ที่มา:
http://www.komchadluek.net/detail/20111009/111234/อินเดียเปิดตัวแท็บเล็ตพันบาท.html
====================================================================
รัฐบาลชุดปัจจุบันของสยามเมือง (แค่น) ยิ้มมีนโยบายการแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต "เพื่อการศึกษา" ให้แก่เด็กนักเรียนตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ที่ต้องทำตามสัญญาให้ได้ โดยรัฐบาลกำหนดให้เจ้ากระทรวงศึกษาธิการศึกษาหาความเป็นไปได้อยู่ในปัจจุบันและแม้จะมีข่าวเลาๆ ว่าจะเริ่มแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่เด็กประถม 1 ในอนาคตอันใกล้ โดยเป็นแท็บเล็ตที่ผลิตในต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงหลายพันบาทขึ้นไป ก่อนหน้านี้ทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เสนอให้รัฐบาลไทยซื้อแท็บเล็ตจากผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา ที่มีราคาประมาณ 5,000 บาทเศษ แต่เมื่อบวกลบคูณหารตัวเลขจำนวนนักเรียนกับราคาแท็บเล็ตแล้วงบประมาณที่ใช้ก็อยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ขณะที่ประเทศผู้นำด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียใต้อย่าง "อินเดีย" ได้เริ่มแนวคิดการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกเพื่อออกจำหน่ายให้แก่ประชากรกว่า 1,200 ล้านคนในประเทศ เพื่อเป็นช่องทางในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ความคิดให้แก่นักเรียน นักศึกษาในแดนภารตมานานแล้ว ตั้งแต่โน้ตบุ๊กราคาประหยัด ที่เป็นการริเริ่มของบริษัทไมโครซอฟท์เมื่อหลายปีที่ผ่านมา
จนเมื่อเร็วๆ นี้บริษัทดาต้าวินด์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แห่งประเทศแคนาดาได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต "ราคาถูกที่สุดในโลก" ในตลาดอินเดีย และเปิดเผยว่ารัฐบาลอินเดียได้สั่งซื้อแท็บเล็ตลอตแรกจำนวน 1 แสนเครื่องในราคา 2,276 รูปี (ประมาณ 1,624 บาท) ต่อเครื่อง เพื่อ "แจก" ให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา "ฟรีๆ"
แท็บเล็ตดังกล่าวใช้ชื่อว่า "อากาศ" (Askash) ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 หน้าจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว พร้อมระบบเชื่อมต่อไร้สายแบบ "ไวไฟ" ใช้งานแบตเตอรี่ได้ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง มีพอร์ทยูเอสบี เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้อีก 2 ช่อง ในชุดยังมีการ์ดหน่วยความจำภายนอกอีก 2 กิกะไบต์ให้ใช้งาน
แม้ผู้เชี่ยวชาญจะค้นหาและพบจุดอ่อนว่าแท็บเล็ต "อากาศ" มีหน่วยความจำภายในเพียง 256 เมกะไบต์ ที่อาจไม่เพียงพอต่อการรันโปรแกรม-แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ แต่ก็ถือได้ว่าแท็บเล็ต "อากาศ" ผลิตออกมาได้อย่างคุ้มค่าเงินอย่างที่สุด
ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือการที่ นายสุนีท ซิงห์ ทูลิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กระซิบว่าจะพยายามลดราคาจำหน่ายแท็บเล็ต "อากาศ" ลงจากพันบาทเศษสู่หลัก "ร้อย" โดยตัวเลขในใจของนายทูลิ อยู่ที่เครื่องละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 300 บาท) !!! เท่านั้น
ทั้งนี้และทั้งนั้นราคาแท็บเล็ต "อากาศ" จะลงมาอีกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ของชาวอินเดียว่าจะยอมรับกับการใช้งานแท็บเล็ตที่ไม่มีคีย์บอร์ดให้กดกันได้หรือไม่ และเบนเข็มจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี (หรือโน้ตบุ๊ก) มาใช้คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่มีหน้าจอสัมผัสเท่านั้น
คู่แข่งของ "อากาศ" อย่าง "ไอแพด 2" เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตจากค่ายแอปเปิลแหว่ง นั้นมีราคาสูงกว่ากันหลายเท่า โดยราคาจำหน่ายกระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ของแอปเปิลในอินเดียเริ่มต้นที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.8 หมื่นบาท) ขึ้นไป ส่วนแท็บเล็ตจากบริษัทรีไลแอนซ์ คอมมิวนิเคชั่น ของมหาเศรษฐีชาวอินเดียก็ออกจำหน่ายในราคา 290 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,700 บาท)
รัฐบาลอินเดียมุ่งหวังจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนรู้ของประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้ที่มีมากถึง 61% ของประชากร 1,200 ล้านคน ซึ่งไม่สามารถเทียบได้กับจีนที่ประชากร 92% ของ 1,600 ล้านคน สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยเจ้ากระทรวงพัฒนาบุคลากรของอินเดียฝากความหวังว่า การแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศทุกคน จะ "เพิ่ม" มูลค่าให้กับโครงการได้อย่าง "คุ้มค่า"
อินเดียเปิดตัวแท็บเล็ต
====================================================================
รัฐบาลชุดปัจจุบันของสยามเมือง (แค่น) ยิ้มมีนโยบายการแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต "เพื่อการศึกษา" ให้แก่เด็กนักเรียนตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ที่ต้องทำตามสัญญาให้ได้ โดยรัฐบาลกำหนดให้เจ้ากระทรวงศึกษาธิการศึกษาหาความเป็นไปได้อยู่ในปัจจุบันและแม้จะมีข่าวเลาๆ ว่าจะเริ่มแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่เด็กประถม 1 ในอนาคตอันใกล้ โดยเป็นแท็บเล็ตที่ผลิตในต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงหลายพันบาทขึ้นไป ก่อนหน้านี้ทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เสนอให้รัฐบาลไทยซื้อแท็บเล็ตจากผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา ที่มีราคาประมาณ 5,000 บาทเศษ แต่เมื่อบวกลบคูณหารตัวเลขจำนวนนักเรียนกับราคาแท็บเล็ตแล้วงบประมาณที่ใช้ก็อยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ขณะที่ประเทศผู้นำด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียใต้อย่าง "อินเดีย" ได้เริ่มแนวคิดการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกเพื่อออกจำหน่ายให้แก่ประชากรกว่า 1,200 ล้านคนในประเทศ เพื่อเป็นช่องทางในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ความคิดให้แก่นักเรียน นักศึกษาในแดนภารตมานานแล้ว ตั้งแต่โน้ตบุ๊กราคาประหยัด ที่เป็นการริเริ่มของบริษัทไมโครซอฟท์เมื่อหลายปีที่ผ่านมา
จนเมื่อเร็วๆ นี้บริษัทดาต้าวินด์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แห่งประเทศแคนาดาได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต "ราคาถูกที่สุดในโลก" ในตลาดอินเดีย และเปิดเผยว่ารัฐบาลอินเดียได้สั่งซื้อแท็บเล็ตลอตแรกจำนวน 1 แสนเครื่องในราคา 2,276 รูปี (ประมาณ 1,624 บาท) ต่อเครื่อง เพื่อ "แจก" ให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา "ฟรีๆ"
แท็บเล็ตดังกล่าวใช้ชื่อว่า "อากาศ" (Askash) ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 หน้าจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว พร้อมระบบเชื่อมต่อไร้สายแบบ "ไวไฟ" ใช้งานแบตเตอรี่ได้ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง มีพอร์ทยูเอสบี เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้อีก 2 ช่อง ในชุดยังมีการ์ดหน่วยความจำภายนอกอีก 2 กิกะไบต์ให้ใช้งาน
แม้ผู้เชี่ยวชาญจะค้นหาและพบจุดอ่อนว่าแท็บเล็ต "อากาศ" มีหน่วยความจำภายในเพียง 256 เมกะไบต์ ที่อาจไม่เพียงพอต่อการรันโปรแกรม-แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ แต่ก็ถือได้ว่าแท็บเล็ต "อากาศ" ผลิตออกมาได้อย่างคุ้มค่าเงินอย่างที่สุด
ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือการที่ นายสุนีท ซิงห์ ทูลิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กระซิบว่าจะพยายามลดราคาจำหน่ายแท็บเล็ต "อากาศ" ลงจากพันบาทเศษสู่หลัก "ร้อย" โดยตัวเลขในใจของนายทูลิ อยู่ที่เครื่องละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 300 บาท) !!! เท่านั้น
ทั้งนี้และทั้งนั้นราคาแท็บเล็ต "อากาศ" จะลงมาอีกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ของชาวอินเดียว่าจะยอมรับกับการใช้งานแท็บเล็ตที่ไม่มีคีย์บอร์ดให้กดกันได้หรือไม่ และเบนเข็มจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี (หรือโน้ตบุ๊ก) มาใช้คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่มีหน้าจอสัมผัสเท่านั้น
คู่แข่งของ "อากาศ" อย่าง "ไอแพด 2" เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตจากค่ายแอปเปิลแหว่ง นั้นมีราคาสูงกว่ากันหลายเท่า โดยราคาจำหน่ายกระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ของแอปเปิลในอินเดียเริ่มต้นที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.8 หมื่นบาท) ขึ้นไป ส่วนแท็บเล็ตจากบริษัทรีไลแอนซ์ คอมมิวนิเคชั่น ของมหาเศรษฐีชาวอินเดียก็ออกจำหน่ายในราคา 290 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,700 บาท)
รัฐบาลอินเดียมุ่งหวังจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนรู้ของประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้ที่มีมากถึง 61% ของประชากร 1,200 ล้านคน ซึ่งไม่สามารถเทียบได้กับจีนที่ประชากร 92% ของ 1,600 ล้านคน สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยเจ้ากระทรวงพัฒนาบุคลากรของอินเดียฝากความหวังว่า การแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศทุกคน จะ "เพิ่ม" มูลค่าให้กับโครงการได้อย่าง "คุ้มค่า"