ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่เราไปเดินสำรวจงานคอมมาร์ทที่จัดขึ้นที่ศูนย์สิริกิติติ์ เมื่อกลางเดือนที่แล้ว เราพบว่า นอกเหนือจากตลาดแท็บเล็ตที่เป็นระดับไฮเอนด์แบรนด์จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคถึงขนาดเข้าแถวต่อคิวยาวกันเป็นชั่วโมงเพื่อเป็นเจ้าของกันแล้ว ภายในส่วนบริเวณที่เป็นตลาดแท็บเล็ตเฮ้าส์แบรนด์ที่มาจากเมืองจีน ก็ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเห็นได้จากบรรดาร้านรับติดฟิล์มกันรอยที่ติดฟิล์มกันไม่หยุด รวมถึงกระทู้รีวิว คลิปวีดีโอ หรือถามหาสถานที่ซื้อผ่านหน้าเว็บบอร์ดออนไลน์ด้วย ซึ่งก็แน่นอนว่า สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้แท็บเล็ตจีนได้รับความนิยม ก็คือเรื่องของราคาที่สบายกระเป๋า แต่ก็ยังคงได้สัมผัสกับความเป็นแอนดรอยด์และการใช้งานที่ไม่ต่างจากแบรนด์มีชื่อ และเพื่อให้ทันกับกระแสที่กำลังกระหน่ำและเป็นทางเลือกอีกตัวที่น่าสนใจในตลาด วันนี้เราจึงขอแนะนำ aigoPad แท็บเล็ตที่มาพร้อมกับขนาดและราคาที่เล็ก แถมขับเคลื่อนการทำงานด้วย Android 4.0 เต็มสูบ
สำหรับชื่อแบรนด์ aigoPad นั้น ในบ้านเราอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหูกันเท่าไหร่นัก แต่กับในประเทศจีน ชื่อเสียงของไอโกะ ถือเป็นหนึ่งในบริษัทแถวหน้าสำหรับการผลิตอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1993 มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง และมีสาขาในประเทศทั้งสิ้น 14 สาขา รวมถึงส่วนงาน R&D ที่ประเทศสิงค์โปร์ด้วย
ภายนอก
aigoPadที่เราได้รับมาทดสอบวันนี้เป็น รุ่น M60 เป็นแท็บเล็ตน้องเล็กสุด ขนาดหน้าจอเพียง 6 นิ้ว เทียบเท่ากับขนาดประมาณพ็อกเก็ตบุ๊ค ถูกบรรจุอยู่ภายในกล่องพื้นสีขาว ซึ่งขับให้รูปภาพจำลอง แท็บเล็ตตรงกลางโดดเด่นดึงดูดสายตามากขึ้น
ตัวกล่องถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นกล่องแบบเลื่อนสอด เมื่อเลื่อนชั้นแรกออกจะพบกับชั้นที่ 2 ของกล่อง ซึ่งภายในมีอุปกรณ์มาให้ดังนี้ ตัวเครื่องแท็บเล็ต, สาย Micro USB , คู่มือ และใบรับประกัน ซึ่งถูกจัดวางและห่อหุ้มมาอย่างดี
พื้นที่ด้านหลังกล่อง มีการระบุข้อมูลจำเพาะของตัวเครื่อง ซึ่งด้านซ้ายมือจะเป็นการระบุจุดเด่นหลักๆ ของ M60 ขณะที่ด้านขวาจะเป็นตารางสเป็คตัวเครื่อง ซึ่งการจัดวางและออกแบบมาทำได้ดูง่าย ทำให้ผู้ซื้อสามารถที่จะดูข้อมูลเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ได้สะดวก
ด้านหน้าของ M60 มาพร้อมกับขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว แสดงผลที่ความละเอียด 480x800 ตัวเครื่องมีขนาด 160x95x110 มม. สำหรับขนาดของแท็บเล็ตเรียกว่าออกแบบมาได้พอดีกับการจับถือและเหมาะแก่การพกพาใส่กระเป๋า ตัวเครื่องด้านหน้าเป็นสีดำสนิทเหมือนแท็บเล็ตตัวอื่นๆ สวยงามตามแบบฉบับ ด้วยสันขอบที่เป็นสีเงิน
ส่วนด้านหลัง M60 เมื่อแรกสัมผัส รู้สึกประทับใจกับการเลือกใช้วัสดุ ซึ่งถึงแม้จะเป็นเป็นพลาสติก แต่ก็มีความแข็งแรง ไม่ก๊องแก๊ง การประกอบก็ทำได้ดี ให้ความรู้สึกในการสัมผัสแบบเดียวกับคอนโซลรถยนต์ และถึงแม้อาจจะลื่นไปนิด แต่ทว่าเมื่อใช้สองมือจับตัวเครื่อง พบว่าสามารถจับได้ถนัด ที่ด้านล่างเกือบตรงกลางเป็นตำแหน่งที่อยู่ของลำโพงสเตริโอ
ตัวเครื่องมีน้ำหนักประมาณ 238 กรัม แบตเตอรี่มีความจุ 2,000 มิลลิมแอมป์ ส่วนการชาร์จ M60 ไม่สามารถชาร์จผ่านไฟบ้านได้ เพราะไม่มีอะแดปเตอร์มาให้ด้วย สามารถชาร์จได้เฉพาะผ่านกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
บริเวณสันของตัวเครื่อง ถ้ากำหนดให้เซ็นเซอร์กล้องหน้าอยู่ทางด้านซ้ายมือ ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มพาวเวอร์ จะถูกกำหนดให้อยู่ที่ด้านขวา
ส่วนฝั่งตรงกันข้ามจะไม่มีปุ่มใดๆ
และถ้าตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง พอร์ทเชื่อมต่อต่างๆ ของตัวเครื่องจะถูกออกแบบให้อยู่รวมกัน จากซ้ายไปขวาจะได้แก่ ช่องใส่การ์ด MicroSD ที่สามารถใส่เพิ่มได้ถึง 32 กิกะไบต์, หูฟังขนาด 3.5 มม. และพอร์ท Micro-USB สำหรับชาร์ตไฟและถ่ายโอนข้อมูล
เช่นกันที่ด้านฝั่งตรงข้ามของเครื่อง ไม่มีปุ่มใดๆ
สำหรับเรื่องกล้อง M60 มาพร้อมกับกล้องหน้าความละเอียดเพียง 3 แสนพิกเซล รองรับความสามารถในการสนทนาวีดีโอ ส่วนกล้องหลังไม่มีมาให้ เข้าใจว่าเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและทำให้มีราคาขายที่ถูกได้ สำหรับกล้องหน้าถูกจัดวางให้อยู่ตำแหน่งแนวตั้ง ค่อนไปทางด้านซ้าย
ภายใน
M60 มาพร้อมกับหน้าจอที่แสดงความละเอียดที่ 480x800 พิกเซล สามารถมัลติทัชได้ 5 จุด รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi รันการทำงานด้วยโปรเซสเซอร์ Cortex A8 Proceseepr ขนาด 1.2 GHz แรมขนาด 512 เมกะไบต์ มีพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครี่อง 4 กิกะไบต์ สีสันของการแสดงผลถือว่าค่อนข้างคมชัดและสดใส โดยรวมแล้วก็ประทับใจ แต่การทำงานในส่วนของประมวลผลยังถือว่า ไม่ค่อยดี มีบางจังหวะที่เกิดอาการหน่วงให้เห็น หรือการทัชสกรีนที่บางครั้งอาจจะต้องใส่น้ำหนักอยู่บ้าง เช่นเดียวกับการกดปุ่มพาวเวอร์ที่ตัวเครื่องที่ต้องออกแรงกดอยู่เล็กน้อย
ระบบปฏิบัติการM60 มาพร้อมกับ Andriod เวอร์ชั่น 4.0 ที่ทันสมัย แต่ทว่าด้วยสเป็คและราคาประหยัด และความเป็นธรรมชาติของแอนดรอยด์ที่ค่อนข้างกินทรัพยากรเครื่อง จึงทำให้เกิดอาการดีเลย์บ้างระหว่างการใช้งานดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่า มันไม่เหมาะถ้านำเครื่องมาเล่นหรือรันแอพพลิเคชั่นที่ต้องมีการการประมวลผลสูงๆ M60 เหมาะสำหรับการใช้งานเบาๆ มากกว่า และจากเท่าที่ลองเล่นเกมที่ต้องอาศัยการวาดนิ้วแบบทันที ก็พบว่าทำได้ไม่ดี
สำหรับผลคะแนนเมื่อทดสอบด้วย แอพพลิเคชั่น Quadrant Standard พบว่า คะแนนของอุปกรณ์อยู่ในลำดับต่ำสุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า M60 รุ่นนี้น่าจะเหมาะสำหรับเล่นเกมเบาๆ ให้เด็กๆ พกพามากกว่าที่จะใช้งานแบบฮาร์ดคอร์ รวมถึงสเป็คที่ใส่มาให้ แน่นอนว่าไม่สามารถสู้กับเครื่องที่ใช้ซีพียูประมวลผลระดับดูอัลคอร์ได้แน่นอน
การใช้งาน
สำหรับการรันการทำงานด้วย Andriod 4.0 แน่นอนว่ามีเมนูภาษาไทยมาด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ยังจำเป็นต้องดาวน์โหลดคีย์บอร์ดไทย สำหรับการพิมพ์ภาษาไทยต่างหาก แต่ด้วยความใส่ใจของแบรนด์ aigo ในส่วนนี้ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ทางไอโกะจึงได้ทำการติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Go keyboard มาให้ด้วยซึ่งเราสามารถที่จะคลิกติดตั้งเพื่อใช้งานคีย์บอร์ดดังกล่าวได้โดยไม่ต้องหาดาวน์โหลดจาก Play Storeเพิ่มเติม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าคีย์บอร์ดต่างๆ จากแอพพลิเคชั่นนี้ได้อีกด้วย
ส่วนการเข้าเว็บเพจต่างๆ M60 ไม่มีปัญหา แสดงผลได้ดีเหมือนการเรียกดูจากบนพีซี แต่ด้วยความที่มีหน้าจอขนาดเพียง 6 นิ้ว ทำให้การแสดงผล ทำได้ไม่เต็มที่นัก ดูอึดอัด ส่วนการทัชสกรีนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่บางครั้งก็ล่าช้าอยู่บ้าง
กล้อง
สำหรับการใช้งานกล้องหน้า ความละเอียดภาพที่ 3 แสนพิกเซล ถูกออกแบบไว้ใช้สำหรับวีดีโอแชทมากกว่าการถ่ายภาพนิ่ง แต่เมื่อนำมาถ่ายภาพนิ่ง คุณภาพของรูปก็ไม่ได้แย่จนเกินไปนัก และน่าพอใจกว่าที่คาดไว้ ถึงแม้ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเพียงแค่ QVGA 240x 320 พิกเซล (ซึ่งทำให้มันดูชัด) เสียงชัดเตอร์กล้องดัง ไม่มีออโต้โฟกัสก็ตาม (รูปตัวอย่างไม่ผ่านการตกแต่งและย่อรูป) ตัวกล้องสามารถปรับค่า White Balance และการรับแสงได้
สรุป
จากเท่าที่ลองเล่น aigoPad มาได้หนึ่งสัปดาห์ รู้สึกได้ถึงความประทับใจในตัวแท็บเล็ตมาก เมื่อเทียบกับราคาค่าตัวที่ไม่ถึงสองพัน เพราะมันสามารถทำงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม หรือการพกพา รวมถึงวัสดุฝาหลังที่ประทับใจมากที่สุด ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเกิดอาการหน่วงหรือแอพพลิเคชั่นบางตัวไม่รองรับระหว่างเล่นให้เห็นบ้างก็ตาม แต่โดยภาพรวมแล้วมันก็ทำงานได้พอดี พอที่จะตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะกับเด็กๆ
ข้อดี
1.มาพร้อมกับ Go Keyboard ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งยากในการดาวน์โหลดคีย์บอร์ดจาก Play Store
2.วัสดุฝาหลังดี การประกอบแข็งแรง
ข้อเสีย
1.เกิดอาการหน่วงระหว่างการใช้งาน ไม่เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องมีการประมวลผลสูงๆ
2.มีการรับประกันจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ
ขอบคุณ บริษัท ไอโกเทค จำกัด สำหรับผลิตภัณฑ์ทดสอบ
AigoPad M60 แท็บเล็ตที่มินิทั้งราคาและขนาด
สำหรับชื่อแบรนด์ aigoPad นั้น ในบ้านเราอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหูกันเท่าไหร่นัก แต่กับในประเทศจีน ชื่อเสียงของไอโกะ ถือเป็นหนึ่งในบริษัทแถวหน้าสำหรับการผลิตอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1993 มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง และมีสาขาในประเทศทั้งสิ้น 14 สาขา รวมถึงส่วนงาน R&D ที่ประเทศสิงค์โปร์ด้วย
ภายนอก
aigoPadที่เราได้รับมาทดสอบวันนี้เป็น รุ่น M60 เป็นแท็บเล็ตน้องเล็กสุด ขนาดหน้าจอเพียง 6 นิ้ว เทียบเท่ากับขนาดประมาณพ็อกเก็ตบุ๊ค ถูกบรรจุอยู่ภายในกล่องพื้นสีขาว ซึ่งขับให้รูปภาพจำลอง แท็บเล็ตตรงกลางโดดเด่นดึงดูดสายตามากขึ้น
ตัวกล่องถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นกล่องแบบเลื่อนสอด เมื่อเลื่อนชั้นแรกออกจะพบกับชั้นที่ 2 ของกล่อง ซึ่งภายในมีอุปกรณ์มาให้ดังนี้ ตัวเครื่องแท็บเล็ต, สาย Micro USB , คู่มือ และใบรับประกัน ซึ่งถูกจัดวางและห่อหุ้มมาอย่างดี
พื้นที่ด้านหลังกล่อง มีการระบุข้อมูลจำเพาะของตัวเครื่อง ซึ่งด้านซ้ายมือจะเป็นการระบุจุดเด่นหลักๆ ของ M60 ขณะที่ด้านขวาจะเป็นตารางสเป็คตัวเครื่อง ซึ่งการจัดวางและออกแบบมาทำได้ดูง่าย ทำให้ผู้ซื้อสามารถที่จะดูข้อมูลเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ได้สะดวก
ด้านหน้าของ M60 มาพร้อมกับขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว แสดงผลที่ความละเอียด 480x800 ตัวเครื่องมีขนาด 160x95x110 มม. สำหรับขนาดของแท็บเล็ตเรียกว่าออกแบบมาได้พอดีกับการจับถือและเหมาะแก่การพกพาใส่กระเป๋า ตัวเครื่องด้านหน้าเป็นสีดำสนิทเหมือนแท็บเล็ตตัวอื่นๆ สวยงามตามแบบฉบับ ด้วยสันขอบที่เป็นสีเงิน
ส่วนด้านหลัง M60 เมื่อแรกสัมผัส รู้สึกประทับใจกับการเลือกใช้วัสดุ ซึ่งถึงแม้จะเป็นเป็นพลาสติก แต่ก็มีความแข็งแรง ไม่ก๊องแก๊ง การประกอบก็ทำได้ดี ให้ความรู้สึกในการสัมผัสแบบเดียวกับคอนโซลรถยนต์ และถึงแม้อาจจะลื่นไปนิด แต่ทว่าเมื่อใช้สองมือจับตัวเครื่อง พบว่าสามารถจับได้ถนัด ที่ด้านล่างเกือบตรงกลางเป็นตำแหน่งที่อยู่ของลำโพงสเตริโอ
ตัวเครื่องมีน้ำหนักประมาณ 238 กรัม แบตเตอรี่มีความจุ 2,000 มิลลิมแอมป์ ส่วนการชาร์จ M60 ไม่สามารถชาร์จผ่านไฟบ้านได้ เพราะไม่มีอะแดปเตอร์มาให้ด้วย สามารถชาร์จได้เฉพาะผ่านกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
บริเวณสันของตัวเครื่อง ถ้ากำหนดให้เซ็นเซอร์กล้องหน้าอยู่ทางด้านซ้ายมือ ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มพาวเวอร์ จะถูกกำหนดให้อยู่ที่ด้านขวา
และถ้าตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง พอร์ทเชื่อมต่อต่างๆ ของตัวเครื่องจะถูกออกแบบให้อยู่รวมกัน จากซ้ายไปขวาจะได้แก่ ช่องใส่การ์ด MicroSD ที่สามารถใส่เพิ่มได้ถึง 32 กิกะไบต์, หูฟังขนาด 3.5 มม. และพอร์ท Micro-USB สำหรับชาร์ตไฟและถ่ายโอนข้อมูล
สำหรับเรื่องกล้อง M60 มาพร้อมกับกล้องหน้าความละเอียดเพียง 3 แสนพิกเซล รองรับความสามารถในการสนทนาวีดีโอ ส่วนกล้องหลังไม่มีมาให้ เข้าใจว่าเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและทำให้มีราคาขายที่ถูกได้ สำหรับกล้องหน้าถูกจัดวางให้อยู่ตำแหน่งแนวตั้ง ค่อนไปทางด้านซ้าย
ภายใน
M60 มาพร้อมกับหน้าจอที่แสดงความละเอียดที่ 480x800 พิกเซล สามารถมัลติทัชได้ 5 จุด รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi รันการทำงานด้วยโปรเซสเซอร์ Cortex A8 Proceseepr ขนาด 1.2 GHz แรมขนาด 512 เมกะไบต์ มีพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครี่อง 4 กิกะไบต์ สีสันของการแสดงผลถือว่าค่อนข้างคมชัดและสดใส โดยรวมแล้วก็ประทับใจ แต่การทำงานในส่วนของประมวลผลยังถือว่า ไม่ค่อยดี มีบางจังหวะที่เกิดอาการหน่วงให้เห็น หรือการทัชสกรีนที่บางครั้งอาจจะต้องใส่น้ำหนักอยู่บ้าง เช่นเดียวกับการกดปุ่มพาวเวอร์ที่ตัวเครื่องที่ต้องออกแรงกดอยู่เล็กน้อย
ระบบปฏิบัติการM60 มาพร้อมกับ Andriod เวอร์ชั่น 4.0 ที่ทันสมัย แต่ทว่าด้วยสเป็คและราคาประหยัด และความเป็นธรรมชาติของแอนดรอยด์ที่ค่อนข้างกินทรัพยากรเครื่อง จึงทำให้เกิดอาการดีเลย์บ้างระหว่างการใช้งานดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่า มันไม่เหมาะถ้านำเครื่องมาเล่นหรือรันแอพพลิเคชั่นที่ต้องมีการการประมวลผลสูงๆ M60 เหมาะสำหรับการใช้งานเบาๆ มากกว่า และจากเท่าที่ลองเล่นเกมที่ต้องอาศัยการวาดนิ้วแบบทันที ก็พบว่าทำได้ไม่ดี
สำหรับผลคะแนนเมื่อทดสอบด้วย แอพพลิเคชั่น Quadrant Standard พบว่า คะแนนของอุปกรณ์อยู่ในลำดับต่ำสุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า M60 รุ่นนี้น่าจะเหมาะสำหรับเล่นเกมเบาๆ ให้เด็กๆ พกพามากกว่าที่จะใช้งานแบบฮาร์ดคอร์ รวมถึงสเป็คที่ใส่มาให้ แน่นอนว่าไม่สามารถสู้กับเครื่องที่ใช้ซีพียูประมวลผลระดับดูอัลคอร์ได้แน่นอน
การใช้งาน
สำหรับการรันการทำงานด้วย Andriod 4.0 แน่นอนว่ามีเมนูภาษาไทยมาด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ยังจำเป็นต้องดาวน์โหลดคีย์บอร์ดไทย สำหรับการพิมพ์ภาษาไทยต่างหาก แต่ด้วยความใส่ใจของแบรนด์ aigo ในส่วนนี้ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ทางไอโกะจึงได้ทำการติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Go keyboard มาให้ด้วยซึ่งเราสามารถที่จะคลิกติดตั้งเพื่อใช้งานคีย์บอร์ดดังกล่าวได้โดยไม่ต้องหาดาวน์โหลดจาก Play Storeเพิ่มเติม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าคีย์บอร์ดต่างๆ จากแอพพลิเคชั่นนี้ได้อีกด้วย
ส่วนการเข้าเว็บเพจต่างๆ M60 ไม่มีปัญหา แสดงผลได้ดีเหมือนการเรียกดูจากบนพีซี แต่ด้วยความที่มีหน้าจอขนาดเพียง 6 นิ้ว ทำให้การแสดงผล ทำได้ไม่เต็มที่นัก ดูอึดอัด ส่วนการทัชสกรีนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่บางครั้งก็ล่าช้าอยู่บ้าง
กล้อง
สำหรับการใช้งานกล้องหน้า ความละเอียดภาพที่ 3 แสนพิกเซล ถูกออกแบบไว้ใช้สำหรับวีดีโอแชทมากกว่าการถ่ายภาพนิ่ง แต่เมื่อนำมาถ่ายภาพนิ่ง คุณภาพของรูปก็ไม่ได้แย่จนเกินไปนัก และน่าพอใจกว่าที่คาดไว้ ถึงแม้ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเพียงแค่ QVGA 240x 320 พิกเซล (ซึ่งทำให้มันดูชัด) เสียงชัดเตอร์กล้องดัง ไม่มีออโต้โฟกัสก็ตาม (รูปตัวอย่างไม่ผ่านการตกแต่งและย่อรูป) ตัวกล้องสามารถปรับค่า White Balance และการรับแสงได้
สรุป
จากเท่าที่ลองเล่น aigoPad มาได้หนึ่งสัปดาห์ รู้สึกได้ถึงความประทับใจในตัวแท็บเล็ตมาก เมื่อเทียบกับราคาค่าตัวที่ไม่ถึงสองพัน เพราะมันสามารถทำงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม หรือการพกพา รวมถึงวัสดุฝาหลังที่ประทับใจมากที่สุด ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเกิดอาการหน่วงหรือแอพพลิเคชั่นบางตัวไม่รองรับระหว่างเล่นให้เห็นบ้างก็ตาม แต่โดยภาพรวมแล้วมันก็ทำงานได้พอดี พอที่จะตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะกับเด็กๆ
ข้อดี
1.มาพร้อมกับ Go Keyboard ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งยากในการดาวน์โหลดคีย์บอร์ดจาก Play Store
2.วัสดุฝาหลังดี การประกอบแข็งแรง
ข้อเสีย
1.เกิดอาการหน่วงระหว่างการใช้งาน ไม่เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องมีการประมวลผลสูงๆ
2.มีการรับประกันจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ
ขอบคุณ บริษัท ไอโกเทค จำกัด สำหรับผลิตภัณฑ์ทดสอบ