“พญานาค” เป็นทิพย์ภาวะจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้น
“จาตุมหาราชิกา” สวรรค์ชั้นที่ 1 ในกามาพจรสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา หมายถึง "แดนอันเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช
ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์
ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์
ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสสุวรรณ
พญานาคเป็นชาวสวรรค์ พญานาคชั้นสูงจะเกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาค มีตั้งแต่ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ไปจนถึง ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศด้วย พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก มีอิทธิฤทธิ์และพละกำลังยิ่งใหญ่มหาศาล มีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอน ดวงตาสีแดง มีเกล็ดมากมายหลายสีแตกต่างกันไป มีสภาพเป็น ”งู” ส่วนในเวลาปกติจะอยู่ในสภาวะของนาคก็ได้ เป็นทิพย์ภาวะก็ได้ หรืออยู่ภาวะของมนุษย์ก็สามารถทำได้
ใน ขันธะปริตตะคาถา พระไตรปิฎก แสดงไว้ว่า พญานาคนั้น มี 4 ตระกูลนาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ แบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
เรื่องราวของพญานาคนั้นถือเป็นเรื่อง “แปลกประหลาด” เพราะมีบางอย่างที่ “เหมือน” และ “แปลก” ไปจากทิพย์ภาวะของสวรรค์ เช่น การให้กำเนิด “ทายาท” ของทิพย์ภาวะที่มี “ต้นกำเนิด” แบบ “โอปปาติกะ” (โอ-ปะ-ปา-ติ-กะ)
เพราะเมื่อถือกันว่า “พญานาค” เป็นทิพย์ภาวะ เป็นชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาจำพวกหนึ่ง เรื่องการกำเนิด “สืบทายาท” เป็นพญานาคก็คงจะไม่แตกต่างไปจากทิพย์ภาวะในสวรรค์ ในดินแดนสวรรค์นั้น ชาวสวรรค์จะถือกำเนิดแบบ “โอปปาตกะ” คือ “ไม่ต้องตั้งครรภ์” แต่จะเกิดเป็นทิพย์ภาวะเลย คือ เกิดโตขึ้นทันที และมีอวัยวะครบสมบูรณ์เหมือนมนุษย์ที่สมบูรณ์แต่เป็นทิพย์ภาวะ
มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นเทพบุตรจะมีรูปร่างโสภาเสมือนผู้ชายที่อายุประมาณ 20 ปี
ส่วนที่เป็นเทพธิดาก็เสมือนหญิงสาวอายุราว 17-18 ปี โดยไม่มีการแก่ ไม่มีอาการเจ็บไข้ ตลอดจนอายุขัย (สิ้นบุญ) และหากอยากกินอะไรก็เพียงนึกเอาก็อิ่มแล้ว ซึ่งเรียกว่า “อิ่มทิพย์
การเกิดขึ้นของทิพย์ภาวะนั้นๆ ว่าจะมีตำแหน่งใดบนสวรรค์ชั้นนั้นๆ ขึ้นอยู่กับ “บุญ” คือ การประกอบคุณงานความดีนั้นเอง
แต่การกำเนิดเป็น “นาคทิพย์ภาวะ” มีความแตกต่างไปจากชาวสวรรค์ทั่วไป เพราะจากตำนานกล่าวไว้ว่า พญานาคนั้นมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถจำแลงแปลงกายผสมพันธ์กับมนุษย์ เมื่อ “นางนาค” ตั้งท้องก็จะคลอดลูก และในทุกตำนานก็จะกล่าวถึงนาคที่ ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองสวรรค์ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิดตามสถานการณ์นั้นๆ โดยรู้ได้จากมีเรื่องใน “ภูริทัตต์ชาดก” ตอนหนึ่ง กล่าวถึงนางนาคที่ชื่อว่า “มาณวิกา” หลังจากที่นางได้แปลงกายสมสู่ใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์จนมีบุตรธิดาด้วยกันแล้ว เมื่อเหล่าข้าราชบริพารได้เข้ามาอัญเชิญให้เข้าไปอยู่ในนคร นางนาคได้กล่าวปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า “...วิสัยของนางนาคนั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากเข้าไปอยู่ในวังแล้ว
มีผู้ใดทำให้โกรธ เพียงแค่ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะมอดไหม้ไป จึงของทูลลากลับไปอยู่เมืองนาค...”
นอกจากเรื่อง “การให้กำเนิด” ทายาทที่แปลกแล้ว “การกินอาหาร” ก็ถือว่าแปลกด้วย ซึ่งจากที่ชาวสวรรค์ปกติ “อิ่มทิพย์” แต่เนื้อความที่แสดงใน “ไตรภูมิพระร่วง” กล่าวว่า “พญานาค เมื่อหิวก็จำจำแลงแปลงกายออกหากิน”
นอกจากนั้น ยังมีคติความเชื่อที่ว่า ถึงแม้พญานาคจะสามารถแปลงกายเป็นอะไรก็ได้ แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ พยานาคจะต้องปรากฎร่างเป็นาคเช่นเดิม คือนาค
1. ขณะเกิดเป็นนาค
2. ขณะลอกคราบ
3. ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค
4. ขณะนอนหลับโดยไม่ได้สติ
5. เมื่อสิ้นใจ แม้จำแลงเป้นภาวะอื่น ก็จะกลับเป็นนาคตามเดิม
ใน “พระไตรปิฎก” กล่าวว่า ในครั้งพุทธกาลเคยมีพญานาคแปลงกายเป็นมนุษย์เข้ามาบวช บ่ายวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับในกุฏิ และเมื่อขาดสติก็ได้คืนสู่ภาวะเดิม คือ เป็นร่างพญานาคตัวใหญ่นอนขนดม้วนห่อหุ้มด้วยผ้าจีวรอยู่ เมื่อภิกษุทั้งหลายผ่านไปเจอก็ตกใจ และเกิดเป็นคดีความจนต้องห้ามไม่ให้พญานาคบวชในพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้นในคัมภีร์ทางศาสนายังกล่าวว่า เคยมีพญานาคตนหนึ่งแปลงกายเป็นมนุษย์เข้ามาเฝ้าพระพุทธองค์ โดยได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ตั้งกฎบัญญัติ ห้ามมิให้พระภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องูทุกชนิด ซึ่งในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตและได้บัญญัติ “พระวินัย” ขึ้นมา
นาคทั้งหลายนั้นมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แต่เมื่อไม่ได้โอกาสบวช จึงเลือกทำหน้าที่ดูแลและคุ้มครองพระพุทธศาสนาในอีกมิติหนึ่ง
เมื่อดูจากเหตุการณืต่างๆ แล้ว น่าจะสรุปได้ว่า เรื่องราวของทิพย์ภาวะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ส่วนพญานาคนั้นเป็น “กึ่งเทพ” และ “กึ่งสัตว์เดรัจฉาน” ทิพย์ภาวะบางอย่างจึงไม่ละเอียดเท่ากับนางฟ้าเทวดาทั่วไปในสวรรค์ชั้นเดียวกัน อิริยาบถต่างๆ เช่น การกิน หรือการสืบทายาทจึงไม่เป็นแบบ “ทิพย์ภาวะ” ทั้งหมด
ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร
สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆจะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ แต่สำหรับผู้มีจักษุหลวงปู่หลวงตาท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าพญานาคไม่มี
อ.ซี นาคราช
ขอบคุณข้อมูล
http://payanakara.blogspot.com
https://th.wikipedia.org/
http://www.thaigoodview.com
พญานาค คืออะไร..?
“พญานาค” เป็นทิพย์ภาวะจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้น
“จาตุมหาราชิกา” สวรรค์ชั้นที่ 1 ในกามาพจรสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา หมายถึง "แดนอันเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช
ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์
ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์
ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสสุวรรณ
พญานาคเป็นชาวสวรรค์ พญานาคชั้นสูงจะเกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาค มีตั้งแต่ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ไปจนถึง ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศด้วย พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก มีอิทธิฤทธิ์และพละกำลังยิ่งใหญ่มหาศาล มีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอน ดวงตาสีแดง มีเกล็ดมากมายหลายสีแตกต่างกันไป มีสภาพเป็น ”งู” ส่วนในเวลาปกติจะอยู่ในสภาวะของนาคก็ได้ เป็นทิพย์ภาวะก็ได้ หรืออยู่ภาวะของมนุษย์ก็สามารถทำได้
ใน ขันธะปริตตะคาถา พระไตรปิฎก แสดงไว้ว่า พญานาคนั้น มี 4 ตระกูลนาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ แบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
เรื่องราวของพญานาคนั้นถือเป็นเรื่อง “แปลกประหลาด” เพราะมีบางอย่างที่ “เหมือน” และ “แปลก” ไปจากทิพย์ภาวะของสวรรค์ เช่น การให้กำเนิด “ทายาท” ของทิพย์ภาวะที่มี “ต้นกำเนิด” แบบ “โอปปาติกะ” (โอ-ปะ-ปา-ติ-กะ)
เพราะเมื่อถือกันว่า “พญานาค” เป็นทิพย์ภาวะ เป็นชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาจำพวกหนึ่ง เรื่องการกำเนิด “สืบทายาท” เป็นพญานาคก็คงจะไม่แตกต่างไปจากทิพย์ภาวะในสวรรค์ ในดินแดนสวรรค์นั้น ชาวสวรรค์จะถือกำเนิดแบบ “โอปปาตกะ” คือ “ไม่ต้องตั้งครรภ์” แต่จะเกิดเป็นทิพย์ภาวะเลย คือ เกิดโตขึ้นทันที และมีอวัยวะครบสมบูรณ์เหมือนมนุษย์ที่สมบูรณ์แต่เป็นทิพย์ภาวะ
มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นเทพบุตรจะมีรูปร่างโสภาเสมือนผู้ชายที่อายุประมาณ 20 ปี
ส่วนที่เป็นเทพธิดาก็เสมือนหญิงสาวอายุราว 17-18 ปี โดยไม่มีการแก่ ไม่มีอาการเจ็บไข้ ตลอดจนอายุขัย (สิ้นบุญ) และหากอยากกินอะไรก็เพียงนึกเอาก็อิ่มแล้ว ซึ่งเรียกว่า “อิ่มทิพย์
การเกิดขึ้นของทิพย์ภาวะนั้นๆ ว่าจะมีตำแหน่งใดบนสวรรค์ชั้นนั้นๆ ขึ้นอยู่กับ “บุญ” คือ การประกอบคุณงานความดีนั้นเอง
แต่การกำเนิดเป็น “นาคทิพย์ภาวะ” มีความแตกต่างไปจากชาวสวรรค์ทั่วไป เพราะจากตำนานกล่าวไว้ว่า พญานาคนั้นมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถจำแลงแปลงกายผสมพันธ์กับมนุษย์ เมื่อ “นางนาค” ตั้งท้องก็จะคลอดลูก และในทุกตำนานก็จะกล่าวถึงนาคที่ ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองสวรรค์ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิดตามสถานการณ์นั้นๆ โดยรู้ได้จากมีเรื่องใน “ภูริทัตต์ชาดก” ตอนหนึ่ง กล่าวถึงนางนาคที่ชื่อว่า “มาณวิกา” หลังจากที่นางได้แปลงกายสมสู่ใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์จนมีบุตรธิดาด้วยกันแล้ว เมื่อเหล่าข้าราชบริพารได้เข้ามาอัญเชิญให้เข้าไปอยู่ในนคร นางนาคได้กล่าวปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า “...วิสัยของนางนาคนั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากเข้าไปอยู่ในวังแล้ว
มีผู้ใดทำให้โกรธ เพียงแค่ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะมอดไหม้ไป จึงของทูลลากลับไปอยู่เมืองนาค...”
นอกจากเรื่อง “การให้กำเนิด” ทายาทที่แปลกแล้ว “การกินอาหาร” ก็ถือว่าแปลกด้วย ซึ่งจากที่ชาวสวรรค์ปกติ “อิ่มทิพย์” แต่เนื้อความที่แสดงใน “ไตรภูมิพระร่วง” กล่าวว่า “พญานาค เมื่อหิวก็จำจำแลงแปลงกายออกหากิน”
นอกจากนั้น ยังมีคติความเชื่อที่ว่า ถึงแม้พญานาคจะสามารถแปลงกายเป็นอะไรก็ได้ แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ พยานาคจะต้องปรากฎร่างเป็นาคเช่นเดิม คือนาค
1. ขณะเกิดเป็นนาค
2. ขณะลอกคราบ
3. ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค
4. ขณะนอนหลับโดยไม่ได้สติ
5. เมื่อสิ้นใจ แม้จำแลงเป้นภาวะอื่น ก็จะกลับเป็นนาคตามเดิม
ใน “พระไตรปิฎก” กล่าวว่า ในครั้งพุทธกาลเคยมีพญานาคแปลงกายเป็นมนุษย์เข้ามาบวช บ่ายวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับในกุฏิ และเมื่อขาดสติก็ได้คืนสู่ภาวะเดิม คือ เป็นร่างพญานาคตัวใหญ่นอนขนดม้วนห่อหุ้มด้วยผ้าจีวรอยู่ เมื่อภิกษุทั้งหลายผ่านไปเจอก็ตกใจ และเกิดเป็นคดีความจนต้องห้ามไม่ให้พญานาคบวชในพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้นในคัมภีร์ทางศาสนายังกล่าวว่า เคยมีพญานาคตนหนึ่งแปลงกายเป็นมนุษย์เข้ามาเฝ้าพระพุทธองค์ โดยได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ตั้งกฎบัญญัติ ห้ามมิให้พระภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องูทุกชนิด ซึ่งในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตและได้บัญญัติ “พระวินัย” ขึ้นมา
นาคทั้งหลายนั้นมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แต่เมื่อไม่ได้โอกาสบวช จึงเลือกทำหน้าที่ดูแลและคุ้มครองพระพุทธศาสนาในอีกมิติหนึ่ง
เมื่อดูจากเหตุการณืต่างๆ แล้ว น่าจะสรุปได้ว่า เรื่องราวของทิพย์ภาวะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ส่วนพญานาคนั้นเป็น “กึ่งเทพ” และ “กึ่งสัตว์เดรัจฉาน” ทิพย์ภาวะบางอย่างจึงไม่ละเอียดเท่ากับนางฟ้าเทวดาทั่วไปในสวรรค์ชั้นเดียวกัน อิริยาบถต่างๆ เช่น การกิน หรือการสืบทายาทจึงไม่เป็นแบบ “ทิพย์ภาวะ” ทั้งหมด
ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร
สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆจะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ แต่สำหรับผู้มีจักษุหลวงปู่หลวงตาท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าพญานาคไม่มี
อ.ซี นาคราช
ขอบคุณข้อมูล
http://payanakara.blogspot.com
https://th.wikipedia.org/
http://www.thaigoodview.com