เสาเนาจาก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151157836821161&set=pcb.10151157838796161&type=1&theater
เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำอัปยศ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม
วันนี้ (23 ธันวาคม 2555) เวลา 6.00 น. ชาวบ้านในนาม “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700คน เคลื่อนขบวนไปยังศาลาประชาคม ในบริเวณศาลากลางจังหวัดเลย ซึ่งมีการจัด “เวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ" หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการ EHIA ของโครงการขยายเหมืองทองของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาเพื่อคัดค้านการขยายเหมืองทองของชาวบ้านกลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นายซึ่งได้เตรียมการตั้งแต่เมื่อช่วงสายวานนี้ ภายใต้แผนปฏิบัติการควบคุมฝูงชน “กรกฎ 52” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการกั้นถนนรอบศาลากลาง/ศาลาประชาคม ซึ่งเป็นที่จัดเวทีดังกล่าวด้วยรถบรรทุกของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งลอกสติกเกอร์ชื่อบริษัทแต่ยังสามารถเห็นเป็นรอยชัดเจนอยู่ พร้อมทั้งแผงเหล็ก และแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอีกสามชั้น พร้อมด้วยรั้วลวดหนามรอบบริเวณศาลาประชาคม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเวที Public Scoping จะต้องผ่านทางเข้าซึ่งกำหนดไว้เพียงจุดเดียวบริเวณที่ว่าการอำเภอเมือง โดยเข้าได้ทีละคนและต้องผ่านการตรวจค้นอย่างละเอียด
“กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ซึ่งทะยอยมาถึงตั้งแต่เวลาเช้ามืดจำนวนมากเพื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีดังกล่าวและการขยายเหมืองทอง ได้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมอย่างสงบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้ายังคงไม่อนุญาตให้ชาาวบ้านทั้งหมดเข้าไปร่วมในเวทีดังกล่าว ชาวบ้านจึงหันมาใช้เครื่องขยายเสียงปราศัยข้อมูลรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนได้รับจากเหมืองทองที่ดำเนินการอยู่ของบริษัททุ่งคำ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในห้อมประชุมเวที Public Scoping มีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เหมืองทั้งที่ใส่เสื้อบริษัททุ่งคำและไม่ได้ใส่ประมาณครึ่งห้อง มีชาวบ้านจากตำลหนองงิ้วซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำอีกประมาณ 200 คน นอกจากนั้นเป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไป โดยมีสารวัตรทหารและตำรวจพร้อมอาวุธและโล่ห์ควบคุมอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในห้องประชุม ในระหว่างการประชุม มีประชาชนทั่วไปผู้หนึ่งตั้งคำถามว่าเหตุใดมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากมาคัดค้านอยู่ด้านนอกแต่ถูกกันไม่ให้เข้ามาในห้องประชุม แต่การพูดคุยในห้องประชุมครั้งนี้กลับมีบรรยากาศเหมือนว่าโครงการจะผ่านแล้วแน่นอน อย่างไรก็ตาม คำถามดังกล่าวไม่ได้รับคำตอบจากผู้จัดประชุมแต่อย่างใด
นายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ชาวบ้านมาในครั้งนี้เพื่อต้องการบอกเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าไม่เห็นด้วยกับการขยายเหมืองและการทำเวที Public Scoping เนื่องจากชาวบ้านโดยเฉพาะ 6 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมือง ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองดังกล่าวมายาวนานตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2549 ทั้งการปนเปื้อนของโลหะหนักและไซยาไนด์ในดินและแหล่งน้ำ ทั้งลำห้วยและน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค และการตรวจพบโลหะหนักและไซยาไนด์ในเลือดของชาวบ้านใน 6 หมู่บ้านเกินมาตรฐานหลายรายมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านบางส่วนเริ่มมีอาการเจ็บป่วยจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงและแขนขาลีบ นอกจากนี้ ยังมีเหตุคันบ่อเก็บกากไซยาไนด์พังทลายตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ได้มาตรฐานของเหมืองดังกล่าว
ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไข แต่บริษัททุ่งคำยื่นเรื่องขอขยายพื้นที่การทำเหมืองไปยังป่าโคกภูเหล็ก (คำขอประทานบัตรเลขที่ 104/2538) ซึ่งอยู่ทิศใต้ของบริเวณเหมืองปัจจุบัน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังพบว่า ขั้นตอนการขอประทานบัตรเพื่อขยายการทำเหมืองในครั้งนี้มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตร ได้ระบุว่า พื้นที่ป่าโคกภูเหล็กเป็นป่าเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์น้อย รวมทั้งไม่มีทางหลวงและทางน้ำสาธารณะตัดผ่าน ทั้งที่ความเป็นจริง ป่าโคกภูเหล็กแห่งนี้ได้จัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามาก มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีร่องน้ำและโครงข่ายน้ำซับน้ำซึมแทรกประสานอยู่ใต้ดิน และเป็นแหล่งต้นน้ำของชาวบ้าน รายงานการไต่สวนที่เป็นเท็จเช่นนี้ ประกอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านไม่ยอมรับและต้องลุกขึ้นมาคัดค้านการขอประทานบัตรขยายเหมืองของบริษัททุ่งคำ
ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดยังกล่าวอีกว่า “การจัดเวที Public Scoping ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในครั้งนี้ถือว่าไม่ชอบธรรมและไม่ใช่การมีส่วนร่วมของระชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่ามีการพยายามกีดกันผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว และเกณฑ์คนของเหมืองและชาวบ้านนอกพื้นที่เข้ามานั่งในห้องประชุมให้เต็มเพื่อที่จะจัดประชุมให้ได้ครบเวลาตามกำหนดโดยไม่สนใจฟังเสียงประชาชน และเราต้องตั้งคำถามถึงธรรมาภิบาลของหน่วยงานพื้นที่ ทั้งตำรวจ ทหาร และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการเกณฑ์กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากถึง 2,000 คน ซึ่งกินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินการของบริษัทเอกชนแห่งเดียว โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงถือว่าการจัดเวที Public Scoping ในครั้งนี้เป็นโมฆะ และจะดำเนินการร้องเรียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะถึงที่สุด”
อนึ่ง สืบเน่ืองจากการร้องเรียนกรณีชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ตำบลวังสะพุงได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ว่า “ให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการขยายพื้นที่ใหม่หรือการขอประทานบัตร ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด แปลงที่ 104/2538 และแปลงอื่น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปของสาเหตุการเกิดสารปนเปื้อน ผลการประเมินความคุ้มค่าของฐานทรัพยากรธรรมชาติและค่าภาคหลวงแร่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลการประเมินผลด้านสุขภาพ หรือ HIA”
วทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำอัปยศ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151157836821161&set=pcb.10151157838796161&type=1&theater
เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำอัปยศ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม
วันนี้ (23 ธันวาคม 2555) เวลา 6.00 น. ชาวบ้านในนาม “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700คน เคลื่อนขบวนไปยังศาลาประชาคม ในบริเวณศาลากลางจังหวัดเลย ซึ่งมีการจัด “เวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ" หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการ EHIA ของโครงการขยายเหมืองทองของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาเพื่อคัดค้านการขยายเหมืองทองของชาวบ้านกลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นายซึ่งได้เตรียมการตั้งแต่เมื่อช่วงสายวานนี้ ภายใต้แผนปฏิบัติการควบคุมฝูงชน “กรกฎ 52” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการกั้นถนนรอบศาลากลาง/ศาลาประชาคม ซึ่งเป็นที่จัดเวทีดังกล่าวด้วยรถบรรทุกของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งลอกสติกเกอร์ชื่อบริษัทแต่ยังสามารถเห็นเป็นรอยชัดเจนอยู่ พร้อมทั้งแผงเหล็ก และแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอีกสามชั้น พร้อมด้วยรั้วลวดหนามรอบบริเวณศาลาประชาคม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเวที Public Scoping จะต้องผ่านทางเข้าซึ่งกำหนดไว้เพียงจุดเดียวบริเวณที่ว่าการอำเภอเมือง โดยเข้าได้ทีละคนและต้องผ่านการตรวจค้นอย่างละเอียด
“กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ซึ่งทะยอยมาถึงตั้งแต่เวลาเช้ามืดจำนวนมากเพื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีดังกล่าวและการขยายเหมืองทอง ได้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมอย่างสงบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้ายังคงไม่อนุญาตให้ชาาวบ้านทั้งหมดเข้าไปร่วมในเวทีดังกล่าว ชาวบ้านจึงหันมาใช้เครื่องขยายเสียงปราศัยข้อมูลรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนได้รับจากเหมืองทองที่ดำเนินการอยู่ของบริษัททุ่งคำ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในห้อมประชุมเวที Public Scoping มีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เหมืองทั้งที่ใส่เสื้อบริษัททุ่งคำและไม่ได้ใส่ประมาณครึ่งห้อง มีชาวบ้านจากตำลหนองงิ้วซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำอีกประมาณ 200 คน นอกจากนั้นเป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไป โดยมีสารวัตรทหารและตำรวจพร้อมอาวุธและโล่ห์ควบคุมอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในห้องประชุม ในระหว่างการประชุม มีประชาชนทั่วไปผู้หนึ่งตั้งคำถามว่าเหตุใดมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากมาคัดค้านอยู่ด้านนอกแต่ถูกกันไม่ให้เข้ามาในห้องประชุม แต่การพูดคุยในห้องประชุมครั้งนี้กลับมีบรรยากาศเหมือนว่าโครงการจะผ่านแล้วแน่นอน อย่างไรก็ตาม คำถามดังกล่าวไม่ได้รับคำตอบจากผู้จัดประชุมแต่อย่างใด
นายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ชาวบ้านมาในครั้งนี้เพื่อต้องการบอกเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าไม่เห็นด้วยกับการขยายเหมืองและการทำเวที Public Scoping เนื่องจากชาวบ้านโดยเฉพาะ 6 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมือง ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองดังกล่าวมายาวนานตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2549 ทั้งการปนเปื้อนของโลหะหนักและไซยาไนด์ในดินและแหล่งน้ำ ทั้งลำห้วยและน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค และการตรวจพบโลหะหนักและไซยาไนด์ในเลือดของชาวบ้านใน 6 หมู่บ้านเกินมาตรฐานหลายรายมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านบางส่วนเริ่มมีอาการเจ็บป่วยจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงและแขนขาลีบ นอกจากนี้ ยังมีเหตุคันบ่อเก็บกากไซยาไนด์พังทลายตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ได้มาตรฐานของเหมืองดังกล่าว
ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไข แต่บริษัททุ่งคำยื่นเรื่องขอขยายพื้นที่การทำเหมืองไปยังป่าโคกภูเหล็ก (คำขอประทานบัตรเลขที่ 104/2538) ซึ่งอยู่ทิศใต้ของบริเวณเหมืองปัจจุบัน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังพบว่า ขั้นตอนการขอประทานบัตรเพื่อขยายการทำเหมืองในครั้งนี้มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตร ได้ระบุว่า พื้นที่ป่าโคกภูเหล็กเป็นป่าเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์น้อย รวมทั้งไม่มีทางหลวงและทางน้ำสาธารณะตัดผ่าน ทั้งที่ความเป็นจริง ป่าโคกภูเหล็กแห่งนี้ได้จัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามาก มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีร่องน้ำและโครงข่ายน้ำซับน้ำซึมแทรกประสานอยู่ใต้ดิน และเป็นแหล่งต้นน้ำของชาวบ้าน รายงานการไต่สวนที่เป็นเท็จเช่นนี้ ประกอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านไม่ยอมรับและต้องลุกขึ้นมาคัดค้านการขอประทานบัตรขยายเหมืองของบริษัททุ่งคำ
ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดยังกล่าวอีกว่า “การจัดเวที Public Scoping ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในครั้งนี้ถือว่าไม่ชอบธรรมและไม่ใช่การมีส่วนร่วมของระชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่ามีการพยายามกีดกันผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว และเกณฑ์คนของเหมืองและชาวบ้านนอกพื้นที่เข้ามานั่งในห้องประชุมให้เต็มเพื่อที่จะจัดประชุมให้ได้ครบเวลาตามกำหนดโดยไม่สนใจฟังเสียงประชาชน และเราต้องตั้งคำถามถึงธรรมาภิบาลของหน่วยงานพื้นที่ ทั้งตำรวจ ทหาร และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการเกณฑ์กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากถึง 2,000 คน ซึ่งกินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินการของบริษัทเอกชนแห่งเดียว โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงถือว่าการจัดเวที Public Scoping ในครั้งนี้เป็นโมฆะ และจะดำเนินการร้องเรียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะถึงที่สุด”
อนึ่ง สืบเน่ืองจากการร้องเรียนกรณีชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ตำบลวังสะพุงได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ว่า “ให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการขยายพื้นที่ใหม่หรือการขอประทานบัตร ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด แปลงที่ 104/2538 และแปลงอื่น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปของสาเหตุการเกิดสารปนเปื้อน ผลการประเมินความคุ้มค่าของฐานทรัพยากรธรรมชาติและค่าภาคหลวงแร่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลการประเมินผลด้านสุขภาพ หรือ HIA”