แล้วจะมีผลถึงกองทุนอินฟรา ที่ BTS ตั้งใจจะเอาสัญญาจ้าง 30 ปี นี้ไปแปลงเป็นเงินสดหรือเปล่า
ตามข่าว
พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีพิเศษ ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการทำสัญญาจ้างเดินรถระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกรุงเทพมหานคร ( กทม.) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ว่า หลังพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องและเรียกผู้ต้องหา 11 ราย มารับทราบข้อกล่าวหา ดีเอสไอได้ส่งสำนวนคดีพร้อมหลักฐานให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษตรวจสอบโดยละเอียดซึ่งอัยการใช้เวลาตรวจสอบสำนวนนานถึง 2 สัปดาห์ เนื่องจากเกรงว่าการแจ้งข้อกล่าวหาอาจเป็นการก้าวก่ายอำนาจสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แต่สุดท้ายอัยการได้เห็นชอบให้เรียกผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ถือว่าขัดกับประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่58 ข้อ 3 และข้อ 11 เกี่ยวกับกรณีที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการการรถราง การประปา การไฟฟ้าฯ การกระทำของกทม.จึงถือว่าไม่มีอำนาจ เมื่อไม่มีหน้าที่จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่คดีดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรมว.มหาดไทย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84 และมาตรา 86 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
"สำหรับคดีดังกล่าวโทษไม่หนัก แต่ผลกระทบจากสัญญามีผลมหาศาล เพราะสัญญาที่เซ็นไปจะกลายเป็นโมฆะ ซึ่งจะส่งผลถึงบริษัท บีทีเอส ที่นำหุ้นไปขายหลังการเซ็นสัญญา" พ.ต.ท.ถวัล กล่าว
ผลกระทบจากที่ DSI แจ้งข้อกล่าวหา กทม และชี้ว่าจะมีผลให้สัญญาจ้าง BTS เป็นโมฆะ
ตามข่าว
พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีพิเศษ ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการทำสัญญาจ้างเดินรถระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกรุงเทพมหานคร ( กทม.) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ว่า หลังพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องและเรียกผู้ต้องหา 11 ราย มารับทราบข้อกล่าวหา ดีเอสไอได้ส่งสำนวนคดีพร้อมหลักฐานให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษตรวจสอบโดยละเอียดซึ่งอัยการใช้เวลาตรวจสอบสำนวนนานถึง 2 สัปดาห์ เนื่องจากเกรงว่าการแจ้งข้อกล่าวหาอาจเป็นการก้าวก่ายอำนาจสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แต่สุดท้ายอัยการได้เห็นชอบให้เรียกผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ถือว่าขัดกับประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่58 ข้อ 3 และข้อ 11 เกี่ยวกับกรณีที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการการรถราง การประปา การไฟฟ้าฯ การกระทำของกทม.จึงถือว่าไม่มีอำนาจ เมื่อไม่มีหน้าที่จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่คดีดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรมว.มหาดไทย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84 และมาตรา 86 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
"สำหรับคดีดังกล่าวโทษไม่หนัก แต่ผลกระทบจากสัญญามีผลมหาศาล เพราะสัญญาที่เซ็นไปจะกลายเป็นโมฆะ ซึ่งจะส่งผลถึงบริษัท บีทีเอส ที่นำหุ้นไปขายหลังการเซ็นสัญญา" พ.ต.ท.ถวัล กล่าว