วันที่ 28 ธันวาคม 2555 01:30
โดย : ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“เซเว่น อีเลฟเว่น”ธุรกิจร้านค้าสะดวกที่มีสาขามากที่สุดในประเทศจะปรับแผนการรบอย่างไร “ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล”บอก ผู้ชนะคือผู้ที่ไม่หยุดวิ่ง
“ธุรกิจค้าปลีก” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมหาศาลในแต่ละปี โดยสภาพัฒน์ฯ ระบุว่าธุรกิจค้าปลีกมีสัดส่วนจีดีพีคิดเป็น 4.8% ของจีดีพีรวมทั้งประเทศในปี 2554 สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมนี้
ในปี 2556 ภาพที่เห็นแน่ๆคือการกระโจนลงสู่สนามนี้ของ “ผู้เล่นหน้าใหม่”และ “หน้าเดิมที่ปรับโฉมใหม่” ตามที่เป็นข่าวมาต่อเนื่องในรอบปี เพื่อแย่งเค้กก้อนโตที่ว่านี้ อาทิการย่อส่วนของบิ๊กซี ก็หันมาทำมินิบิ๊กซี เทสโก้โลตัส ที่ผุดร้านไซส์เล็กออกมา ไม่นับรวมแฟมิลี่มาร์ท และท็อปเดลี่ ที่กลุ่มเซ็นทรัลค้าปลีกอันดับ1 ของไทยกำลังปรับโฉมท้าชนเซเว่น อีเลฟเว่น เช่นเดียวกับ 108 ช็อปของเครือยักษ์ซัพพลายเออร์สหพัฒน์ก็ฮึดสู้
พร้อมกับกระแสข่าวมาดึงลอว์สัน คอนวีเนี่ยนสโตร์เบอร์2 ของญี่ปุ่นมาทำตลาดในไทย การเข้ามาทำตลาดของแม็กซ์แวลู ของค่ายอิออน ผู้ให้บริการการเงินรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ที่แตกไลน์มาทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ก็กำลังไปได้สวย นับจากนี้ ต้องจับตาการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกไทย ว่าใครจะมีชัย ใครจะเสียที
“แค่ปีนี้ ตลาดค้าปลีกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เพราะการแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ปีหน้าไม่ต้องพูดถึงผู้เล่นมากมายจะเข้ามาแย่งเค้กชิ้นเดียวกัน การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นไปอีก” ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เบอร์ 1 ในตลาดร้านสะดวกซื้อในไทยหากเทียบจำนวนสาขา
โดยภายในสิ้นปีนี้เซเว่นอีเลฟเว่นตั้งเป้าจะต้องมีสาขาครบ 6,800 สาขา และปีหน้าตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้เป็น 7,000 แห่งทั่วประเทศ หรือเฉลี่ยเปิดปีละ 500 สาขา ไม่หลุดไปจากตัวเลขนี้
ปิยะวัฒน์ ยอมรับว่า “ประมาทคู่แข่งไม่ได้” เพราะหลายๆ ค่ายที่โดดลงมาเล่นในสนามค้าปลีกต่างล้วนมีเทคโนโลยี มีโนว์ฮาว เป็นจุดแข็งด้วยกันทั้งนั้น
สำหรับเขาแล้ว การที่เซเว่นฯจะเป็นผู้นำในธุรกิจต่อไปได้นั้น อันดับแรกที่เป็นเหมือนเส้นชัย นั่นคือ “การวิ่งหนีคู่แข่ง” ที่สำคัญต้องวิ่งให้ไกล นำหน้าไปเลย ไม่หยุดวิ่ง ยิ่งดี !! เขาเปรียบเปรย
แปลงมาเป็นกลยุทธ์ จับจุดแข็งประเทศไทยมาใส่ในธุรกิจนั่นคือ การเป็น “ครัวของโลก” อาศัยความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต และซัพพลายที่หาได้ในประเทศ มาสร้าง Private Brand หรือ Fighting Brand ในกลุ่มสินค้าอาหาร ซึ่งปีหน้าจะเห็นมากขึ้น เขาระบุ
เรียกว่า โดดลงมาเล่นสงครามราคาในที แต่คุณภาพของสินค้า (รวมถึงมาร์จิ้น) ไม่ต่ำเหมือนราคา เขาบอกอย่างนั้น
“ปีหน้าแข่งดุแน่นอน เราเลยต้องหันมาเน้นสินค้าที่เรียกว่าเป็น Exclusive Products ให้มากขึ้น ต้องผสมผสาน และตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเรามั่นใจว่าเราทำได้ โดยมีระบบไอทีเป็นตัวช่วย”
สำหรับสินค้าหลักที่ซีพี ออลล์จะใช้เป็น “ทัพหน้า” ในการเดินกลยุทธ์ นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ CP โดยในกลุ่มสินค้าอาหารจะเน้นไปที่ขณะการพัฒนาแบรนด์ EASY-GO เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปมาก นับวันจะมีจะคล้ายชาวตะวันตก ที่นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารกล่อง มารับประทาน มากกว่าไปเดินจ่ายตลาด
ขณะเดียวกัน ซีพี ออลล์ ยังจะให้น้ำหนักในเรื่องของการสร้าง Customer Relationship Management (CRM) เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Royalty Brand) อย่าง “แสตมป์รักเมืองไทย” ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ได้ผลดีเกินคาด เพราะผู้บริโภครู้สึกสนุกที่จะร่วมกิจกรรมด้วย
นอกจากนี้ ซีพี ยังมีแผนที่จะปรับให้ “ซีพี เฟรชมาร์ท” กลายเป็น “ร้านสะดวกปรุง” โดยจะจัดพื้นที่ไว้คอยบริการลูกค้าในสไตล์ฟู้ดคอร์ทเพื่อให้สะดวกต่อการรับประทาน ตามแผนซีพีต้องการขยายสาขาซีพี เฟรชมาร์ท ให้กระจายเข้าถึงทุกพื้นที่เช่นเดียวกับเซเว่น อีเลฟเว่น ครอบคลุมถึงแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน ถนนสายหลักต่างๆ และสถานีบริการน้ำมัน ที่ปัจจุบันซีพี ออลล์จับมืออยู่กับกลุ่มปตท. อยู่แล้ว และคาดว่าจะมีสาขาของเซเว่นฯในปั๊ม ปตท. เพิ่มอีก 400 กว่าสาขาในปีหน้า จากปัจจุบันที่มี 800 สาขา หลังจากที่ได้ต่อสัญญาอีก 10 ปีกับ ปตท.ไปแล้ว และยังวางแผนขยายครบ 1,200 สาขาในอนาคต
ไม่เพียงเท่านั้น หากแผนการนี้ของซีพี ออลล์สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การขยายสาขาเข้าไปในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไทยในช่วงที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ก็จะทำในโมเดลเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศว่าจะเปิดช่องแค่ไหน
ขณะที่กลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ “กลุ่มคนชั้นกลาง” ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นหากพิจารณาจากโครงสร้างประชากรในวัยทำงาน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงขึ้นต่อเนื่อง
ข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) ยังระบุด้วยว่า ในช่วง 20 ปีข้างหน้า การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9% เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่นๆที่จะขยายตัวเพียง 0.8% และการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยกว่า 7.5% ต่อปี ตลอดจนการเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง (Urbanization) จะมีมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของชาวอาเซียนเปลี่ยนแปลงไป โดยมีรสนิยมในการบริโภคสินค้าพรีเมี่ยมมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือภาพการขยายตัวของ ซีพี ออลล์ ในวันที่การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกรุนแรงถาโถม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดนี้ไว้ให้ได้ !
ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ เป็นเหมือนช่องทางสำคัญในการเชื่อมธุรกิจระหว่างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคเข้าไว้ด้วยกัน เป็นหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาครวมของประเทศ
ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล จงวิ่งหนีคู่แข่งให้ไกลที่สุด (CPALL)
โดย : ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“เซเว่น อีเลฟเว่น”ธุรกิจร้านค้าสะดวกที่มีสาขามากที่สุดในประเทศจะปรับแผนการรบอย่างไร “ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล”บอก ผู้ชนะคือผู้ที่ไม่หยุดวิ่ง
“ธุรกิจค้าปลีก” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมหาศาลในแต่ละปี โดยสภาพัฒน์ฯ ระบุว่าธุรกิจค้าปลีกมีสัดส่วนจีดีพีคิดเป็น 4.8% ของจีดีพีรวมทั้งประเทศในปี 2554 สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมนี้
ในปี 2556 ภาพที่เห็นแน่ๆคือการกระโจนลงสู่สนามนี้ของ “ผู้เล่นหน้าใหม่”และ “หน้าเดิมที่ปรับโฉมใหม่” ตามที่เป็นข่าวมาต่อเนื่องในรอบปี เพื่อแย่งเค้กก้อนโตที่ว่านี้ อาทิการย่อส่วนของบิ๊กซี ก็หันมาทำมินิบิ๊กซี เทสโก้โลตัส ที่ผุดร้านไซส์เล็กออกมา ไม่นับรวมแฟมิลี่มาร์ท และท็อปเดลี่ ที่กลุ่มเซ็นทรัลค้าปลีกอันดับ1 ของไทยกำลังปรับโฉมท้าชนเซเว่น อีเลฟเว่น เช่นเดียวกับ 108 ช็อปของเครือยักษ์ซัพพลายเออร์สหพัฒน์ก็ฮึดสู้
พร้อมกับกระแสข่าวมาดึงลอว์สัน คอนวีเนี่ยนสโตร์เบอร์2 ของญี่ปุ่นมาทำตลาดในไทย การเข้ามาทำตลาดของแม็กซ์แวลู ของค่ายอิออน ผู้ให้บริการการเงินรายใหญ่จากแดนปลาดิบ ที่แตกไลน์มาทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ก็กำลังไปได้สวย นับจากนี้ ต้องจับตาการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกไทย ว่าใครจะมีชัย ใครจะเสียที
“แค่ปีนี้ ตลาดค้าปลีกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เพราะการแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ปีหน้าไม่ต้องพูดถึงผู้เล่นมากมายจะเข้ามาแย่งเค้กชิ้นเดียวกัน การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นไปอีก” ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เบอร์ 1 ในตลาดร้านสะดวกซื้อในไทยหากเทียบจำนวนสาขา
โดยภายในสิ้นปีนี้เซเว่นอีเลฟเว่นตั้งเป้าจะต้องมีสาขาครบ 6,800 สาขา และปีหน้าตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้เป็น 7,000 แห่งทั่วประเทศ หรือเฉลี่ยเปิดปีละ 500 สาขา ไม่หลุดไปจากตัวเลขนี้
ปิยะวัฒน์ ยอมรับว่า “ประมาทคู่แข่งไม่ได้” เพราะหลายๆ ค่ายที่โดดลงมาเล่นในสนามค้าปลีกต่างล้วนมีเทคโนโลยี มีโนว์ฮาว เป็นจุดแข็งด้วยกันทั้งนั้น
สำหรับเขาแล้ว การที่เซเว่นฯจะเป็นผู้นำในธุรกิจต่อไปได้นั้น อันดับแรกที่เป็นเหมือนเส้นชัย นั่นคือ “การวิ่งหนีคู่แข่ง” ที่สำคัญต้องวิ่งให้ไกล นำหน้าไปเลย ไม่หยุดวิ่ง ยิ่งดี !! เขาเปรียบเปรย
แปลงมาเป็นกลยุทธ์ จับจุดแข็งประเทศไทยมาใส่ในธุรกิจนั่นคือ การเป็น “ครัวของโลก” อาศัยความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต และซัพพลายที่หาได้ในประเทศ มาสร้าง Private Brand หรือ Fighting Brand ในกลุ่มสินค้าอาหาร ซึ่งปีหน้าจะเห็นมากขึ้น เขาระบุ
เรียกว่า โดดลงมาเล่นสงครามราคาในที แต่คุณภาพของสินค้า (รวมถึงมาร์จิ้น) ไม่ต่ำเหมือนราคา เขาบอกอย่างนั้น
“ปีหน้าแข่งดุแน่นอน เราเลยต้องหันมาเน้นสินค้าที่เรียกว่าเป็น Exclusive Products ให้มากขึ้น ต้องผสมผสาน และตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเรามั่นใจว่าเราทำได้ โดยมีระบบไอทีเป็นตัวช่วย”
สำหรับสินค้าหลักที่ซีพี ออลล์จะใช้เป็น “ทัพหน้า” ในการเดินกลยุทธ์ นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ CP โดยในกลุ่มสินค้าอาหารจะเน้นไปที่ขณะการพัฒนาแบรนด์ EASY-GO เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปมาก นับวันจะมีจะคล้ายชาวตะวันตก ที่นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารกล่อง มารับประทาน มากกว่าไปเดินจ่ายตลาด
ขณะเดียวกัน ซีพี ออลล์ ยังจะให้น้ำหนักในเรื่องของการสร้าง Customer Relationship Management (CRM) เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Royalty Brand) อย่าง “แสตมป์รักเมืองไทย” ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ได้ผลดีเกินคาด เพราะผู้บริโภครู้สึกสนุกที่จะร่วมกิจกรรมด้วย
นอกจากนี้ ซีพี ยังมีแผนที่จะปรับให้ “ซีพี เฟรชมาร์ท” กลายเป็น “ร้านสะดวกปรุง” โดยจะจัดพื้นที่ไว้คอยบริการลูกค้าในสไตล์ฟู้ดคอร์ทเพื่อให้สะดวกต่อการรับประทาน ตามแผนซีพีต้องการขยายสาขาซีพี เฟรชมาร์ท ให้กระจายเข้าถึงทุกพื้นที่เช่นเดียวกับเซเว่น อีเลฟเว่น ครอบคลุมถึงแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน ถนนสายหลักต่างๆ และสถานีบริการน้ำมัน ที่ปัจจุบันซีพี ออลล์จับมืออยู่กับกลุ่มปตท. อยู่แล้ว และคาดว่าจะมีสาขาของเซเว่นฯในปั๊ม ปตท. เพิ่มอีก 400 กว่าสาขาในปีหน้า จากปัจจุบันที่มี 800 สาขา หลังจากที่ได้ต่อสัญญาอีก 10 ปีกับ ปตท.ไปแล้ว และยังวางแผนขยายครบ 1,200 สาขาในอนาคต
ไม่เพียงเท่านั้น หากแผนการนี้ของซีพี ออลล์สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การขยายสาขาเข้าไปในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไทยในช่วงที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ก็จะทำในโมเดลเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศว่าจะเปิดช่องแค่ไหน
ขณะที่กลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ “กลุ่มคนชั้นกลาง” ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นหากพิจารณาจากโครงสร้างประชากรในวัยทำงาน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงขึ้นต่อเนื่อง
ข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) ยังระบุด้วยว่า ในช่วง 20 ปีข้างหน้า การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9% เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่นๆที่จะขยายตัวเพียง 0.8% และการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยกว่า 7.5% ต่อปี ตลอดจนการเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง (Urbanization) จะมีมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของชาวอาเซียนเปลี่ยนแปลงไป โดยมีรสนิยมในการบริโภคสินค้าพรีเมี่ยมมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือภาพการขยายตัวของ ซีพี ออลล์ ในวันที่การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกรุนแรงถาโถม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดนี้ไว้ให้ได้ !
ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ เป็นเหมือนช่องทางสำคัญในการเชื่อมธุรกิจระหว่างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคเข้าไว้ด้วยกัน เป็นหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาครวมของประเทศ