บนสวรรค์้เขาทำอะไรกันมั่ง

นอน ๆ นั่ง ๆ นนานไป ยังเบื่อ แล้วบนสวรรค์ ไม่ต้องทำงา่นอะไร อิ่ม ทิพย์ คงเบื่อแย่ ๆ  หันไปนางฟ้า ก้หน้าเดิม ๆ  
บนวรรค์คงน่าเบื่อกว่าที่คิด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
อยากรู้ว่าทางไปสวรรค์ไปอย่างไงมากกว่าอ่ะค่ะอมยิ้ม07
ความคิดเห็นที่ 19
พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :
http://84000.org/true/index.html

198 เทวดาก็บรรลุมรรคผลได้

ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่า มนุษย์เท่านั้นสามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลได้ เทวดาไม่สามารถ เพราะเห็นที่เสวยสุขอันเป็นทิพย์อย่างเดียว จริงหรือไม่ ?

http://www.84000.org/true/198.html

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน.... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเธอฟังเสมอ ๆ คล่องปาก เพ่งพิจารณาด้วยใจ และกาย ตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
"ต่อมา เธอมีสติเหลงลืมถึงแก่มรณะ ย่อมไปบังเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง เมื่อเธอมีความสุขอยู่ในภพนั้น บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
“อีกประการหนึ่ง... บทแห่งธรรมย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอตรึกตรองจนเห็นว่า ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน.... ดุจบุรุษผู้ฉลาดในเสียงกลอง เขาเดินทางไกล เมื่อได้ยินเสียงกลอง ไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า นั่นเสียงกลองหรือไม่ใช่....
“อีกประการหนึ่ง... บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอคิดได้ดังนี้ว่า นี้คือ นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน.... ดุจบุรุษผู้ฉลาดในเสียงสังข์ สติบังเกิดขึ้นช้า เดินทางไกลได้ยินเสียงสังข์เข้า ไม่พึงมีความเคลือบแคลงสงสัย ว่านั่นเสียงสังข์หรือไม่ใช่....

มหาวรรคที่ ๕ จ. อํ. (๑๙๑)
ตบ. ๒๑ : ๒๕๑-๒๕๓ ตท. ๒๑ : ๒๑๔-๒๑๕
ตอ. G.S. II : ๑๙๓-๑๙๕

------------------------------------------

๔. เรื่องนางปติปูชิกา [๓๖]
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=4

             อายุของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี               
              ฝ่ายนางเทพธิดานอกนี้ กำลังประดับอยู่นั่นเอง ตลอดกาลเท่านี้. เทพบุตรเห็นนางนั้น กล่าวว่า "เธอหายหน้าไปตั้งแต่เช้า, เธอไปไหนมา?"
              เทพธิดา. ดิฉันจุติค่ะ นาย.
              เทพบุตร. เธอพูดอะไร?
              เทพธิดา. ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ นาย.
              เทพบุตร. เธอเกิดแล้วในที่ไหน?
              เทพธิดา. เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกรุงสาวัตถี.
              เทพบุตร. เธอดำรงอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้นสิ้นกาลเท่าไร?
              เทพธิดา. ข้าแต่นาย ดิฉันออกจากท้องมารดา โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน ในเวลาอายุ ๑๖ ปี ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตร ๔ คน ทำบุญมีทานเป็นต้น ปรารถนาถึงนาย มาบังเกิดแล้วในสำนักของนายตามเดิม.
              เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร?
              เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี.
              เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ?
              เทพธิดา. ค่ะ นาย.
              เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น?
              เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่งถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย.
              ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า "ทราบว่า พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาท นอนหลับอยู่, เมื่อไรหนอ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้."
____________________________
๑- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/หน้า ๑๖. ได้แก่ อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๖-๕๑

              ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่า ๑ วันในสวรรค์               
              ก็ ๑๐๐ปีของพวกเรา เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง, กำหนดด้วย ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์นั้น โดยการนับในมนุษย์เป็น ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.
              เพราะฉะนั้น แม้วันเดียวของเทพบุตรนั้น ก็ยังไม่ล่วงไป ได้เป็นกาลเช่นครู่เดียวเท่านั้น. ขึ้นชื่อว่าความประมาทของสัตว์ผู้มีอายุน้อยอย่างนี้ ไม่ควรอย่างยิ่งแล.
              ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุเข้าไปสู่บ้าน เห็นโรงฉันยังไม่ได้จัด อาสนะยังไม่ได้ปู น้ำฉันยังไม่ได้ตั้งไว้ จึงกล่าวว่า "นางปติปูชิกาไปไหน?"
              ชาวบ้าน. ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเห็นนาง ณ ที่ไหน? วันวานนี้ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าฉันแล้ว (กลับ) ไป, นางตายในตอนเย็น.
              ภิกษุปุถุชนฟังคำนั้นแล้ว ระลึกถึงอุปการะของนางนั่น ไม่อาจจะกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชได้เกิดแก่พระขีณาสพ. ภิกษุเหล่านั้นทำภัตกิจแล้ว ไปวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อปติปูชิกา ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว ทำบุญมีประการต่างๆ ปรารถนาถึงสามีเท่านั้น, บัดนี้ นางตายแล้ว (ไป) เกิด ณ ที่ไหน?"
              พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางเกิดในสำนักสามีของตนนั่นแหละ.
              ภิกษุ. ในสำนักสามี ไม่มี พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางปรารถนาถึงสามีนั่น ก็หามิได้, มาลาภารีเทพบุตร ในดาวดึงสพิภพ เป็นสามีของนาง, นางเคลื่อนจากที่ประดับดอกไม้ของสามีนั้นแล้ว ไปบังเกิดในสำนักสามีนั้นนั่นแลอีก.
              ภิกษุ. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.
              ภิกษุ น่าสังเวช ! ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย (จริง) พระเจ้าข้า เช้าตรู่ นางอังคาสพวกข้าพระองค์ ตอนเย็น ตายด้วยพยาธิที่เกิดขึ้น.
              พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย (จริง), เหตุนั้นแล มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด ยังสัตว์เหล่านี้ซึ่งไม่อิ่ม ด้วยวัตถุกามและกิเลสกามนั่นแล ให้เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว ย่อมพาเอาสัตว์ที่คร่ำครวญ ร่ำไรไป"
              ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                        ๔.  ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ  พฺยาสตฺตมนสํ นรํ  
                         อติตฺตํเยว กาเมสุ                 อนฺตโก กุรุเต วสํ ฯ  
                         มัจจุ ผู้ทำซึ่งที่สุด กระทำนระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ  
                         เลือกเก็บดอกไม้อยู่เทียว ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลายนั่นแล  
                         สู่อำนาจ
--------------------------------------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

๒. ดาวดึงส์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/012.htm

ดาวดึงส์ภูมิ หรือ ตาวติงสาภูมิ มีความหมาย ๒ นัย นัยหนึ่งว่า เป็นที่เกิด ของบุคคล ๓๓ คน คือ เกิดเป็นพระอินทร์ ๑ เกิดเป็นเทวดาผู้เป็นใหญ่อีก ๓๒

ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่ง เป็นพื้นแผ่นดินที่ปรากฏขึ้นในโลก เป็นครั้งแรก ก่อนพื้นดินส่วนอื่น เพราะภูมินี้อยู่บนยอดเขาสิเนรุ

ในดาวดึงส์ภูมิ       ทิศตะวันออก       มีสวน นันทะวัน

                              ทิศตะวันตก                   มีสวน จิตรลดาวัน

                              ทิศเหนือ             มีสวน มิสสกวัน

                              ทิศใต้                         มีสวน ผารุสกวัน

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมี  ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งชื่อ “ปุณฑริกะ” มีต้น ปาริฉัตตก์ ที่ใหญ่โตมาก ใต้ร่มปาริฉัตตก์ มีแท่น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ก็ใช้เป็นที่ประทับแสดงพระ ธรรมเทศนา มีศาลา สุธัมมา เป็นที่ประชุมฟังธรรม มีเจดีย์แก้วมรกต ชื่อว่า พระจุฬามณี บรรจุพระเขี้ยวแก้ว (ข้างขวา) กับบรรจุพระเกศา(ที่ทรงตัดออกตอน เสด็จออกทรงผนวช) อีกส่วนหนึ่งชื่อ สวนมหาวัน มีสระชื่อ สุนันทา สวนนี้เป็นที่ ประทับสำราญพระอิริยาบถของท้าวสักกเทวราช

ที่ศาลาสุธัมมา ตามปกติมีพรหมชื่อ สนังกุมาระ เป็นผู้เสด็จลงมาแสดงธรรม แต่ในบางโอกาส ท้าวสักกเทวราช หรือเทวดาองค์อื่นที่ทรงความรู้ในธรรมดี ก็เป็น ผู้แสดง

เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์นี้ขึ้นไปปฏิสนธิด้วยโอปปาติกกำเนิดอย่างเดียวเท่านั้น

เทวดาชั้นเดียวกัน ย่อมเห็นซึ่งกันและกันได้ และเห็นผู้ที่อยู่ชั้นต่ำกว่าตนได้ ด้วย แต่ไม่สามารถจะเห็นผู้ที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าตนได้

ท้าวสักกเทวราช หรือท้าวโกสีย์อัมรินทร์ ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระอินทร์นี้ อยู่ในชั้นดาวดึงส์ แต่เป็นผู้ปกครองเทพยดาทั้งในชั้นดาวดึงส์ และชั้นจาตุมมหา ราชิกาด้วย

บางทีก็เรียก ท้าวสหัสสนัย คือ ท้าวพันตา เพราะจักขุดีมาก เห็นได้ชัดเจน และเห็นได้ไกลมาก เท่ากับดวงตาตั้งพันดวง

พระอินทร์องค์ปัจจุบันนี้ สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อจุติจากเทวโลก ก็จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ในมนุษย์โลก และจะได้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี จุติจากมนุษย์โลก จะไปบังเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก คราวนี้ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี จุติทีนี้ก็จะไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่ชั้นอวิหา เป็นต้นไปตามลำดับจนถึงชั้น อกนิฏฐา และสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชั้นนั้น

เทวดาในดาวดึงส์ภูมินี้มี ๒ พวก คือ ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยพื้นแผ่นดินอยู่ และ อากาสัฏฐเทวดา มีวิมานลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่