สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
สมัยโบราณ ใช้เรเดียมกันเลยทีเดียว
โดยผสมเรเดียมกับสารเรืองแสง (phosphor)
ช่างเขียนหน้าปัดก็เป็นโรคโลหิตจางกับกระดูกเปราะกันแทบทุกคน
ยุคต่อมาก็ฮิตใช้ Tritium ผสมกับ phosphor เขียนแทน
ผมยังมีอยู่เรือนนึงเลย
จะดูว่าใช้ Tritium ได้จากตรงตำแหน่ง 6 นาฬิกา มักจะเขียนประเทศผู้ผลิตนาฬิกาไว้
ถ้ามี Tritium ก็จะมีอักษร T ก่อนและหลัง ชื่อประเทศ
ตริเตียม มี half-life สั้นแค่ 12 ปีกว่าๆ
พอนาฬิกาเก่าหน่อยก็เลยไม่สว่างแล้ว
เรเดียมและตริเตียม ใช้กัมมันตรังสีในการสร้างแสง
ทำให้สามารถเรืองแสงได้ตลอดเวลา
ไม่เหมือนพวกสารเรืองแสงรุ่นใหม่ที่ใช้กันในปัจจุบัน
เช่นตัวที่มีชื่อการค้าว่า Luminova กับ Super-luminova
พวกนี้อาศัยกลไกควอนตัมในการสร้างแสง
โดยเมื่อสารเรืองแสงรับแสงจากภายนอกเข้าไป จะส่งให้อิเลคตรอนในวงโคจรมีพลังงานสูงขึ้น ขยับไปอยู่ในหลุมที่มีระดับพลังงานสูงขึ้น
เรียกว่า excited state
พอผ่านไปสักพัก อิเลคตรอนนั้นก็จะกระโดดกลับลงมาในหลุมระดับพลังงานปกติ พร้อมปล่อยพลังงานที่รับเข้าไปก่อนหน้าออกมาในรูปของโฟตอน
ถ้ามองในอีกด้าน สารเรืองแสงนี้ก็เป็นคล้ายกับแบตเตอรี่แสง
เอาแสงไปส่องมัน
มันเก็บแสงไว้ แล้วปล่อยแสงออกมาทีหลัง
เพียงแค่ไม่สามารถสร้างสวิทซ์เปิดปิด เพื่อควบคุมการปล่อยแสงกลับได้
ข้อดีของสารนี้ก็คือปลอดภัย และทำให้สว่างมากได้
ข้อเสียก็คือ มันต้องการการกระตุ้นก่อนเสมอ และมีระยะเวลาเรืองแสงจำกัด
ถ้านาฬิกาอยู่ในที่มืดนานๆ แสงที่เรืองก็จะอ่อนลงๆ จนหมด
โดยผสมเรเดียมกับสารเรืองแสง (phosphor)
ช่างเขียนหน้าปัดก็เป็นโรคโลหิตจางกับกระดูกเปราะกันแทบทุกคน
ยุคต่อมาก็ฮิตใช้ Tritium ผสมกับ phosphor เขียนแทน
ผมยังมีอยู่เรือนนึงเลย
จะดูว่าใช้ Tritium ได้จากตรงตำแหน่ง 6 นาฬิกา มักจะเขียนประเทศผู้ผลิตนาฬิกาไว้
ถ้ามี Tritium ก็จะมีอักษร T ก่อนและหลัง ชื่อประเทศ
ตริเตียม มี half-life สั้นแค่ 12 ปีกว่าๆ
พอนาฬิกาเก่าหน่อยก็เลยไม่สว่างแล้ว
เรเดียมและตริเตียม ใช้กัมมันตรังสีในการสร้างแสง
ทำให้สามารถเรืองแสงได้ตลอดเวลา
ไม่เหมือนพวกสารเรืองแสงรุ่นใหม่ที่ใช้กันในปัจจุบัน
เช่นตัวที่มีชื่อการค้าว่า Luminova กับ Super-luminova
พวกนี้อาศัยกลไกควอนตัมในการสร้างแสง
โดยเมื่อสารเรืองแสงรับแสงจากภายนอกเข้าไป จะส่งให้อิเลคตรอนในวงโคจรมีพลังงานสูงขึ้น ขยับไปอยู่ในหลุมที่มีระดับพลังงานสูงขึ้น
เรียกว่า excited state
พอผ่านไปสักพัก อิเลคตรอนนั้นก็จะกระโดดกลับลงมาในหลุมระดับพลังงานปกติ พร้อมปล่อยพลังงานที่รับเข้าไปก่อนหน้าออกมาในรูปของโฟตอน
ถ้ามองในอีกด้าน สารเรืองแสงนี้ก็เป็นคล้ายกับแบตเตอรี่แสง
เอาแสงไปส่องมัน
มันเก็บแสงไว้ แล้วปล่อยแสงออกมาทีหลัง
เพียงแค่ไม่สามารถสร้างสวิทซ์เปิดปิด เพื่อควบคุมการปล่อยแสงกลับได้
ข้อดีของสารนี้ก็คือปลอดภัย และทำให้สว่างมากได้
ข้อเสียก็คือ มันต้องการการกระตุ้นก่อนเสมอ และมีระยะเวลาเรืองแสงจำกัด
ถ้านาฬิกาอยู่ในที่มืดนานๆ แสงที่เรืองก็จะอ่อนลงๆ จนหมด
แสดงความคิดเห็น
หน้าปัดเรืองแสงของนาฬิกา>>>เรืองแสงได้อย่างไร?
1. สารเคมีที่ใช้ฉาบหน้าปัดนาฬิกาคือสารอะไร...เกิดปฏิกิริยาอะไรถึงเกิดการเรืองแสงได้
2. การเรืองแสงที่ทำให้เกิดสีที่ต่างกันเกิดจากสารเคมีหรือปฏิกริยาเคมีอะไร
3. อายุการใช้งานหรือการเสื่อมสภาพของสารเคมีที่ใช้ฉาบหน้าปัดนาฬิกามีอายุการใช้งานเท่าไร