ในช่วง 2สัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความสนใจนั้นจะมีข่าวของการตัดสินใจทำลายดาวเทียมจารกรรม(ที่ใช้การไม่ได้แล้ว)ของสหรัฐฯ ซึ่งให้เหตุผลว่าในดาวเทียมมีการบรรจุถังสารไฮดราซีน ที่มีความเป็นพิษสูง ถ้าตกลงสู่บริเวณชุมชุนก็อาจจะสร้างอันตรายได้ และตัวดาวเทียมเองนั้นก็ไม่สามารถควบคุมการตกได้ด้วย รวมถึงมีชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นความลับระดับสูงของกองทัพ ที่สหรัฐฯเองไม่ต้องการให้ประเทศนำเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ไปใช้ด้วย
ส่วนอีกเหตุผลที่หลายฝ่ายคาดว่าน่าจะมีส่วนด้วยนั้นก็คือเป็นการแสดงเทคโนโลยีทางอาวุธของกองทัพสหรัฐฯ ที่มักจะมีการนำอาวุธรุ่นใหม่ๆออกมาอวดแสงยานุภาพกันเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งล่าสุดก็มีการเปิดเผยจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯออกมาแล้วว่าได้ใช้ขีปนาวุธ SM-3 ที่ได้มีการดัดแปลงพิเศษเพื่อภาระกิจนี้โดยเฉพาะยิงขึ้นจากเรือรบ USS Lake Erie เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำลายดาวเทียมจารกรรมดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และถังบรรจุสารไฮดราซีนภายในดาวเทียมก็ถูกทำลายไปเรียบร้อยพร้อมๆกัน
ซึ่งถ้าจะพูดถึงดาวเทียมจารกรรมนั้นสหรัฐฯก็เป็นประเทศแรกๆที่มีการนำดาวเทียมถ่ายภาพสอดแนมทางอากาศมาใช้งานตั้งแต่ยุคสงครามเย็นหรือประมาณตั้งแต่ปี 1960 โดยก่อนหน้านั้นการถ่ายภาพทางอากาศเพื่อภาระกิจสอดแนมนั้นจะใช้เครื่องบินสอดแนมเช่น U2 ติดกล้องบินขึ้นไปถ่ายภาพ แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจพบจากเรดาห์ของฝ่ายตรงข้ามได้ การถ่ายภาพจากอวกาศลงมาโดยใช้ดาวเทียมก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยมี National Reconnaissance Office หรือ NRO เป็นผู้ดูแลงานด้านนี้ ดาวเทียมสอดแนมแบบแรกที่สหรัฐฯส่งขึ้นไปใช้งานนั้นมีชื่อเรียกว่า "Corona" ซึ่งเป็นดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศดวงแรกของโลกด้วยที่ถูกนำมาใช้งาน โดยระยะเวลาใช้งานนั้นอยู่ในช่วง เดือนสิงหาคม 1960 - พฤษภาคม 1972 แต่กว่าข้อมูลต่างๆของโครงการดาวเทียมดังกล่าวจะถูกลดระดับชั้นความลับจนสามารถเปิดเผยสู่สาธารณะชนได้นั้นก็เป็นปี 1995 เลยทีเดียว ซึ่งตัวดาวเทียม Corona นั้นจะใช้การบันทึกภาพลงบนฟิล์ม ซึ่งในแต่ละภาพนั้นจะสามารถบันทึกพื้นที่ได้ครอบคลุมระยะ 10คูณ 120ไมล์ และสามารถซูมดูรายละเอียดได้ที่ระยะ 8เมตรในช่วงแรกและถูกปรับปรุงให้เป็นระยะ 2เมตรในเวลาต่อมา โดยเมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วก็จะมีการส่งฟิล์มกลับเข้าสู่โลกโดยบรรจุในภาชนะนิรภัยพร้อมร่มชูชีพ และจะใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศบินขึ้นไปเก็บภาชนะบรรจุฟิล์มกลางอากาศ เพื่อนำภาพมาล้างและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในระยะเวลา 12ปีที่มีการใช้งานดาวเทียมแบบ Corona ในการสอดแนมนั้นมีการส่งดาวเทียม Corona ขึ้นไปปฏิบัติภาระกิจถึง 145ครั้ง และได้ถ่ายภาพไว้ทั้งหมดกว่า 800,000ภาพ โดยในปีที่ปลดประจำการดาวเทียมสอดแนมแบบ Corona ไปนั้นก็เป็นปีแรกที่ NASA ได้เริ่มโครงการส่งดาวเทียมถ่ายภาพสำหรับงานด้านธรณีวิทยา และวิทยาศาตร์ขึ้นไป
ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆของดาวเทียมสอดแนม Corona
แสดงการส่งดาวเทียม Corona ขึ้นไปสู่วงโคจร
การส่งฟิล์มถ่ายภาพกลับสู่โลกหลังสำเร็จภาระกิจถ่ายภาพสอดแนม
ภาพตัวดาวเทียมแบบ Corona
ภาพถ่ายภาพแรกของ Corona ในวันที่ 18สิงหาคม 1960 เป็นภาพของสนามบิน Shmidta Air Field ในสหภาพโซเวียต
ภาพถ่ายสถานที่ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของจีนถ่ายหลังการทดลอง 4วัน
ภาพอาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือเพ็นทาก้อนวันที่ 25 กันยายน 1967
ภาพการใช้เครื่องบิน C-119 ของกองทัพอากาศในการเก็บแคปซูลบรรจุฟิล์มภาพจาก Corona กลางอากาศ
ข้อมูล
http://www.nro.gov ที่มา
http://news.cnet.comจากคุณ ppantip.com(Tech-Exchange) (A: X:)
Corona ดาวเทียมจารกรรมแบบแรกของสหรัฐฯ
ส่วนอีกเหตุผลที่หลายฝ่ายคาดว่าน่าจะมีส่วนด้วยนั้นก็คือเป็นการแสดงเทคโนโลยีทางอาวุธของกองทัพสหรัฐฯ ที่มักจะมีการนำอาวุธรุ่นใหม่ๆออกมาอวดแสงยานุภาพกันเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งล่าสุดก็มีการเปิดเผยจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯออกมาแล้วว่าได้ใช้ขีปนาวุธ SM-3 ที่ได้มีการดัดแปลงพิเศษเพื่อภาระกิจนี้โดยเฉพาะยิงขึ้นจากเรือรบ USS Lake Erie เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำลายดาวเทียมจารกรรมดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และถังบรรจุสารไฮดราซีนภายในดาวเทียมก็ถูกทำลายไปเรียบร้อยพร้อมๆกัน
ซึ่งถ้าจะพูดถึงดาวเทียมจารกรรมนั้นสหรัฐฯก็เป็นประเทศแรกๆที่มีการนำดาวเทียมถ่ายภาพสอดแนมทางอากาศมาใช้งานตั้งแต่ยุคสงครามเย็นหรือประมาณตั้งแต่ปี 1960 โดยก่อนหน้านั้นการถ่ายภาพทางอากาศเพื่อภาระกิจสอดแนมนั้นจะใช้เครื่องบินสอดแนมเช่น U2 ติดกล้องบินขึ้นไปถ่ายภาพ แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจพบจากเรดาห์ของฝ่ายตรงข้ามได้ การถ่ายภาพจากอวกาศลงมาโดยใช้ดาวเทียมก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยมี National Reconnaissance Office หรือ NRO เป็นผู้ดูแลงานด้านนี้ ดาวเทียมสอดแนมแบบแรกที่สหรัฐฯส่งขึ้นไปใช้งานนั้นมีชื่อเรียกว่า "Corona" ซึ่งเป็นดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศดวงแรกของโลกด้วยที่ถูกนำมาใช้งาน โดยระยะเวลาใช้งานนั้นอยู่ในช่วง เดือนสิงหาคม 1960 - พฤษภาคม 1972 แต่กว่าข้อมูลต่างๆของโครงการดาวเทียมดังกล่าวจะถูกลดระดับชั้นความลับจนสามารถเปิดเผยสู่สาธารณะชนได้นั้นก็เป็นปี 1995 เลยทีเดียว ซึ่งตัวดาวเทียม Corona นั้นจะใช้การบันทึกภาพลงบนฟิล์ม ซึ่งในแต่ละภาพนั้นจะสามารถบันทึกพื้นที่ได้ครอบคลุมระยะ 10คูณ 120ไมล์ และสามารถซูมดูรายละเอียดได้ที่ระยะ 8เมตรในช่วงแรกและถูกปรับปรุงให้เป็นระยะ 2เมตรในเวลาต่อมา โดยเมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วก็จะมีการส่งฟิล์มกลับเข้าสู่โลกโดยบรรจุในภาชนะนิรภัยพร้อมร่มชูชีพ และจะใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศบินขึ้นไปเก็บภาชนะบรรจุฟิล์มกลางอากาศ เพื่อนำภาพมาล้างและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในระยะเวลา 12ปีที่มีการใช้งานดาวเทียมแบบ Corona ในการสอดแนมนั้นมีการส่งดาวเทียม Corona ขึ้นไปปฏิบัติภาระกิจถึง 145ครั้ง และได้ถ่ายภาพไว้ทั้งหมดกว่า 800,000ภาพ โดยในปีที่ปลดประจำการดาวเทียมสอดแนมแบบ Corona ไปนั้นก็เป็นปีแรกที่ NASA ได้เริ่มโครงการส่งดาวเทียมถ่ายภาพสำหรับงานด้านธรณีวิทยา และวิทยาศาตร์ขึ้นไป
ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆของดาวเทียมสอดแนม Corona
แสดงการส่งดาวเทียม Corona ขึ้นไปสู่วงโคจร
การส่งฟิล์มถ่ายภาพกลับสู่โลกหลังสำเร็จภาระกิจถ่ายภาพสอดแนม
ภาพตัวดาวเทียมแบบ Corona
ภาพถ่ายภาพแรกของ Corona ในวันที่ 18สิงหาคม 1960 เป็นภาพของสนามบิน Shmidta Air Field ในสหภาพโซเวียต
ภาพถ่ายสถานที่ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของจีนถ่ายหลังการทดลอง 4วัน
ภาพอาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือเพ็นทาก้อนวันที่ 25 กันยายน 1967
ภาพการใช้เครื่องบิน C-119 ของกองทัพอากาศในการเก็บแคปซูลบรรจุฟิล์มภาพจาก Corona กลางอากาศ
ข้อมูล http://www.nro.gov
ที่มา http://news.cnet.com
จากคุณ ppantip.com(Tech-Exchange) (A: X:)