ปัน83
เป็นอันว่าเริ่มต้นปีใหม่เป็นต้นไป สถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภทกิจการ ทั้งรายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ต้องดิ้นรนปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อรับมือการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันที่มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
งานนี้ต้องเรียกว่า กรรมต้องตกหนักกับสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก “นายจ้างเอสเอ็มอี” ที่จะมีต้นทุนประกอบกิจการเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในช่วงต้นปี 2556 จะทำให้อัตราค่าจ้างมาตรฐานของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31.7% จากค่าแรงเฉลี่ยในปี 2555 ที่อยู่ที่ 227.8 บาทต่อวัน
จ.พะเยา ที่มีค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ คือ 206.3 บาทต่อวัน จะเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเพิ่มค่าจ้างสูงที่สุด คือ 45.5%
เรียกว่า โดนกันทั้งระบบ
นี่คือภาระต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ โดยมีความหวังว่า เมื่อมีการปรับรายได้ค่าแรงแล้ว กำลังซื้อจะหวนกลับมาช่วยให้ยอดขาย ยอดผลิตเพิ่มขึ้น
ประมาณว่า โดนวันนี้แลกกับความหวังในวันข้างหน้า
ทว่าในปีหน้าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ไม่เพียงเฉพาะต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
แต่ยังต้องประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ “เรกูเลเตอร์” เตรียมปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) รอบเดือน ม.ค.เม.ย. 2556 อีก 59 สตางค์ หลังจากตรึงค่าไฟฟ้ามานานปี และกระทรวงพลังงานเตรียมปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทั้งระบบในเดือน ก.พ. 2556
กระทั่งผลพวงจากการที่เศรษฐกิจสำคัญทั่วโลกต่างอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นเงินมหาศาล ส่งผลให้วัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ มีราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ในขณะที่ปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ “ค่าเงินบาท” แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆ เช่น เหรียญสหรัฐ เยนญี่ปุ่น และเงินยูโร
“ปี 2556 มีปัจจัยเสี่ยงที่ไทยต้องระวัง คือ ข้อจำกัดการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง สภาพคล่องส่วนเกินของโลกจะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเร็วจากการเก็งกำไร” สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะกิจการประเภทรับจ้างผลิตสินค้า กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือเน้นพึ่งพาแรงงาน และกิจการประเภทส่งออกที่แข่งขันกันที่ต้นทุนสินค้า เป็นโอกาสต้อง “พับเสื่อ” ปิดกิจการก่อนเป็นอันดับแรกๆ
แต่หากจะให้พยุงตัวทอดเวลาให้อยู่ได้ ก็ต้อง “ปลดคนงาน” ลดต้นทุนค่าแรง และบี้บรรดาแรงงานในสังกัดทำงานให้คุ้มกับค่าจ้าง
เมื่อสถานการณ์แวดล้อมเป็นเช่นนี้ มีคาดการณ์ว่าปีหน้า แรงงานจะตกงาน 3-6 แสนคน
ข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่สำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 1,344 รายทั่วประเทศ กรณีผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า เอสเอ็มอีทั่วประเทศ 40% หรือ 8 แสนรายถึง 1 ล้านรายยังไม่พร้อมรับมือกับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น แม้มีเวลาปรับตัวมาแล้ว 1 ปีก็ตาม
เนื่องด้วยจากการศึกษาเชิงลึกพบว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ ความรู้ และบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยในการรับมือกับต้นทุนการทำธุรกิจโดยรวมที่เพิ่มขึ้น
โดยในปีหน้าต้นทุนธุรกิจจะเพิ่มขึ้น 23.4% ซึ่งจะมาจากต้นทุนค่าแรง 9.1%
ต้นทุนราคาวัตถุดิบ 7.1%
ต้นทุนค่าขนส่ง 4.4%
และต้นทุนอื่นๆ 2.8%
“การขึ้นค่าแรงจะมีผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนค่าแรงไปยังสินค้า คนจบใหม่จะหางานยากขึ้น ธุรกิจเลื่อนการจ้างงานใหม่ ท้ายที่สุดจะเป็นวัวพันหลักไปหมด เพราะรัฐบาลขอให้เขาปรับตัวเกินกว่าเขาจะทำได้” เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าว
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงาน เช่นเดียวกับข้อเสนอของตัวแทนภาคเอกชนก่อนหน้านี้ โดยระบุว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 62.3% ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนฯ และชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงานให้นายจ้างแบบขั้นบันไดเป็นเวลา 3 ปี โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.4 แสนล้านบาท
หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ เกียรติอนันต์ ระบุว่า ภาพที่จะเห็นในปีหน้า คือ แรงงานตกงานมากขึ้น และไหลไปภาคเกษตร หรือต้องยอมทำงานโดยรับจ้างต่ำกว่า 300 บาทต่อวันแลกกับการไม่ตกงาน หรือไม่นายจ้างจะตัดสวัสดิการต่างๆ ลง
บางรายอาจนำค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการมาบวกเป็นค่าแรง 300 บาท
ขณะเดียวกัน การเพิ่มค่าแรงไม่เพียงทำให้นายจ้างต้องคิดหนักเท่านั้น
แต่ยังส่งผลให้แรงงานจะถูก “บีบคั้น” ทั้งต้องการผลงานเพิ่มขึ้น การตัดลดสวัสดิการ และค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นจากการปรับค่าแรงทั้งระบบ
แต่ดูเหมือนมุมของภาครัฐกลับมีการมองภาพที่แตกต่างสิ้นเชิง
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยืนยันว่า การเลิกจ้างเนื่องจากการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่องที่มีผลเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 พบว่าตัวเลขการเลิกจ้างตั้งแต่เดือน เม.ย.25 ธ.ค. 2555 มีสถานประกอบกิจการเลิกจ้าง 57 แห่ง แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 7,063 คน
โดยเป็นแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพราะการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 1,762 คน ในสถานประกอบการ 5 แห่งเท่านั้น
“การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็นวันละ 300 บาทรอบแรกนั้น มีผู้ได้รับผลกระทบจนเกิดการเลิกจ้างเป็นจำนวนที่น้อยกว่าผลกระทบวิกฤตการณ์อียู ขณะที่อัตราการเลิกจ้างและการว่างงานยังอยู่ในภาวะปกติ โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.5% หรือแรงงาน 200 คน จะมีผู้ว่างงาน 1 คน” ปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าว
ส่วนการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำระลอก 2 ทั่วประเทศ แม้มีส่งผลกระทบกับสถานประกอบกิจการในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29 จังหวัด ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบ “ก้าวกระโดด”
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มั่นใจว่าเป็นปัญหาที่มีทางออก
เพราะจังหวัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำการเกษตร และมีเอสเอ็มอีตั้งอยู่ในพื้นที่จำนวนไม่มากนัก ส่วนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจะย้ายไปทำงานภาคการเกษตรหรือประกอบอาชีพอิสระ
และขณะนี้สถานประกอบการหลายแห่งปรับตัว โดยการย้ายฐานการผลิตไปรวมกลุ่มกันในพื้นที่ที่เข้มแข็งเพียงแห่งเดียว และเพิ่มจัดการประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
นั่นเท่ากับตอกย้ำชัดเจนว่า ในขณะที่รัฐบาลที่ริเริ่มนโยบายแทบไม่ต้องออกเงินและออกแรงเลย ทั้งๆ ที่นโยบายการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเป็นนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงเอาไว้ แต่สุดท้ายแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบกลับเป็นนายจ้าง
โดยเฉพาะนายจ้างในสถานประกอบการเอสเอ็มอี และเหล่าแรงงานที่ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบกันตามยถากรรม
เห็นได้จากข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงานที่เรียกได้ว่าถูก “ตีตก” ไปแล้วก็ว่าได้
“การจัดตั้งกองทุนชดเชยค่าจ้างฯ ขณะนี้ไม่มีหน่วยงานรัฐแห่งใดเห็นด้วย การตั้งกองทุนฯ จึงเป็นสิ่งที่เกิดได้ยากมาก” กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าว
รองนายกฯ ระบุว่า รัฐบาลจะใช้วิธีช่วยเหลือโดยการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ โดยลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 6.4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน บอกว่า รัฐบาลมีมาตรการลดภาษีนิติบุคคลให้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 20% ซึ่งชดเชยผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว การตั้งกองทุนชดเชยค่าจ้างฯ โดยนำเงินภาษีประชาชนมาจ่ายให้ผู้ประกอบการไม่น่าจะเป็นการเหมาะสม เพราะเท่ากับสถานประกอบการได้ประโยชน์ 2 ต่อ
แต่หากดูกันชัดๆ จะพบว่ามาตรการเหล่านี้ไม่ได้พุ่งประโยชน์ตรงไปที่เอสเอ็มอี
นั่นเพราะหากผลประกอบการบรรดาเอสเอ็มอีโชว์ตัวเลขขาดทุน “แดงทั้งบัญชี” เอสเอ็มอีคงไม่มีปัญญานำกำไรไปเสียภาษี
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงแบบก้าวกระโดด สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ และญี่ปุ่น ต่างมีประสบการณ์การปรับเพิ่มค่าแรงมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีแรกจะเห็นการล้มหายตายจากของกิจการที่แข่งขันไม่ได้ 20-30% บ้างไม่ก็ย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น ซึ่งทำให้ธุรกิจของประเทศเหล่านี้ยกระดับประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก
และก็ต้องยอมรับว่าความพยายามปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศครั้งใหญ่ พร้อมๆ กับการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แรงงานผ่านกลไกการเพิ่มค่าแรง ที่รัฐบาลย้ำนักย้ำหนาว่าเป็นสิ่งที่ “จำเป็น” แต่ก็ต้องมีเบาะรองรับผลกระทบที่จะเกิดกับนายจ้างและแรงงานด้วย
โดยเฉพาะแรงงานกว่าครึ่งล้านคนที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง
ไม่ใช่ปล่อยไว้ไม่ดูดำดูดีกันอย่างนี้
หรือไม่ก็คนไทยต้องมองโลกอย่างที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับ กาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่า “สถานการณ์การว่างงานที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในขณะนี้นั้น ขอยืนยันว่า ไทยจะไม่มีปัญหาการว่างงานในอนาคตแน่นอน เพราะในปีหน้าไทยจะมีการลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ มากมาย เช่น ระบบน้ำและการขนส่ง ที่จะสร้างงานใหม่ได้มากขึ้น” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กล่าว
อาจจะกล่าวได้ว่าแรงงานไทยจะต้องผันตัวไปเป็น “กรรมกร” กินค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งสวนทางกับนโยบายการสร้างผู้ประกอบการใหม่
ปีหน้าคงจะได้รู้กัน
ค่าแรง "แผลงฤธิ์" ตกงานระนาวแน่
เป็นอันว่าเริ่มต้นปีใหม่เป็นต้นไป สถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภทกิจการ ทั้งรายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ต้องดิ้นรนปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อรับมือการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันที่มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
งานนี้ต้องเรียกว่า กรรมต้องตกหนักกับสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก “นายจ้างเอสเอ็มอี” ที่จะมีต้นทุนประกอบกิจการเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในช่วงต้นปี 2556 จะทำให้อัตราค่าจ้างมาตรฐานของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31.7% จากค่าแรงเฉลี่ยในปี 2555 ที่อยู่ที่ 227.8 บาทต่อวัน
จ.พะเยา ที่มีค่าจ้างต่ำสุดของประเทศ คือ 206.3 บาทต่อวัน จะเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเพิ่มค่าจ้างสูงที่สุด คือ 45.5%
เรียกว่า โดนกันทั้งระบบ
นี่คือภาระต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ โดยมีความหวังว่า เมื่อมีการปรับรายได้ค่าแรงแล้ว กำลังซื้อจะหวนกลับมาช่วยให้ยอดขาย ยอดผลิตเพิ่มขึ้น
ประมาณว่า โดนวันนี้แลกกับความหวังในวันข้างหน้า
ทว่าในปีหน้าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ไม่เพียงเฉพาะต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
แต่ยังต้องประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ “เรกูเลเตอร์” เตรียมปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) รอบเดือน ม.ค.เม.ย. 2556 อีก 59 สตางค์ หลังจากตรึงค่าไฟฟ้ามานานปี และกระทรวงพลังงานเตรียมปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทั้งระบบในเดือน ก.พ. 2556
กระทั่งผลพวงจากการที่เศรษฐกิจสำคัญทั่วโลกต่างอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นเงินมหาศาล ส่งผลให้วัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ มีราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ในขณะที่ปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ “ค่าเงินบาท” แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆ เช่น เหรียญสหรัฐ เยนญี่ปุ่น และเงินยูโร
“ปี 2556 มีปัจจัยเสี่ยงที่ไทยต้องระวัง คือ ข้อจำกัดการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง สภาพคล่องส่วนเกินของโลกจะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเร็วจากการเก็งกำไร” สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะกิจการประเภทรับจ้างผลิตสินค้า กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือเน้นพึ่งพาแรงงาน และกิจการประเภทส่งออกที่แข่งขันกันที่ต้นทุนสินค้า เป็นโอกาสต้อง “พับเสื่อ” ปิดกิจการก่อนเป็นอันดับแรกๆ
แต่หากจะให้พยุงตัวทอดเวลาให้อยู่ได้ ก็ต้อง “ปลดคนงาน” ลดต้นทุนค่าแรง และบี้บรรดาแรงงานในสังกัดทำงานให้คุ้มกับค่าจ้าง
เมื่อสถานการณ์แวดล้อมเป็นเช่นนี้ มีคาดการณ์ว่าปีหน้า แรงงานจะตกงาน 3-6 แสนคน
ข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่สำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 1,344 รายทั่วประเทศ กรณีผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า เอสเอ็มอีทั่วประเทศ 40% หรือ 8 แสนรายถึง 1 ล้านรายยังไม่พร้อมรับมือกับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น แม้มีเวลาปรับตัวมาแล้ว 1 ปีก็ตาม
เนื่องด้วยจากการศึกษาเชิงลึกพบว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ ความรู้ และบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยในการรับมือกับต้นทุนการทำธุรกิจโดยรวมที่เพิ่มขึ้น
โดยในปีหน้าต้นทุนธุรกิจจะเพิ่มขึ้น 23.4% ซึ่งจะมาจากต้นทุนค่าแรง 9.1%
ต้นทุนราคาวัตถุดิบ 7.1%
ต้นทุนค่าขนส่ง 4.4%
และต้นทุนอื่นๆ 2.8%
“การขึ้นค่าแรงจะมีผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนค่าแรงไปยังสินค้า คนจบใหม่จะหางานยากขึ้น ธุรกิจเลื่อนการจ้างงานใหม่ ท้ายที่สุดจะเป็นวัวพันหลักไปหมด เพราะรัฐบาลขอให้เขาปรับตัวเกินกว่าเขาจะทำได้” เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าว
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงาน เช่นเดียวกับข้อเสนอของตัวแทนภาคเอกชนก่อนหน้านี้ โดยระบุว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 62.3% ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนฯ และชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงานให้นายจ้างแบบขั้นบันไดเป็นเวลา 3 ปี โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.4 แสนล้านบาท
หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ เกียรติอนันต์ ระบุว่า ภาพที่จะเห็นในปีหน้า คือ แรงงานตกงานมากขึ้น และไหลไปภาคเกษตร หรือต้องยอมทำงานโดยรับจ้างต่ำกว่า 300 บาทต่อวันแลกกับการไม่ตกงาน หรือไม่นายจ้างจะตัดสวัสดิการต่างๆ ลง
บางรายอาจนำค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการมาบวกเป็นค่าแรง 300 บาท
ขณะเดียวกัน การเพิ่มค่าแรงไม่เพียงทำให้นายจ้างต้องคิดหนักเท่านั้น
แต่ยังส่งผลให้แรงงานจะถูก “บีบคั้น” ทั้งต้องการผลงานเพิ่มขึ้น การตัดลดสวัสดิการ และค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นจากการปรับค่าแรงทั้งระบบ
แต่ดูเหมือนมุมของภาครัฐกลับมีการมองภาพที่แตกต่างสิ้นเชิง
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยืนยันว่า การเลิกจ้างเนื่องจากการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่องที่มีผลเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 พบว่าตัวเลขการเลิกจ้างตั้งแต่เดือน เม.ย.25 ธ.ค. 2555 มีสถานประกอบกิจการเลิกจ้าง 57 แห่ง แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 7,063 คน
โดยเป็นแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพราะการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 1,762 คน ในสถานประกอบการ 5 แห่งเท่านั้น
“การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็นวันละ 300 บาทรอบแรกนั้น มีผู้ได้รับผลกระทบจนเกิดการเลิกจ้างเป็นจำนวนที่น้อยกว่าผลกระทบวิกฤตการณ์อียู ขณะที่อัตราการเลิกจ้างและการว่างงานยังอยู่ในภาวะปกติ โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.5% หรือแรงงาน 200 คน จะมีผู้ว่างงาน 1 คน” ปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าว
ส่วนการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำระลอก 2 ทั่วประเทศ แม้มีส่งผลกระทบกับสถานประกอบกิจการในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29 จังหวัด ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบ “ก้าวกระโดด”
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มั่นใจว่าเป็นปัญหาที่มีทางออก
เพราะจังหวัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำการเกษตร และมีเอสเอ็มอีตั้งอยู่ในพื้นที่จำนวนไม่มากนัก ส่วนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจะย้ายไปทำงานภาคการเกษตรหรือประกอบอาชีพอิสระ
และขณะนี้สถานประกอบการหลายแห่งปรับตัว โดยการย้ายฐานการผลิตไปรวมกลุ่มกันในพื้นที่ที่เข้มแข็งเพียงแห่งเดียว และเพิ่มจัดการประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
นั่นเท่ากับตอกย้ำชัดเจนว่า ในขณะที่รัฐบาลที่ริเริ่มนโยบายแทบไม่ต้องออกเงินและออกแรงเลย ทั้งๆ ที่นโยบายการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเป็นนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงเอาไว้ แต่สุดท้ายแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบกลับเป็นนายจ้าง
โดยเฉพาะนายจ้างในสถานประกอบการเอสเอ็มอี และเหล่าแรงงานที่ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบกันตามยถากรรม
เห็นได้จากข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างงานที่เรียกได้ว่าถูก “ตีตก” ไปแล้วก็ว่าได้
“การจัดตั้งกองทุนชดเชยค่าจ้างฯ ขณะนี้ไม่มีหน่วยงานรัฐแห่งใดเห็นด้วย การตั้งกองทุนฯ จึงเป็นสิ่งที่เกิดได้ยากมาก” กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าว
รองนายกฯ ระบุว่า รัฐบาลจะใช้วิธีช่วยเหลือโดยการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ โดยลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 6.4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน บอกว่า รัฐบาลมีมาตรการลดภาษีนิติบุคคลให้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 20% ซึ่งชดเชยผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว การตั้งกองทุนชดเชยค่าจ้างฯ โดยนำเงินภาษีประชาชนมาจ่ายให้ผู้ประกอบการไม่น่าจะเป็นการเหมาะสม เพราะเท่ากับสถานประกอบการได้ประโยชน์ 2 ต่อ
แต่หากดูกันชัดๆ จะพบว่ามาตรการเหล่านี้ไม่ได้พุ่งประโยชน์ตรงไปที่เอสเอ็มอี
นั่นเพราะหากผลประกอบการบรรดาเอสเอ็มอีโชว์ตัวเลขขาดทุน “แดงทั้งบัญชี” เอสเอ็มอีคงไม่มีปัญญานำกำไรไปเสียภาษี
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงแบบก้าวกระโดด สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ และญี่ปุ่น ต่างมีประสบการณ์การปรับเพิ่มค่าแรงมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีแรกจะเห็นการล้มหายตายจากของกิจการที่แข่งขันไม่ได้ 20-30% บ้างไม่ก็ย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น ซึ่งทำให้ธุรกิจของประเทศเหล่านี้ยกระดับประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก
และก็ต้องยอมรับว่าความพยายามปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศครั้งใหญ่ พร้อมๆ กับการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แรงงานผ่านกลไกการเพิ่มค่าแรง ที่รัฐบาลย้ำนักย้ำหนาว่าเป็นสิ่งที่ “จำเป็น” แต่ก็ต้องมีเบาะรองรับผลกระทบที่จะเกิดกับนายจ้างและแรงงานด้วย
โดยเฉพาะแรงงานกว่าครึ่งล้านคนที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง
ไม่ใช่ปล่อยไว้ไม่ดูดำดูดีกันอย่างนี้
หรือไม่ก็คนไทยต้องมองโลกอย่างที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับ กาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่า “สถานการณ์การว่างงานที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในขณะนี้นั้น ขอยืนยันว่า ไทยจะไม่มีปัญหาการว่างงานในอนาคตแน่นอน เพราะในปีหน้าไทยจะมีการลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ มากมาย เช่น ระบบน้ำและการขนส่ง ที่จะสร้างงานใหม่ได้มากขึ้น” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กล่าว
อาจจะกล่าวได้ว่าแรงงานไทยจะต้องผันตัวไปเป็น “กรรมกร” กินค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งสวนทางกับนโยบายการสร้างผู้ประกอบการใหม่
ปีหน้าคงจะได้รู้กัน