือการเมือง
จากนักวิชาการ ... ในประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว ...เมื่อไหร่
...ประเทศไทย ..จะไปถึงจุดนั้นซะที
มติชนวันนี้ ...มีอะไรบ้าง ....โปรดติดตาม
แปะข่าว พี่จะรวมข่าวจาก "มติชน" ไว้ในกระทู้เดียวกันกันหมด...
โปรดติดตาม ...ด้วยค่ะ
คุยกับ “ทามาดะ” ในวันที่ ”ประเทศไทย” หมกมุ่นอยู่กับปัญหา ”ประชาธิปไตย”
สัมภาษณ์โดย บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ
บรรยากาศทางการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมายังอยู่ในภาวะที่มี
ความเคลื่อนไหวและน่าจับตามองตลอดเวลา ทั้งประเด็นการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ปัญหาเหลือง-แดงและที่สำคัญคือการกระบวนการสร้าง
ประชาธิปไตยที่ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด จนถึงเวลานี้สถานการณ์
ทางการเมืองของประเทศก็ยังไม่สามารถเชื่อมั่นในสิ่งใดได้
หลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลจะส่งผลต่อกระบวนการ
ประชาธิปไตยอย่างไร "มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์ “ศ.โยชิฟูมิ ทามาดะ”
อาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย
ร่วมสมัยผู้ติดตามความเคลื่อนไหวในเมืองไทยอย่างใกล้ชิด ......
หาไม่าแก้ไขเพิ่มเติมในกระทู้ ก็คงจะไปเติมอยูี่ในคคห. ค่ะ ...
<
<
<
@อนาคตความขัดแย้ง "เหลือง-แดง" จะคลี่คลายไปในทิศทางใด
ผมเข้าใจตรรกะของคนเสื้อแดงได้ แต่ผมไม่เข้าใจว่าคนเสื้อเหลืองคิด
อะไรอยู่ ส่วนคำถามที่ว่าเสื้อเหลืองจะหายไปหรือไม่ ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับ
ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง มีใครบ้างผมไม่รู้ แต่รู้ว่ามีคนอยู่เบื้องหลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้
เกิดม็อบ “เสธ.อ้าย” ซึ่งโดยสาระเนื้อหาแล้วก็คือกลุ่มพันธมิตร เพียง
แค่เปลี่ยนชื่อกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเท่านั้น เมื่อเสธอ้ายไปก็อาจจะ
มีคนอื่นออกมาเคลื่อนไหวแทน แต่ทั้งนี้มีเนื้อหาสาระเป็นอันเดียวกัน
เพราะมีคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มเดียวกัน ในอนาคตกลุ่มเสื้อเหลือง
อาจเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กลงได้ แต่เชื่อว่าจะไม่หายไปง่าย ๆ
@แนวโน้มของคนที่อยู่เบื้องหลังเสื้อเหลืองคิดว่าจะมีโอกาสชนะในการ
ต่อสู้ทางการเมืองหรือไม่
ผมเดาว่าเขายังมีทางชนะแต่ถ้าชนะไม่ได้ก็อาจลงเอยด้วยการประนีประนอม
แต่คนกลุ่มนี้เชื่อว่าตัวเองยังมีทางชนะจึงคงไม่สลายตัวไปง่าย ๆ
@จากการออกมาเคลื่อนไหวของ "เสธ.อ้าย" มองปรากฏการณ์กลุ่ม
อนุรักษ์นิยมในสังคมไทยขณะนี้อย่างไรถดถอยหรือพัฒนาไปในทิศทางใด
ผมมองว่าไม่ได้ถดถอยหรือก้าวหน้า คิดว่าไม่ไปไหน เปลี่ยนแค่เพียงรูป
แบบเท่านั้น แต่เป้าหมายก็ยังอยู่ตรงจุดเดิม
@คิดอย่างไรกับประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา 112”
มาตรา 112 ถือว่าสำคัญกับเฉพาะบางคน แต่สำหรับประชาชนโดยทั่วไป
ถือว่าไม่มีความหมาย ถ้าเทียบกับประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยใน
โลกแล้ว ควรจะแก้ไขมาตรานี้ เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวสถาบันเอง
และผู้ที่จะเสียหายมากที่สุดก็คือตัวสถาบันไม่ใช่ประชาชน ขณะนี้นักวิชาการ
ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าใจว่า มาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการกดขี่ประชาชน
คิดว่าสถาบันต้องดำรงอยู่ต่อไป อย่างในประเทศญี่ปุ่นหรือยุโรปที่มี
สถาบันกษัตริย์สามารถดำรงควบคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตยได้
ในขณะที่ประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับสถาบัน
ถือว่ายังมีความพิเศษอยู่ ทำให้เกิดปัญหาอยู่ในขณะนี้
@จากคดีการสลายการชุมนุมเมื่อปี’53 เชื่อว่าท้ายที่สุดจะหาตัวคนมา
ลงโทษได้หรือไม่
ถ้าเป็นที่ประเทศญี่ปุ่นหากเกิดเหตุในลักษณะนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเป็น
คนรับผิดชอบในฐานะผู้ที่มีคำสั่งไม่เหมาะสม การดำเนินคดีในทางอาญา
เป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ “จริยธรรม” เป็นสิ่งสำคัญและคนที่เป็นมนุษย์
ทุกคนต้องมี ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องลาออกหรือวางมือจากการเมือง
@บทบาทของรัฐบาลปัจจุบันและความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์
สลายการชุมนุมเมื่อปี’53
ผมเดาไม่ได้ว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่ แต่เชื่อว่าอย่างน้อยรัฐบาลต้องตอบ
คำถามกับคนเสื้อแดง ที่ต้องหาตัวผู้กระทำผิดจากการสลายการชุมนุม
เมื่อปี 2553 มาลงโทษ ดังนั้น รัฐบาลต้องดำเนินคดีกับผู้ที่สั่งการใน
ขณะนั้น ถ้าไม่ทำอะไรคนเสื้อแดงก็อาจไม่พอใจ อย่างน้อยรัฐบาลยัง
ต้องแสดงให้คนเสื้อแดงเห็นว่ามีความจริงใจในการดำเนินคดีสลาย
การชุมนุม
@คิดอย่างไรกับ พ.ร.บ.ปรองดอง
เรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับกลุ่มนิติราษฎร์ ว่าความอยุติธรรมเกิดขึ้นจากการ
รัฐประหารเมื่อปี 2549 จึงควรล้างผลพวงที่เกิดจากการรัฐประหารและ
กลับไปสภาพเดิม ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่
โดยไม่ใช้กฎหมายซึ่งเกิดจากการรัฐประหาร
ผมยังเชื่อเหมือนเดิม การเมืองไทยในขณะนี้เมื่อเทียบกับประเทศ
เพื่อนบ้านถือว่าอยู่ในสภาพแย่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เมื่อ
ย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อน ถือว่าประเทศไทยมีพัฒนาการ
ทางการเมืองทีดีประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน
สาเหตุสำคัญผมคิดว่ามาจากการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง ซึ่งต่างชาติ
จำนวนมากเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นสาระสำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ใน
ระบอบประชาธิปไตย ด้วยสภาพบริบทของการเมืองไทย ที่ชนชั้นนำ
ยังเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้หลายปีที่ผ่านมากระบวนการ
ทำให้เป็นประชาธิปไตยกลับถอยหลัง
@คิดว่าจะมีรัฐประหารครั้งต่อไปเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่
การรัฐประหารไม่ได้มาจากทหาร แต่มีคนสั่งหรือมีผู้รับรองให้ ดังนั้น
จึงขึ้นอยู่กับผู้ที่สั่งว่าจะคิดอย่างไร อย่างน้อยคิดว่าสังคม ประชาชน
นักธุรกิจ ไม่มีใครต้องการการรัฐประหาร
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356957611&grpid=&catid=01&subcatid=0100
ตามอ่านเต็มจาก link ดีกว่า เนื้อหาน่าสนใจมาก ...นี่คือการเมือง
จากนักวิชาการ ... ในประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว ...เมื่อไหร่ ...ประเทศไทย ..จะไปถึงจุดนั้นซะที